*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
Not Guilty ในคดี Michael Jackson ชอบธรรมหรือไม่

จากการอ่านคอมเม้นท์ของหลายท่านในบล๊อกก่อนแล้ว น่าสนใจมาก จึงถือโอกาสกล่าวเพิ่มเติมครับ สำหรับท่านที่สงสัยว่ากระบวนการยุติธรรมนั้น ตรวจสอบได้หรือไม่

โดยหลักแล้ว กระบวนการทางการศาลตรวจสอบได้ในหลักการ คือ หลักความโปร่งใสและหลักการพิจารณาคดีโดยสาธารณะ (Public) ที่ทุกคนสามารถเข้าไปรับฟังการพิจารณาและการโต้แย้งโต้เถียงของทั้งสองฝ่ายได้ตลอด ผู้พิพากษาต้องเป็นกลาง (Impartial) ยึดหลักการแห่งกฎหมายในการพิจารณาคดี ตามระบบการดำเนินคดี ซึ่งมี ๒ ระบบใหญ่ คือ

(๑) ระบบกล่าวหา (Accusatorial system) และ
(๒) ระบบไต่สวน (Inquisitorial system)

ทั้งสองระบบ จะแตกต่างกันที่บทบาทของศาลจะแตกต่างกันไป โดยระบบกล่าวหา ศาลจะมีบทบาทน้อย ในลักษณะ Passive ทำตัวเป็นกรรมการตัดสินระหว่างการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ (Parties) ในคดี ส่วนระบบไต่สวน ศาลจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการสืบพยานเอง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ในสหรัฐ ศาลจะเป็นยึดมั่นในระบบกล่าวหา แต่ในข้อเท็จจริง ผู้พิพากษามีบทบาทสูงมากในการควบคุมการสืบพยานฯ ถามพยานฯ ต่างจากศาลไทย ที่ ป.วิ.อาญา ให้อำนาจศาลในการสืบพยานฯ แต่ศาลไม่เคยทำอะไรเลยนอกจากนั่งเฉย ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เท่ห์ ๆ

สิ่งที่จะพิสูจน์ว่า กระบวนการได้มาซึ่งคำพิพากษาชอบฯ หรือไม่ นั้น ต้องดูที่เหตุผลของคำพิพากษาครับ ถ้าพิจารณาแล้วสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ให้เหตุผลได้ดี จนถึงขนาด “ชัดแจ้งดังแสงตะวัน” คือ ฝ่ายจำเลยก็เคลิบเคลิ้มหลงไหลได้ปลื้มกับคำพิพากษาและยอมรับผิดโดยสดุดี นักวิชาการ ฯลฯ อ่านคำพิพากษาแล้วก็ยอมรับในเหตุผล หรือแม้แต่คนธรรมดาสามัญ อ่านคำพิพากษาแล้ว ก็เข้าใจและยอมรับฯ ในเหตุผลและคำอธิบายนั้น สิ่งนั้น คือ สิ่งที่แสดงถึงความชอบธรรมและถูกต้องของคำพิพากษาครับ

คดีนี้ ความจริงมีข้อเท็จจริงในการนำสืบอยู่มาก แต่ผมได้เสนอเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหลักกฎหมายลักษณะพยาน (Federal Rule of Evidence) ตามหลักกฎหมายของสหรัฐเท่านั้น ว่าไม้เด็ดของทนายฝ่ายท่าน Michael Jackson คืออะไร แต่ในข้อเท็จจริงว่าเขาทำผิดจริงหรือไม่นั้น ไม่มีใครทราบได้ การตัดสินปัญหาทางกฎหมาย ไม่อาจจะใช้อารมณ์หรือความรู้สึกเป็นพื้นฐานในการตัดสินถูกหรือผิดได้

เราต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่สำคัญในคดีเป็นหลัก โดยพยานหลักฐานจะต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ตรงประเด็น (Relevant) มีคุณค่าน่ารับฟัง (Probative value) อีกทั้ง เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างความเสียหายที่เกิดขึ้น (Unfair prejudice) ที่จะเกิดกับจำเลยแล้ว คุณค่าของพยานหลักฐาน (Probative value) นั้น ท้วมท้น (Substantially outweighed) สิ่งที่เรียกว่า Unfair Prejudice นั้น จึงจะสามารถรับฟังเข้าเป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้คณะลูกขุน พิจารณาต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างมากมาย พยานหลักฐานที่มีคุณค่านั้น ย่อมต้องถูกตัดออกไป โดยคณะลูกขุนห้ามนำพยานหลักฐานนั้นมาพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ คดีนี้ แม้ของเด็ก เคยฟ้องคดีอันเป็นเท็จ และทำเอกสารเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินและสวัสดิการของรัฐฯ พยานโจทก์ จึงขาดความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจรับฟังได้ฯ

แม้ความรู้สึกเราจะเชื่อว่า ท่าน Michael Jackson ทำผิดจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานไม่เพียงพอ คณะลูกขุน จึงลงความเห็นว่า Not Guilty โดยกระบวนการทุกอย่างจะต้องยุติลงในทันที ไม่อาจฟ้องร้องดำเนินคดีได้ซ้ำอีก เพราะขัดต่อหลัก Double Jeopardy แต่ถ้าหากคณะลูกขุน ลงมติว่า Guilty ก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและต่อสู้คดีต่อไป ซึ่งในระบบกฎหมายของสหรัฐนั้น สิทธิในการมีทนาย หรือ Right to counsel ตาม Sixth Amendment to the U.S. Constitution รวมถึง Right to effective assistance counsel หาก Michael Jackson แพ้คดี ย่อมมีทางที่จะต่อสู้คดีได้อีกมากมาย อาจจะต้องใช้เวลากว่า ๑๐ ปี คดีจึงจะถึงที่สุด เช่น ในคดีที่ที่มีโทษประหารชีวิตในสหรัฐ โดยเฉลี่ยของการดำเนินคดีจะอยู่ที่ ๑๑ ปี ซึ่งนับว่าล่าช้ามากครับ

“ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฎิเสธความยุติธรรม” “Justice Delay is Justice Deny” อันนี้ เรื่องจริง และปฎิเสธทุกอย่างเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมและวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิด ส่วนในคดีแพ่งนี่ ยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ คนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้กฎหมายจะต้องตกเป็นเครื่องมือและที่แสวงประโยชน์ของนักกฎหมายระยำ ๆ ทั้งหลาย เพราะไม่ว่าเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ดังที่ผมได้เคยกล่าว แม้ว่าเรามีสิทธิตามกฎหมาย(ว่าด้วยสารบัญญัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น ๆ ) แต่เราไม่ทราบและไม่ได้กระทำการข้อบังคับในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองตามกฎหมายกระบวนการพิจารณาคดี ( ป.วิ.แพ่งฯ ) เราก็เสมือนไม่มีสิทธิอะไรตามกฎหมาย เรียกร้องอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายพวกนี้ ตัดสิทธิในการดำเนินกระบวนการพิจารณาและร้องขอหรือรักษาสิทธิของตนเองได้

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงว่า เราควรจะต้องเรียนรู้กฎหมาย เพื่ออย่างน้อย ก็ไม่ให้คนอื่น โดยเฉพาะนักกฎหมายที่ไม่ได้ความ มาเอารัดเอาเปรียบเราได้ เพราะจะไปหวังพึ่งองค์กรที่ควบคุมจรรยาบรรณเหล่านี้ ก็เหมือนจะไร้ผล และไม่ได้ความเช่นเดียวกัน



Create Date : 19 มิถุนายน 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:33:19 น. 7 comments
Counter : 756 Pageviews.

 
เข้ามาอ่าน

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้

แต่ปวดหัวนิดหน่อย ฮ่า

เคยดูหนังเรื่องนึง จำเนื้อเรื่องได้

ที่ว่า ลูกชายหัวหน้าแก๊งค์ฆ่าคนตาย (มั๊ง)

แล้วนางเอก ถูกเลือกไปเป็น Juror พอดี

ทางแก๊งค์ เลยให้ ผู้ชายคนหนึ่งมาจีบนางเอก และลักพาตัวลูกนางเอก

เพื่อที่จะให้นางเอก โน้มน้าวจิตใจ คนที่เป็น Juror ทั้งหมด

และนางเอกก็ทำได้จริงๆ

คนร้ายพ้นผิด

จำชื่อเรื่องไม่ได้

แต่การที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ ทำให้เข้าใจ ระบบศาล ของประเทศ อเมริกามากขึ้น

ยังไม่นอนอีกเหรอคะ คุณตำรวจ


โดย: พฤษภาคม 2510 วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:14:12:40 น.  

 
อืม กระบวนการยุติธรรมนี่มันพูดยากดีนะครับ บางเรื่องมีเงิน ก็แก้ปัญหาได้ คำพูดนี้สากลมาก ๆ อีกอย่างเรื่อง sex มันทำสองคนรู้สองคน พยานอาจจะหายาก


โดย: dont wanna no วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:17:19:27 น.  

 
การเรียนรู้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิเป็นสิ่งที่ดี แต่คนอีกจำพวกใช้กฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือทำมาหากิน หรือเรียกว่าหัวหมอ ผมว่าประชาชนทั่วไปที่สุจริตคงไม่ได้ใส่ใจอะไรมากมายในเรื่องกฎหมายเพราะไม่มีใครแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากพวกหัวหมอหรือคนชั่วทั้งหลาย อย่างในหนังเรื่อง คู่อำมหิต ฆ่าออกทีวี (15 Minutes) ไงครับ คนทำเลวแต่เรียกร้องสิทธิ์ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

เมืองไทยเองก็มีพวกจำพวกนี้อยู่ไม่น้อย ไปโกงเค้าไปทำความเสียหายให้เค้าแล้วยังไปฟ้องร้องเค้าอีก มีเยอะแยะ
ก็ได้แต่หวังพึ่งผู้รักษากฎหมายและผู้พิพากษาเท่านั้นแหล่ะครับที่เป็นผู้ตัดสิน


โดย: noom_no1 วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:19:07:34 น.  

 
พี่ขยันเขียนจริงๆ สมองยังกับ ทักษิณ เลยนะครับพี่ ผมเองไม่มีความรู้เรื่องกฏหมายมาแสดงความเห็น ก็ขอรับข้อเขียนพี่ไปคิดและใส่สมองนะครับ


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:19:08:39 น.  

 
“ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฎิเสธความยุติธรรม” “Justice Delay is Justice Deny” คำคมดีจัง


โดย: Bluejade วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:19:17:28 น.  

 
เข้ามาอ่านครับ


โดย: แจ้น IP: 202.133.163.130 วันที่: 19 มิถุนายน 2548 เวลา:21:36:34 น.  

 
ตามมาขอบคุณคุณโปลุสมากๆ ครับ ที่แวะไปเยี่ยมเยียนบ้านผม แล้วก็ตอบข้อคาใจที่ผมไปรำพึงรำพันไว้ในบล็อกที่แล้ว เรื่องคดีคุณไมเคิลเธอนี่แหละ

เมื่อกี๊แวะไปเที่ยวชิคาโกมาด้วย แต่ถ้าจะฝากข้อความไว้ตรงนั้นก็รู้สึกแปลกๆ แบบผิดที่ผิดทางชอบกล เลยมุดกลับมาห้องนี้ ก็มาเจอบล็อกนี้เข้าพอดี

อ่านจบด้วยความรู้สึกสองอย่าง

อย่างแรกคือเห็นด้วยกับคุณโปลุสมากๆ ในเรื่องความจำเป็นของการรู้กฎหมายสำหรับคนทั่วไป แต่ก็นั่นแหละครับ ในฐานะคนทั่วไป ขออุทธรณ์นิดนึงว่า การได้มาซึ่งความรู้นั้น ยากมั่กๆ นึกภาพคนไม่เคยใช้คอมฯ เปิดคู่มือซ่อมเครื่องคอมฯ และแฮคฯ มาอ่าน ยังไงยังงั้น อ่านไปประโยคนึงก็เจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจไปเกินครึ่ง สารภาพว่าแค่คิดก็ท้อเสียแล้ว

คุณหนุ่มบอกว่า "ก็ได้แต่หวังพึ่งผู้รักษากฎหมายและผู้พิพากษาเท่านั้นแหล่ะครับ..." ฟังดูเหมือนยอมแพ้ แต่ส่วนตัวผมเองก็มีความรู้สึกในทำนองเดียวกันครับ ไม่อยากเอ่ยคำว่าท้อแท้บ่อยๆ ให้หดหู่ แต่เหมือนไม่มีคำอื่นตรงใจกว่านี้เลย

อันที่จริง อ่านคำอธิบายเกี่ยวกับระบบอันยุ่งยาก และความซับซ้อนของหลักการ ข้อกฎหมายต่างๆ แล้ว ทำให้ได้คิดว่า เจตนาของข้อกำหนดเหล่านี้ ก็เพื่อที่จะให้กระบวนการไต่สวนและตัดสิน เป็นไปอย่างถูกต้องยุติธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด ไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม (เช่นเรื่อง unfair prejudice) หรืออะไรต่างๆ ขึ้นโดยง่าย

แต่ดูเหมือนไม่ว่า ระบบ จะถูกวางไว้อย่าง พยายาม ให้รัดกุมซักแค่ไหน สุดท้ายก็อยู่ที่ จิตสำนึก ของ คนที่ทำงานกับระบบ ว่าจะกวัดแกว่ง "อาวุธ" ที่ "รัฐ" มอบให้ "พลเมือง" ใช้ปกป้องตัวเอง และรักษาความสงบสุขของสังคม นี้ "อย่างไร"

นั่นก็นำมาซึ่งความรู้สึกที่สอง

ผมอ่านจบแล้ว รู้สึกว่าที่บล็อกนี้ คุณโปลุสได้เขียนถึงความคิดเห็นและความรู้สึกของตัวเองลงไปด้วย (บล็อกที่แล้วเหมือนเป็นการบอกเล่าอย่างเป็นกลางมากๆ) อยากบอกว่ารู้สึกดีกับความคิดเห็นและความรู้สึกที่คุณโปลุสใส่ไว้ตรงนี้มากครับ ทำให้รู้สึกว่าสังคมเรายังมีคนที่ตั้งใจดี มีจิตสำนึก ทำให้รู้สึกว่าสังคมเราน่าอยู่

และอยากจะขอบคุณคุณโปลุสไว้ตรงนี้ด้วยครับ


โดย: คุณพีท PeterPuck (PeterPuck ) วันที่: 24 มิถุนายน 2548 เวลา:9:29:03 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.