*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
White Collar Crime ในประเทศสหรัฐอเมริกา

White Collar Crime เรียกกันในภาษาไทยแบบเว้ากันซื่อว่า อาชญากรรมเสื้อคอปกขาว หรือเพราะหน่อย ก็เรียกว่า อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ




นาย Edward Sutherland นักอาชญาวิทยาและนักสังคมวิทยา เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ ๆ นี้ โดยให้นิยามตั้งแต่ ปี ค.ศ.๑๙๓๙ ว่าเป็นอาชญากรรมที่กระทำโดยบุคคลมีสถานทางสังคมระดับสูงและเป็นที่เคารพนับถือ โดยอาศัยโอกาส หรืออาชีพของตนในการกระทำผิด ซึ่งรวมถึงการกระทำผิดโดยบริษัท หรือนิติบุคคลอื่นด้วย

คำนิยามดังกล่าว ซึ่งเกิดจากมุมมองเฉพาะในตัวแบบอาชญาวิทยา (Criminology) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ถูกต้องนัก เพราะจำกัดขอบเขตของผู้กระทำผิดโดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานในทางสังคมและทางเศรษฐกิจของตัวผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ เช่น พิจารณาเฉพาะ Family background และ ความระดับร่ำรวยของบุคคลคนนั้น ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้ว บุคคลที่กระทำผิดนั้น ไม่ได้เป็นบุคคลที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี หรือเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยเสมอไป และผู้กระทำผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีอำนาจในทางการบริหารขององค์กรนั้นๆ เท่านั้น คำนิยามข้างต้น จึงถือว่าค่อนข้างล้าสมัยไปแล้ว

ประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการฟ้องร้องคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นใน ปีช่วงปี ค.ศ.๑๙๗๐ เป็นต้นมา และได้มีการให้คำนิยามเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจใหม่ ที่แตกต่างจากที่ Sutherland ได้กล่าวไว้ เช่น คดีเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษี (tax fraud) หรือความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ (Securities fraud) ก็พบว่า บุคคลที่ทำผิดไม่จำเป็นต้องบุคคลที่มีสถานะทางสังคมที่สูงแบบที่ Sutherland ให้คำนิยามไว้แต่ประการใด แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า white collar crime ก็ช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าเป็นการกระทำผิดที่ไม่ใช่การกระทำผิดกรณีทั่วไป ที่เรียกว่า street crime ซึ่งได้แก่คดี ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ได้นิยาม white collar crime ว่าหมายถึง

“Nonviolent crime for financial gain committed by means of deception by persons whose occupational status is entrepreneurial, professional or semi-professional and utilizing their special occupational skills and opportunities; also, nonviolent crime for financial gain utilizing deception and committed by anyone having special technical and professional knowledge of business and government, irrespective of the person’s occupation.”

คำนิยามข้างต้น ให้ความสำคัญกับการใช้วิธีการโกง เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด อย่างไรก็ตาม ตามคำนิยามนี้ ผู้กระทำผิดอย่างน้อง จะต้องเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญเป็นพื้นฐาน (Semi-professional) หรือ มีทักษะ (special technical and professional knowledge) แต่ในทางข้อเท็จจริงผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดไม่จำเป็นต้องมีความรู้พิเศษหรือทักษะเฉพาะดังกล่าวเลย คำนิยามดังกล่าว จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยังแคบเกินไป

ผู้ที่ในวงวิชาชีพผู้ใช้กฎหมาย โดยเฉพาะ ศาล อัยการ และทนายความ จึงได้พยายามให้คำนิยามคำนี้ เพื่อแยกแยะความแตกต่างจาก อาชญากรรมทั่วไป (street crime) ไว้เชิงปฏิเสธ (โดยไม่ได้ให้นิยามเฉพาะเจาะจง) ดังนี้

“White Collar Crime as crime that does not:
(a) necessarily involve force against a person or property;
(b) directly relate to the possession, sale, or distribution of narcotics;
(c) directly relate to organized crimes activities;
(d) directly relate to such national policies as immigration, civil rights, and national security; or
(e) directly involve “vice crimes” or the common theft of property.

การนิยามข้างต้น จึงเป็นการนิยามเชิงปฏิเสธที่กว้างขวางมาก คดี White Collar Crime ในสหรัฐจึงค่อนข้างกว้างขวาง ในบางกรณีคดีอาญาทั่วไป ผู้กระทำผิดอาจจะถูกดำเนินคดีได้ทั้งแบบคดีอาญาทั่วไป และคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับว่าลักษณะข้อเท็จจริงและเหตุผลธรรมชาติของการกระทำผิดนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานสมคบ (conspiracy) กรรโชก (extortion) การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (obstruction of justice) เป็นต้น

ในการดำเนินคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบัน คลอบคลุมกฎหมายหลายร้อยฉบับ โดยองค์กรที่ดำเนินคดีจะเป็นหน่วยงานทั้งระดับรัฐบาลกลาง (Federal Government) ได้แก่ F.B.I และพนักงานอัยการ หรือ หน่วยงานทางภาษีอากร (IRS) กับอัยการ ได้ร่วมกันดำเนินการสืบสวนสอบสวน และจะต้องดำเนินการไต่สวนผ่านขณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) เพื่อให้คณะลูกขุนออกคำรับรองให้ฟ้องคดีต่อศาล (Indictment) ต่อไป คดี

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ๆ จะประกอบไปด้วยการกระทำผิด เหล่านี้

๑. ความผิดของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น และปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
๒. ความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยผู้ที่สมคบกัน จะมีความผิดทันที ตั้งแต่มีการตกลงกันโดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
๓. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงโดยวิธีการทางจดหมาย (Mail Fraud) การฉ้อโกงเงินผ่านระบบธนาคาร (Wire Fraud) การฉ้อโกงธนาคาร (Bank Fraud) การฉ้อโกงประกันภัย (Health Care Fraud) และการฟ้องคดีอันเป็นเท็จ (False Government Claims) การแจ้งล้มละลายอันเป็นการฉ้อโกง (Bankruptcy Fraud)
๔. การฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud)
๕. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer crime)
๖. ความผิดเกี่ยวสิ่งแวดล้อม (Environmental Crimes) ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการสารพิษ (Hazardous Wastes) การก่อมลพิเศษต่อน้ำ (Water Pollution) การก่อมลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
๗. การติดสินบนเจ้าพนักงาน (Bribery and Gratutities)
๘. ความผิดฐานกรรโชก (Extortion)
๙. การแจ้งความอันเป็นเท็จ (False Statements) โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับภาษีและการฟอกเงิน
๑๐. การเบิกความทันเท็จต่อศาล (Perjury)
๑๑. ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice) ตัวอย่างเช่น การการกระทำใดที่กระทบต่อการดำเนินคดีของศาล เช่น ให้เงินแก่พยานเพื่อไม่ให้ไปเบิกความต่อศาล ไปจนถึง ฆ่าพยาน เป็นต้น
๑๒. การกระทำผิดเกี่ยวกับทางภาษี (Tax Crimes)
๑๓. การกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมทางการเงิน (Currency Transaction Reporting Crimes) ซึ่งเป็นมาตรการที่เกี่ยวน้องกับความผิดในฐานฟอกเงิน
๑๔. ความผิดฐานฟอกเงิน (Money Laundering) กฎหมายฟอกเงินของสหรัฐนี้ ต่างจากกฎหมายฟอกเงินของไทยอย่างมาก เพราะกฎหมายฟอกเงินของสหรัฐ ไม่ได้กำหนดประเภทของการกระทำผิดมูลแบบของไทย โดยกำหนดเพียงแต่ว่า หากมีการใช้เงินในลักษณะกระทำธุรกิจทางด้านเงินตรา (Monetary transaction)ที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย (lawful activity) โดยรู้ว่าเงินนั้นเกี่ยวพันและเป็นดอกผลมาจากการกระทำผิดนั้น ผ่านสถาบันทางการเงินฯ หรือ มีการทำธุรกรรมทางการเงิน (Financial transaction) ที่ได้มาจากการกระทำผิดใด ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระทำผิดนั้น หรือ ซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินฯ ก็เป็นความผิดฐานฟอกเงิน ไม่จำเป็นต้องมีการกระทำผิดพื้นฐานที่เฉพาะเจาะจงแค่ ๘ ความผิดมูลฐานแบบกฎหมายฟอกเงินของไทย
๑๕. ความผิดฐาน RICO (Racketeer Influenced and Corrupt Organizations) ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐสภาสหรัฐ ออกมาบังคับใช้ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ เพื่อเสริมมาตรฐานเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมการกระทำขององค์กรอาชญากรรม (Organized Crime Control Act ค.ศ.๑๙๗๐ สำหรับกฎหมาย RICO กล่าวโดยย่อ คือ เป็นกฎหมายที่ควบคุม (๑) การนำเงินที่ได้มาจากธุรกิจผิดกฎหมายไปลงทุนในธุรกิจปกติ (๒) การนำเงินผิดกฎหมายมาใช้แทรกแซงและควบคุมธุรกิจผู้อื่นที่ถูกกฎหมาย เพื่อแสวงกำไรอันไม่ควรได้ (๓) การนำกลไกธุรกิจที่ถูกกฎหมายมาใช้บังหน้าหรือเป็นเครื่องมือในการดำเนินการธุรกิจผิดกฎหมาย (๔) การสมคบกันกระทำผิด ตามข้อ (๑) ถึง (๓)

สำหรับในคราวต่อไป จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายสำคัญ ๆ ดังกล่าวข้างต้น ต่อไป



Create Date : 10 พฤษภาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:31:32 น. 6 comments
Counter : 9226 Pageviews.

 
จะมาอ่านอีกค่ะ




โดย: Aisha วันที่: 4 มิถุนายน 2548 เวลา:7:15:45 น.  

 
โห ขอบคุณมาก ผมนึกว่าไม่มีใครสนใจ เลยไม่ได้อัพเดท กลุ่มบล๊อกนี้เลย .... ว่าง ๆ ผมจะเอาข้อมูลมาลงอีกแล้วกันครับ ขอบคุณมาก


โดย: POL_US วันที่: 4 มิถุนายน 2548 เวลา:12:49:30 น.  

 
มันส์มาก แล้วจะติดตามค่ะ


โดย: atihasita (atihasita ) วันที่: 10 พฤศจิกายน 2548 เวลา:13:57:39 น.  

 
แวะมาเยี่ยม และถือโอกาส add blog ไว้ใน friend's list นะครับ

วิเคราะห์การเมืองจากมุมมองนักกฎหมายได้น่าสนใจมาก
ครับ ส่วนบล็อคโดยรวม ถือว่า มโหฬารและจุแน่นด้วย
เนื้อหาน่าสนใจครับ

ระลึกถึง
เพียงดิน


โดย: piangdin วันที่: 3 เมษายน 2549 เวลา:14:38:31 น.  

 
very useful ka


โดย: tuccimalone IP: 220.101.180.152 วันที่: 30 มกราคม 2551 เวลา:18:21:29 น.  

 
ถ้าต้องการเรียนต่อเกี่ยวกับกฎหมายฟองเงิน หรือว่าเรียนเจาะไปที่ความผิดเกียวกับการนำเงินไปใช้ในองค์กรอาชญากรรม ที่ต่างประเทศต้องเรียน เป็น ll.m หรือว่า เป็น criminology ขอคำแนะนำด้วย อยากไปเรียนต่อ ผมจบ นิติมาครับ ไม่ทราบว่าใช้เรียนต่อได้ไหม


โดย: iam IP: 118.172.67.193 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:13:32 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.