*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
Advanced Criminal Law : ส่วนที่สอง

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
JSD University of Illinois



ส่วนที่ ๒ ความรับผิดทางอาญา
Criminal Liability

ในส่วนนี้ จะประกอบด้วย ความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของตนเอง และความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของบุคคลอื่น โดยมีเนื้อหาและหลักเกณฑ์พอสังเขป ดังนี้

ความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของตนเอง

ในเรื่อง โครงสร้างความรับผิดทางอาญานั้น ได้มีการอธิบายไว้หลายแนวทางด้วยกัน เช่น ตามทฤษฎีของกฎหมาย Common Law จะบัญญัติโครงสร้างความรับผิดทางอาญาไว้ เป็นต้นว่า จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ อย่างน้อย ๒ ประการได้ แก่ องค์ประกอบในส่วนของการกระทำ หรือ Actus Reus (AR) กับ องค์ประกอบในส่วนของจิตใจ หรือ Mens Rea (MR)

แนวคิดข้างต้น จะแตกต่างจากโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของเยอรมัน โดยมีแนวคิดว่า บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อ (๑) มีการกระทำที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดทางอาญาไว้อย่างชัดเจน (๒) มีการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดนั้น และ (๓) การกระทำนั้น มีลักษณะที่เข้าองค์ประกอบที่เรียกว่า ความชั่ว หากไม่มีความชั่ว แม้จะมีการกระทำครบองค์ประกอบ ตาม (๑) และ (๒) บุคคลก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาแต่ประการใด เป็นต้น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับเอาแนวคิดทางกฎหมายอาญา มาจากประเทศอังกฤษ แต่ก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป เนื่องจาก ในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาสามารถสร้างหลักกฎหมายและประกาศกำหนดว่าการกระทำใดถือเป็นความผิดอาญาได้ด้วย ในลักษณะ Judge made law แต่ หลักการดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกา ยึดมั่นในหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ Separation of Powers และหลัก Principle of Legality โดยบัญญัติชัดแจ้งให้องค์กรนิติบัญญัติเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายมาบังคับใช้ ในขณะที่ศาล มีอำนาจหน้าที่ในการใช้และแปลความกฎหมายกับคดีที่เกิดขึ้น รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาว่า กฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ Judicial review ซึ่งเป็นต้นแบบให้นักศึกษากฎหมายทั่วไปได้ศึกษาเหตุผลที่ศาลสูงสุดอ้างอำนาจในการตรวจสอบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาว่า ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ (Constitutionality) หรือไม่

ปัจจุบัน ศาลในอเมริกา จึงไม่อาจจะใช้อำนาจในลักษณะ Judge made law ได้ ในระยะแรกนั้น ด้วยเหตุที่มลรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับเอา Common Law มาเป็นตัวแบบ ผู้พิพากษาจึงได้สร้างกฎหมายที่แตกต่างกัน ไม่เป็นเอกภาพ ทำให้ กลุ่มผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ และนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง รวมตัวเป็น American Law Institute (ALI) เพื่อจัดทำร่างประมวลกฎหมายอาญาขึ้น รู้จักกันในนามของ Model Penal Code (MPC) โดยพยายามสรุปหลักการกฎหมายและสร้างกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนและง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบให้มลรัฐต่าง ๆ นำไปใช้เป็นต้นแบบในการบัญญัติกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบัน มีประมาณ ๓๕ มลรัฐได้ยอมรับเอา MPC เป็นต้นแบบในการบัญญัติกฎหมายอาญาภายในรัฐ ในขณะที่รัฐอื่น ๆ รวมถึง ศาลในระดับรัฐบาลกลางและศาลสูงสุด ยังยอมรับเอา Common Law แบบผสมผสาน ในการใช้ ตีความ และวินิจฉัยคดี

กล่าวโดยสรุป ปัจจุบัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการดำเนินคดีอาญาทั้งตามแนวคิดของ Common Law และ ตาม MPC การเป็นนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา จึงจะต้องทราบว่า มลรัฐที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่นั้น อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายใด ระหว่าง Common Law หรือ MPC

ตามแนวคิดของ Common Law นั้น องค์สร้างความรับผิดทางอาญา จะประกอบด้วย ๒ องค์ประกอบ ได้แก่ มีการกระทำ (Actus Reus) และ จะต้องมีองค์ประกอบในส่วนของจิตใจ (Mens Rea) แต่ตามแนวคิด Common Law ไม่ได้ระบุหรืออธิบายไว้เกี่ยวกับข้ออ้างข้อแก้ตัว ไว้ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาด้วย แต่ตามแนวคิดของ MPC นั้นได้ นอกจากจะต้องมี องค์ประกอบในส่วนของ Actus Reus และ Mens Rea แล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นต้นว่า การกระทำนั้น จะต้องไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวใด ๆ ตามกฎหมาย และ มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำด้วย กล่าวโดยสรุป โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามแนวคิดของ MPC จะประกอบด้วย (1) การกระทำที่สมัครใจ หรือ voluntary act - AR (2) มีเจตนากระทำผิด หรือ culpable intent – MR (3) ไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัว หรือ No excuse & justification และ (4) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำ หรือ causation of harm and act

คำถามที่ตามมา คือ อะไร ที่ถือเป็นการกระทำในสายตาของกฎหมายอาญา

ในส่วนของ AR นั้น จะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ หรือ Voluntary act ซึ่งจะต้องไม่ใช่แค่ความคิด (Mind) แต่จะต้องมีการกระทำการโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย ตามที่คิดและตัดสินใจ โดยในส่วนของการกระทำนี้ จะต้องมีลักษณะที่เพียงพอ ทั้งทางคุณภาพ (Qualitative) และ ปริมาณ (Qualitative) นอกจากนี้ คำว่า การกระทำ หรือ ยังรวมถึงการงดเว้นการกระทำเพื่อป้องกันผลด้วย – สำหรับการงดเว้นการกระทำที่จะต้องมีความรับผิดทางอาญานั้น จะต้องพิจารณาหน้าที่ที่มี ซึ่งอาจจะเกิดจากหน้าที่ตามกฎหมาย (legal duty) ที่กำหนดไว้ให้สามีภรรยามีหน้าที่ดูแลซึ่งกันและกัน บุตรกับบุพการี มีหน้าที่ต้องดูแลกันและกัน หน้าที่ตามสัญญา (contract) หรือ หน้าที่ที่เกิดจากการกระทำของตนซึ่งไม่ได้ทำให้ลุล่วงและอาจจะก่อให้เกิดภยันตรายขึ้นได้ เพราะการกระทำไม่ลุล่วงนั้น (former danger action caused by the accused) เช่น การจูงคนตาบอดข้ามถนนแล้วปล่อยให้อยู่กลางถนนไม่ทำไปให้สำเร็จลุล่วง แล้วเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนคนตาบอดนั้นถึงแก่ความตาย ดังนี้ บุคคลที่เป็นผู้ก่อพันธะไว้ในเบื้องต้นแล้วไม่ทำให้บรรลุ ย่อมต้องรับผิดทางอาญาไปด้วย

ในสหรัฐอเมริกา มีคดีตัวอย่างเช่น ภรรยา ทราบดีว่า สามีต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ แต่ภรรยาละเลยไม่ยอมดูแล ทำให้สามีถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ภรรยาย่อมต้องรับผิดในความตายของสามีโดยการงดเว้นกระทำการด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวคิดที่แตกต่างกันไป เช่น บางมลรัฐระบุว่า การที่จะกำหนดความรับผิดทางอาญา เพราะงดเว้นการกระทำการนั้น จะเกิดขึ้นได้แต่โดยการที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ชัดเจนเท่านั้น ซึ่งในทางกฎหมายประเพณีกำหนดไว้กว้างขวางกว่า แต่ก็ไม่ได้กว้างขวางเกินความจำเป็น เช่น กรณีหน้าที่ระหว่างสามีภรรยา หากภรรยาประสงค์จะดูแลสามีที่เจ็บป่วย แต่สามีฝ่าฝืนไม่ได้กินยาตามที่ภรรยาจัดการให้ เพราะประสงค์จะตายอย่างสงบ ภรรยาก็พยายามทุกทางแล้วจะให้สามีกินยารักษา เช่นนี้ ภรรยาย่อมไม่มีความรับผิดทางอาญา สำหรับความตายของสามีของตนเอง

อีกกรณีหนึ่ง ชายได้ไปเที่ยวตามสถานบริการ แล้วได้พาหญิงรักสนุกกลับมานอนที่บ้านด้วยระหว่างที่ภรรยาของชายนั้นไปเยี่ยมญาติ ๒ วัน ในระหว่างที่มีกิจกรรมทางเพศด้วยกัน หญิงสาวก็ได้เสพสารเสพติดเข้าไปในร่างกายโดยชายห้ามปรามแล้ว แต่หญิงไม่ฟัง จึงได้สลบไป เมื่อใกล้จะถึงเวลาที่ภรรยาของตนจะกลับบ้าน ชายจึงได้นำหญิงที่ที่สลบไม่ได้สติไปฝากให้เพื่อนดูแล ปรากฎว่า หญิงเสพยาเกินขนาดถึงแก่ความตาย ดังนี้ จึงมีคำถามว่า ใครจะต้องรับผิดทางอาญาเพื่อความตายของหญิงผู้นี้หรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ เพราะ ลำพังเพียงการอยู่ด้วยกันชั่วคราวโดยไม่มีหน้าที่จะต้องดูแลต่อกันในลักษณะนี้ และผู้ที่นำหญิงมา ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะอันตรายเช่นว่านั้นแล้ว ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องดูแลหญิงดังกล่าว

ส่วนการกระทำที่ว่าจะต้องมีลักษณะเพียงพอทั้ง ปริมาณและคุณภาพนั้น หมายถึง จะต้องมีการกระทำในความหมายของกฎหมายอาญาจริง ๆ ไม่ใช่เพียงความคิด หรือ การตระเตรียมการ ที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง แต่การกระทำบางประการ แม้จะไม่ยังไม่ถือเป็นการกระทำความผิดกฎหมาย แต่โดยลักษณะการกระทำประกอบกับพฤติการณ์เฉพาะตัวของผู้กระทำแล้ว รัฐก็อาจจะมีบทบัญญัติกำหนดไว้เป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยได้

ในส่วนของจิตใจ มีขอบเขตเพียงใด

หากพิจารณาตามคำอธิบายของไทย ในส่วนของจิตใจ จะอธิบายไว้ว่า ผู้กระทำจะต้องมีความรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อ กระทำโดยเจตนาเป็นสำคัญ หากไม่ได้มีเจตนา ก็จะต้องกระทำโดยประมาท แต่การกระทำโดยประมาทนั้น จะต้องมีกำหนดไว้โดยกฎหมายให้ต้องรับผิดทางอาญาอย่างชัดเจน หรือ บางกรณี อาจจะไม่ต้องมีเจตนาเลยก็ต้องรับผิดทางอาญา หากกำหนดให้ต้องรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict Liability) เช่น ความผิดในหมวดลหุโทษเป็นต้น

ในแนวคิดของอเมริกันนั้น ในส่วนของจิตใจ หรือ MR หรือ culpable state of mind จะกำหนดระดับของ state of mind ไว้หลายระดับ และหลายประเภท เช่น ตาม Common law ได้กำหนดระดับเจตนาไว้ ๒ ระดับได้แก่ Specific intent กับ General Intent ซึ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยส่วนใหญ่ จะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้กระทำผิด จะต้องมีระดับ state of mind ในระดับใดระหว่าง specific intent หรือ general intent เพราะโดยส่วนใหญ่ จะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้กระทำผิดนั้น MR ในระดับใด กันแน่ แต่นักกฎหมาย จะต้องตรวจสอบจากคำพิพากษาเก่า ๆ ว่า ศาลแปลความระดับ MR นั้นอย่างไร ส่วนแนวคิด MPC ได้กำหนดระดับของจิตใจไว้ ๔ ประเภท ได้แก่ Purpose, Knowledge, Recklessness และ Negligent โดยในมลรัฐที่รับเอา MPC ไปใช้ จะมีการบัญญัติถ้อยคำ MR ไว้อย่างชัดแจ้ง และในกรณีที่ไม่ได้บัญญัติ MR ไว้ว่าหมายถึงระดับใด ตาม MPC ก็ได้บัญญัติไว้ว่า พนักงานอัยการมีหน้าที่พิสูจน์ MR ในระดับ recklessness เป็นระดับต่ำสุด

สำหรับ Common law นั้น ได้บัญญัติระดับ mental state ไว้เป็น ๒ ระดับ ได้แก่ Specific Intent กับ General Intent ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับ MPC แล้ว อาจจะเปรียบเทียบได้ดังนี้ Purpose & Knowledge เท่ากับ Specific intent ส่วน General intent นั้น อาจจะเปรียบได้กับ Recklessness & Negligence มีคดีตัวอย่าง เช่น ในกรณีกลาสีเรือ ชอบดื่มเหล้า จึงได้ขึ้นไปบนเรือขนเหล้ารำ แล้วก็ได้สูบบุหรี่ แล้วเกิดไฟไหม้เรือขนสินค้านั้นจนหมด พนักงานอัยการฟ้องชายผู้นี้ว่าเจตนาวางเพลิง ซึ่งพนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ว่า เขามี Specific intent แต่ข้อเท็จจริงว่า เขาไม่ได้มีเจตนาวางเพลิง แต่เป็นอุบัติเหตุ ดังนี้ หากพนักงานอัยการต้องการจะให้ศาลลงโทษจำเลยผู้นี้ ฐานวางเพลิง ก็จะต้องพิสูจน์ว่าเขามี specific intent ในการวางเพลิงด้วย หากพิสูจน์ไม่ได้ คดีก็ต้องยกฟ้องไปเป็นต้น

นอกจากนี้ การวิเคราะห์เกี่ยวกับข้ออ้าง หรือข้อแก้ตัว ตามกฎหมาย common law ในกรณีที่เกี่ยวกับ การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง การสำคัญผิดในข้อกฎหมาย และ การเมาสุรา ระดับ MR ข้างต้น ก็จะทำให้ defense เหล่านั้น แตกต่างกันไป

a. การเมาสุรา หรือ Intoxication: ไม่อาจจะอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิด ในความผิดที่ต้องการ general intent แต่ในความผิดที่ต้องการ specific intent ก็อาจจะอ้างเป็น defense ได้ ถ้าหากการมึนเมานั้น ถึงขนาดจะไม่อาจจะมี MR ได้เลย

b. ความสำคัญผิด หรือ Mistake: เช่น กรณีสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือ Mistake of fact หากผู้สำคัญผิดนั้นมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ (Honest believe) จนทำให้ specific intent ไม่อาจจะมีได้ ย่อมเป็น defense ได้ แต่สำหรับกรณีความผิดที่ต้องการ general intent ความสำคัญผิดนั้น จะต้องประกอบด้วย ทั้ง Honest belief และ reasonableness ของความสำคัญผิดเช่นว่านั้น

c. ความสำคัญผิดในข้อกฎหมาย หรือ Mistake of law: โดยทั่วไปแล้ว ความสำคัญในข้อกฎหมายในส่วนที่เป็นโทษทางอาญา หรือ Mistake of criminal law ไม่มีกล่าวอ้างความสำคัญผิดให้พ้นผิดได้ แต่สำหรับความสำคัญผิดในกรณีที่ที่ไม่ใช้กฎหมายอาญา (non-criminal law) ผู้สำคัญผิดจะได้ defense หรือไม่ จะมีลักษณะเดียวกับ ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ตามแนวคิดของ MPC ได้กำหนดนิยามของ MR - state of mind ไว้ ดังนี้

a. Purpose: คือ การกระทำที่ประสงค์ต่อผล โดยรู้สำนึกในการกระทำนั้น หรือ การก่อให้เกิดผลตามที่มุ่งประสงค์ (to cause the particular result)

b. Knowing: เป็นกรณีที่ ผู้กระทำไม่ได้มุ่งจะก่อให้เกิดผลเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่เขาได้รู้ว่าจะมีผลบางประการเกิดขึ้นอย่างแน่แท้จากการกระทำของเขา (Aware of the certainty of result will occur from such conduct.)

สำหรับแรงจูงใจ หรือ Motive ไม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ว่า การกระทำนั้น ได้กระทำโดย purposely” หรือ “intentionally” หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สามี จะต้องมีความรับผิดฐานฆ่าภรรยาของตนเอง หากได้ปล่อยให้ภรรยาตาย หลังจากที่ต้องทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งมานาน ไม่ว่าสามีจะมีเจตนาดีเพียงใด หากได้มีส่วนก่อให้เกิดความตายของภรรยา ก็ย่อมต้องรับผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจหรือมูลเหตุบางประการ ก็อาจจะทำให้ผู้กระทำพ้นความรับผิดได้ เช่น กรณี การป้องกันตนเอง(Self-defense), หรือ เหตุจำเป็นต้องกระทำ ( necessity )

c. Reckless: บุคคลที่กระทำการโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือ “recklessly” หาก บุคคลนั้นได้กระทำโดยไม่สนใจว่าจะมีภยันตรายอย่างร้ายแรงที่เขาควรจะคาดเห็น (Consciously disregards a substantial and unjustified risk.) ซึ่งเป็นไปตาม MPC มาตรา 2.02(2). – หมายถึงการกระทำที่เบี่ยงเบนอย่างร้ายแรงจากมาตรการของการกระทำของบุคคลทั่วไปที่พึงเคารพกฎหมาย บุคคลนั้นได้ รู้ถึงภยันตรายนั้น ตามหลักภาวะวิสัย แต่บางศาลก็อาศัยปัจจัยทางอัตตะวิสัยในการวิคราะห์ ความรับรู้ถึงความเสี่ยงหรือภัยดังกล่าว ในการที่จะบุคคลว่า บุคคลนั้น ได้มี MR ในขั้น recklessness หรือไม่

d. Negligent: สำหรับ MR ในระดับนี้ ผู้กระทำ ไม่อาจจะคาดเห็นหรือมีความรับรู้ในภยันตรายได้ ในขณะที่บุคคลทั่วไป ควรสามารถคาดเห็นได้

e. สำหรับ ความรับผิดเด็ดขาด หรือ Strict liability นั้น : เป็นกรณีที่ กฎหมายไม่คำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดจะมี MR หรือไม่ หากมีการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมมีความผิด แม้ผู้กระทำจะไม่ได้มีเจตนา หรือ ไม่มี MR ในระดับใดเลยก็ตาม

f. การสำคัญผิดเกี่ยวกับประเภท หรือ ระดับความผิด (Grading): คือ การสำคัญผิดว่า สิ่งที่ตนเองกระทำไป ไม่มีความผิด หรือ เป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง ความสำคัญผิดนี้ ไม่อาจจะใช้อ้างเป็น defense เพื่อยกเว้นความรับผิดได้ ในเกือบทุก ๆ มลรัฐ แต่ สำหรับ MPC ได้กำหนดให้ผู้กระทำต้องรับผิดเพียงเท่าที่ผู้กระทำมี MR เช่น การลักทรัพย์โดยคิดว่า ตนเองลักทรัพย์ราคาน้อย แม้จะปรากฎว่า ทรัพย์นั้นมีราคาสูง ซึ่งจะระดับความผิดแตกต่างกันไป ในรัฐที่ใช้ MPC จะยอมรับให้ผู้ต้องหา อ้างความสำคัญผิด มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้รับโทษเฉพาะความผิดที่ตนเองประสงค์จะกระทำเท่านั้น

g. MPC: กำหนดว่า การสำคัญในข้อเท็จจริง หรือ mistake of fact ไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่มีเหตุผล (reasonable) เว้นแต่ ความผิดนั้น มีระดับ MR ที่ negligent หรือ reckless หากการสำคัญผิดไม่ได้เกิดจากความประมาทหรือความผิดของผู้กระทำเอง กล่าวคือ ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อเช่นนั้นได้ ก็จะอ้างความสำคัญผิดเป็น defense ไม่ได้ .

h. ความสำคัญในข้อกฎหมาย หรือ Mistake of law: โดยทั่วไป ไม่ใช่ defense โดยเฉพาะความสำคัญผิดในกฎหมายอาญา แต่ถ้าเป็นการสำคัญผิดในข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายอาญา หากความสำคัญผิดนั้น มีลักษณะ honestly และ สามารถทำลาย intent อันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา ก็อาจจะอ้างเป็น defense ได้

ความรับผิดทางอาญา (Responsibility)

1. ความเมาสุรา Intoxication: หากเป็นการมึนเมา โดยความสมัครใจของตนเอง ไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดใด ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากฐานความผิดนั้น ต้องการ MR ในระดับ specific intent ผู้กระทำผิดก็อาจจะอ้างว่า ตนเองเมาสุราจึงไม่อาจจะมี intent ได้ เพื่อจะได้รับ defense

2. MPC มาตรา 2.08(1) ก็อนุญาตให้จำเลยได้แสดงว่า เพราะเขาเมาสุรา นั้น ทำให้เขาไม่สามารถมี mental state หรือ MR ได้เช่นเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเมาสุราโดยสมัครใจไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ แต่หากว่า เมาเสียจนไม่อาจจะมี MR ได้ ก็อาจจะได้รับ defense ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมึนเมานี้ จะไม่อาจจะใช้เป็นข้อแก้ตัวได้เลย ในความผิดที่กระทำโดยประมาทอย่างร้ายแรง (recklessness) โดยกฎหมายไม่ถือว่า การเมาสุราเป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาว่าจะต้องรับผิดหรืไม่ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาเลย

ข้ออ้าง และ ข้อแก้ตัว (Justification and Excuse)

1. หลักการทั่วไป : ข้ออ้าง และข้อแก้ตัวนี้ เป็น defense ที่จะทำให้จำเลยพ้นความผิดได้ แม้ว่าจำเลยจะได้กระทำตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญานั้น ๆ แล้วก็ตาม ตัวอย่างของข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวได้แก่

a. การอยู่ในภาวะกดดัน หรือ duress;

b. ความจำเป็น หรือ necessity

c. การป้องกันตนเอง หรือ self-defense

d. การป้องกันสิทธิของบุคคลอื่น หรือ defense of others;

e. การป้องกันสิทธิในทรัพย์สิทธิ์ หรือ defense of property;

f. การกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือ law enforcement;

g. ความยินยอม consent;

h. การรักษาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย Domestic ( maintenance of domestic authority;

i. การถูกล่อให้กระทำผิด หรือ entrapment.

2. การให้กล่าวอ้างข้อแก้ตัวนี้ MPC ยังอนุญาตให้สามารถกล่าวอ้างได้ แม้จะสำคัญผิดในข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นด้วย หากว่า จำเลยมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ แม้จะไม่สมเหตุผล ว่ามีข้อเท็จจริงที่ทำให้กล่าวอ้างข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นได้ แต่ถ้าความผิดพลาดดังกล่าว เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าจะร้ายแรง (recklessly) หรือ ประมาททั่วไป (negligently) จำเลยก็ไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้

3. องค์ประกอบของ Duress: ภายใต้กฎหมาย common law ได้แก่ (1) การมีภยันตราย (Threat); (2) ความรู้สึกกลัวของผู้ถูกข่มเหง (Fear); (3) ภัยนั้นใกล้จะเกิด (imminent danger); (4) ต่อชีวิตร่างกาย (bodily harm (death or serious bodily injury)) หากเข้าองค์ประกอบ แล้วจำเลยได้กระทำผิดลงไป ย่อมอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ ยกเว้น การอ้าง Duress ในกรณีฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย ไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้

4. องค์ประกอบของ Duress: ภายใต้ MPC: จะมีลักษณะที่แตกต่างจาก Common law บางประการ โดย MPC จะให้เป็น defense ก็ต่อเมื่อภยันตรายที่มีนั้นมีความร้ายแรงพอถึงขนาดทำให้ ‘a person of reasonable firmness” ในภาวะของจำเลย ไม่อาจจะต้านทานได้ (‘unable to resist.’ ซึ่งเป็นไปตาม MPC มาตรา 2.09(1) ความแตกต่าง จึงไม่จำเป็นต้องมี Threat ที่ร้ายแรงใกล้จะถึง ต่อชีวิตร่างกาย ฯลฯ พิจารณาแต่เพียงว่า บุคคลในภาวะเช่นนั้น จะทนทานต่อต้านได้หรือไม่เท่านั้น

5. อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่เหมือนกับ Common Law คือ ไม่สามารถอ้าง Duress defense สำหรับความผิดฐานฆ่าคนตายได้ (homicide)

6. ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง ใน common law นั้น Duress defense: ต้องมีภยันตรายต่อมีกระทำต่อสมาชิกครอบครัวของจำเลยด้วย ในขณะที่ MPC ไม่ได้มีข้อกำหนดเช่นว่านั้น พิจารณาแต่ว่า หากคนที่มีความเข้มแข็งในภาวะปกติ จะทนทานต่อต้านได้หรือไม่ หากคนในภาวะเช่นนั้น ยอมแพ้ และยินยอมจะต้องกระทำผิดแล้ว ก็อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้

7. ข้อสำคัญในการอ้าง Duress defense: จำเลยจะต้องไม่มีส่วนผิดในการกระทำให้ตนเองอยู่ในภาวะที่จะถูกข่มขู่ด้วย

8. ข้ออ้างเกี่ยวกับ การป้องกันตนเอง หรือ Self-Defense: โดยหลักการทั่วไปแล้ว มนุษย์ย่อมมีสิทธิในการปกป้องชีวิตตนเองจากการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทำต่อตนเอง

9. องค์ประกอบของ Self-Defense ตามหลัก Common Law: ได้แก่ (1) ผู้กระทำเชื่ออย่างมีเหตุผล (Resonable belief) ว่าต้องใช้กำลังเพื่อต้านต่อการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือ กำลังจะเกิดขึ้น (Resist unlawful force: the present or imminent use of unlawful force); (2) มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลัง แต่จะต้องไม่เกินสมควร (Necessary: force must not be excessive use.) ; (3) ได้สัดส่วนระหว่างภยันตรายที่ผิดกฎหมายกับ การป้องกันตนเอง (Proportionate of the imminence of unlawful force and use of force to self-defense) ฉะนั้น การใช้กำลังป้องกันตนเองจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่อาจจะกระทำได้ เว้นแต่ บุคคลนั้นประสบภาวะที่จะมีการใช้กำลังจนอาจถึงตายแก่เขาได้ ; (4) ผู้ป้องกันต้องไม่ใช่ผู้ก่อภัย (Not the aggressor) และ; (5) ผู้กระทำไม่มีหน้าที่ต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น โดยเฉพาะในกรณีที่อยู่ในบ้านของตนเอง (dwelling) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็น Aggressor ไม่อาจจะใช้กำลังป้องกันตนเองได้ บุคคลนี้ มีหน้าที่จะต้องหลบหลีกการใช้กำลัง (duty to retreat)

10. ส่วนตาม MPC นั้น Self-Defense: MPC ตามมาตรา 3.04 ประกอบ มาตรา 3.09 : ผู้กระทำนั้น เชื่อว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องใช้กำลังป้องกันตนเอง ต่อการกระทำที่ผิดกฎหมายนั้น ในปัจจุบันทันด่วน โดยผู้กระทำไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ

11. การใช้กำลังต่อต้าน จะไม่อาจจะกระทำได้ : (1) หากเป็นการต่อต้านการจับกุมของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และ (2) เป็นการต่อต้านการใช้กำลังของเจ้าของทรัพย์ที่ใช้สิทธิติดตามเอาคืนในกรณีที่จำเลยได้เอาทรัพย์ของบุคคลที่ใช้กำลังมาโดยผู้ที่ใช้กำลังทราบดีว่า เขาสามารถใช้กำลังได้

12. การใช้กำลังป้องกันอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือ Deadly force – โดยปกติแล้ว เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่พึงประสงค์ ดังนั้น การใช้ deadly force จึงเป็นเรื่องต้องห้าม เว้นแต่ (1) ผู้กระทำเชื่อว่า จำเป็นต้องกระทำ และ (2) ไม่มีทางเลือกอื่น ทั้งนี้ เพื่อ ป้องกันการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิด ความตาย หรือ ภยันตรายต่อร่างกายอย่างร้ายแรง หรือ การป้องกันการก่อเหตุลักพาตัวเด็ก (Kidnapping) หรือ เพื่อป้องกันมิให้มีการบังคับข่มขืนโดยใช้กำลังหรือขู่เข็ญจะใช้กำลัง

13. เนื่องจาก กม. ไม่ต้องการให้มีการใช้กำลังในลักษณะ deadly force โดยไม่จำเป็น ตาม MPC จึงกำหนดหน้าที่ให้ผู้ที่จะใช้กำลังนั้น จำเป็นต้องล่าถอย หรือหลีกเลี่ยงก่อน หากการล่าถอยนั้นจะทำให้เขาปลอดภัย เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้กระทำการป้องกัน อยู่ในบ้านของตนเอง หรือ อยู่ในสถานที่ทำงานของตนเอง หรือ เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลัง ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง

14. MPC ยังกำหนดว่า หากบุคคลที่ใช้กำลังนั้น เป็นผู้ก่อให้เกิด (Provocation) ย่อมไม่อาจจะใช้ deadly force ได้เลย .

15. ระดับการใช้กำลัง หรือ Degree of force: ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันตนเอง :

a. การใช้กำลังป้องกันที่ไม่ก่อให้เกิดความตาย หรือ Non-deadly force: จำเลยสามารถกระทำได้ โดย (1) จำเลยไม่มีหน้าที่ในการหลีกเลี่ยง (no duty to retreat) และ (2) ยังสามารถใช้กำลังเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นลักทรัพย์หรือพยายามลักทรัพย์ของตนเองได้ด้วย

b. การใช้ Deadly force: ตาม Common law นั้น จะสามารรถใช้ได้เท่าที่ มีภยันตรายที่เข้ามาใกล้และเป็นภยันตรายต่อชีวิตร่างกาย เช่น มีการยิงปืนใส่จำเลย ก็อาจจะป้องกันได้ รวมถึงกรณีสำคัญผิด หากมีเหตุผลเพียงพอ จำเลยก็ยังอ้างป้องกันโดยสำคัญผิดได้เช่นกัน

c. การใช้ Deadly force ตาม MPC จะใช้ได้เท่าที่มีเงื่อนไขดังกล่าวไปแล้วข้างต้น

16. การปกป้องทรัพย์สิน (Defense of Property) ตามระบบ common law นั้น ในอดีต สามารถใช้กำลังมากน้อยเพียงใดก็ได้ ในการปกป้องทร้พย์สินของตนเอง แต่ในปัจจุบัน เกือบทุกมลรัฐไม่ยอมให้มีการใช้ deadly force ในการปกป้องทรัพย์สินดังกล่าว เช่น การใช้เครื่องยิงอัตโนมัติติดตั้งเพื่อป้องกันผู้บุกรุกหรือขโมย หากมีผู้เสียชีวิต ผู้กระทำการปกป้อง จะต้องรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict liability)

17. การปกป้องทรัพย์สินตามระบบ MPC นั้น เป็นไปตาม มาตรา 3.06 กล่าวคือ เมื่อเจ้าของทรัพย์เชื่อว่าจำเป็นต้องกระทำโดยทันทีทันใด ทั้งนี้ เพื่อ (1) ป้องกันมิให้มีการบุกรุกเข้าในที่ดินของตนเองโดยไม่ชอบ (2) ป้องกันมิให้มีการขโมยสังหาริมทรัพย์ไป หรือ จำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อแย่งชิงหรือติดตามเอาทรัพย์สินของตนเองจากผู้อื่น (3) เพื่อทวงสิทธิ์ในการเข้าไปในดินแดนของตนเองหากถูกแย่งชิง

18. การใช้กำลังเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของตนเองคืนมานั้น ตาม MPC กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะใช้กำลัง จะต้องกระทำในลักษณะที่ทันทีทันใดหรือในลักษณะ fresh pursuit หรือ ในกรณีที่เห็นว่า หากไม่ใช้กำลังแย่งเอาคืนมาในคราวนั้นแล้วก็จะเป็นการยากที่จะได้คืนมา อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการใช้กำลัง ผู้กระทำจะต้องแจ้งให้ผู้แย่งชิงทรัพย์ไป หยุดและคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้กระทำก่อน เว้นแต่ เขาเชื่อว่า การแจ้งเตือนเช่นว่า ไม่อาจจะกระทำได้ หรือ อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้กำลังหรือบุคคลอื่น หรือ ทรัพย์สินนั้นอาจจะถูกทำลายหรือเสียหายอย่างมาก หากไม่ได้ใช้กำลังแย่งชิงเอาคืนในทันที

19. ตามหลัก Common Law กรณีความสำคัญผิดเกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผลรองรับ หรือ Unreasonably mistake of fact: จำเลย อาจจะไม่สามารถกล่าวอ้างความสำคัญนั้นได้ โดยการวินิจฉัยว่า ความสำคัญผิดนั้นมีลักษณะที่เป็น reasonableness หรือไม่ จะต้องตัดสินโดยอาศัยหลักวิญญูชน ตามหลักภาวะวิสัย หรือ objective standard ไม่ใช่จิตตะวิสัย subjective standard. [เช่น คดีนาย Goetz ยิงชายวัยรุ่น 4 คน ตายบนรถไฟในเมืองนิวยอร์ก โดยเข้าใจว่า กลุ่มชายวัยรุ่นดังกล่าวจะมาปล้นตนเอง เนื่องจากมีชายวัยรุ่นคนหนึ่ง ขอเงินเขาเพียง 5 ดอลล่าร์ แม้เขามีประสบการณ์การถูกปล้นมาก่อน ก็ไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ ]

20. ในกรณี ที่เป็น MPC jurisdiction แม้ว่าจะไม่สมเหตุสมผล หากว่าจำเลยเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ แล้วกระทำผิดพลาด เขาก็อาจจะอ้างเป็น Defense เพื่อลดระดับโทษได้ แต่เขาไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้สำหรับการกระทำผิดที่ต้องการ MR ในระดับ recklessness หรือ negligent

21. ในบางสถานการณ์ อาจจะอนุญาตให้ จำเลยนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ในอดีต หรือ การด้อยโอกาสทางกายภาพ ฯลฯ มาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของตนเพื่อให้ได้ defense ด้วยก็ได้ว่า จะถือว่า ความสำคัญของเขานั้น reasonableness หรือไม่

22. แต่ถ้าหากว่า การสำคัญผิดนั้น มาจากการมึนเมา แล้ว จะไม่อาจอ้าง self-defense claim ได้

23. ในกรณีที่เป็นความรุนแรงในครอบครัว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถูกทารุณกรรมต่อหญิง (Battered women) แม้จะไม่ได้ทำให้หลักความรับผิดของหญิงที่ถูกทารุณกรรมที่ได้กระทำผิดกฎหมาย เช่น ฆ่าสามีที่ทำร้ายตนเองแล้วอ้างว่า กระทำไปเพราะเคยถูกทำร้ายมาก่อน เช่นนี้ ย่อมไม่กระทบต่อหลักความผิดทางอาญา ที่เกี่ยวกับ self-defense rule แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าว อาจจะนำไปสู่การพิจารณาเหตุผลในการกระทำผิดได้

24. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ Imminence of danger ในกรณีที่อ้างว่าตนเองถูกทำร้ายก่อน ในลักษณะ Battered women: หรือ Battered child ภยันตรายดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ปรากฎปัจจุบันทันด่วน และยังมีข้อเท็จจริงนั้นอยู่ในขณะใช้กำลังป้องกันตนเอง

25. การใช้กำลังต่อต้านการจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ Use of force to resist unlawful arrest. ตามหลัก Common law นั้น ผู้ถูกจับกุมสามารถใช้กำลังประเภท non-deadly ในการต่อต้านได้ แต่ว่า MPC ไม่ประสงค์จะให้เกิดความสูญเสียชีวิตร่างกายทั้งฝ่ายตำรวจและฝ่ายประชาชนที่ถูกจับกุม ดังนั้น MPC จึงไม่อนุญาตให้ประชาชนที่ถูกจับกุม ต่อต้านการกระทำการจับกุมของตำรวจ หากตำรวจได้แสดงตัวหรือเขาทราบดีว่าผู้จับกุมเป็นตำรวจ หากปรากฏภายหลังว่า การจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย จะต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากตำรวจหรือหน่วยงานของรัฐต่อไป

26. หลังจากมีการอ้างความสำคัญผิดอย่างผิดพลาด ศาลจึงได้พัฒนาหลัก Imperfect self-defense ในกรณีที่การอ้าง self-defense นั้น รับฟังไม่ได้ ตามองค์ประกอบที่กำหนดตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลได้อนุญาตให้ จำเลยได้อ้าง Imperfect self-defense ในกรณีที่การสำคัญผิดในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนั้นเป็น unreasonable mistake ทั้งนี้ เพื่อลดระดับการลดโทษลง เช่น จากคดีหนึ่งที่ นักศึกษาชาวญี่ปุ่น ได้เข้าไปในบ้านพักของหญิงในช่วงเทศกาลฮาลาวีน และหญิงชราเข้าใจว่าเป็นโจร จึงได้ยิงนักศึกษานั้น ถึงแก่ความตาย อันเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยผิดพลาดไป กรณีเช่นนี้ ศาลอาจจะลดระดับความผิด (Mitigation) จาก Second degree murder คือ เจตนาฆ่าที่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน เป็น Voluntary manslaughter หรือ ฆ่าคนตายเพราะอยู่ในภาวะกดดัน

27. ตามหลักการของ Common Law นั้น การใช้สิทธิป้องกันชีวิตฯ ของผู้อื่น หรือ Defense of others: ตามกฎหมายอเมริกานั้น กำหนดว่า จำเลยซึ่งใช้กำลังป้องกันสิทธิของผู้อื่น นั้นจะสามารถอ้างเพื่อเป็น defense ได้เท่าที่ บุคคลที่สามที่จำเลยใช้สิทธิป้องกันนั้น มีสิทธิในการป้องกันตนเองหรือไม่ คือ เสมือนจำเลยเข้าไปยืนในรองเท้าของบุคคลนั้น เขามีสิทธิเพียงใด ผู้ใช้สิทธิ์ก็มีสิทธิ์เพียงนั้น ฉะนั้น หากคิดว่าเขามีสิทธิ แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเข้าใจผิด ก็จะอ้าง defense ไม่ได้ เรียกหลักการนี้ว่า ‘alter ego’ ส่วนในแนวคิดของ MPC – การจะอ้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จำเลยเชื่ออย่างไร คือ เน้นที่ระดับ MR เป็นสำคัญ

28. ขอกล่าวย้ำเรื่อง Defense of Property (โดยเฉพาะสังหาริมทรัพย์) อีกครั้ง : กฎหมายจำกัดการใช้กำลังเพื่อต่อต้านการกระทำการป้องกันเพื่อป้องกันการแย่งชิงหรือเอาทรัพย์นั้นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

a. หน้าที่ในการเรียกร้องให้หยุดกระทำการ เว้นแต่ การเรียกร้องให้หยุดนั้น ไม่เป็นผลดี ไม่อาจจะยับยั้งได้ การใช้กำลังประเภท non-deadly force จึงอาจจะกระทำได้ : และ

b. การใช้กำลังจะต้องได้ระดับสัดส่วน หรือ Reasonable degree: เพียงเพื่อป้องกันการแย่งชิงทรัพย์สินนั้นไปเท่านั้น

c. การใช้กำลังประเภท deadly force อาจจะกระทำได้ แต่จำกัดมาก เมื่อเข้าเหตุที่อาจจะใช้ deadly force ได้ หากมีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ใช้ deadly force ป้องกันทรัพย์เป็นการล่วงหน้าไม่ได้

29. การป้องกันทรัพย์สินประเภท Real property หรือ อสังหาริมทรัพย์: โดยหลักการแล้ว ไม่อาจจะใช้ deadly force ได้เลย เว้นแต่จะเข้ามาหลักการใช้ deadly force กรณีอื่น ๆ เช่น ปรากฏในหลังว่า มีคนร้ายเข้ามาแล้วมีภยันตรายต่อชีวิตเจ้าของทรัพย์ เช่นนี้ หากจำเลยเชื่อว่าต้องใช้ deadly force เพื่อป้องกันชีวิตตนเอง ย่อมกระทำได้

30. การใช้เครื่องกล หรือ Mechanical Devices: ในการป้องกันทรัพย์สินของตนเอง

a. การใช้ Non-deadly device: สามารถกระทำได้ หากมีความจำเป็นและเหตุผลเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนเอง โดย MPC ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม คือจะต้องมีป้ายเตือนว่ามีการใช้เครื่องมือกลไกดังกล่าว หากมีการใช้เครื่องกลในหน้าที่พิเศษที่แตกต่างจากปกติของเครื่องกลนั้น [ MPC requires warning if such devices are not ‘customarily used for such a purpose.’]

b. การใช้เครื่องกลที่ก่อให้เกิด Deadly force: ตามแนวคิดดั้งเดิมของ Common law นั้น ยินยอมให้ใช้เครื่องกลที่ก่อให้เกิดความตายเพื่อปกป้องบ้านเรือนได้ แต่หากมีผลร้ายขนาดเกิดขึ้น และกลับกลายเป็นว่า คนที่ได้รับอันตรายไม่ใช่คนร้าย เช่นนี้ ผู้ใช้เครื่องมือ จะต้องรับผิดเด็ดขาด ตามแนวคิด strict liability; ในขณะที่ MPC ไม่ยินยอมให้ใช้เครื่องมือในลักษณะดังกล่าว

31. การเข้ายึดถือครองที่ดินของตนเอง (Recapture of chattel and re-entry on land) : ตามหลักกฎหมายถือว่า บุคคลย่อมมีเอกสิทธิ์ในการที่จะใช้กำลังตามสมควรที่จะยึดเอาที่ดินของตนเองคืนมา หรือ ที่จะเข้าไปใช้สิทธิในที่ดินของตนเอง โดยไม่ต้องมีการแจ้งเตือนใด ๆ ต่อผู้ที่บุกรุกเข้าไปให้หยุดกระทำการบุกรุก

กรณีที่กระทำผิด หากได้มีการลงมือกระทำไปแล้วโดยตลอด แล้วรอคอยผลให้เกิดขึ้นตามที่ประสงค์ ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง หากไม่สำเร็จ ผู้กระทำ ก็ยังคงต้องรับผิดสำหรับการกระทำเหล่านั้น ในขั้นพยายาม หรือ Attempt การพยายามกระทำความผิด ถือเป็น Inchoate Crime ที่จะต้องมีความผิดหลัก (Underline crime) ด้วยเสมอ แต่ผลของการกระทำในความผิดหลักไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น หากมีการกระทำลงแล้ว ย่อมมีความรับผิดตามกฎหมายเกิดขึ้น





Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:44:16 น. 0 comments
Counter : 3262 Pageviews.

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.