*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
บุช สร้างประวัติศาสตร์ ประธานศาลสูงที่อายุน้อยที่สุดในรอบ ๒๐๐ ปีของสหรัฐฯ

ผมเชื่อว่า เรื่องนี้คนทั่วไป แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาฯ คงไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่ามันไกลตัว ใครจะเป็นผู้พิพากษา หรือ ใครจะมาเป็นประธานศาลสูงสุด ก็ออกจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของ "ลูกชายปู่" ของเขาสักเท่าไหร่ แต่อาจจะมีนักกฎหมายด้วยกันที่สนใจ โดยเฉพาะนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา

ประธานธิบดีบุชฯ ได้ทำให้ท่านโรเบิร์ต เป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการกฎหมายสหรัฐฯไปแล้ว เพราะเขาเป็นประธานศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ที่หนุ่มที่สุดในรอบ ๒๐๐ ปี ท่านประธานคนใหม่นี้ ตอนหนุ่ม ๆ เคยเป็นเลขาประธานศาลคนก่อนที่ล่วงลับไปไม่นาน และเป็นพวกอนุรักษ์นิยมเหมือนกัน อีกทั้งยังเคยทำงานให้อดีตประธานาธิบดี เรแกน ซึ่งมีอดีต บุชฯ ผู้พ่อ เป็นรองประธานาธิบดีฯ ปัจจุบัน นายโรเบิร์ต เพิ่งอายุ ๕๐ ปีเท่านั้น การปฏิบัติงานของเขาจะสร้างผลกระทบต่อพลเมืองสหรัฐฯ ไปตลอดการดำรงตำแหน่งของเขา ซึ่งผมคิดว่า ถ้าเขาไม่เกษียณตัวเอง หรือมีอันเป็นไปเสียก่อน เขาคงจะอยู่อีกอย่างน้อย ๓๐ ปี กระมัง

หากจะกล่าวไปจริง ๆ ประธานาธิบดีบุชฯ แต่งตั้งคนข้ามหัว ผู้พิพากษาอาวุโส ที่อยู่ในศาลสูงสุดปัจจุบัน ซึ่งยังมีชีวิตและปฏิบัติหน้าที่อยู่ จำนวน ๗ คน ถ้าพิจารณาจากบริบทของไทยแล้ว ก็ดูจะเป็นการไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะคนที่ทำงานในศาลสูงสุดมาก่อน ย่อมมีความรู้ และประสบการณ์ที่เหนือกว่านายโรเบิร์ตฯ เป็นแน่ (ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ในไทย ศาลคงแตกละเอียด) แต่ที่สหรัฐอเมริกานี้ ยอมรับระบบว่า ประธานาธิบดี มีอำนาจเต็มในการเสนอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ซึ่งรัฐสภา จะไม่อาจออกกฎหมายให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง อย่างไทยได้ (เพราะรัฐธรรมนูญไทยกำหนดไว้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ) แต่การเสนอชื่อของประธานาธิบดี จะต้องได้รับการยอมรับจากวุฒิสภาฯ หากเสียงข้างมากยอมรับ ก็เป็นอันใช้ได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการลงมติ ทางวุฒิสภา จะตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบคุณสมบัติฯ ของนายโรเบิร์ต โดยมีการซักถาม สืบสวนสอบสวน เป็นเวลานานพอสมควร มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และสื่อมวลชนก็ติดตาม การตอบคำถามโดยคณะกรรมการยุติธรรมของวุฒิสภาฯ ดังกล่าวโดยตลอด เมื่อสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบ ก็จะมีการมติโดยวุฒิสภาฯ ว่าจะรับรองการเสนอชื่อดังกล่าวหรือไม่

ในการลงมติครั้งนี้ วุฒิสภาฯ พรรคเดโมแครต ประมาณครึ่งหนึ่ง กังวลว่า นายโรเบิร์ต จะกลับคำพิพากษาในคดี Roe v. Wade ที่มีการวางหลักการไว้ตั้งแต่ ในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ ว่า สิทธิในการทำแท้งเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว (right of privacy) ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental rights) ที่รัฐไม่อาจจะแทรกแซงได้ หากมีการกำหนดอะไรเป็นพิเศษ เช่น ห้ามทำแท้งฯ ก็จะขัดรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ด้วยเหตุที่นายโรเบิร์ต ได้แสดงความไม่เห็นด้วยไว้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่สมัยหนุ่มที่เป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเรแกน จากพรรค Republican เช่นเดียวกับประธานาธิบดีบุช ฯ แต่นายโรเบิร์ต ก็ได้แถลงการณ์ยอมรับแล้วว่า คำพิพากษาดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานมาเนิ่นนานกว่า ๓๐ ปีแล้ว ซึ่งแสดงเป็นนัยว่า คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงฯ ใด ๆ อีก

ในเมืองไทย เคยมีปัญหาวินิจฉัยเรื่องสิทธิในการทำแท้งของหญิงเหมือนกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา สิทธิในการทำแท้งของหญิงมีค่อนข้างจำกัดฯ เฉพาะกรณีที่หญิงถูกข่มขืน หรือ ตั้งครรภ์ต่อไป จะเป็นอันตรายต่อหญิงฯ เอง บางกรณีที่ เด็กเกิดมาจะมีปัญหา เช่น เป็นหัดเยอรมันฯ หรือ ติดเชื้อร้ายแรงฯ ปัญญาอ่อนร้ายแรง ฯลฯ กรณีนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยว่า หญิงไม่อาจทำแท้งได้ เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นในการห้ามทำแท้งตามหลักกฎหมาย สองประการข้างต้น

แล้วแต่นะครับ ... อาจารย์ผม เขาพูดเล่น ๆ เหมือนกันว่า สิทธิในการทำแท้ง กรณีนี้ น่าจะตีความขยายอันตรายต่อหญิง น่าจะรวม อันตรายต่อจิตใจ เพราะหากลูกเกิดมาพิกลพิการ เจ็บไข้ร้ายแรงฯ ไม่มีทางรอดแน่ ๆ การให้เกิดมาก็ดูเหมือนจะทำร้ายจิตใจแม่จนเกินไป เพราะลูกอาจจะอยู่ได้ไม่ได้นาน หลังจากทรมานแสนสาหัสฯ

อาจารย์ ท่านยังพูดเล่น ๆ อีกประการหนึ่งว่า คนที่วินิจฉัยเรื่องที่ห้ามทำแท้งกรณีนี้ ก็ไม่ได้เป็นคนที่ต้องทุกข์ หรือ ต้องมารับเลี้ยงดูด้วยแต่ประการใด อิ อิ ....จริงของอาจารย์เขาแฮะ

หมายเหตุ ขณะอัพเดทเรื่องนี้ครั้งแรก ไม่มีตัวอักษรภาษาไทยครับ เลยต้องใช้ภาษาอังกฤษ แบบ fish fish snake snake ของผมไปก่อน ตอนนี้ มีตัวอักษรไทยแล้ว เเลยขออนุญาตมาสรุปอีกทีครับ สำหรับด้านล่างต่อไปนี้ เป็นภาคภาษาอังกฤษแบบงู ๆ ปลา ๆ ในหัวข้อ John Robert-the youngest chief justice in 200 years of the U.S. history ของผมครับ สนใจ เชิญอ่านครับ




The U.S. President George W. Bush establishes the new characteristics of the U.S. Supreme Court history; he signs the commission appointing John Roberts as the 17th chief justice of the U.S. before swearing-in ceremonies at the White House, Washington, September 29, 2005.



The U.S. Supreme Court


Roberts is the youngest Chief Justice in 200 years of the U.S. Supreme Court record; he presently is 50 years old. He will work as chief Justice as long as he is able to work in this highest honorable position of judge career.



John Roberts - the youngest U.S. Supreme Court Chief Justice in 200 years


His walk of life is very impressive to me; he used to be the secretary of the late chief justice when he was young. He became the federal judge and appointed as the Chief Justice of the U.S. Supreme Court at the youngest age in history. His performance will appreciably effect to all persons in the U.S. for at least 30 years in the future.

Under the U.S. Constitution, the president shall exercise the absolute power to appoint the high level of the U.S. officers but subjected to the approval of the US Senate. Chief Just Robert, for example, was affirmed by the U.S. Senate at a margin of 78-22; of which all of Republican senetors approved him.

Around a half of Democrat Party did reject him as the new chief justice because they felt insecure of Robert's position of some area of law, especailly, the right of privacy of the woman's right to make decision whether they can legally terminate their pregnancy. Robert disagreed with the establishment of right to privacy of woman as the fundamental right in this area.


The late chief justice William Rehnquist


In Roe v. Wade case, 1973 : the U.S. Supreme Court held that state laws that prohibit abortions except to save the life of the mother were unconstitutional because they violated a right to privacy protected by the Fourteenth Amendment's Due Process Clause. The Court ruled that it was the right of privacy which is broad enough to encompass a woman's decision whether or not to terminate her pregnancy.

Chief Justice Robert said last two weeks that Roe is the precedent rule of law which has been set up for at least 30 years. It implies that he would not change the rule of law in the privacy rights area.


Nine Supreme Court Judges


The next question are far more vital; for examples, whether Robert will be able to work impartially without any saction of the Executive power under Bush Administration! Whether there will be problems of conflict between the rest of supreme court judges and the new comer! How will the newest chief justice handle the rule of law in the future?

Here are the ten landmark cases of the U.S.Supreme Court decision that Msnbc news has concluded:

1. Dred scott v. Sanford, 1857: In an opinion by Chief Justice Roger Taney, the court held that blacks could not become citizens of the United States and that slave owners had the right to take their slaves into U.S. territories. The decision added to the North-South animosity that led to the Civil War.

2. Yick Wo v. Hopkins, 1886: In a case involving a Chinese laundry owner in San Francisco, the court ruled that the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment "is not confined to the protection of citizens," but instead its protections "are universal in their application, to all persons within the territorial jurisdiction, without regard to any differences of race, of color, or of nationality.." This provided a basis for Supreme Court rulings in the 1970s and 1980s that states had to provide education and other benefits to illegal aliens.

3. Pollock v. Farmer's Loan and Trust Co. II.,1895: Responding to declining tariff revenues and Populist pressure for taxing the wealthy, Congress imposed a two- percent income tax in 1894. The court ruled the tax unconstitutional, leading to a popular backlash and ratification of the 16th amendment to the Constitution, which authorized an income tax.

4. Plessy v. Furguson, 1896: The court upheld a Louisiana law requiring racial segregation on trains. The justices said the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment "could not have been intended to abolish distinctions based upon color" or to enforce "a commingling of the two races unsatisfactory to either."

5. West Coast Hotel v. Parrish, 1937: After years of ruling against government regulation of wages and working conditions, the court, led by Chief Justice Charles Evans Hughes, reversed itself and sustained Washington state's minimum wage law. Coming in the middle of congressional debate over President Roosevelt's "court-packing" proposal to add pro-regulation justices to the high court, the decision helped undermine support for the plan.

6. U.S. v. Carolene Products, 1938: In the famous "footnote four," Chief Justice Harlan Fiske Stone began a constitutional revolution by declaring that the court would apply a minimal "rational basis" test to review economic regulations, but would apply a "more exacting judicial scrutiny" to laws which impinged on freedoms protected by the Bill of Rights, or which targeted religious or ethnic minorities. This ultimately led to the court using a "strict scrutiny" test to strike down such state laws as English literacy requirements for voting.

7. Brown v. Board of Education, 1954: The court discarded the "separate but equal" doctrine of Plessy v. Ferguson and declared that racial segregation in public schools violated the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment.

8. Roe v. Wade, 1973: The court held that state laws that prohibit abortions except to save the life of the mother were unconstitutional because they violated a right to privacy protected by the Fourteenth Amendment's Due Process Clause. "This right of privacy.is broad enough to encompass a woman's decision whether or not to terminate her pregnancy," declared Justice Harry Blackmun, writing for the majority.

9.Grutter v. Bollinger, 2003: The court upheld the University of Michigan's use of racial and ethnic preferences to increase the numbers of black, Latino and Native American applicants admitted to its law school. Justice Sandra Day O'Connor, writing for the majority, held that "race-conscious admissions policies must be limited in time" and predicted that "25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary."

10. Lawrence v. Texas, 2003: The court struck down state anti-sodomy laws, deeming them a violation of the Due Process Clause of the Fourteenth Amendment. The majority opinion by Justice Anthony Kennedy said decisions relating to marriage, procreation, and child rearing are constitutionally protected and "persons in a homosexual relationship may seek autonomy for these purposes, just as heterosexual persons do."







Create Date : 02 ตุลาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:34:20 น. 19 comments
Counter : 1268 Pageviews.

 
ได้ตามโผเลยนะ


โดย: rebel วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:4:30:54 น.  

 


โดย: พ ริ ก ขี้ ห นู @ UK วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:4:57:26 น.  

 
เรื่องการเมืองนี่บอกตามตรงอินทรีทองคำไม่รู้เรื่องกะเค้าอะจะ เข้ามาดูรูปสวยๆอะที่หัวบล๊อคคุณPOL_USรูปสวยอลังการดีอะนะ


โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:5:49:25 น.  

 
แวะมาหวัดดีเฉยๆ ค่ะ พี่ POL ..
ยังไม่ได้อ่าน .. พอดีจะออกไปข้างนอกนิ๊ดดดนึง

แต่....เห็นแวบๆ ตรง ten landmark cases of the U.S.Supreme Court ..
ต่อมอยากรู้อยากเห็นกระเจิง .. ขอ add หน้านี้ใส่ favorite ไว้ก่อน..
เดี๋ยวพี่เปลี่ยนหน้า จะหาไม่เจอ ... อุ-อุ




โดย: ซีบวก วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:7:55:54 น.  

 
ยาวจังค่ะขี้เกียจอ่าน


โดย: Tumble (Tumble ) วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:8:02:04 น.  

 
ด้วยความรู้ภาษาปะกิด อันน้อยนิด ทั้งอ่าน ทั้งเปิดดิก
ทั้งสะกด กว่าจะรู้เรื่อง เฮ้อ.......หนูเกือบตายยย


โดย: Xenosaga วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:9:35:25 น.  

 
federal supreme court justice นีต้องเก๋าจริงๆนะครับ่


โดย: praphrut608 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:12:29:19 น.  

 
มาเยี่ยมครับ...สวัสดีครับ


โดย: **mp5** วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:12:29:43 น.  

 
วันนี้อ่านได้เกือบจบตรงเฉพาะภาษาไทยค่ะคุณโพล .... ( ชื่อเรียกอย่างนี้หรือเปล่าค่ะ อ่านแล้วก็ได้รู้อีกติ๊ดถึงจะไม่ได้สนใจแต่อ่านไปก็ไม่เสียหลายเน๊อะ อีกอย่างอ่านตอนเช้า ๆ ศักยภาพยังมีเหลืออยู่ค่ะ ตาไม่ลาย เอิ๊กๆ


โดย: JewNid วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:13:31:38 น.  

 
โอ้โห ดูถูกภาษาปะกิดเราจัง
แต่คุณก็ดูถูกจริง ๆๆๆล่ะ
เพราะที่เราแปลกับที่อ่านจากคุณ
มันคนละเรื่องเดียวกันเลยย 55555

น่าสงสารจริง Xeno เอ๋ย.......


โดย: Xenosaga วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:13:37:11 น.  

 
เรื่องสิทธิการทำแท้ง ตอนนี้ในสังคมไทยน่าจะยกมาเป็นประเด็นได้แล้วนะคะ ขณะนี้บ่อยครั้งจะได้อ่านข่าวแม่ฆ่าลูกหลังคลอด หรือเอาลูกไปทิ้งไม่เว้นแต่ละวัน

แต่อย่างว่ามันดูเหมือนคนทั่วไปไม่อยากแตะเรื่องนี้หรอก



โดย: keyzer วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:14:00:22 น.  

 
อืม ได้ข่าวเรื่องนายคนนี้มาเหมือนกันครับ แต่ไม่ได้รู้รายละเอียดมากมาย ขอบคุณครับ


โดย: พ่อน้องโจ วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:14:40:22 น.  

 
อืมมม..คนใกล้ตัว..อีกแล้ววว..
ในประเด็นนี้สายตาคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มที่สนับสนุน "ดีมอแครท"...อาจจะจับตามองเป็นพิเศษ..
แต่ผมว่าก็ต้องคอยดูผลงานของท่านประธานศาลสูงคนล่าสุดนี้ต่อไป..
เฉพาะในประเด็นทางกฏหมายที่ท่านผู้นี้ให้ความสนใจและหยิบยกมาเป็นเรื่องสำคัญตามที่อ่านจากเนื้อหาใน blog ผมว่า..ก็น่าสนใจหลายประเด็นนะครับ..และคิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หากได้รับการพัฒนาแล้วก็จะเป้นประโยชน์ต่อสังคมมากทีเดียว..


โดย: กุมภีน วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:15:55:18 น.  

 
เหมือนเมืองไทยจังครับ คนใกล้ตัว


โดย: noom_no1 IP: 61.90.18.242 วันที่: 2 ตุลาคม 2548 เวลา:19:14:24 น.  

 
ประเด็นนี้น่าสนใจและน่าอ่านมากครับ

แต่ไม่ควรอ่านตอนง่วงนอนอย่างยิ่ง แหะๆๆ แล้วจะเข้ามาใหม่นะครับ


โดย: Nutty Professor วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:1:29:09 น.  

 
แหม ปกติจะมีแค่น้องแมปอ บ่น "ยาวใหญ่" วันนี้ มีเพื่อนสมาชิกท่านใหม่ เข้ามาต่อว่า อิ อิ แต่ มันก็ทั้งยาวทั้งใหญ่ จริง ๆ นั่นแหละ ขอโทษด้วยนะครับ คือ เรื่องมันเยอะอะครับ จะเขียนสั้น ๆ ผมเองก็จะงงฯ และไร้ความสามารถจะสรุปให้สั้นได้

เรื่องการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในสหรัฐฯ เหมือนปรากฎการณ์ทั่วโลกแหละครับ คือ ถ้าเราลองคิดแบบไม่มีอคติ เราจะเอาใครมาทำงานกับเรา ในทีมงานของเรา .... เราก็ต้องเลือกคนที่เรารู้จักหัวนอนปลายตีนเขานั่นแหละ จะไปหยิบสุ่มสี่สุ่มห้า มาร่วมหอลงโลงกับเราได้อย่างไร ถ้าเรายอมรับความจริงกันตรงนี้ เรื่องเลือกคนใกล้ตัว จึงเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ที่จะต้องถือว่า "มันเป็น เพราะ มันเป็น เช่นนั้นแล (It is what it is.)"

สาระสำคัญที่ระบบการทำงานและระบบการตรวจสอบ ระบบอิสระในการทำงาน ฯลฯ และที่สำคัญ คุณภาพของคนมากกว่าครับ ที่นี่ ก็ไม่มีแบบขี้แพ้ชวนตี เมื่อมันผ่านกระบวนการที่ยอมรับตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องถือว่าจบ เพราะผลงานของคนที่ได้รับคัดเลือกจะเป็นประวัติศาสตร์สำหรับเขา ที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา วิพากษ์วิจารณ์ กันตลอดไป เพราะที่นี่ ระบบบันทึกข้อมูลดีมาก แม้แต่บันทึกเสนอความเห็นของ นายโรเบิร์ต ทุกยุคทุกสมัย ยังถูกงัดขึ้นมาสอบถาม สืบสวนสอบสวน โดยคณะกรรมการกิจการยุติธรรมของวุฒิสภา ก่อนมีมติยอมรับเขาฯ

พรรค Republican โชคดีมากที่ได้มีโอกาสคัดเลือกและเสนอชื่อผู้พิพากษาศาลสูงมากกว่าอีกพรรคหนึ่ง เพราะ ในรอบหลายสิบที่ผ่านมา ก็มีเพียงนาย Clinton ที่ได้เสนอชื่อนาง Ginsburg ขึ้นเป็นผู้พิพากษาศาลสูงฯ ซึ่งขณะนั้น มติยอมรับเกือบเอกฉันท์ ครั้งนี้ ไม่เอกฉันท์ แต่เขาถือว่าจบกันไปแล้ว ไม่มีเกมส์อะไรเล่นกันต่อไป

ผู้พิพากษาหญิง โอ คอนเนอร์ ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Swing vote ก็เป็นเพื่อนรักร่วมชั้นเรียนที่ Stanford มากับท่านประธานที่เพิ่งตายไป และมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรค Republican เช่นกัน ตอนที่มีการเลือกตั้งนายบุช ใหม่ ก็มีปัญหาเรื่องการนับคะแนนที่ ฟอริด้า ศาลชั้นมลรัฐฯ บอกว่าการนับคะแนนของรัฐฟอริด้า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้นับใหม่ แต่ฝ่าย Republican ยื่นคำร้องต่อศาลสูงสุดของสหรัฐฯ เข้าไปตรวจสอบ ขณะนั้น ผู้พิพากษาลงมติ ๔ ต่อ ๔ ว่าจะรับหรือไม่ .... ท้ายที่สุด นางโอคอนเนอร์ นี่แหละ ที่โหวตให้รับคดีไว้พิจารณา พร้อมตัดสินว่า การนับคะแนนของรัฐฟอริด้า ชอบแล้ว ... บุช เลยได้เป็นประธานาธิบดี สมใจปรารถนาครับ

หากวิเคราะห์ในทางการเมือง ก็พบว่าเรื่องความสัมพันธ์กันในทางส่วนตัว ระบบอุปถัมภ์ ค้ำชู ย่อมมีผลอยู่อย่างมาก แต่ในทางกฎหมาย ก็ต้องถือว่า ชอบด้วยกฎหมาย ในการที่ศาลสูงสุดจะเข้าไปดูแล การเลือกตั้งประธานาธิบดีฯ ของรัฐสหรัฐ เพราะมันไม่ใช่เรื่องของรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น มันมีผลกระทบเป็นการทั่วไป ฯ ต่อทุกคนทุกรัฐ

โอ้โห ชักจะยุ่งยากยิ่งขึ้นครับ .... รายละเอียดมีอีกมาก ... เอาพอหอมปากหอมคอครับ .... ผมได้ตระหนักต่อคำทักท้วงของหลายท่านแล้วครับ สงสัยเข้าตำรา "ยาว ใหญ่ ใช่จะดี" ครับ


โดย: POL_US วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:3:40:21 น.  

 
ผมเห็นคุณลงบทความเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นผมจึงอยากจะรบกวนขอความรู้ เกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมทางการเงิน โดยเน้นลักษณะการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรใด ตลอดจนกฎหมายใด ในการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว ขอบคุณคับ


โดย: kridda IP: 203.154.77.9 วันที่: 5 ตุลาคม 2548 เวลา:16:29:03 น.  

 
เรื่องกม.ทำแท้ง อาจจะต้องถอยให้ โครงการ"ฝากเลี้ยง" ของท่าน รัฐมนโทแล้วมั้งครับ


โดย: Nutty Professor วันที่: 8 ตุลาคม 2548 เวลา:17:34:53 น.  

 
ข้อมูลบล็อกพี่ดีมากเลยค่ะ นำไปใช้ประกอบการทำรายงานได้เลย
เป็นประโยชน์มากๆ
ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
พยายามต่อไป เพื่อความยุติธรรมในสังคมนะคะ


โดย: นิสิตรัฐศาสตร์ IP: 58.8.147.239 วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:20:51:40 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.