*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การรายงานธุรกรรมทางการเงินและการฟอกเงินในสหรัฐฯ



CurrencyTransaction Reporting Crimes and Money Laundering : ประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการการรายงานธุรกรรมทางการเงินและการฟอกเงิน

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ,J.S.D.( University of Illinois )

ส่วนที่ 1 : การรายงานธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมเงินสด

ปี ค.ศ.1970 รัฐสภาได้เริ่มตรากฎหมายเพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถติดตามธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการตรากฎหมายในการปราบกรามการฟอกเงินการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินเป็นความพยายามในการตรวจสอบการกระทำผิดที่มีขอบเขตกว้างขวางเช่น การหลีกเลี่ยงภาษี และกระบวนการในการกระทำผิดอย่างกว้างขวางขององค์กรอาชญากรรมที่มีมูลค่าความเสียหายสูงด้วย

กฎหมายที่ตราออกมาจึงเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในBankSecrecy Act (31 U.S.C. §5311-22) และประมวลกฎหมายภาษีอากรของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ Federal tax code ( 26 U.S.C.§ 6050 ไอ ทั้งนี้ ลักษณะการกระทำผิดจะกำหนดไว้เพียงการไม่ยอมเปิดเผยถึงข้อมูลที่กำหนดให้ต้องเปิดเผยแม้ว่าข้อมูลนั้นจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดอาญาเลยก็ตาม ก็ถือเป็นการกระทำผิดตามนี้แล้ว

1. ภาพรวมของบทบัญญัติทางกฎหมาย (Statutory Overview)

A. บทนำ

สำหรับกฎหมายBankSecrecy Act ตามประมวลกฎหมายสหรัฐ ลำดับที่ 31 ได้กำหนดข้อมูลที่ต้องรายงานต่อรัฐบาล ผ่านกรมสรรพากร หรือ IRS ได้แก่ ธนาคารและสถาบันทางการเงิน ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ใน CurrencyTransaction Reports (CTRs) สำหรับธุรกรรมทางการเงินทั้งหลายที่มีมูลค่ามากกว่า๑๐,๐๐๐ เหรียญ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับประมวลกฎหมายภาษีอากรสหรัฐฯ มาตรา 6050 ไอ ที่กำหนดไว้ในลักษณะเดียวกัน โดยประมวลกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังได้กำหนดไว้ในมาตรา 5316 ว่าบุคคลใดทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีธุรกรรมทางการเงินหรือตราสารทางการเงินที่มีมูลค่าจำนวนเดียวกันก็จะต้องรายงานต่อIRS ด้วยเช่นกัน ในส่วนของมาตรา 5318(g) ยังกำหนดให้ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะต้องรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย(Suspicious Transaction) ตามแบบรายงาน SuspiciousActivity Reports สำหรับธุรกรรมที่มูลค่าตั้งแต่ 5,000 เหรียญขึ้นไปซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือการหลีกเลี่ยงการายงานธุรกรรมทางการเงินที่ต้องรายงานหรือมีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มีลักษณะผิดปกติ

B. บทบัญญัติมาตรา 5313(a) สถาบันทางการเงินภายในประเทศจะต้องมีหน้าที่ในการรายงาน

มาตรา 5313(a) ถือเป็นมาตราหลักในการกำหนดให้มีการรายงานโดยมีรายละเอียด

“ When a domestic financial institutionis involved in a transaction for the payment, receipt, or transfer of theUnited States coins or currency (or other monetary instruments the Secretary ofthe Treasury prescribes), in an amount, denomination, or amount anddenomination, or under circumstances the Secretary prescribes by regulation[Currently transaction in excess of $10,000], the institution and any otherparticipant in the transaction the Secretary many prescribe shall file a reporton the transaction at the time and in the way the Secretary prescribes….

ในกรณีที่มีการละเมิดต่อกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯอาจจะดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้รับผิดทางแพ่ง (civil remedies) ก็ได้ (31 U.S.C. §5321) และอาจจะฟ้องร้องทางคดีอาญาหากมีหลักฐานเชื่อว่าผู้กระทำผิดเจตนากระทำผิด โดยโทษทางอาญาอาจจะสูงถึง จำคุก 5ปี หรือปรับ 250,000 เหรียญหรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์กรประกอบในการกระทำผิด (The Elementsof Crimes)

ในการฟ้องร้องผู้กระทำผิด รัฐจะต้องพิสูจน์ว่า

1. สถาบันทางการเงินภายในประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น

2. ธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับกระแสเงินสหรัฐ หรือตราสารทางการเงินของสหรัฐ

3. ธุรกรรมนั้นมีมูลค่าสูงกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ

4. สถาบันทางการเงินไม่แจ้งธุรกรรมนั้นตามที่กำหนดไว้

5. ผู้กระทำผิดมีเจตนากระทำผิด

คำว่าสถาบันทางการเงินจะเป็นไปตาม มาตรา 5312(a)(2) ของกฎหมาย BankSecrecy Act และระเบียบที่กำหนดรายชื่อสถาบันทางการเงินนับแต่ธนาคาร ผู้แทนจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยและประกันชีวิตโรงรับจำนำหรือผู้ให้กู้เงิน ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ นอกจากนี้ ศาลสหรัฐฯ ยังตีความขยายไปถึงบุคคลธรรมดาที่กระทำธุรกรรมในลักษณะเดียวกับสถาบันทางการเงินเป็นต้น

มาตรา 5324(a) การก่อให้เกิดการกระทำผิด (structuring) และความผิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำธุรกรรมโดยสถาบันทางการเงิน

หลังจากที่รัฐสภาได้ตรากฎหมาย มาตรา 5313 แล้ว ก็ได้ผ่านมาตรา 5324(a) เพื่อปิดช่องว่างทางกฎหมายเดิมซึ่งลูกค้าของธนาคารมักจะแบ่งการกระทำธุรกรรมให้มีมูลค่าน้อยกว่า 10,000 เหรียญ เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กำหนด โดยมาตรา 5324(a)ได้กำหนดว่า

“Domestic coin and currencytransaction involving financial institutions. No person shall for the purpose of evading the reporting requirements ofsection 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under any such section. …

(1) Causeor attempt to cause a domestic financial institution to fail to file a reportrequired under section 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under anysuch section …

(2) Causeor attempt to cause a domestic financial institution to file a report requiredunder section 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under any suchsection … that contains a material omission or misstatement of fact; or

(3) Structureor assist in structuring or attempt to structure or assist in structuring, anytransaction with one or more domestic financial institutions.

ผู้กระทำผิดตามมาตรา5324จะถูกลงโทษทางอาญา ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับตามที่กฎหมายกำหนด หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดอัตราโทษหนักขึ้น (aggravated sentence) สำหรับบุคคลที่กระทำผิดตามกฎหมายนี้ในขณะที่ได้เคยกระทำผิดหรือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่มูลค่าสูงกว่า100,000 เหรียญ ในระยะเวลา 12 เดือนโดยจะต้องระวางโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับสองเท่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบการกระทำผิดตามมาตรา 5324(a)

การฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามมาตรา 5324(a)รัฐจะต้องพิสูจน์ว่า

1. จำเลยมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการรายงานตามที่กำหนดกฎหมายและระเบียบCTR และ

2. จำเลยจงใจกระทำ กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

a. ก่อให้เกิด หรือพยายามก่อให้เกิดซึ่งสถาบันทางการเงินภายในประเทศ ไม่อาจแจ้งรายงานธุรกรรมทางการเงินตามมาตรา 5313(a) หรือ5325 หรือระเบียบใด ๆ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว …

b. ก่อให้เกิด หรือพยายามก่อให้เกิดซึ่งสถาบันทางการเงินภายในประเทศ ไม่อาจแจ้งรายงานธุรกรรมทางการเงินตามมาตรา 5313(a) หรือ 5325 หรือระเบียบใด ๆ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว … ซึ่งเป็นการงดเว้นกระทำการอันเป็นสาระสำคัญหรือทำให้เกิดการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น ; หรือ

c. ก่อให้เกิดหรือช่วยเหลือในการกระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำธุรกรรมทางการเงินใดของสถาบันทางการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง

ตามมาตรานี้รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทราบว่ามีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการรายงานธุรกรรมทางการเงิน และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงไม่รายงานตามแบบที่กำหนด อย่างไรก็ตาม รัฐไม่จำต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทราบว่า การกระทำการเพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานดังกล่าวนั้นถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแต่ประการใด

มาตรา 6050 ไอ – การรายงานธุรกรรมที่เป็นเงินสด (CashTransaction) โดยองค์กรธุรกิจ

ในปี ค.ศ.1984รัฐสภา ได้ตรากฎหมายมาตรา 6050 ไอเพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายภาษีอากร (Internal Revenue Code) (26 U.S.C.§6050I) โดยมาตรานี้ขยายการรายงานธุรกรรมเงินสด (CashTransaction) ซึ่งแต่เดิมจะกำหนดให้รายงานเฉพาะธุรกรรมที่ดำเนินการโดยสถาบันทางการเงิน(Financial Institutions) เท่านั้นไปยังบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจทางการค้า และองค์กรธุรกิจทุกประเภทที่จะต้องรายงานตามแบบฟอร์ม IRS Form 8300 ด้วย โดยมาตรา 6050I ได้กำหนดไว้ดังนี้

(a) Cashreceipts of more than $10,000, Any person –

(1) Whois engaged in a trade or business, and

(2) Who,in the course of such trade or business, receives more than $10,000 in cash in1 transaction (or 2 or more relates transactions),

Shall make the return described insubsection (b) with respect to such transaction (or related transactions) atsuch time as the Secretary may be regulations prescribe.

(b) Formand manner of returns. A return isdescribed in this subsection if such return –

(1) Is in such form as the Secretary mayprescribe,

(2) Contains-

(A) Thename, address, and [tax identification number] of the person from whom the cashwas received,

(B) Theamount of cash received,

(C) Thedate and nature of the transaction, and

(D) Suchother information as the Secretary many prescribe.

อย่างไรก็ตาม มาตรา 6050I(c) กำหนดข้อยกเว้นตามกฎหมายนี้หากได้มีการส่งข้อมูลที่กำหนดไว้ในแบบรายงานธุรกรรมทางการเงิน (CTRs) แล้วตามกฎหมาย Bank Secrecy Act

สำหรับผู้ใดที่ “willful failure tofile a Form 8300” เจตนาที่จะไม่ส่งแบบไปยัง IRS จะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 7203 ของ InternalRevenue Code ซึ่งจะมีโทษกำหนดให้จำคุกไม่เกิน 1 ปี และโทษปรับตามที่กำหนดไว้ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในกรณีที่เจตนาส่งแบบฟอร์มอันเป็นเท็จ (afalse Form 8300) จะถูกลงโทษตามมาตรา 7206 ของInternal Revenue Code ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับตามที่กำหนดไว้ หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนมาตรา 6050I(f)จะกำหนดห้ามมิให้กระทำการใด ๆที่ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมเงินสด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กฎหมายนี้จะกำหนดให้บุคคลที่กำหนดไว้จะต้องส่งคืนแบบรายงานและจะต้องไม่หลีกเลี่ยงที่จะส่งคืนแบบรายงานดังกล่าวโดยการก่อให้เกิดหรือพยายามก่อให้ผู้ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจไม่ส่งแบบฟอร์มดังกล่าวและแบบรายงานนั้นมีสาระสำคัญหากไม่ส่งจะเป็นการงดเว้นกระทำการหรือก่อให้เกิดการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือ กระทำการหรือช่วยเหลือในการหลีกเลี่ยงการส่งแบบรายงาน โดยการกระทำไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมเดียวกันหรือหลายๆ ธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือการประกอบธุรกิจซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5324(a) ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

องค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 6050I

การพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 6050I คือ จงใจไม่ส่งแบบฟอร์ม 8300 นี้รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ได้ว่า องค์ประกอบความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา 7203 ครบถ้วนแล้ว ส่วนการส่งแบบฟอร์มอันเป็นเท็จ หรือ false Form 8300 รัฐก็จะต้องพิสูจน์องค์ประกอบตาม7206 โดยเฉพาะในความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีอากรนั้นรัฐจะต้องพิสูจน์ว่า จำเลยจงใจละเมิดกฎหมายที่กำหนดให้มีการรายงานแบบฟอร์มที่กำหนดและจำเลยนั้นทราบว่า การหลีกเลี่ยงดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งจะแตกต่างจากการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินที่มีการแบ่งธุรกรรมออกเป็นส่วนๆ เพื่อมิให้ต้องรายงานตามมาตรา 5324 นั้น จำเลยไม่จำต้องทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายแต่ประการใด

ในการฟ้องร้องจำเลยที่กระทำผิดตามมาตรา6050Iตามกฎหมายภาษีอากร จึงยุ่งยากกว่า กล่าวคือ ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยจำเลยมีเจตนากระทำ (Act willfully) ด้วยเจตนาจะละเมิดต่อกฎหมาย( intent to violate the law) และก่อให้บุคคลที่ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจไม่อาจจะรายงานธุรกรรมเงินสดได้หรือมีส่วนช่วยในการก่อให้เกิดการกระทำผิดนั้นร่วมกับผู้ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจ โดยการก่อให้เกิดการกระทำผิดที่จะถือว่าเข้าข่ายการกระทำผิด(structure) จะต้องเป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมเงินสดไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการรายงานตามที่กฎหมายกำหนด

องค์ประกอบภายในหรือองค์ประกอบทางจิตใจ (Mens Rea) ในคดี Currency Reporting Cases

1. ระดับความรับรู้หรือ Knowledge และเจตนาที่กระทำผิดกฎหมาย (Intent to violate the Law)

หลักการสำคัญคือ ความไม่รู้กฎหมายไม่สามารถอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ ดังนั้นรัฐจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบว่าจำเลยมีระดับความรับรู้และมีเจตนาที่จะกระทำผิดกฎหมายสำหรับการกระทำผิดเกี่ยวกับหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมทางการเงิน ตามมาตรา 5324รัฐมีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยรับรู้การกระทำของตนเองในการที่ทำให้การรายงานธุรกรรมนั้นมีอุปสรรคหรือไม่สามารถกระทำได้แต่จำไม่ต้องรับรู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดกฎหมาย กล่าวคือ ไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายส่วนการรายงานธุรกรรมเงินสดที่เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายภาษีอากร ตามมาตรา 6050Iนั้น ศาลสูงสุดอเมริกันเห็นว่า จำต้องมีทั้ง Knowledge และIntent to violate the law ด้วย

2. ระดับความรับรู้โดยผลรวมจากการกระทำทั้งปวงหรือ CollectiveKnowledge

หลักการ Doctrineof Collective Knowledge เป็นวิธีการพิสูจน์ระดับจิตใจในกรณีที่ไม่อาจจะทราบได้ว่าจำเลยมีกระทำผิดโดยลำพังแต่ละบุคคลอย่างไรจึงต้องพิจารณาถึงผลรวมของการกระทำทั้งปวงแล้วพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ตัวอย่างเช่น คดี UnitedState v. Bank of New England, 484 U.S.943 (1987) คดีนี้ธนาคารจำเลย ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมทางการเงินศาลให้คำแนะนำต่อคณะลูกขุนว่า “ให้พิจารณาว่าธนาคารคือองค์กรในลักษณะที่เป็นสถาบัน ดังนั้น ระดับความรับรู้ว่ามีการกระทำผิดจึงต้องเป็นความรับรู้ของพนักงานที่ปฏิบัติงานให้แก่ธนาคารทั้งหมดกล่าวคือ พิจารณาความรับรู้โดยรวมของพนักงานภายใต้ขอบเขตของทางการที่จ้าง ดังนั้นถ้าพนักงานคนหนึ่งทราบถึงหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมทางการเงินพนักงานอีกคนหนึ่งทราบ และพนักงานอีกคนหนึ่งก็ทราบ ดังนั้นความรับรู้ของธนาคารจึงนำความรับรู้ของพนักงานดังกล่าวมาพิจารณาโดยรวม”ศาลสูงเห็นพ้องด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะเป็นการให้สถาบันฯหรือนิติบุคคลหลีกเลี่ยงการกระทำผิดอาญาได้

ดังนั้นในกรณีนิติบุคคลกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมทางการเงิน จะต้องพิจารณาถึงการกระทำของพนักงานของนิติบุคคลในการกระทำผิดเช่นนั้นหากพนักงานทราบถึงหน้าที่ในการรายงานและไม่ปฏิบัติตามย่อมถือได้ว่านิติบุคคลมีความรับรู้เช่นนั้นด้วยและจะต้องรับผิดทางอาญาและแพ่งตามกฎหมายด้วย

กล่าวโดยสรุปกฎหมายว่าด้วยการรายงานธุรกรรมทางการเงินและเงินสดนั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยการรายงานดังกล่าวเมื่อมีการนำมาใช้ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกฎหมายที่กำหนดการรายงานดังกล่าวถือเป็นการการเพิ่มมาตรการในการชี้ให้เห็นถึงการกระทำผิดและนำไปสู่การฟ้องร้องในคดีอาญาที่จะต้องมีการติดตามความเคลื่อนไหวของเงินที่ใช้ในการกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าการกระทำผิดนั้นจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา หรือต่างประเทศก็ตาม

ส่วนที่ 2กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : MoneyLaundering

นับแต่ปีค.ศ. 1986กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ตราขึ้นตามประมวลกฎหมายสหรัฐลำดับที่ 18 U.S.C. §1956 เพื่อเสริมประสิทธิภาพกฎหมายป้องกันปราบปรามองค์กรอาชญากรรมหรือ RICO (Racketeer Influenced and Corrupt Organizations) ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือสำคัญและทรงพลานุภาพของรัฐโดยกฎหมายป้องกันปราบปรามการฟอกเงินครอบคลุมขอบเขตกว้างขวางไปยังการกระทำผิดจำนวนมากและมีบทลงโทษรุนแรง รวมถึงการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการฟอกเงิน

กฎหมายนี้ ยังมีอำนาจมากขึ้นจากการใช้กฎหมายรายงานธุรกรรมเนื่องจากการรายงานธุรกรรมนั้นสามารถใช้เป็นวิธีการในการชี้เฉพาะถึงการกระทำผิดกฎหมายและการเคลื่อนย้ายเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายหรือการหลีกเลี่ยงภาษีเนื่องจากการรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่าการเคลื่อนย้ายเงินจำนวนมากนั้นนำไปสู่การใช้ในการกระทำผิดขนาดใหญ่ไปด้วย

กฎหมายนี้แต่เดิมใช้เฉพาะการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่ต่อมาได้นำมาใช้กับการกระทำเกี่ยวกับการฉ้อโกงภาษี และ การกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการซ่อนเร้นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดเกี่ยวกับการติดสินบน(Bribery) หรือการเรียกค่าไถ่ (Extortion) โดยกฎหมายนี้ไม่เพียงลงโทษผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดเงินสกปรก (Dirty money) เท่านั้นแต่ยังลงโทษผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินดังกล่าวในทางใดทางหนึ่งแม้จะเข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลังก็ตามสำหรับ กฎหมายฟอกเงินนี้ มีการบัญญัติไว้ 2 มาตราด้วยกันได้แก่ มาตรา 1956 และมาตรา 1957 ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทนำ

กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาตรา 1956ได้ถูกตราขึ้นในประมวลกฎหมายสหรัฐฯโดยมีสาระสำคัญที่จะเกี่ยวข้องกับการ (1) ธุรกรรมทางการเงิน (Financialtransaction) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด (Proceedsof criminal activities) และ (2) ธุรกรรมทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์ในการปกปิดแหล่งที่มาของเงินทุน (cover up the source ofthe funds) ส่วนมาตรา 1957นั้น จะเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เป็นเงินสด (Monetarytransaction) ซึ่งเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาที่มูลค่ากว่า $10,000เหรียญสหรัฐ แต่ในปัจจุบันการฟ้องร้องคดีฟอกเงินได้มีการพัฒนาขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิมไปมาก เช่นเดียวกับ RICO กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ถูกตราขึ้นเพื่อใช้ทั้งการกระทำผิดต่อกฎหมายในระดับมลรัฐและรัฐบาลกลางและมีการตีความและแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน

DomesticMoney Laundering – Section 1956(a)(1)

กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินภายในประเทศสหรัฐฯมาตรา 1956(a)(1) ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายนี้ โดยมาตรานี้กำหนดว่า

(a) (1)Whoever, knowing that the property involved in a financial transactionrepresents the proceeds of some form of unlawful activity, conducts or attemptsto conduct such a financial transaction which in fact involves the proceeds ofspecified unlawful activity-

(A) (i)with the intent to promote the carrying on of specified unlawful activity; or

(ii) with theintent to engage in conduct constituting a violation of section 7201 or 7206 ofInternal Revenue Code of 1986; or

(B) Knowingthat the transaction is designed in whole or in part-

(i) To concealor disguise the nature, the location, the source, the ownership, or the controlof the proceeds of specified unlawful activity; or

(ii) to avoida transaction reporting requirement under State or Federal Law ..

ตามกฎหมายนี้กำหนดให้ใครก็ตามที่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่มาจากกากระทำผิดที่ผิดกฎหมายในรูปใดรูปแบบหนึ่งแล้วกระทำการสนับสนุนให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือการกระทำผิดที่เข้าข่ายความผิดที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 7201 หรือ 7206 ของกฎหมายภาษีอากร หรือ ทราบว่าธุรกรรมทางการเงินนั้นได้กระทำไปเพื่อซุกซ่อนปกปิดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนแหล่งที่มาหรือเจ้าของในทรัพย์สินหรือเพื่อมิให้มีการรายงานธุรกรรมทางการเงินนั้นตามที่กำหนดตามกฎหมายให้ถือเป็นการกระทำผิดฐานฟอกเงินตาม มาตรา 1956(a)(1) นี้

คำว่า ธุรกรรมทางการเงิน หรือ Financialtransaction จะกินความกว้างขวางอันหมายถึงกิจกรรมทางการเงินที่อาจจะส่งผลต่อการค้าระหว่างมลรัฐหรือระหว่างประเทศโดยคำว่าธุรกรรมนั้น ยังรวมถึงการดำเนินการทางธุรกิจทางด้านการเงินของธนาคารการโอนเงิน ทรัพย์สิน หรือของขวัญหรือความเป็นเจ้าของอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ยานพาหนะ เรือ เครื่องบิน ด้วย เช่น การโอนเงินผ่านระบบ wire หรือวิธีการอื่น ๆ การใช้กลไกทางตราสารทางการเงิน หรือเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ใช้สถาบันทางการเงินดำเนินการซึ่งผลการดำเนินการจะกระทบต่อการค้าระหว่างรัฐหรือระหว่างประเทศ

ส่วนคำว่า ธุรกรรม หรือ transactionได้กำหนดไว้ในมาตรา 1956(c)(3) ให้หมายรวมถึง purchasesale, loan, pledge, gift transfer, delivery, or other deposition and withrespect to a finance institution includes a deposit, withdrawal, transfer betweenaccounts, exchange of currency, loan, extension of credit, purchase or sale ofany stock, bond, certificate of deposit, or other monetary instrument, use of asafe deposit box, or any other payment, transfer, or delivery by, through, orto a financial institution, by whatever means effected …

สำหรับคำว่าตราสารทางการเงิน หรือ monetary instrument ได้ถูกกำหนดไว้ตามมาตรา 1956(c)(5) ให้หมายถึง (i) coin or currency ofthe United States or of any other country, travelers’ checks, personal checks, bankchecks, and money orders, or (ii) investment securities or negotiableinstruments, in bearer form or otherwise in such form that title thereto passesupon delivery…’

ตามบทบัญญัติข้างต้น บัญญัติคำว่า “specified unlawful activities” นั้น จะหมายถึงการกระทำผิดกฎหมายที่มีขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งอาจจะหมายถึงการกระทำผิดมูลฐานตามที่กำหนดไว้ใน RICO predicates ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงหรือได้มาซึ่งทรัพย์สินผ่านระบบจดหมายหรือระบบสาย(mail or wire) หรือการฉ้อโกงทางการเงินการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (obstruct of justice) หรือความผิดเกี่ยวหลักทรัพย์ รวมถึงความผิดอื่น ๆ ทั่วไปด้วย

ผู้กระทำผิดตามกฎหมายนี้จะได้รับโทษที่รุนแรง รวมถึงการปรับไม่เกิน 500,000 เหรียญสหรัฐ หรือปรับเป็นมูลค่าสองเท่าของทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องในธุรกรรมนั้นแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า หรือการจำคุกไม่เกิน 20 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ผู้กระทำผิดยังจะต้องประสบกับฟ้องร้องริบทรัพย์ทางแพ่งและทางอาญา

องค์ประกอบการกระทำผิด

การฟ้องร้องตามมาตรา 1956(a)(1)รัฐจะต้องพิสูจน์ ดังนี้

1. จำเลยกระทำ(Conducted) หรือพยายามกระทำ (Attempted to conduct) ธุรกรรมทางการเงิน โดยการกระทำนั้น หมายรวมถึง การริเริ่ม การก่อให้เกิดผลหรือการมีส่วนร่วมในการริเริ่มหรือการก่อให้เกิดผลในการกระทำธุรกรรมนั้น

2. จำเลยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมทางการเงินนั้นจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งการกระทำผิดดังกล่าวนั้นถือเป็นความผิดร้ายแรง (felony) ต่อกฎหมายของมลรัฐ หรือรัฐบาลกลาง หรือกฎหมายรัฐบาลต่างประเทศ

3. เงินทุนที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้จากการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

3.1 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ ต่อไป

3.2 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยมีเจตนาที่จะกระทำผิดหลีกเลี่ยงภาษาซึ่งได้กำหนดไว้ตาม มาตรา 7201ในข้อหาหลีกเลี่ยงภาษี ( Tax evasion)

3.3 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นถูกกำหนดขึ้นไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดในการที่จะปิดบังซ่อนเร้น หรือ ปกปิดแหล่งที่มาของเงินนั้น หรือ

3.4 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นถูกกำหนดขึ้นไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดในการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดให้รายงาน(currencytransaction reporting laws)

International Money Laundering –Section 1956(a)(2)

การกระทำผิดฐานฟอกเงินระหว่างประเทศตามมาตรา 1956(a)(2) ได้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายเงินเข้าหรือออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในบางลักษณะโดยกฎหมายนี้ได้กำหนดไว้ว่า

Whoever transports,transmits, or transfers, or attempts to transport, transmit, or transfers amonetary instrument or funds from a place in the United States to or through aplace outside the United States or to a place in the United States from orthrough a place outside the United States-

(A) Withthe intent to promote the carrying on of specified unlawful activity; or

(B) Knowingthat the monetary instrument or funds involved in the transportation representthe proceeds of some form of unlawful activity and knowing that suchtransportation, transmission, or transfer is designed in whole or in part-

(i) toconceal or disguise the nature, the location, the source, the ownership, or thecontrol of the proceeds of specified unlawful activity; or

(ii) to avoida transaction reporting requirement under State or Federal Law

ตามกฎหมายดังกล่าวหากรัฐประสงค์จะฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามกฎหมายนี้ จะต้องพิสูจน์ ดังนี้

1. จำเลยเคลื่อนย้ายหรือพยายามเคลื่อนย้ายตราสารทางการเงินหรือเงินทุน

2. การเคลื่อนย้ายหรือพยายามเคลื่อนย้ายนั้นเป็นการนำออกหรือนำเข้ามาในประเทศสหรัฐและเป็นการกระทำเพื่ออย่างหนึ่งอย่างใด ตาม 2.1 หรือ2.2 ดังนี้

2.1 จำเลยกระทำโดยเจตนาที่จะสนับสนุนส่งเสริมการกระทำผิดที่ได้กำหนดไว้หรือ

2.2 จำเลยกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่า

2.2.1 ตราสารทางการเงินหรือเงินทุนนั้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญา หรือมีโทษร้ายแรง (felony)ภายใต้กฎหมายของมลรัฐ รัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลต่างประเทศ และ

2.2.2 การเคลื่อนย้ายเงินทุนนั้นถูกกำหนดไว้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อที่จะ

2.2.2.1 ซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินทุนหรือ

2.2.2.2 หลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กฎหมายกำหนด

เมื่อเปรียบเทียบ มาตรา 1956(a)(1)กับ มาตรา 1956(a)(2) จะพบว่ามีความแตกต่างระหว่างสองมาตราดังกล่าวกรณีแรกจะเป็นการฟอกเงินภายในประเทศ แต่กรณีที่สองจะเป็นการฟอกเงินระหว่างประเทศโดยกรณีตาม 1956(a)(1) จะธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศสหรัฐและขอบเขตของธุรกรรมตามกรณีนี้ จะกว้างขวางมาก ในขณะที่มาตรา 1956(a)(2) จะกำหนดขอบเขตเฉพาะการเคลื่อนย้ายตราสารทางการเงินหรือเงินทุนเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีแต่ประการใด

มาตรา 1957– ข้อห้ามในการทำธุรกรรมเงินสด ( Monetary Transaction)

ความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 1957 นี้จะเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเงินสดจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้โดยกฎหมายนี้ จะเน้นไปที่การห้ามใช้เงินทุนเข้ามาหมุนเวียนในระบบการเงินดังนั้น มาตรา 1957 จึงบัญญัติดังนี้

“Whoever, in any ofthe circumstances set forth in subsection (d), knowingly engages or attempts toengage in a monetary transaction in criminally derived property that is of avalue greater than $10,000 and is derived from specified unlawful activity,shall be punished as provided in subsection (b).

(c) Thecircumstances referred to in subsection (a) are-

(1) Thatthe offense under this section takes place in the United States or in thespecial maritime and territorial jurisdiction of the United States; or

(2) Thatthe offense under this section takes places outside the United States and suchspecial jurisdiction, but the defendant is a United States person (as definedin section 3077 of this title, but excluding the class described in paragraph(2)(D) of such section)

(f) As used in this section-

(1) the term “monetary transaction”means the deposit, withdrawal, transfer, or exchange, in or affectinginterstate or foreign commerce, of funds or a monetary instrument (as definedin section 1956(c)(5) of this title) by, through, or to a financial institution(as defined in section 1956 of this title), including any transaction thatwould be a financial transaction under section 1956(c)(4)(B) of this title, butsuch term does not include any transaction necessary to preserve a person’sright to representation as guaranteed by the sixth amendment to theConstitution.

(2)the term “criminally derived property” means any property constituting, orderived from, proceeds obtained from a criminal offense; and

(3) the term “specified unlawfulactivity} has the meaning given that term in section 1956 of this title.

จากตัวบทข้างต้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัตินิยามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1957 จะเหมือนกับที่บัญญัติไว้ภายใต้มาตรา 1956 ส่วนคำว่า monetary transaction จะถูกบัญญัติไว้อย่างกว้างให้รวมถึงสารัตถะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมกับสถาบันทางการเงินทั้งหมดแต่สำหรับโทษทางอาญานั้น จะไม่สูงเท่าโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 1956 กล่าวคือ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตามการกระทำผิดทั้งต่อมาตรา 1956 และ มาตรา 1957 ผู้กระทำผิดอาจจะถูกริบทรัพย์ทั้งทางแพ่งและริบทรัพย์ทางอาญาได้

องค์ประกอบความผิดทางอาญา มาตรา 1957

1. จำเลยกระทำการและพยายามกระทำธุรกรรมเงินสด

2. ธุรกรรมเงินสดนั้นเกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดอาญา

3. ธุรกรรมเงินสดนั้นมีมูลค่าสูงกว่า $10,000 เหรียญสหรัฐ

4. ธุรกรรมนั้นได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาตามที่กำหนดไว้

5. ธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาหรือผู้กระทำผิดเป็นชาวสหรัฐอเมริกา

6. จำเลยนั้นรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดทางอาญารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

หากเปรียบเทียบกันระหว่างมาตรา 1956(a)(1)กับ มาตรา 1957 จะพบว่าส่วนที่แตกต่างกันที่สุดก็คือ มาตรา 1957 จะมีความชัดเจนกว่าและสลับซับซ้อนน้อยกว่ามาตรา1956(a)(1) เนื่องจากมาตรา 1956(a)(1) นั้นกำหนดให้รัฐจะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเข้าเงื่อนไขอะไร เช่นเป็นผู้กระทำธุรกรรมหรือพยายามกระทำธุรกรรม โดยรู้ว่าว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดหรือ ผู้กระทำผิดทราบว่าทรัพย์ได้มาจากการกระทำผิดแต่ยังเจตนาที่จะใช้กระทำผิดฐานอื่น ๆ หรือเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หรือโดยรู้ว่าการกระทำธุรกรรมนั้นจะปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน ดังนั้น มาตรา 1956(a)(1) จึงพิสูจน์หลายชั้น รวมถึงระดับ Mens rea ของผู้กระทำผิดด้วยซึ่งมี 2 ระดับ กล่าวคือ intent กับ Knowledge แต่มาตรา 1957 แค่พิจารณาจะกระทำธุรกรรมเงินสดด้วย โดยระดับ Mens rea เพียงการรับรู้ (knowledge)ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิด เท่านั้น

มาตรา Section 1956(a)(1)

มาตรา Section 1957

องค์ประกอบภายใน / Mens rea

โจทก์ต้องพิสูจน์ระดับจิตใจของจำเลย ดังนี้

(1) ความรับรู้ ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิด และ

(2) กระทำโดยรับรู้อยู่แล้วว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการรายงาน หรือเป็นการปกปิดซ่อนเร้นที่มาของทรัพย์ หรือ กระทำโดยเจตนาที่กระทำผิดอื่นต่อไป หรือกระทำโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี

โจทก์ต้องพิสูจน์ระดับจิตใจของจำเลย ว่า มีความรับรู้ว่ากระทำธุรกรรมเงินสด อันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด

ขอบเขตการกระทำ / Scope

ครอบคลุมการกระทำเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินทั้งปวง ในความหมายกว้างขวาง รวมถึงการให้ของขวัญ และการยกให้ซึ่งกรรมสิทธิ์ที่จะต้องมีการจดทะเบียน (gifts and transfers of property titles)

ครอบคลุมเฉพาะธุรกรรมเงินสด ในความหมายที่แคบ และกระทำผ่านสถาบันทางการเงินเท่านั้น

จำนวน / Amount

ไม่กำหนดมูลค่า

กำหนดมูลค่าจะต้องสูงกว่า $10,000 เหรียญสหรัฐฯ

การพิสูจน์องค์ประกอบด้านจิตใจของจำเลย(Proof of the Defendant’s Mental State)

มาตรา 1956

สำหรับมาตรา 1956กำหนดให้รัฐหรือฝ่ายโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ระดับของ Mens rea ถึง 2 ระดับ ประกอบด้วย (1) การรับรู้ว่าธุรกรรมทางการเงินนั้น มีทรัพย์ที่ได้รับมาจากกระทำผิด และจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ามีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดและมีระดับ Mensreas ที่แตกต่างกัน โดย มาตรา 1956 มีรายละเอียด ดังนี้

(1) ระดับองค์ประกอบทางจิตใจในระดับที่1 (First Level of Mens Rea) คือความรับรู้ว่าธุรกรรมนั้นมีทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด - Knowledge that the Transaction RepresentedProceeds of Unlawful Activity

ภายใต้มาตรา 1956(a)(1)โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเงินที่ผ่านการฟอกหรือทรัพย์สินนั้นได้มาจากการกระทำผิดบางอย่างโดยรัฐไม่จำต้องพิสูจน์ว่าจำเลยนั้นรู้ว่าได้มาจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งเป็นการเฉพาะ การพิสูจน์ว่า “รับรู้” อาจจะใช้การรับรู้อย่างแท้จริง (actualknowledge) จากการมีส่วนร่วมกระทำผิดหรือการรับรู้แบบแกล้งปิดหูปิดตามองไม่เห็น (Willfull blindness) จากการได้รับผลประโยชน์ที่ไม่อาจจะเป็นจริงได้หรือได้รับประโยชน์จากธุรกิจผิดกฎหมายย่อมเป็นการเพียงพอในการพิสูจน์ว่าจำเลยได้รับรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดแล้ว

เอกสารเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายนี้อธิบายว่า ผู้ที่ยอมรับการแลกเปลี่ยนเงินซึ่งเงินนั้นได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำธุรกรรมกับผู้จำหน่ายยาเสพติดที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดเกี่ยวข้องหลายร้อยดอลล่าร์ โดย ผู้แลกเปลี่ยนเงินตรา ได้รับค่านายหน้าในการแลกเปลี่ยนเงินจำนวนสูงกว่ามูลค่าทางการตลาดมากผู้นั้นย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลงโทษตามกฎหมายได้ การอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นว่าเงินดังกล่าวมาจากการกระทำผิด ในทางกลับกันตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ซึ่งขายรถยนต์ในราคาตลาดยังบุคคลซึ่งน่าสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอาญาบุคคลนี้ ก็ไม่สามารถถูกลงโทษได้ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าเขามีความรับรู้เกี่ยวกับผู้กระทำผิดมากกว่าการทำธุรกรรมซื้อขายรถยนต์ หรือไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆยืนยันว่าเขากระทำผิด

คำว่า Willfull blindness คือการที่ยอมรับเอาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยสามัญสำนึกจะต้องทราบว่าไม่ชอบมาพากลหรือได้มาจากการกระทำผิดอย่างแน่นอนเช่นนี้ ผู้ที่ยอมรับยอมถือว่ามีความรับรู้ หรือ Knowledgeในการกระทำผิดแล้ว จะอ้างว่าไม่รู้ย่อมไม่ได้

ตัวอย่างคดี UnitedStates v. Campbell, 977 F.2d 854 (4th Cir. 1992) เป็นกรณีที่ พบว่านางCampbell ซึ่งมีอาชีพซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ทำธุรกรรมขายบ้านกับ นาย Lawing ที่แสดงตนว่าเป็นนักธุรกิจด้วยแต่แท้จริง นาย Lawing คนนี้เป็นพ่อค้ายาเสพติดโดยทั้งคู่ทำสัญญาซื้อขายบ้านราคา 182,500 เหรียญสหรัฐ ในเบื้องต้น นาย Lawing ขอให้นาง Campbell ยอมรับเงินก้อนแรกเป็นเงินใต้โต๊ะจำนวน 60,000เหรียญ เพื่อแลกกับการลดราคาบ้านเป็น 122,500 เหรียญและช่วยเหลือให้ธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้น ต่อมา Lawing จึงได้ส่งมอบเงินจำนวนนั้นที่บรรจุใส่ถุงกระดาษสีน้ำตาล

นาง Campbell ถูกพิพากษาลงโทษฐานฟอกเงินด้วยทฤษฎีที่ว่าเธอได้กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ในการปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินนั้น โดยศาลพิจารณาเห็นว่าพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษเธอแล้ว โดยพิจารณาระดับ Mensrea จากการกระทำของเธอโดยในกรณีนี้ รัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเธอควรจะรู้ว่าเงินนั้นได้มาโดยผิดกฎหมายหรือเธอจงใจแกล้งไม่รู้ไม่เห็นว่าเงินนั้นได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยศาลพิจารณาจากพยานแวดล้อมทั้งปวงแล้ว จึงสามารถสรุป (infer) ได้ว่านาง Campbell จงใจปิดตาหรี่ตาหลับตาทำไม่รู้ไม่เห็น(deliberately closed her eyes) ว่าเงินนั้นน่าจะมาจากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

(2) ระดับที่สองขององค์ประกอบภายใจ(SecondLevel of Mens Rea – Four Possible Theories)

สมมติว่า รัฐ หรือโจทก์ได้พิสูจน์ระดับ Mens rea ในระดับที่1 แล้ว รัฐก็จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่า จำเลยได้กระทำธุรกรรมทางการเงินนั้นด้วย(1) เจตนาที่จะสนับสนุนการกระทำผิด หรือ (2) ด้วยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงฉ้อโกงภาษี หรือ (3) โดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นใช้เพื่อการซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินหรือ (4) โดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการรายงานธุรกรรมทางการเงิน (currencytransaction reporting laws) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้กระทำผิดมักจะกระทำผิดเพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงิน กล่าวคือทำให้เงินสกปรกกลายเป็นเงินสะอาด ด้วยกระบวนการฟอกเงิน โดยธุรกรรมนั้นจะเป็นการแปลงสภาพเงินสกปรกที่มาโดยการกระทำผิดกฎหมายให้กลายเป็นเงินที่ผ่านระบบธุรกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐจึงมักจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามทฤษฎีที่สามหรือมักจะฟ้องร้องควบคู่ไปกับทฤษฎีแรก คือการนำเงินทุนนั้นไปทำธุรกรรมเพื่อสนับสนุนการกระทำผิดอื่น ๆประกอบด้วยกับทฤษฎีที่สาม

พยานหลักฐานที่จะแสดงถึงวิธีการเพื่อปกปิดหรือเปลี่ยนสภาพเงินสกปรกตามมาตรา 1965(a)(1)(B)(i)

หรือ Evidenceof a Design to Conceal or Disguise Dirty Money Under Section 1965(a)(1)(B)(i)

โดยปกติแล้วลำพังเพียงการใช้เงินที่ได้มาโดยวิธีการที่ผิดกฎหมายโดยไม่มีวิธีการที่จะปกปิดแหล่งที่มาของเงินก็จะไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรานี้ ตัวอย่างเช่น คดี United States v.Sanders, 292 F.2d 1466 (10th Cir.1991) รัฐหรือโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินสกปรกโดยการใช้เพื่อซื้อรถยนต์สองคัน ศาลอุทธรณ์ภาค 10 ได้พิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่ารัฐหรือโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าธุรกรรมการซื้อรถยนต์นั้นเป็นวิธีการที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกปิดแหล่งที่มาของเงินโดยจำเลยและสามารถได้ดำเนินธุรกรรมโดยเปิดเผยกับผู้จำหน่ายและใช้รถยนต์ในทางส่วนตัวอย่างไม่ปิดปกหลบซ่อนดังนั้น จึงไม่มีพยานหลักฐานแห่งการออกแบบวิธีการปกปิดซ่อนเร้นรวมถึงรถยนต์อีกคันหนึ่งที่ซื้อให้กับลูกสาวของจำเลย ก็กระทำการโดยเปิดเผยและใช้อย่างเปิดเผย ศาลเห็นว่าหากลำพังเพียงการใช้เงินที่สกปรกจะเป็นความผิดฐานฟอกเงินก็จะเหมือนกับว่ากฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับการฟอกเงินให้เป็นความผิด กลายเป็นกฎหมายที่การใช้เงินจะเป็นความผิดกฎหมายคดีนี้จึงพิพากษายกฟ้อง

ในขณะที่คดี UnitedStates v. Jackson, 935 F.2d 832 (7th Cir. 1991) ศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงเนื่องจากรัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีการออกแบบเพื่อปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินสกปรก ในคดีนี้ Davis จำเลยมีบ้านสองหลังเพื่อจำหน่ายยาเสพติด(crack house) หลังจากนั้นจำเลยก็ได้ฝากเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดต่อธนาคารสองแห่งซึ่งเงินส่วนหนึ่งในบัญชีก็เป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยสำหรับสองบัญชีนี้ Davis จะเขียนเช็คสำหรับการใช้จ่ายในหลายวัตถุประสงค์เช่น เงินสดเพื่อการใช้จ่ายส่วนตัว การจ่ายสำหรับโทรศัพท์และเครื่องมือส่งข้อความการเช่าที่พักส่วนตัว และเงินสดสำหรับการซื้อรถยนต์ รัฐ หรือโจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยในความผิดสี่ฐานด้วยกันโดยใช้หลักฐานจากเช็คที่ใช้จ่ายข้างต้นภายใต้ทฤษฎีที่ว่าเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดถูกนำมาใช้จ่ายเพื่อฟอกให้เป็นเงินสะอาดทั้งเพื่อ (a) สนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติด และ (b) เพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติด

ในขั้นอุทธรณ์ จำเลยได้โต้แย้งว่ารัฐหรือโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ถึงองค์ประกอบการกระทำผิดและเจตนาในการฟอกเงินในหลายข้อกล่าวหาแต่ศาลปฏิเสธการโต้แย้งของจำเลย ประเด็นแรกศาลพบว่ารัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าเงินนั้นได้มาจากการกระทำผิดนั้นได้ถูกนำมาฝากไว้ในธนาคารประเด็นที่สอง รัฐหรือโจทก์ได้แสดงให้เห็นว่าเงินที่ได้มานั้นมาจากแผนการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเป็นกระบวนการกระทำผิดทางอาญา(operationof a continuing criminal enterprise) รวมถึงการที่มีการนำเงินสกปรกมาผสมกับเงินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สาม ตามหลักการซุกซ่อนเงินสกปรกถือว่าพยานหลักฐานเพียงพอแล้วหากคณะลูกขุนพิจารณาและสรุป (infer) ได้จากการใช้บัญชีธนาคารที่ถูกต้องในความพยายามที่จะปกปิดความเป็นเจ้าของเงินสกปรกและแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดของ Davis ในขณะที่ผู้เข้าถึงบัญชีได้เอง

ประการสุดท้ายศาลยังเห็นว่ารัฐบาลไม่จำต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมทางการเงินต้องกระทำเพื่อฟอกเงินในทุกๆ ทฤษฎี ๆ ที่อธิบายแล้วข้างต้น ) กล่าวคือไม่ต้องพิสูจน์ว่าเงินสกปรกนั้นใช้เพื่อสนับสนุนการกระทำผิด อื่น ๆ และใช้วิธีการนั้นเพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินแต่เป็นดุลพินิจของรัฐหรือโจทก์ที่จะเลือกทฤษฎีในการฟ้องร้องจำเลย

จำเลยในคดี Jacksonได้กระทำผิดฐานฟอกเงินจากเงินสกปรกด้วยตนเองและกฎหมายว่าด้วยการฟอกเงินนี้ ยังใช้กับบุคคลอื่น ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอื่น (underlying crimes) ตัวอย่างเช่นUnited States v. Campbell, 977 F.2d 562 (10th Cir. 1992) ที่ได้กล่าวไปแล้วสำหรับ Campbell ที่ยอมรับค่านายหน้าที่เกินกว่าอัตราของราคาตลาด โดยศาลเห็นว่าคดีดังกล่าว Campbell ได้จงใจแกล้งไม่รู้ไม่เห็น (knew or was willfully blind) ต่อข้อเท็จจริงที่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นถูกใช้เพื่อเป็นวิธีการหลบเลี่ยงแหล่งที่มาของเงินสกปรก ซึ่งได้แก่การสร้างสัญญาซื้อขายหลอกลวงที่มีการจ่ายเงินจำนวน 60,000เหรียญใต้โต๊ะ เพื่อลดราคาในสัญญาซื้อขายจริง ๆ หลักฐานดังกล่าวถือว่า จำเลยได้รับรู้ว่ามีการออกแบบวิธีการเพื่อซ่อนเร้นแหล่งกำเนิดของเงินนั้น

หลักฐานในการพิสูจน์ถึงเจตนาในการสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดตามมาตรา 1956(a)(1)(A)(i)

สำหรับหลักฐานในการพิสูจน์Intent to Promote Unlawful Activity Under Section 1956(a)(1)(A)(i) นั้น เนื่องจากในคดี Campbell ศาลได้พิพากษาว่าการพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดฐานซ่อนเร้นที่มาของเงินสกปรกโจทก์หรือรัฐมีภาระการพิสูจน์ระดับ Mens rea ของจำเลยว่า“รู้” หรือ Knowledge ของทรัพย์สินนั้นว่าได้มาจากการกระทำผิดแต่ในการฟ้องร้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานสนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่น ๆ ภายใต้มาตรา 1956(a)(1)(A)(i)รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ระดับ Mens rea ของจำเลยว่ามีเจตนา(intent) ที่จะกระทำธุรกรรมเพื่อใช้เงินสกปรกที่ได้มาโดยผิดกฎหมายนั้นจะใช้ในการกระทำการอย่างอื่น ตัวอย่างคดีต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการพิสูจน์ดังกล่าว

ในคดี United Statesv. Johnson, 971 F.2d 562 (10th Cir. 1992) ได้กระทำการฉ้อโกงอย่างมีแผนการแยบยล(fraudulent scheme) ในการซื้อเงินแม๊กซิกันสกุล Pesosโดยได้รับส่วนลด และขายเงินสกุลอเมริกันในอัตราที่กำไรผู้ลงทุนได้โอนเงินผ่านระบบ wire มายังจำเลยเพื่อซื้อเงินPesos ซึ่งในทางความเป็นจริงจำเลยไม่ได้มีความตั้งใจที่จะดำเนินการดังกล่าวและกำไรที่จ่ายให้กับผู้ลงทุนมาจากเงินทุนของผู้ลงทุนรายอื่น รัฐหรือโจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยในสองกรรม กล่าวคือการใช้ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดจากการฉ้อโกงผ่านระบบ wire หรือ wire fraud เพื่อกระทำผิดอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา1956(a)(1)(A)(i) สำหรับการกระทำกรรมแรกนั้นอาศัยข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ใช้การฉ้อโกงโดยการนำทรัพย์สินที่ได้มาจากการฉ้อโกงไปชำระหนี้สินการซื้ออสังหาริมทรัพย์(mortgage) ซึ่งเป็นบ้านของจำเลย ส่วนอีกกรรมหนึ่งนั้น เป็นการนำทรัพย์ที่ได้มาจากการฉ้อโกงไปซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ซึ่งกรณีนี้ศาลพิจารณาเห็นว่าการจ่ายเงินชำระหนี้สินหรือซื้อสินค้านั้น เป็นการกระทำโดยเจตนา (intent) ที่จะทำให้การแผนการฉ้อโกงผ่านระบบ wire นั้น ดำเนินการต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนี้ จำเลยได้ใช้บ้านที่ซื้อดังกล่าวเป็นสถานที่ทำงานในการดำเนินตามแผนการฉ้อโกงต่อไปทั้งบ้านและรถยนต์ต่างก็ใช้ในการสร้างความประทับใจให้กับนักลงทุนต่อความสำเร็จของจำเลย

คำพิพากษาในคดี Johnsonนี้ได้นำมาซึ่งคำถามว่าการซื้อทรัพย์สินอย่างชัดแจ้งไม่มีการปิดบังอำพรางแค่นั้นจะถือเป็นการกระทำผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ ศาลอื่น ๆ ในสหรัฐฯก็พิจารณาตีความโดยกว้างขวางในการกระทำผิดตาม มาตรา 1956(a)(1)(A)(i) นี้ กล่าวคือแค่เพียงการได้รับเงินสดหรือการฝากเช็คซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดก็ถือว่าเป็นการแสดงหลักฐานแห่งเจตนากระทำผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายนี้แล้ว ตัวอย่างเช่น คดี United States v.Montoya, 945 F.2d 1068 (9th Cir. 1991) จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับสินบนโดยวิธีการส่งมอบเช็คและเขาได้ฝากเช็คดังกล่าวต่อธนาคารศาลได้พิพากษาว่าเขาฟอกเงินจากการได้รับการติดสินบนเพื่อทำให้ความผิดฐานติดสินบนสำเร็จโดยบริบูรณ์แม้ว่าความผิดฐานติดสินบนจะสำเร็จไปแล้วก็ตาม แต่การฝากเช็คดังกล่าวจะมีผลทำให้เขาสามารนำเงินดังกล่าวไปใช้ได้จริง ตามที่เขาติดสินบน การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายเป็นการฟอกเงินแล้ว

ในคดี United Statesv. Paramo, 998 F.2d 1212 (3d. Cir. 1993) นั้น จำเลยได้เข้าร่วมในแผนการที่จะยักยอกทรัพย์โดยการทำให้กรมสรรพากร ( I.R.S. )สั่งจ่ายเช็คคืนเงินให้กับบุคคลที่เป็นผู้จ่ายภาษีจำแลงที่สร้างขึ้นมา (fictitioustaxpayer) จำเลยได้ถูกพิพากษาลงโทษโดยอาศัยทฤษฎีที่ว่า การนำเช็คไปขึ้นเงินสดถือเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่นให้สำเร็จแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยจะใช้เงินดังกล่าวเพื่อค่าใช้จ่ายส่วนตัว และไม่เกี่ยวข้องกับแผนการฉ้อโกงเลยก็ตามศาลพิพากษาว่า เนื่องจากการนำเช็คไปขึ้นเงินสดดังกล่าวจึงทำให้จำเลยสามารถแสวงประโยชน์จากการฉ้อโกงนั้นได้ดังนั้นการนำเช็คไปขึ้นเงินจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอในการแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะสนับสนุนให้การกระทำผิดสำเร็จแล้ว

การฟ้องร้องในความผิด ตามมาตรา 1957

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วมาตรา 1957 นั้น จะมีความง่ายและชัดเจนกว่ามาตรา 1956โดยสาระสำคัญแล้ว มาตรา 1957 จะกำหนดหน้าที่ให้รัฐหรือโจทก์จะต้องแสดงว่าจำเลยได้ดำเนินธุรกรรมเงินสด(monetary transaction) ซึ่งมีมูลกว่า 10,000 เหรียญ ที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาบางประการซึ่งจำเลยจะต้องรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับความผิดตาม มาตรา 1956 สำหรับความผิดตามมาตรา1957 ผู้กระทำผิดตามมาตรานี้อาจจะหมายถึงบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดโดยตรงและบุคคลที่ได้รับการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานหรือบริการจากเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาด้วยก็ได้

การพิสูจน์ระดับความรู้ (Proofof Knowledge)

โจทก์หรือรัฐอาจจะพิสูจน์ระดับ Mens rea ในเรื่องความรับรู้ หรือ Knowledgeจากพยานหลักฐานโดยตรง ( direct evidence ) หรือพยานแวดล้อมกรณี ( circumstantialevidence) ที่จะแสดงให้เห็นถึงความรับรู้จริง ๆ (actualknowledge) หรือการแกล้งหลับหูหลับตามองไม่เห็น (willfulblindness) ตัวอย่างเช่นคดี Campbell case ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วซึ่งเธอได้รับเงินสดใต้โต๊ะในการซื้อขายที่ดินโดยแกล้งไม่รับรู้ถึงที่มาของเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดเธอจึงมีความผิดตาม มาตรา 1957 เพิ่มเติมจากมาตรา 1956ด้วย

การพิสูจน์ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นผลมาจากการกระทำผิดทางอาญา(Proof that the Property Was the Product ofCriminal Activity)

ประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลาการกระทำผิด

มาตรา 1957

ภาระการพิสูจน์ของรัฐหรือโจทก์ตามมาตรา1957 นั้น ก็คือการแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ดำเนินธุรกรรมเงินสดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด(criminally derived property) คำว่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดนั้นตามกฎหมายมาตรา 1957(f)(2) ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึงทรัพย์สินใด ๆซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือมาจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญา ศาลพิจารณาเห็นว่าตามบทบัญญัติของมาตรา 1957นั้น จำเลยจะกระทำผิดได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดนั้นสมบูรณ์แล้ว จึงดำเนินธุรกรรมเงินสดต่อไปตัวอย่างเช่น จำเลยหลอกลวงให้นักลงทุนโอนเงินให้กับจำเลยผ่านด้วยแผนการฉ้อโกงผ่าน Wirefraud หากการกระทำการโอนเงินจากนักลงทุนยังไม่สมบูรณ์จำเลยยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ฝากเข้าบัญชีของจำเลย ก็ไม่ถือว่ามีการกระทำผิดตามมาตรานี้

มาตรา 1956

ตามมาตรา 1956(a)(1)นั้น กำหนดให้การกระทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด กล่าวคือทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด (Proceeds) จะต้องได้มาก่อนจึงจะมีการดำเนินธุรกรรมเพื่อฟอกเงิน อย่างไรก็ตาม การตีความแตกต่างกันไป เช่น ในคดี United States v.Allen, 76 F.3d 1348 (5th Cir. 1996) ได้อธิบาย มาตรา 1956(a)(1)(B)(i) ไว้ในคดีนี้ โดย Cihak มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ซึ่งมีการโอนเงินจากธนาคารด้วย2 วิธีการ ด้วยกัน วิธีการแรกเขาได้จัดการให้ธนาคารโอนเงินไปยังที่ปรึกษาผู้ซึ่งจ่ายเงินสินบนให้กับเขา และวิธีการที่สองเขาได้จัดการให้มีการกู้ยืมหนี้สินกับบุคคลอื่น และหลังจากนั้นเขาก็ใช้เงินนั้นจากเงินกู้ดังกล่าว หรือได้รับสินบนจากผู้กู้ยืม เขาและจำเลยอื่น ๆถูกตัดสินว่ากระทำผิดฐานฟอกเงินโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำธุรกรรมผ่านธนาคารซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับแผนการกระทำผิดของเขา

ในขั้นตอนการอุทธรณ์จำเลยได้โต้แย้งว่า ธุรกรรมดังกล่าวยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่อาจจะถือว่าเป็น “ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือ Proceeds” เขาโต้แย้งว่า การกระทำผิดยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งเขาจะได้รับเงินที่ถูกโอนออกไปจากธนาคาร ดังนั้นการที่มีเพียงธุรกรรมการโอนเงินไปยังบุคคลที่กู้ยืมหรือที่ปรึกษาดังกล่าวยังไม่ถือว่ามีทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดเกิดขึ้นแต่ศาลไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งดังกล่าว โดยพิพากษาว่าเงินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารกลายเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทันทีที่ปรึกษาหรือผู้กู้ยืมได้รับแล้ว ซึ่งถือว่าการฉ้อโกงธนาคารได้สำเร็จแล้วในเวลานั้นโดยไม่ต้องสนใจว่าหลังจากนั้นผู้ที่ได้รับเงินไปจะไปโอนเงินให้กับใครต่อไปอย่างไรในคดี United States v. Kennedy, 64 F.3d 1465 (10th Cir. 1995) ก็เช่นเดียวกันศาลพิจารณาว่าการที่จำเลยได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงผ่านระบบจดหมาย (mail fraud) ถือว่ากระทำผิดโดยสมบูรณ์แล้วก่อนที่จะการนำเช็คหรือเงินไปฝากต่อธนาคาร การกระทำผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวจึงถือเป็นพื้นฐานในการที่จะพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะการฝากเงินดังกล่าวถือเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้ตาม มาตรา1956 แล้ว

กรณีทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมายผสมปะปนกับทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบ(Commingling)

ประเด็นที่ยุ่งยากที่สุดคือ กรณีที่ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบผสมปะปนกับทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย การจะติดตามหรือ tracing เงินสกปรกใน Commingling Funds จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ตามมาตรา 1956 รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมทางการเงินนั้นมีความเกี่ยวพันกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย(involving proceeds of the specified unlawful activity) ส่วนมาตรา 1957 รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมเงินสดนั้นมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย(derived from the unlawful activity) ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่ารัฐหรือโจทก์ได้ปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์หรือไม่

มาตรา 1956

โดยทั่วไปศาลจะพิพากษาว่าตามมาตรา 1956 นั้น รัฐหรือโจทก์ ไม่จำต้องถึงขนาดติดตาม (trace)ทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (illegal proceeds) นั้นถูกผสมปะปนกับทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไรบ้าง เช่นในคดี Jackson ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่อาจถูกลงโทษได้เนื่องจากการใช้จ่ายของเขมาจากบัญชีที่มีเงินที่ชอบด้วยกฎหมายที่ไม่ได้มาจากการกระทำผิดแต่ประการใดแต่ศาลไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ตามบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น กำหนดให้รัฐต้องพิสูจน์เพียงว่าการดำเนินธุรกรรมทางการเงินนั้น เกี่ยวพันกับทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย (financial transaction “involved” the proceeds of the illegal activity.) ดังนั้นหากทางการนำสืบสามารถพิสูจน์ได้ว่าบางส่วนของทรัพย์ที่นำมาดำเนินธุรกรรมนั้นมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งที่ผิดกฎหมายก็สามารถลงโทษได้ และรัฐสภาก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ลงโทษเฉพาะธุรกรรมที่ไม่ได้ผสมปะปนกับเงินถูกกฎหมายเลยมิเช่นนั้น จำเลยย่อมสามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายได้เพียงการผสมปะปนเงินที่สะอาดกับเงินที่สกปรกเท่านั้น

มาตรา 1957

การฟ้องร้องตามมาตรา 1957ศาลยังมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง เช่นในคดี Johnson ศาลเห็นว่า การติดตามแยกแยะทรัพย์ที่สกปรกกับทรัพย์ที่สะอาดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐที่จะต้องพิสูจน์แต่ประการใด กรณีนี้จำเลยฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารของตนจำนวน 5.5 ล้านเหรียญมีจำนวน 1.2 ล้านเหรียญที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 10 พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่า ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐที่จะต้องพิสูจน์ที่มาของแหล่งเงินนั้นว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร มิเช่นนั้นแล้วผู้กระทำผิดสามารถหลีกเลี่ยงการลงโทษได้เพียงแค่การนำเงินสะอาดไปผสมกับเงินสกปรกเท่านั้นและเท่ากับเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในคดี United States v. Rutgard, 116 F.3d 1270 ( 9th Cir. 1997) เห็นว่า ความผิดทางอาญาควรจะต้องตีความเคร่งครัด ดังนั้นศาลจึงเห็นว่ากฎหมายนี้ควรตีความให้แคบและรัฐจำต้องพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมาจากแหล่งใดได้ ( thestatute should be narrowly construed to require tracing.)




Create Date : 12 พฤษภาคม 2560
Last Update : 12 พฤษภาคม 2560 7:43:23 น. 0 comments
Counter : 2346 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.