*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
กฎหมายอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ นั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่ทางการสหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยการออกกฎหมายต่าง ๆ ออกมาจำนวน ที่กำให้อยู่ในกลุ่มที่มีความผิดร้ายแรง (Felony crime) ที่จะต้องมีการสืบสวนสอบสวนโดยคณะลูกขุนใหญ่ (Grand jury) ซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าในการแสวงหาพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับกลุ่มเป้าหมายที่น่าสงสัยว่าจะกระทำผิดตามกฎหมาย




กฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมา ซึ่งผมได้กล่าวไปแล้วในบล๊อกก่อนนั้น หลายข้อหา มีความซ้ำซ้อนกับความผิดที่กำหนดโดยมลรัฐต่าง ๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกลาง โดยคณะอัยการที่มีหน้าที่ทำการสืบสวนสอบสวนคดีปประเภทนี้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจของหน่วยตำรวจสอบสวนกลาง (F.B.I.) จึงสามารถใช้อำนาจได้กว้างขวางทั้งในระดับมลรัฐและระดับสหรัฐฯ ด้วย เพราะเหตุที่ว่า ความผิดประเภทนี้ มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง และสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางการเงินทั้งต่อรัฐบาลสหรัฐ มลรัฐ และภาคประชาชนได้อย่างร้ายแรง ดังจะเห็นได้จากคำพิพากษาในคดี Braswell v. U.S., 487 U.S. 99 (1988) ซึ่งศาลสูงสุดสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า

" ...white collare crime is one of the most serious problems confronting law enforcement authorities."

สหรัฐฯ ได้เผชิญกับปัญหาผลกระทบจากการกระทำผิดร้ายแรงนี้ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในช่วงปี ค.ศ. ๑๘๘๐ ประเทศสหรัฐ ได้ประสบกับปัญหา "insider trading scandals" หรือ การซื้อขายหุ้นโดยอาศัยข้อมูลภายในอันเป็นความลับ เพื่อแสวงกำไรอันไม่ชอบอย่างมหาศาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นการฉ้อโกง อันมีผลกระทบต่อความเชื่อมันของประชาชนในการซื้อขายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities markets) ต่อมาในช่วงปลายทศวรรต ๑๙๘๐ และต้นทศวรรต ๑๙๙๐ สถาบันการเงินในสหรัฐได้ล้มคลืนลง เนื่องจากผู้บริหารของสถาบันการเงินต่างได้ฉ้อโกงสถาบันการเงินอย่างกว้างขวาง และในช่วงปี ค.ศ. ๒๐๐๒ Wall Street ได้ถูกสั่นคลอนเนื่องมาจากการฉ้อฉลของบริษัทและผู้ตรวจสอบบัญชีและนักกฎหมายในสหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการล้มละลายของบริษัท Enron ที่มีภาพการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและยิ่งใหญ่ภายในเวลา ๑ ปี และเป็นการล้มละลายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาเลยทีเดียวหลังจากที่รุ่งโรจน์และดูดเอาเงินจากแมงเม่าทั้งหลายไปได้ในเวลา ๑ ปีดังกล่าว

ผลกระทบของปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนี้ ทำให้สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายในระดับสหรัฐฯ หลายฉบับ ที่ซ้ำซ้อนกับการกระทำผิดในระดับมลรัฐฯ หรือกฎหมายของมลรัฐฯ เข้าไปด้วย จนขนาดมีผู้วิจารณ์ว่า เป็นการออกกฎหมายในลักษณะ "Overfederalization" เช่นว่า ในช่วงปี ๑๙๗๐ และ ๑๙๘๐ สภา Congress ได้ออกกฎหมายหลายฉบับ เช่น RICO และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (Money-laundering statutes) โดยกฎหมายที่เรียกว่า RICO นี้ ไม่ได้บัญญัติการกระทำใดที่จะก่อให้เกิดเป็นความผิดอาญาโดยเฉพาะขึ้นมาใหม่ แต่บัญญัติให้การกระทำผิดที่ถูกบัญญัติไว้เดิม แต่มีกระบวนการกระทำผิดที่เป็นลักษณะองค์กร มีโทษร้ายแรงขึ้นมาก ตัวอย่างกระทำผิดเดิม เช่น ความผิดตามกฎหมาย Mail fraud, securities fraud, bank fraud รวมถึง การกรรโชก (extortion) หรือ การติดสินบน (bribery) ซึ่งถูกบรรญัติไว้ในกฎหมายอาญาทั่วไป ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดที่เป็นการกระทำผิดในลักษณะองค์กรฯ อย่างร้ายแรงตาม RICO ได้

ด้วยเหตุที่การกระทำผิดตามกฎหมายอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนี้ มีผลร้ายแรงต่อทุกฝ่าย กระบวนการทางกฎหมายของสหรัฐฯ จึงกำหนดให้มีบทลงโทษเป็น ๒ ส่วน คือ มีทั้งกระบวนการลงโทษทางกฎหมายอาญา (criminal penalties) และกระบวนการลงโทษทางกฎหมายแพ่ง (civil penalties) ซึ่งผู้กระทำผิด อาจจะถูกฟ้องบังคับโดยทั้งสองกระบวนการไปพร้อมกัน หรือ แยกจากกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น การฉ้อโกงหลักทรัพย์ ในขณะที่มีการดำเนินคดีทางอาญากันไป รัฐบาล ก็อาจยื่นคำฟ้องทางแพ่งเพื่อยึดทรัพย์และบังคับให้เสียค่าปรับทางแพ่งได้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก หรือพร้อมกันไป ก็ได้

นอกจากนี้ หลังจากมีการล้มลายของบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Enron แล้ว สภา Congress ได้ออกกฎหมายใหม่ เรียกว่า "Sarbanes-Oxley Act of 2002" โดยได้เพิ่มค่าปรับสูงสุดของการกระทำผิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มีจำนวนสูงมาก ถึง ๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ และ กำหนดให้การพยายามกระทำผิดบางประเภท ได้รับโทษเสมือนกระทำผิดสำเร็จด้วย

การกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนั้น แรกเริ่มเดิมที อาชญากร ได้ส่งเอกสารต่าง ๆ ไปชี้ชวนเพื่อหลอกลวงให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลในรัฐต่าง ๆ ส่งเงินมาให้ตนเอง เช่น ให้โอนเงินผ่านธนาคาร โดยหลอกลวงว่าเป็นการลงทุน ได้มีประชาชนจำนวนมากหลงเชื่อ รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้ออกกฎหมาย Mail fraud และ Wire fraud ตาม 18 U.S.C. มาตรา 1341, 1343 ขึ้นมาเพื่อ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ หากใครก็ตามที่มีเจตนา (intent) ที่จะใช้จดหมาย(Mail) หรือใช้ระบบสื่อสาร (wire) เพื่อให้บรรลุแผนการในการหลอกลวง (scheme to defraud) เพื่อให้ทรัพย์สินใด ๆ จากคนอื่นย่อมมีความผิดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ Mail fraud/Wire fraud ยังถูกใช้ไปในการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้วิธีการและแผนการดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินด้วย โดยมี กฎหมายมาตรา 1346 (Deprivation of Honest Services) ขยายความออกไปว่า การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้กระทำการที่ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน และได้ฉ้อโกงประโยชน์ของปวงชนที่จะได้รับการบริการจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (The public officials have defrauded their consistuents of the officials' duty to provide the public with honest services.)

กฎหมายในเรื่องนี้ ยังได้นำไปใช้ในการตีความขยายความรับผิดของลูกจ้างในภาคเอกชน ที่ได้กระทำการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ โดยในคดีนี้ ผู้รายงานข่าวเกี่ยวกับหุ้นของ Wall Street Journal ได้สมคบกับบุคคลภายนอก ในการซื้อหุ้นของบริษัทตนเองไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าว ผู้รายงานข่าวและผู้ร่วมสมคบ (conspirators) ได้ขายหุ้น ทำกำไรอย่างมหาศาล ศาลได้ตัดสินว่าผู้รายงานข่าว ได้ใช้วิธีการส่งผ่านข้อมูลทางจดหมายหรือทาง wire เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทางทรัพย์สิน โดยการทำให้ Wall Street Journal สูญเสียสิทธิที่จะเก็บข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทไว้ และทำให้ชื่อเสียงบริษัทได้รับความเสียหาย การที่ลูกจ้าง ได้กระทำการละเมิดหน้าที่ที่จะเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ แล้วเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น อันเป็นการไม่กระทำการเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง โดยใช้วิธีการทาง Mail/Wire ซึ่งเป็นการพรากสิทธิของนายจ้างที่จะได้รับการทำงานโดยซื่อสัตย์สุจริต อันถือเป็นประโยชน์ที่ถือเอาได้ (Intangible property rights) ย่อมเป็นการกระทำผิดแล้ว



สหรัฐฯ ได้ประสบปัญหาผู้บริหารของสถาบันการเงินได้ฉ้อโกงเงินของลูกค้าอย่างมากมาย นอกจากนี้ยังมีกรณีที่บุคคลภายนอกได้พยายามฉ้อโกงเงินธนาคารและสถาบันการเงินอย่างมากมายเช่นกัน รัฐบาลกลางฯ จึงได้ออกกฎหมาย Bank Fraud ขึ้นมา ตามมาตรา 1344 โดยมีใจความสำคัญว่า หากผู้ใดใช้แผนการ อันเป็นการหลอกหลวง สถาบันการเงิน เพื่อให้ได้ไปซึ่งเงิน เงินทุน เครดิต ทรัพย์สิน หลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นเจ้าของ หรือ ครอบครองไว้แทน โดยวิธีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ฯ ย่อมมีความผิดฐานฉ้อโกงธนคาร ต้องระวางโทษปรับ $1,000,000 เหรียญ หรือจำคุกไม่เกิน 30 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดฐานนี้ แตกต่างจากเมืองไทยอย่างมาก เพราะการฉ้อโกงเงินของสถาบันการเงินไทย ไม่มีกฎหมายคุ้มครองเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่จริงควรจะมีการแบ่งแยกจากการฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา ที่อัตราโทษเบา และเป็นความผิดอันยอมความได้ สถาบันการเงิน สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม หากสถาบันการเงินฯ ได้รับความเชื่อถือ และมีระบบการตรวจสอบที่มั่นคง ก็จะทำให้ระบบการเงินของประเทศโดยรวมดีไปด้วย แต่หากสถาบันการเงินไม่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ หรือไม่มีบทลงโทษผู้บริหารธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ที่ประชาชนให้ความไว้วางใจในการดูแลและบริหารทรัพย์สินของตนเอง) ที่ร้ายแรงเป็นพิเศษ ก็จะมีกรณีล้มบนฟูกอย่างมากมาย แบบที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของไทยอย่างมากมายในปัจจุบัน




นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่มีผลในการควบคุมกลไกตลาด และการรักษาความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจอีกหลายฉบับที่น่าสนใจ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการจดทะเบียนและการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 แต่กฎหมายดังกล่าว ก็มีช่องโหว่มากมาย จนกระทั่งมีเหตุการณ์ Wall Street Journal ในทศวรรต 1980 ที่มีการใช้ข้อมูลภายใน (Insidere trading) เพื่อแสวงกำไรจากแมงเม่าที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ อย่างมหาศาล

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission หรือ SEC) ขึ้นมาตั้งแต่ต้นทศวรรต 1930 ให้มีหน้าที่และดำเนินกลไกในการควบคุม และออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกลไกของหลักทรัพย์ แต่การพยายามกระทำความผิดและการฉ้อโกงได้เปลี่ยนแปลงรูปโฉมไปอย่างรวดเร็ว แม้ SEC จะได้พยายามออกกฎหมายใหม่ ๆ ออกมาอย่างมากมาย แต่ก็ไม่อาจตามทัน เช่นในคดี Enron พบว่า ทั้งนักกฎหมายและผู้ตรวจสอบบัญชีได้ช่วยกันปกปิดบัญชีที่แท้จริง โดยมีนักกฎหมายให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่บริษัท Enron ที่กลายเป็นประวัติการล้มละลายที่ร้ายแรงที่สุดในสหรัฐฯ จนในที่สุดในปี ค.ศ. 2002 รัฐบาลกลางสหรัฐ ได้ออกกฎหมาย The Sarbanes-Oxley Act กำหนดฐานความผิดใหม่ที่เรียกว่า Securities Fraud มาตรา 1348 ขึ้นมาบังคับใช้

กล่าวโดยสรุป กฎหมายนี้ห้ามมิให้ผู้ใด กระทำการ หรือ พยายามกระทำการ หรือวางแผนการหลอกลวงผู้อื่น โดยใช้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ออกหุ้น การจดทะเบียน ฯลฯ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ ปี ค.ศ. 1934

นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าว ยังห้ามมิให้ผู้ใด ทำการหลอกลวง หรือพยายามกระทำการดังกล่าว เพื่อให้ได้ไปซึงทรัพย์สิน โดยวิธีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ ปี ค.ศ. 1934

ผู้ที่ละเมิดจะต้องถูกปรับ หรือ จำคุกไม่เกิน ๒๕ ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ประเด็นเรื่องการใช้ข้อมูลภายในการซื้อขายหุ้น เพื่อแสวงกำไรโดยไม่ชอบนี้ ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 สภา Congress จึงได้ออกฎหมาย Insider Trading Sanction Act ที่อนุญาตให้ SEC ฟ้องร้องต่อศาลให้สั่งปรับผู้กระทำผิดดังกล่าวเป็นเงิน 3 เท่าของจำนวนที่แสวงประโยชน์ไปได้ หรือ 3 เท่า ของเงินจำนวนที่เขาสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสีย (loss avoided) ไปได้ หากไม่มีการใช้ข้อมูลดังกล่าว

ในปี ค.ศ. 1988 สภา Congress ได้ออกกฎหมาย Insider Trading and Securities Fraud Enforcement Act โดยกำหนดค่าปรับสำหรับผู้กระทำผิดดังกล่าวเพิ่มขึ้น หากเป็นบุคคลธรรมดา ถ้ากระทำผิดจะถูกปรับจากเดิม $100,000 เหรียญ เป็น $1 ล้านเหรียญ หากเป็นบริษัทกระทำผิด จะถูกปรับจากเดิม $500,000 เหรียญ เป็น $2.5 ล้านเหรียญ โดยกฎหมายนี้ ยังใช้ลงโทษผู้ที่เป็นตัวการที่แท้จริงหรือผู้ควบคุมผู้อื่นในการใช้ข้อมูลภายในการซื้อขายหุ้นนั้นด้วย

กฎหมายที่ควบคุมเรื่อง Securities Fraud ได้ถูกปรับปรุงอีกครั้ง ตามกฎหมาย Sarbanes-Oxley Act of 2002 โดยกำหนดโทษจำคุกสูงถึง 25 ปี ส่วนค่าปรับสำหรับบุคคลธรรมดาที่กระทำผิดนั้น เพิ่มขึ้นเป็น $5 ล้านเหรียญ แต่ถ้าหากเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลกระทำผิด จะต้องถูกปรับสูงถึง $25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

เรื่องสุดท้ายที่จะขอเล่าในบล๊อกนี้ ก็คือ Tax Crimes ที่กำหนดไว้ตาม 26 U.S.C. มาตรา 7201 กรณีที่มีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ไม่ว่าจะเสียภาษี หรือ เสียน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หากกระทำโดยเจตนาแล้ว จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน $100,000 เหรียญ กรณีบุคคลธรรมดากระทำผิด และ $500,000 เหรียญ กรณีผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดเกี่ยวกับภาษียังมีกำหนดไว้อีกฐานฯ เช่น การขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ยังเป็นการกระทำฐานรายงานเอกสารอันเป็นเท็จหรือให้การเท็จ หรือส่งเอกสารเท็จ(false statement) เพื่อฉ้อโกงเงินของรัฐ ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงเช่นกันอีกด้วย




ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องการรายงานภาษีอันเป็นเท็จ หรือ การฉ้อโกงเงินของรัฐ โดยการส่งเอกสารอันเป็นเท็จ (False statement) เพื่อฉ้อโกงรัฐนั้น ก็คือ กฎหมายสหรัฐฯ นั้นให้ประชาชนทั่วไปสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ด้วย หากชนะคดี โดยพิสูจน์ได้ว่ามีการฉ้อโกงเงินของรัฐจริงแล้ว ผู้ฟ้องคดีจะได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับที่ศาลจะกำหนดโทษแก่ผู้กระทำผิดด้วย

การอนุญาตให้ประชาชนทั่วไป ฟ้องร้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับผลกระทบหรือความเสียหายใด ๆ เลย ถือกำเนิดมาจากกฎหมายที่มีชื่อว่า False Claims Act of 1863 หรือ FCA ซึ่งแต่เริ่มเดิมทีกฎหมาย FCA นี้ ถูกใช้เพื่อต่อสู้กับการฉ้อโกงเงินของรัฐกรณี เอกชนมาทำสัญญาจ้างจัดทำบริการสาธารณะให้กับรัฐ ซึ่งรวมถึงการให้บริการดูสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป และ การเป็นผู้ดำเนินการการให้บริการด้านน้ำมันและแก๊สธรรมชาติแก่ประชาชน ซึ่งบริษัทเอกชนเหล่านั้นได้ฉ้อโกงเงินของรัฐเป็นจำนวนมาก โดยการส่งเอกสารอันเป็นเพื่อขอเบิกเงิน (False Claims) จากรัฐ โดยไม่ได้มีการทำงานจริงจัง

นับแต่ปี ค.ศ. 1863 กฎหมายฉบับนี้ ได้รวมเอาหลักการเรื่อง "Qui Tam provision" หรือ "qui tam pro domino rege quam pro se ipso hac parte sequitur" ซึ่งอนุญาตให้เอกชนหรือประชาชนฟ้องและพิสูจน์การฉ้อโกงเงินของรัฐ ได้ โดยประชาชนผู้ฟ้องคดีนั้น จะได้รับส่นแบ่งจากเงินค่าปรับ เรียกผู้ฟ้องคดีนั้นว่า Relator ซึ่งไม่จำเป็นต้องผู้ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำผิดดังกล่าวเลย หากชนะคดีจะได้เงินค่าปรับ 50% เป็นรางวัลไป

กฎหมายฉบับนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อย ปัจจุบันเงินรางวัลที่จะได้รับ ลดลงเหลือ 10-25% หากชนะคดีโดยที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินคดีแทน หรือรัฐบาลเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย แต่หากรัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซง หรือเป็นโจทก์ร่วมกับประชาชนผู้ฟ้องคดีแล้ว หากชนะคดี ผู้ฟ้องคดีจะได้ 25-30% แต่อย่างไรก็ตาม ตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DOJ Relator's Share Guideline) ในปี ค.ศ. 1997 นั้น ได้กำหนดแนวทางเพิ่มเติมว่า หากข้อมูลที่ได้รับจากผู้ริเริ่มฟ้องคดี ไม่เป็นประโยชน์มากนัก ส่วนแบ่งที่ได้รับก็อาจจะลดลงไปไม่เกิน 10% จากค่าปรับได้ นอกจากนี้ ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ผู้ฟ้องคดี ก็อาจมีสิทธิได้รับด้วย

ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการแก้ไขกฎหมาย FCA ให้มีมาตรฐานการพิสูจน์ง่ายขึ้น โดยกำหนดมาตรฐานการพิสูจน์ให้เป็นเพียง Preponderance burdence of proof คือ พิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ตามหลักการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ฟ้องคดี กับผู้ถูกฟ้องคดีว่าใครสามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อถือได้มากกว่ากัน การฟ้องคดีดังกล่าว จึงต่างจากการฟ้องคดีอาญา ที่ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อโดยปราศจากสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นผู้กระทำอย่างแน่แท้ (Proof beyond reasonable doubt)

กฎหมายดังกล่าว ก่อให้เกิดการฟ้องร้องคดีระหว่าง นายจ้าง กับลูกจ้างอย่างมากมาย เพราะลูกจ้าง นั้นได้กุมความลับของนายจ้าง โดยเฉพาะความลับการหนีภาษี การฉ้อโกงเงินของรัฐ ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น นายจ้างจึงได้กลั่นแกล้งลูกจ้างผู้บังอาจเปิดเผยความลับและฟ้องคดี เข้าทำนอง กินบนเรือนขี้บนหลังคา นั้นอย่างมากมายเช่นกัน ด้วย กฎหมายนี้จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันการแก้แค้โดยนายจ้าง ไว้ด้วย




หลายท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ คงอยากเห็นกฎหมายประเภทนี้เกิดในเมืองไทยละสิครับ หากเกิดขึ้นจริง ป่านนี้ คงมีการฟ้องร้องอย่างมากมาย ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ เพราะประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมและปกป้องประโยชน์ของแผ่นดิน และในขณะเดียวกัน ประชาชนผู้นั้นก็ได้ค่าเหนื่อยไปด้วย




Create Date : 28 มกราคม 2549
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:36:23 น. 10 comments
Counter : 2303 Pageviews.

 
เข้ามาทักค่ะทั่น สบายดีนะคะไปทำกับข้าวก่อนเด๋วเข้ามาอ่านใหม่


โดย: เสียงซึง วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:7:13:27 น.  

 
สวัสดีวันตรุษจีนค่ะ

คิดถึงเยาวราชมั้ยคะ


โดย: rebel วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:8:46:21 น.  

 
ร่ำรวยเงินทอง ประสบความสุขความสำเร็จ ตลอดไปนะคะ


Image hosting by Photobucket


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:11:10:39 น.  

 
จริงๆความเสียหายจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนั้น
มันใหญ่หลวงนัก



โดย: keyzer วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:11:34:28 น.  

 
สวัสดีวันตรุษจีนค่ะ



โดย: grappa วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:12:36:36 น.  

 
กฎหมายดังกล่าว ก่อให้เกิดการฟ้องร้องคดีระหว่าง นายจ้าง กับลูกจ้างอย่างมากมาย เพราะลูกจ้าง นั้นได้กุมความลับของนายจ้าง โดยเฉพาะความลับการหนีภาษี การฉ้อโกงเงินของรัฐ ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น นายจ้างจึงได้กลั่นแกล้งลูกจ้างผู้บังอาจเปิดเผยความลับและฟ้องคดี เข้าทำนอง กินบนเรือนขี้บนหลังคา นั้นอย่างมากมายเช่นกัน ด้วย กฎหมายนี้จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันการแก้แค้โดยนายจ้าง ไว้ด้วย

^
^
^

อ่านเห็นว่ากฎหมายนี้คงไม่มีวันได้เกิดในประเทศไทยครับเพราะกฎหมายของประเทศนี้ผลิตโดยกลุ่มทุนเพื่อกลุ่มทุนโดยกลุ่มทุน ชาวบ้านอย่าหวังเลยครับ

ทุกอย่างของประเทศเค้ามันมีพัฒนาการมีที่มาที่ไป ใครขณะที่ประเทศเรามันโดนฆ่าตัดตอนตั้งแต่แรกแล้ว


โดย: นายเบียร์ วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:20:44:26 น.  

 
ยาวจังเลย
ว่างๆ ค่อยอ่านนะท่านพี่


โดย: นายกาเมศ วันที่: 29 มกราคม 2549 เวลา:15:49:21 น.  

 
ขอบคุณครับ แล้วผมขอคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง money amounting in illegal economic ซึ่งในเมืองไทยขอเรียกว่า การเงินนอกระบบ หรือธุรกิจการเงินนอกระบบ
โดยในสรอ. มีกฎหมายอะไรบ้างที่ควบคุม และกำกับดูแล และมีสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างไร (มูลค่าความเสียหายและจำนวนผู้ที่ได้รับความเสียหายนะครับ)
หมายเหตุ : ผมใช้เป็นข้อมูลในการทำรายงานส่งท่านอาจารย์วีระพงษ์ฯ นะครับ รบกวนหน่อยน่ะครับ ขอบพระคุณมากครับ


โดย: kridda IP: 203.154.77.9 วันที่: 16 มีนาคม 2549 เวลา:18:06:10 น.  

 
พอดีกำลังทำ thesis เรื่องการปลอมเครื่องหมายการค้าอยู่ จะพอหาข้อมูลได้จากไหนบ้าง เช่น สถานการณ์ในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ


โดย: สายสืบ IP: 58.9.247.145 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:0:16:07 น.  

 
พอดีกำลังทำ thesis เรื่องการปลอมเครื่องหมายการค้าอยู่ จะพอหาข้อมูลได้จากไหนบ้าง เช่น สถานการณ์ในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ


โดย: สายสืบ IP: 58.9.247.145 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:0:16:33 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.