*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
โครงสร้างของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับระบบการปกครองและระบบกฎหมาย

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี(Common law) ตามระบบกฎหมายอังกฤษ แต่การพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกาแตกต่างจากแนวคิดของอังกฤษเป็นอย่างมาก อย่างหนึ่งที่สหรัฐฯ ยอมรับนับถือ คือ Separation of Powers Doctrine

ระบบนี้ มีมรดกความคิดจากยุโรป ที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลการ จึงจำกัดบทบาทของตนเองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องการบังคับใช้และการตีความกฎหมายอาญา แต่ก็ยังให้อิสระแก่ศาลในการตีความและสร้างหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับแนวคิดทางกฎหมายแพ่งโดยแท้ เช่น สัญญา (Contract) และละเมิด (Torts)

ระบบกฎหมายอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐจะมีอิสระในการบัญญัติกฎหมายอาญาของตนเอง โดยรัฐบาลกลาง (Federal Government) จะไม่แทรกแซงในเรื่องของการกำหนดว่าการกระทำใดจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ อย่างไร และมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอย่างไร ซึ่งมีที่มาจากเหตุผลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ในการรวมตัวเป็นสหรัฐอเมริกาในอดีตที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลกลาง มีอำนาจมากเกินไปจนถึงขนาดที่จะเข้ามาควบคุมรัฐบาลของมลรัฐได้ ในอดีตนั้น จึงยอมรับกันว่ารัฐบาลแห่งมลรัฐเท่านั้นที่ควรจะทำหน้าที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยมีหลักฐานที่เด่นชัด คือ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐที่เขียนแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดเจนทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง โดยในแนวราบที่ว่า ก็คือ การแบ่งแยกอำนาจตามหลักการ Separation of Powers ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ส่วนในแนวดิ่ง ก็จะแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลมลรัฐ และรัฐบาลกลาง อย่างชัดเจนเช่นกัน

รัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการออกกฎหมายที่มุ่งควบคุมกิจกรรมของรัฐบาลในระดับมลรัฐได้ในเฉพาะสิ่งที่กำหนดไว้ ซึ่งเรียกว่า Enumerated Powers ซึ่งกำหนดไว้คร่าว ๆ ว่า อำนาจใดที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐบาลกลางสหรัฐ ย่อมเป็นอำนาจของมลรัฐทั้งสิ้น โดยอำนาจที่ถือว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลกลางเช่น เช่น อำนาจเกี่ยวกับการจัดทำถนนหนทาง อำนาจทางการฑูต และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อำนาจเกี่ยวกับการไปรษณีย์ อำนาจทางทหาร และอำนาจเกี่ยวกับการควบคุมการค้าระหว่างมลรัฐ หรือ Interstate Commerce ซึ่งอำนาจข้างต้น ล้วนแต่เป็นอำนาจที่สำคัญมาก โดยรัฐสภาได้ออกกฎหมายอาญาต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจข้างต้น เช่น การฉ้อโกงผู้อื่นโดยอาศัยวิธีการทางจดหมาย (Mail Fraud) หรือ การกระทำผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ( White Collar Crime) เช่น Computer Fraud, Money Laundering, Wire Fraud, RICO ก็อาศัยหลักการพื้นฐานที่ว่า การกระทำผิดข้างต้น จะก่อให้เกิดผลกระทำต่อการค้าระหว่างมลรัฐ (Interstate Commerce) รัฐสภาสหรัฐ ก็จะอาศัยหลักการพื้นฐานที่ว่า การกระทำผิดข้างต้น จะก่อให้เกิดผลกระทำต่อการค้าระหว่างมลรัฐ (Interstate Commerce) ในการออกกฎหมายในระดับ Federal เพื่อบังคับใช้ในระดับมลรัฐด้วย การดำเนินคดีอาญาในสหรัฐ จึงเป็น Dual System คือ ระบบบคู่ขนานระหว่างมลรัฐและรัฐบาลไปพร้อม ๆ กัน และไม่มีปัญหาในเรื่อง Double Jeopardy หรือ การดำเนินคดีอาญาซ้ำ เพราะเป็นการดำเนินคดีต่างระดับกัน สำหรับอำนาจอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ เช่น อำนาจที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) และการจัดตั้งหน่วยงานในการบังคับใช้กฎหมายทั้งหลาย ตั้งแต่องค์กรตำรวจ และ Sheriff รวมถึงองค์กรอัยการนั้น จึงเป็นเรื่องที่มลรัฐมีอำนาจดำเนินการทั้งสิ้น โดยรัฐบาลกลางจึงได้จัดตั้งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เช่น F.B.I หน่วยงานทางสรรพากร (IRS) อัยการ และศาลในระดับรัฐบาลกลาง ขึ้นเพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายนั้น ๆ

ในสหรัฐฯ จึงมีปัญหาที่โต้แย้งกันเสมอว่า รัฐบาลกลางควรเข้ามาแทรกแซงรัฐบาลมลรัฐมากน้อยเพียงใด และมีคดีทางรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน ข้อสรุปที่เกิดขึ้นจากแนวคำพิพากษาของ The U.S. Supreme Court จึงได้วางหลักว่า กิจการใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงสิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental Rights) ของประชาชนแล้ว รัฐบาลกลางย่อมสามารถดำเนินการได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลกลางสหรัฐสามารถดำเนินการควบคุมเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ทั้งหมด




Create Date : 09 พฤษภาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:31:00 น. 9 comments
Counter : 9875 Pageviews.

 
กำลังจะเรียนนิติฯ ธรรมศาสตร์ครับ ว่างๆจะมาขอคำแนะนำจากรุ่นพี่นะครับ


โดย: เจไอ วันที่: 9 พฤษภาคม 2548 เวลา:15:45:16 น.  

 
สวัสดีครับคุณ POL_US ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่ได้รับ เพราะเป็นความรู้สดๆที่ได้จากคนเรียนจริงๆ ผมมีความสงสัยเกี่ยวกับ "ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย" ในสหรัฐฯ รวมทั้งความแตกต่างระหว่างกฎหมายบางประเภท โดยเฉพาะConstitution, US Code, Federal State, Federal Regulation Agency. ว่ามันต่างกันอย่างไร ผมไม่ใช่นักเรียนกฎหมาย จึงอยากขอความรู้จากคุณ US_POL ครับ ขอบคุณครับ


โดย: knaew IP: 203.154.179.110 วันที่: 3 มิถุนายน 2548 เวลา:10:14:07 น.  

 
ขอโทษครับ Federal Statues ครับ ไม่ใช่ Federal States ครับ ขอแก้ไข


โดย: knaew IP: 203.154.179.110 วันที่: 3 มิถุนายน 2548 เวลา:10:16:21 น.  

 
ขอโทษครับ ไม่คิดว่าจะมีคนอ่าน บล๊อกนี้ เพราะปกติมันน่าเบื่อมาก และค่อนข้างสลับซับซ้อนครับ ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย ของสหรัฐ เป็นดังนี้ ครับ
(๑) รัฐธรรมนูญของสหรัฐ เป็นกฎหมายสูงสุด
(๒) สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองแล้ว เป็นกฎหมายของแห่งผิด (law of the land)
(๓) คำพิพากษาของศาลสูงสุดของสหรัฐ มีสถานะเป็นกฎหมายสูงกว่ากฎหมายของรัฐบาลกลาง และต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ
(๔) กฎหมายของรัฐบาลกลาง หรือ Federal Statutes หรือ กฎหมายที่ออกโดยสภา Congress
(๕) กฎหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร Federal Regulation ที่ออกโดยอาศัยอำนาจของที่สภา Congress มอบให้แก่หน่วยงานทางปกครองของฝ่ายบริหาร หรือ Federal Agency ถ้าจะเปรียบกับบ้านเรา ก็คือ พวกกฎกระทรวงฯ ครับ
(๖) รัฐธรรมนูญของมลรัฐ
(๗) กฎหมายของมลรัฐ และกฎเกณฑ์ของฝ่ายบริหารในระดับมลรัฐ

จะมีปัญหาถกเถียงกัน คือ คำสั่งของประธานาธิบดี หรือ Executive Order ควรมีลำดับศักดิ์อย่างไร หลายท่านบอกว่า มันมีค่าบังคับแต่ไม่เหมือนกฎหมาย หลายท่านบอกว่า มันมีลำดับศักดิ์เทียบเท่ากับ กฎหมายของรัฐสภา เลยทีเดียว ครับ

ส่วน U.S. Code หรือ USSC โดยระบบ คือ สหรัฐเขาจะจัดทำประมวลกฎหมายแยกเป็นหมวดหมู่ เป็น Title ต่าง ๆ แล้วให้เลขเรียงกันไปตามลำดับ เช่น 1 U.S.C. §§ เลขมาตรา ..... เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมาย ก็จะมารวมเป็นหมวดหมู่ ตามลักษณะที่เขากำหนดให้เลขเอาไว้ โดยสถานะมัน คือ กฎหมายระดับ Federal Statues เอาง่าย ๆ อย่างนี้แล้วกันครับ

เอาเป็นว่าขออนุญาตเท่านี้ก่อนนะครับ





โดย: POL_US วันที่: 4 มิถุนายน 2548 เวลา:14:20:37 น.  

 
เข้ามาอ่านบล็อคคุณพล หลายครั้งแล้วค่ะ แต่ไม่ค่อยได้เม้นต์ ชื่นชมที่ตั้งใจทำบล็อค ทำได้ดีมีสาระมากค่ะ


โดย: Farm Girl (Farm Girl in High Sierra ) วันที่: 9 ธันวาคม 2548 เวลา:9:09:16 น.  

 
สาระครบรสเลยนะครับพี่ ผมจะค่อย ๆ อ่านนะครับ กฏหมายกับผมมันไกลกันจัง แต่จะอ่านเป็นความรู้นะครับ

รักษาสุขภาพด้วยนะครับพี่


โดย: DAN_KRAB วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:12:52 น.  

 
สวัสดีค่ะ เพิ่งเคยเข้ามาเวปของพี่เป็นครั้งแรกค่ะ พอดีเข้ามาหาคำแปลให้เพื่อนเพื่อเป็นข้อมูลวิทยานิพจน์ค่ะ อยากรบกวนถามพี่เกี่ยวกับคำแปลของศัพท์ คำว่า country court ไม่ทราบว่าหมายถึงศาลไหนค่ะ พยายามหาคำแปลแต่ก็หาไม่ได้เลยค่ะ รบกวนด้วยนะค่ะ และขอชมว่าเวบนี้มีสาระมากๆเลยค่ะ และก็มีประโยชน์สำหรับน้องๆนักเรียนกฏหมายที่ไม่ค่อยเข้าใจในระบบกฏหมายของต่างประเทศ

ขอบคุณมากค่ะ
niccky


โดย: nickky IP: 124.157.225.90 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:37:12 น.  

 
ขอแสดงความชื่นชมเป็นอย่ายิ่
ง ความรู้ต่าง ๆ ที่ท่านมอบให้สาธารณะชนเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสังคมมาก ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

อารีย์พร กลั่นนุรักษ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค


โดย: อารีย์พร กลั่นนุรักษ์ IP: 61.19.239.62 วันที่: 27 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:19:59 น.  

 
ขอบคุณมากครับ ท่านอารีย์พร กลั่นนุรักษ์ ที่เข้ามาเป็นกำลังใจ

ผมตั้งใจว่าจะเขียนไปเรื่อย ๆ เท่าที่โอกาสจะอำนวยครับ


โดย: POL_US วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:8:36:42 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.