*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
MPC: Criminal Liability Theories

วันนี้ ผมตั้งใจจะเปรียบเทียบกับแนวคิด Common Law ในเรื่องความรับผิดทางอาญาในความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่สหรัฐรับมาจากแนวคิดกฎหมายอาญาของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันสำหรับนักกฎหมายอาญาว่า Pinkerton Rule กับแนวคิดของ The Model Penal Code ของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวกับ Conspiracy ซึ่งจะมีขอบเขตความผิดที่แตกต่างกันมาก

แต่ก่อนจะกล่าวถึง หลักการข้างต้น ผมขออนุญาตกล่าวถึงทฤษฎีความรับผิดทางอาญาเสียก่อน นักปราชญ์ทางกฎหมายอาญา ได้เสนอไว้ว่า บุคคลจะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่ และมีองค์ประกอบความรับผิดอย่างไร จะมีด้วยกัน ๓ ทฤษฎี ประกอบด้วย (๑) Bipartite; (๒) Tripartite; และ (๓) Quadripartite

สำหรับ Bipartite theory นั้น เป็นความแนวคิดของประเทศที่ใช้ Common law เป็นพื้นฐาน ความผิดทางอาญา จะประกอบไปด้วย ๒ องค์ประกอบใหญ่ คือ

(๑) องค์ประกอบทางการกระทำ หรือ Actus Reus และ
(๒) องค์ประกอบทางจิตใจ หรือ Mens Rea ซึ่งทาง Common law จะใช้คำศัพท์แตกต่างกันไป แม้จะมีความหมายเหมือนกัน เช่น Willfulness อาจจะไม่ได้หมายถึง Intent ในบริบทและกฎหมายที่แตกต่างกันไป ในทาง common law จึงมีคำศัพท์ที่มีความหมายไม่แน่นอนเฉพาะเจาะจง และยากที่จะตีความเฉพาะแต่การอ่านบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เพียงลำพัง นักวิชาการ จึงเรียกคำศัพท์ทางกฎหมายอาญาว่าเป็น Terms of art ยากที่นักวิชาการหรือนักกฎหมายจากค่าย Civil law or Code law จะเข้าถึงได้


ทฤษฎีที่สอง คือ Quadripartite theory นั้น องค์ประกอบด้วยความรับผิด จะประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบใหญ่ คือ
(๑) ประธานของการกระทำความผิด (the subject of the offense);
(2) องค์ประกอบเฉพาะของผู้กระทำผิดในการพิจารณว่าผู้กระทำจะต้องรับผิดหรือไม่ (the subjective side of liability);
(3) วัตถุแห่งการกระทำผิดนั้น (the object of the offense); และ
(4) องค์ประกอบทางปทัสฐานของสังคมในการพิจารณาความผิดของผู้กระทำผิด (the objective side of liability)

ทฤษฎีที่สาม คือ Tripartite theory นั้น เป็นทฤษฎีความรับผิดตามแนวคิดของประเทศเยอรมันนี ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
(1) มีการบัญญัติให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย (the definition of the offense);
(2) การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” โดยครบองค์ประกอบแห่งการกระทำผิดตามกฎหมายบัญญัติ (the wrongfulness or unlawfulness); และ
(3) การกระทำนั้น สังคมโดยทั่วไปถือว่าเป็น “ความชั่ว” หรือน่าตำหนิ (the culpability or blameworthiness)

มาถึงตอนนี้ ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายอาญาเลย อาจจะไม่เข้าใจอะไรเลย และมองว่าผมเพ้อเจ้ออะไรอยู่ ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อย สำหรับทฤษฎีแรก จะไม่ยากเท่าไหร่ คือ การกระทำใด ๆ จะถือเป็นความผิด ก็ต้องมีการกระทำ และการกระทำนั้น ผู้กระทำมีเจตนาจะก่อให้เกิดผลร้ายขึ้น แต่ทฤษฎี จะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์บางอย่าง เช่น ผู้กระทำผิด เป็นคนปัญญาอ่อน ฯ จะต้องรับผิดหรือไม่ เพราะข้อยกเว้นความผิด ไม่อยู่ในองค์ประกอบความผิดที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ส่วนทฤษฎี Quadripartite theory จะกำหนดไว้เสร็จสรรพ ถึงเหตุยกเว้นความผิด ไว้ในองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา ในกรณีผู้กระทำผิดมีสติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน หรือเป็นผู้เยาว์ฯ

ในความเห็นผมแล้ว ทฤษฎีของประเทศเยอรมัน ดูจะอธิบายได้ยากที่สุด หากท่านย้อนอ่านไปข้างบน จะเห็นว่า มีคำว่า “ความผิด” และ “ความชั่ว” ตามทฤษฎีนี้ แม้การกระทำนั้น เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่สังคมโดยทั่วไปพิจารณาแล้ว ไม่ถือว่าเป็นความชั่ว เช่น บุคคลถูกละเมิดสิทธิ์ในชีวิต โดยมีคนจะเอาปืนยิงตนเอง เขาย่อมสามารถป้องกันชีวิตของเขาได้ โดยยิงผู้นั้นก่อน ดังนี้ ผู้ที่ยิงผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น ย่อมไม่มี “ความชั่ว” การกระทำของเขาไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ ดูเหมือนจะอธิบายกฎหมายไทยได้ไม่ทั้งหมด เพราะกฎหมายไทยกำหนดบางกรณีไว้ อาธิ กรณีที่จำเป็นต้องกระทำผิด ตัวอย่างเช่น เราจะถูกคนละเมิด ใช้อาวุธปืนยิงเรา เราไม่มีทางเลือกอื่น เราจึงต้องยิงบุคคลที่กำลังละเมอนั้นไป เราไม่มีทางเลือกอื่น จึงถือว่าการกระทำของเรา “ไม่มีความชั่ว” ทฤษฎีกฎหมายเยอรมันนี้ ถือว่าไม่มีความผิดเลย แต่กฎหมายไทย กำหนดไว้ว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ หากเป็นการกระทำที่สมควรแก่เหตุ

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนาทางกฎหมายอาญา ๒ รูปแบบ โดยในช่วงแรก ได้รับแนวคิดแบบ Common law มาจากอังกฤษโดยตรง โดยรัฐทุกรัฐสามารถกำหนดกฎหมายอาญาของตนได้อย่างเสรี อีกทั้งผู้พิพากษาทั้งหลาย ตามแนวคิดของอังกฤษนั้น สามารถวางหลักกฎหมายและประกาศให้การกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาได้ ตามหลัก Judge made law ทำให้กฎหมายอาญาของแต่ละแตกต่างกันอย่างมากมาย นักวิชาการทางกฎหมายอาญา ในช่วงยุค ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๐ได้รวมตัวกัน เรียกว่า สมาคมกฎหมายอเมริกัน (American Law Institute) ประกอบด้วย อาจารย์ทางกฎหมายอาญา จากหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจาก Indiana University – Bloomington ได้ร่างตัวแบบกฎหมายอาญา เรียกว่า The Model Penal Code (MPC) เพื่อให้รัฐต่าง ๆ รับเอาไปเป็นต้นแบบในการออกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ในช่วงแรกมีรัฐต่าง ๆ ประมาณ ๓๕ มลรัฐ รับไปตัวแบบนี้ไปออกฎหมายเป็นของตนเอง ปัจจุบัน มีเพียง ๔ มลรัฐ ที่ยังไม่ได้รับเอา MPC ไปใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยบางส่วนยังดำรงรูปแบบความรับผิดตามทฤษฎี common law แบบอังกฤษอยู่ดั้งเดิม

MPC ได้สะท้อนแนวคิดหลายประการที่ต้องการให้กฎหมายมีลักษณะที่เหมือนกัน ๆ กันทั่วประเทศสหรัฐ ได้สร้างแนวคิดและคำศัพท์เฉพาะทางกฎหมายขึ้นมา พร้อมกับบัญญัตินิยามไว้ด้วย โดยคำนึงถึงหลักสำคัญของกฎหมายอาญา ที่เรียกว่า หลักความชอบด้วยกฎหมาย (Legality Principle) โดยผู้พิพากษาจะประกาศให้สิ่งใดเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาไม่ได้ ผู้พิพากษาจะต้องบังคับใช้กำหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรากฎหมายบังคับใช้ไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งหลักนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) หลักการตาม MPC ได้แก้ไขข้อบกพร่อง ที่ปรากฎในทฤษฎี Common law หรือ Bipartite theory โดยเพิ่มนิยามเกี่ยวกับ Mens rea .ให้ชัดเจน และเพิ่มองค์ประกอบที่เกี่ยวกับข้อยกเว้นความรับผิดและนิรโทษกรรม (Excuse and justification) เข้ามาเป็นองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา ด้วย

ตามแนวคิดของ MPC บุคคลจะมีความผิดทางอาญา จะต้องมีการกระทำที่ครบองค์ประกอบความรับผิด (The Elements of Criminal Liability) ดังนี้

(๑) Actus Reus ส่วนของกระทำ ที่จะต้องมี ๓ องค์ประกอบย่อย ๆ คือ

(๑.๑) Conduct
(๑.๒) Circumstances และ
(๑.๓) Result

โดยการกระทำจะต้องเป็นกระทำที่ผู้กระทำสามารถคิด และตัดสินใจ พร้อมสมัครใจที่กระทำด้วยตนเอง ปราศจากการบังคับ (voluntary act) รวมถึงการกระทำที่เป็นการละเว้นกระทำการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติหน้าที่ไว้ด้วย (the omission)

หลักสำคัญ อีกประการหนึ่ง ตาม MPC พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่า จำเลยในขณะกระทำผิดนั้น มี Mens rea ในทุกองค์ประกอบของ Actus Reus คือ ทั้ง Conduct, Circumstances และ result. ต่างจากแนวคิดของ Common law รวมถึงของประเทศไทยด้วย

(๒) Mens Rea องค์ประกอบทางจิตใจ MPC ได้บัญญัติระดับองค์ประกอบทางจิตใจไว้ ๔ ระดับ คือ
- เจตนาที่จะก่อให้เกิดผลนั้น (purpose);
- รู้สำนึกถึงผลที่จะเกิดแต่ไม่แยแส (knowledge);
- ประมาทอย่างร้ายแรง (recklessness) คือ โดยมาตรฐานของวิญญูชน รู้ว่าอาจจะเกิดผลนั้นได้ แต่มั่นใจในความสามารถจะควบคุมเหตุการณ์นั้นได้ แต่มีผลร้ายเกิดขึ้น และ
- ประมาท (negligence) คือ บุคคลทั่วไปจะคาดเห็นได้ แต่ผู้กระทำผิดมีความระมัดระวังต่ำกว่ามาตรฐาน

โดยทั่วไปแล้ว บุคคลจะมีความรับผิดทางอาญา เมื่อมีระดับ Mens rea ถึง Recklessness เท่านั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ที่มีความประมาทขั้น Negligence ต้องรับผิดด้วย

ใน common law จะมีคำศัพท์ที่ใช้แตกต่างกันไป บางที คำ ๆ เดียวกัน แต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน หรือกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีความแตกต่างกัน จนไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำ ๆ นั้น มีองค์ประกอบทางจิตใจ (mens rea) อะไรกันแน่ นักกฎหมายเรียกคำใน Common law ว่า “Terms of art” คือ ไม่แน่นอน นักกฎหมายที่ปฎิบัติงานอยู่ในมลรัฐ ที่ใช้แนวคิดแบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common law jurisdiction) จึงต้องศึกษาจากแนวคำพิพากษาเป็นหลักฯ (ยังมีประเด็นปลีกย่อยอีกมาก ขอข้ามไป) .

(๓) ข้อยกเว้นความรับผิดหรือเหตุนิรโทษกรรม (The Justification or Excuse) แนวคิดของ MPC ยังกำหนด เหตุแก้ตัว ที่ผู้กระทำผิด สามารถยกขึ้นอ้าง เพื่อให้พ้นความรับผิดได้ด้วย โดยแบ่งเป็น

(๓.๑) เหตุนิรโทษกรรม ที่ทำให้ตนไม่ต้องรับผิดเลย เช่น ป้องกันตน (self-defense) หรือ สำคัญผิด (mistake) claim, หรือ

(๓.๒) ข้อแก้ตัวที่อาจจะอ้างเพื่อให้ไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง เช่น กระทำผิดเพราะถูกบังคับ (duress) ส่วนข้ออ้างว่าเมาสุรา (claim of intoxication) ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวทางกฎหมายใด ๆ . มาตรฐานในการตีความว่าจะถือเป็นนิรโทษกรรมหรือข้อแก้ตัวได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรับรู้ในภาวะและพฤติการณ์ของบุคคลนั้น (subjective standard)

(๔) ขอบเขตขอบความรับผิดทางอาญา ตามแนวคิดของ MPC ยังจำกัดขอบเขตความรับผิดของบุคคลไว้ด้วย ไม่รับผิดแบบไม่จำกัด แบบ Common law. โดยเฉพาะในความรับผิด เพราะการกระทำของผู้อื่น เช่น กรณีบุคคลนั้น ได้เป็นตัวการ หรือเป็นผู้ร่วมกระทำผิด เรียกว่า “Complicity” กับความผิดฐานสมคบในการกระทำผิด(Conspiracy)

คราวหน้า ผมจะกล่าวถึง ขอบเขตความรับผิดทางอาญา ในความผิดตามหลักการ Complicity และ Conspiracy เปรียบเทียบระหว่าง MPC v. Common Law ซึ่งนักฎหมายอาญา จะรู้จักกันดี ในนามของ Durham Rule และ Pinkerton Rule


Create Date : 07 มิถุนายน 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:32:38 น. 20 comments
Counter : 1813 Pageviews.

 
อ่านแล้วตกใจเลย ฮาๆๆ ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามี rule นี้ด้วย ขอบคุณในความรู้นะครับ


โดย: B.F.Pinkerton IP: 68.21.4.9 วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:12:36:16 น.  

 
สุดยอดค่ะ เป็นกำลังใจกับการเขียนบทความและเรือ่งดีๆ มีความรู้แบบนี้มาให้อ่านเรื่อยๆนะคะ ยกนิ้วให้เลยค่ะ

ตัวเองอ่านแล้วก็ไม่ค่อยคุ้นหรอกค่ะ แต่คิดว่าคงได้ความรู้แน่ๆ เคยเรียนกฎหมายอยู่สองสามตัว แพ่ง เบื้องต้นและ กม สื่อสารมวลชน แต่ไม่เห็นคุ้นกะข้างบนเลยค่ะ แหะๆ

แล้วจะแวะมาอ่านเรือ่ยๆนะคะ ไว้เขียนเรือ่งท่องเที่ยวใหม่ๆอีกนะคะ ช๊อบบ


โดย: Sugary GA วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:12:52:23 น.  

 
โห เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ท่าน B.F.P มาเยี่ยมเยียน ผมต้องขอโทษท่าน B.F.P ถ้าบทความผม ไปกระทบชื่อท่านนะครับ ผมตั้งใจเขียนเรื่องความรับผิดทางกฎหมายอาญามานานแล้วครับ เพราะในประเทศไทยเราแบบ Common Law และ MPC ไปแบบเต็ม ๆ แต่เราไม่รู้ตัวว่าเรารับของอเมริกัน และอังกฤษไป

นักเรียนกฎหมายไทย เวลาอ่านตำรา ก็ไม่ทราบที่มาของมัน ผมก็ไม่ทราบหรอก จนกระทั่งมาเรียนที่นี่ จึงได้ทราบและเห็นที่มาของกฎหมายไทยหลายประการ ทั้งทฤษฎีของอังกฤษ และอเมริกันที่แตกต่างกัน ทำให้การอ่านและตีความกฎหมายไทยดีขึ้นมากพอสมควร เพราะที่อเมริกา เรียนทฤษฏีเชิงลึก วิเคราะห์ปนกับคำพิพากษา

Pinkerton Rule เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐ ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๔๖ เป็นต้น เป็นหลักเรื่องความผิดฐานสมคบหรือ Conspiracy ตามแนวทาง common law และบังคับใช้เฉพาะรัฐที่เป็น Common law jurisdiction เท่านั้น นักกฎหมายอาญา ที่นี่ต้องละเอียดอ่อนมากทีเดียว ต้องวิเคราะห์ก่อนว่า รัฐที่ตนเองปฏิบัติงานยึดถือ Common law หรือ MPC เพราะแต่ละรัฐจะแตกต่างกันมาก บางรัฐ ก็ผสมผสานกันฯ

ขอบคุณคุณ Sugary GA มากเลย ผมคิดว่า คอลัมน์ นี้ ผมจะขายไม่ค่อยออกเท่าไหร่ เพราะมันบ้า ๆ บอ ๆ เข้าใจยาก และน่าเบื่อสุด ๆ ครั้นจะไม่เขียนก็ผิดเจตนารมณ์ของการจัดทำบล๊อกของผม เพราะผมต้องการเผยแพร่กฎหมายที่ผมเรียนมา แต่ก็ต้องเลือกเฉพาะแก่นของมันเท่านั้น เพราะมันมีรายละเอียดเยอะมาก ที่ผมไม่อาจจะเขียนได้อย่างหมดจด ผมเข้าใจเลยว่า ทำไม คุณจึงไม่คุ้นฯ กับสิ่งที่ผมเขียนฯ ผมว่า ต่อให้บัณฑิตที่จบ นบ. มาจากประเทศไทย หรือแม้แต่มหาบัณฑิตที่จบจากอเมริกา แต่ไม่เคยเรียนกฎหมายอาญา อ่านก็อาจจะไม่คุ้นครับ เพราะเมืองไทย ไม่ได้สอนที่มาฯ ไม่ได้สอนทฤษฎีเชิงลึก เน้นแต่ท่องจำคำพิพากษา โดยเฉพาะที่ เนติบัณฑิตยสภา ด้วยแล้ว ยิ่งแล้วใหญ่ ไม่เคยมีทฤษฎีอะไรทั้งนั้น เล่นท่องจำแต่คำพิพากษาอย่างเดียว ใครจำได้แม่นกว่า ได้คะแนนดีกว่า สอบได้ลำดับดีกว่าฯ ผมคิดว่า มันไม่อาจจะเรียกว่า learning ได้เลย

การเรียนกฎหมายเมืองไทย เรียนแบบท่องจำฯ เป็นหลัก ซึ่งผมคิดว่ามันผิดมาก เพราะถ้าเจอสถานการณ์ที่ไม่เหมือนที่เรียนมา นักเรียนที่ถูกฝึกแบบท่องจำอย่างเดียว จะตีบตัน คิดอะไรไม่เป็น หาทางออกไม่ได้ ไม่รู้จะปรับอะไรกับเรื่องใหม่นั้นดี แย่เลยครับ


โดย: POL_US วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:13:34:18 น.  

 
มาเปิดโลกกว้างหาความรู้ใส่หัวค่ะ


โดย: rebel วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:14:20:04 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ ที่แวะไปที่Blog และต้องรอโหลดนานๆๆๆ
ตัวเองลืมนึกเหมือนกันว่า ถ้าเนทที่ใช้ Dial Up จะต้อง
โหลดนานกว่าจะเข้า Blog ได้
Blog ของคุณไม่เชยหรอกค่ะ อย่างน้อยก็นำความรู้ที่มี
ประโยชน์มาแบ่งปันกัน


โดย: journey (thai_friends ) วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:14:48:11 น.  

 
ขอบคุณค้าบ สำหรับความรู้ที่มอบให้... ถึงแม้ว่าจะไม่เข้าใจเลยก็ตาม เหอๆ ๆ ๆ แต่จะพยายามทำความเข้าใจอ่ะคับ เผื่อว่าจะมีแฟนเป็นนักกฎหมาย จะได้เตรียมคำไว้ให้การในชั้นศาลได้ถูก ... ขำๆ


โดย: Invisible Guy วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:15:31:06 น.  

 
เขียนอธิบายได้ดีมากครับ


โดย: noom_no1 วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:15:40:07 น.  

 
จริงๆแล้วก็เป็นอย่างที่พี่บอกว่า ทฤษฎีการวินิจฉัยความผิดอาญาของเยอรมันน่ะอธิบายได้ยากสุด

แต่ในความเห็นของผม ผมคิดว่ามันอธิบายได้ตรงสุด

เราต้องขึ้นต้นปัญหาให้ดีก่อนว่าสิ่งที่เราต้องการพิจารณาน่ะ คืออะไร คือ "ความรับผิดทางอาญา" (criminal liability) หรือ "ความผิดอาญา หรืออาชญากรรม" (crime) กันแน่ แค่ขึ้นต้นต่างกัน ก็พาลไปคนละเรื่องแล้วครับ

ทฤษฎีเยอรมันอธิบายว่า "อย่างไรจึงจะเรียกการกระทำนั้นว่า ความผิดอาญา หรืออาชญากรรม" ต่างจากทฤษฎีในทางคอมมอนลอว์ ที่มักจะตั้งคำถามว่า "อย่างไรผู้กระทำจึงควรต้องรับผิดทางอาญา"

เยอรมันจึงมอง "ความผิด" และ "ความชั่ว" เป็นเรื่อง "เนื้อหา" ของ "ความผิดอาญา" หรือ "อาชญากรรม" อาจกล่าวได้ว่า

ความผิดกฎหมาย ของเยอรมันก็คือ การกระทำที่ผู้กระทำไม่มีอำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมายที่จะกระทำได้ นั่นเอง หากมีอำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมายบัญญัติรับรองไว้แล้ว (รวมไปถึงกฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไปในบางกรณี) ย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้นั้นกระทำการอันเป็นความผิด

สำหรับความชั่ว เป็นเรื่องที่อธิบายได้ยากเนื่องจากชื่อของมัน เรามักสับสนกับความหมายในทางศีลธรรม จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องสังคมมองว่า ชั่วไม่ชั่วนะครับ เพราะการที่สังคมจะมองว่าการกระทำนั้นชั่วหรือไม่ มันถูกแปลงโดยเหตุผลของนักกฎหมายเรียบร้อยแล้ว และแฝงอยู่ในบรรดา องค์ประกอบความผิดหมดแล้ว เช่น มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริต

องค์ประกอบเหล่านี้แสดงความ "ชั่ว" ในตัวเองออกมาเรียบร้อย รวมไปถึง บรรดากฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจในการกระทำด้วย สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้ เช่น การป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นโดยชอบจากภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย ตาม มาตรา 68 ก็ย่อมถือได้ว่า นั่น "ไม่ชั่ว" ตามความหมายของศีลธรรมเรียบร้อย

แล้ว "ความชั่ว" ในทฤษฎีเยอรมันคืออะไร

ความชั่วในทฤษฎีเยอรมัน จึงจำกัดขอบเขตอยู่เพียงแค่

"ความอิสระในการตัดสินใจกระทำความผิด" หรือ "เจตจำนงเสรีในการกระทำความผิด" เท่านั้นครับ นั่นหมายความว่า การที่เราจะบอกว่าบุคคลผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยไม่มีอำนาจนั้น จะเป็นอาชญากรได้ก็ต่อเมื่อ เขากระทำการนั้นไปโดยเจตจำนงเสรีที่จะเลือกกระทำการนั้นของเขาเอง

ดังนั้น เรื่องของความชั่ว ตามทฤษฎีเยอรมันจึงมีเพียง เรื่องของความสามารถในการทำชั่ว เช่น เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ส่วนที่มากกว่านั้น เริ่มมีความสามารถในการทำชั่วแล้ว แต่อาจจะยังบกพร่องอยู่ เช่น เด็กอายุเกิน 7 แต่ไม่เกิน 14 ทำนองนี้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีความชั่วแล้ว แสดงว่าเด็กก็สามารถถูกมาตรการทางอาญาบังคับใช้กับเขาได้

คนวิกลจริตก็เช่นกัน ความสามารถในการทำชั่ว บกพร่อง เนื่องจากเหตุแห่งสมองและการรู้ผิดชอบ ก็เท่ากับเจตจำนงเสรีของเขาในการทำความผิดบกพร่องด้วย

ผู้ที่กระทำผิดโดยจำเป็น เพราะตกอยู่ในที่บังคับต้องเอาตัวรอด จะสังเกตได้ว่า เจตจำนงในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำความผิดของเขาก็บกพร่องไปด้วย เช่นนี้จึงไม่มีความชั่ว (แต่การกระทำของเขายังเป็นความผิดเพราะไม่มีอำนาจกระทำนั่นเอง)

ผู้ที่กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ โดยเข้าใจว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้คำสั่งนั้นจะไม่ชอบ ผู้นั้นก็ไม่มีความชั่ว เนื่องจาก เขาไม่ได้ตัดสินใจเข้ากระทำความผิดด้วยเจตจำนงเสรีของเขา

กรณีข้างต้นจะเทียบได้กับ ความไม่รู้กฎหมายตาม มาตรา 64 และ การสำคัญผิดตาม มาตรา 62 เช่นกันครับ

เล่นซะยาวเหยียด เพียงแค่อยากจะสรุปว่า "ความชั่ว" ที่ใช้ในการวินิจฉัยความผิดอาญา นั้น หาใช่ "ความชั่ว" ตามความหมายของสังคมทั่วไปไม่ หากแต่เป็นเรื่องของเจตจำนงเสรีในการตัดสินใจเข้ากระทำการอันเป็นความผิดของผู้กระทำเท่านั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้แล้ว อย่างชัดแจ้ง ไม่จำเป็นต้องไปหยั่งกระแสสังคม หรือลงประชามติ

เพราะกฎหมายอาญาต้องมีความชัดเจนแน่นอน แต่ในความชัดเจนแน่นอนเหล่านั้น ย่อมต้องไม่แปลกแยกจากศีลธรรมอันดี แต่การจะนำศีลธรรมอันดีมาใช้บังคับโดยตรงในกฎหมายอาญานั้น จำเป็นต้องคำนึงถึง "นิติวิธี" และ "หลักประกันในกฎหมายอาญา" ด้วยครับ โดยเฉพาะข้อ

nullum crimen nulla poena sine lege certa หรือ ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนแน่นอน


โดย: ratioscripta IP: 58.10.22.149 วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:18:18:35 น.  

 
ผมเคยเขียนถึงเรื่องการวินิจฉัยความผิดอาญาของเยอรมันไว้อย่างละเอียด ในกระทู้นี้น่ะครับ หากพี่สนใจ หรือใครสนใจลองตามไปอ่านกันดูครับ

แล้วอย่างไรคงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ

//www.jurisclub.com/phpbb/viewtopic.php?t=195&start=0


โดย: ratioscripta IP: 58.10.22.149 วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:18:21:40 น.  

 
อู้ว สาระสุดๆ
มาบอกว่า บล๊อกมีสาระไม่ต้องแต่งก้อน่าสนใจค่า

บล๊อกเรามันไร้สาระ 555


โดย: Robotoon วันที่: 7 มิถุนายน 2548 เวลา:20:19:48 น.  

 
แวะมาขอบคุณที่แวะไปเดินเล่นที่บล็อก
และก็แวะเข้ามาอ่านด้วยค่ะ..จริง ๆ แล้วมีคำถาม
เกี่ยวกับกฏหมายอเมริกาข้อนึงอยู่เหมือนกัน
แต่ไว้ถามคราวหน้าดีกว่า..

ขอให้มีความสุขนะคะ..


โดย: JC2002 วันที่: 8 มิถุนายน 2548 เวลา:4:09:31 น.  

 
แวะมาให้กำลังใจ..และมาอ่านเพื่อรู้..ไว้ประดับตัวค่ะ..
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยียนบล๊อค..
ขอให้มีความสุขมาก ๆ ในแต่ละวันนะคะ


โดย: srisawat วันที่: 8 มิถุนายน 2548 เวลา:4:47:32 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านฯ แม้บางท่านฯ จะอ่านไม่รู้เรื่องเลยก็ตาม เหอ เหอ ผมก็ต้องขอโทษที เนื้อที่บล๊อกมีจำกัดฯ จึงไม่ได้อธิบายโดยละเอียดฯ และวัตถุประสงค์ในการเขียน เพียงเพื่อแนะนำทฤษฎีว่าด้วยความรับความผิดทางอาญา ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ ทฤษฎี ใหญ่ เพราะจริง ๆ มันยังมีแนวคิดแบบกฎหมายอิสลามฯ รวมถึง กฎหมายของยุคไม่มีรัฐ (stateless) ด้วย แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเขียน

ความจริงอย่างที่ “ต้อง” ว่า ทฤษฎีความรับผิดทางอาญาของเยอรมัน อธิบายยาก แม้จะอธิบายปรากฎการณ์บางอย่างแล้ว ฟังดูดี ...แต่........อธิบายฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย..............ในบางประการไม่ได้ ..................เท่านั้น อันนี้ คือ ข้อสรุปของผมนะครับ แต่ “ต้อง” และลูกศิษย์ สำนัก ศ.ดร. คณิต ณ นคร อาจจะไม่เห็นด้วย ก็ว่ากันไป ไม่ว่ากันครับ ในแนวคิดผมนั้น แนวทฤษฎี แบบ MPC น่าจะสอดคล้องกับวิธีการคิดและหลักการตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยได้เป็นอย่างดี

สำหรับ คราวหน้าผมจะพยายามเปรียบเทียบกฎเกณฑ์ของ MPC และ Common law บางประการต่อไป ตรับ



โดย: POL_US วันที่: 8 มิถุนายน 2548 เวลา:10:20:50 น.  

 
//www.la-ringtones.com/tones/ real ringtones. motorola ringtones: Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more, Ringtones for free. [url]//www.la-ringtones.com/ring/[/url] [link=//www.la-ringtones.com]tracfone ringtones[/link] from site .


โดย: mp3 ringtones IP: 211.48.22.2 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:11:06:56 น.  

 
//www.la-ringtones.com/mp3/ ringtones site free. [URL=//www.la-ringtones.com]qwest ringtones[/URL]: Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more, Ringtones for free. [url=//www.la-ringtones.com]nextel ringtones[/url] from website .


โดย: funny ringtones IP: 221.149.203.72 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:11:06:59 น.  

 
//www.la-ringtones.com/mp3/ ringtones site free. Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more, Ringtones for free. from website .


โดย: funny ringtones IP: 219.252.138.67 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:11:07:05 น.  

 
//www.special-ringtones.net/tones/ real ringtones. motorola ringtones: Download ringtones FREE, Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more. [url]//www.special-ringtones.net/ring/[/url] [link=//www.special-ringtones.net]tracfone ringtones[/link] from site .


โดย: mp3 ringtones IP: 211.162.62.161 วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:2:37:53 น.  

 
//www.special-ringtones.net/mp3/ ringtones site. [URL=//www.special-ringtones.net]qwest ringtones[/URL]: Download ringtones FREE, Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more. [url=//www.special-ringtones.net]nextel ringtones[/url] from website .


โดย: funny ringtones IP: 218.16.121.26 วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:2:37:55 น.  

 
//www.special-ringtones.net/mp3/ ringtones site. Download ringtones FREE, Best free samsung ringtones, Cingular ringtones and more. from website .


โดย: funny ringtones IP: 194.165.130.93 วันที่: 10 สิงหาคม 2549 เวลา:2:38:04 น.  

 
ขอบคุณมากสำหรับ งานเขียนดีๆแบบนี้คะ


โดย: may IP: 61.90.167.98 วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:9:40:01 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.