*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

การรายงานธุรกรรมทางการเงินและการฟอกเงินในสหรัฐฯ



CurrencyTransaction Reporting Crimes and Money Laundering : ประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการการรายงานธุรกรรมทางการเงินและการฟอกเงิน

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ,J.S.D.( University of Illinois )

ส่วนที่ 1 : การรายงานธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมเงินสด

ปี ค.ศ.1970 รัฐสภาได้เริ่มตรากฎหมายเพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถติดตามธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการตรากฎหมายในการปราบกรามการฟอกเงินการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินเป็นความพยายามในการตรวจสอบการกระทำผิดที่มีขอบเขตกว้างขวางเช่น การหลีกเลี่ยงภาษี และกระบวนการในการกระทำผิดอย่างกว้างขวางขององค์กรอาชญากรรมที่มีมูลค่าความเสียหายสูงด้วย

กฎหมายที่ตราออกมาจึงเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในBankSecrecy Act (31 U.S.C. §5311-22) และประมวลกฎหมายภาษีอากรของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ Federal tax code ( 26 U.S.C.§ 6050 ไอ ทั้งนี้ ลักษณะการกระทำผิดจะกำหนดไว้เพียงการไม่ยอมเปิดเผยถึงข้อมูลที่กำหนดให้ต้องเปิดเผยแม้ว่าข้อมูลนั้นจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดอาญาเลยก็ตาม ก็ถือเป็นการกระทำผิดตามนี้แล้ว

1. ภาพรวมของบทบัญญัติทางกฎหมาย (Statutory Overview)

A. บทนำ

สำหรับกฎหมายBankSecrecy Act ตามประมวลกฎหมายสหรัฐ ลำดับที่ 31 ได้กำหนดข้อมูลที่ต้องรายงานต่อรัฐบาล ผ่านกรมสรรพากร หรือ IRS ได้แก่ ธนาคารและสถาบันทางการเงิน ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ใน CurrencyTransaction Reports (CTRs) สำหรับธุรกรรมทางการเงินทั้งหลายที่มีมูลค่ามากกว่า๑๐,๐๐๐ เหรียญ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับประมวลกฎหมายภาษีอากรสหรัฐฯ มาตรา 6050 ไอ ที่กำหนดไว้ในลักษณะเดียวกัน โดยประมวลกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังได้กำหนดไว้ในมาตรา 5316 ว่าบุคคลใดทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีธุรกรรมทางการเงินหรือตราสารทางการเงินที่มีมูลค่าจำนวนเดียวกันก็จะต้องรายงานต่อIRS ด้วยเช่นกัน ในส่วนของมาตรา 5318(g) ยังกำหนดให้ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะต้องรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย(Suspicious Transaction) ตามแบบรายงาน SuspiciousActivity Reports สำหรับธุรกรรมที่มูลค่าตั้งแต่ 5,000 เหรียญขึ้นไปซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือการหลีกเลี่ยงการายงานธุรกรรมทางการเงินที่ต้องรายงานหรือมีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มีลักษณะผิดปกติ

B. บทบัญญัติมาตรา 5313(a) สถาบันทางการเงินภายในประเทศจะต้องมีหน้าที่ในการรายงาน

มาตรา 5313(a) ถือเป็นมาตราหลักในการกำหนดให้มีการรายงานโดยมีรายละเอียด

“ When a domestic financial institutionis involved in a transaction for the payment, receipt, or transfer of theUnited States coins or currency (or other monetary instruments the Secretary ofthe Treasury prescribes), in an amount, denomination, or amount anddenomination, or under circumstances the Secretary prescribes by regulation[Currently transaction in excess of $10,000], the institution and any otherparticipant in the transaction the Secretary many prescribe shall file a reporton the transaction at the time and in the way the Secretary prescribes….

ในกรณีที่มีการละเมิดต่อกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯอาจจะดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้รับผิดทางแพ่ง (civil remedies) ก็ได้ (31 U.S.C. §5321) และอาจจะฟ้องร้องทางคดีอาญาหากมีหลักฐานเชื่อว่าผู้กระทำผิดเจตนากระทำผิด โดยโทษทางอาญาอาจจะสูงถึง จำคุก 5ปี หรือปรับ 250,000 เหรียญหรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์กรประกอบในการกระทำผิด (The Elementsof Crimes)

ในการฟ้องร้องผู้กระทำผิด รัฐจะต้องพิสูจน์ว่า

1. สถาบันทางการเงินภายในประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น

2. ธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับกระแสเงินสหรัฐ หรือตราสารทางการเงินของสหรัฐ

3. ธุรกรรมนั้นมีมูลค่าสูงกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ

4. สถาบันทางการเงินไม่แจ้งธุรกรรมนั้นตามที่กำหนดไว้

5. ผู้กระทำผิดมีเจตนากระทำผิด

คำว่าสถาบันทางการเงินจะเป็นไปตาม มาตรา 5312(a)(2) ของกฎหมาย BankSecrecy Act และระเบียบที่กำหนดรายชื่อสถาบันทางการเงินนับแต่ธนาคาร ผู้แทนจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยและประกันชีวิตโรงรับจำนำหรือผู้ให้กู้เงิน ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ นอกจากนี้ ศาลสหรัฐฯ ยังตีความขยายไปถึงบุคคลธรรมดาที่กระทำธุรกรรมในลักษณะเดียวกับสถาบันทางการเงินเป็นต้น

มาตรา 5324(a) การก่อให้เกิดการกระทำผิด (structuring) และความผิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำธุรกรรมโดยสถาบันทางการเงิน

หลังจากที่รัฐสภาได้ตรากฎหมาย มาตรา 5313 แล้ว ก็ได้ผ่านมาตรา 5324(a) เพื่อปิดช่องว่างทางกฎหมายเดิมซึ่งลูกค้าของธนาคารมักจะแบ่งการกระทำธุรกรรมให้มีมูลค่าน้อยกว่า 10,000 เหรียญ เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กำหนด โดยมาตรา 5324(a)ได้กำหนดว่า

“Domestic coin and currencytransaction involving financial institutions. No person shall for the purpose of evading the reporting requirements ofsection 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under any such section. …

(1) Causeor attempt to cause a domestic financial institution to fail to file a reportrequired under section 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under anysuch section …

(2) Causeor attempt to cause a domestic financial institution to file a report requiredunder section 5313(a) or 5325 or any regulation prescribed under any suchsection … that contains a material omission or misstatement of fact; or

(3) Structureor assist in structuring or attempt to structure or assist in structuring, anytransaction with one or more domestic financial institutions.

ผู้กระทำผิดตามมาตรา5324จะถูกลงโทษทางอาญา ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับตามที่กฎหมายกำหนด หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดอัตราโทษหนักขึ้น (aggravated sentence) สำหรับบุคคลที่กระทำผิดตามกฎหมายนี้ในขณะที่ได้เคยกระทำผิดหรือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่มูลค่าสูงกว่า100,000 เหรียญ ในระยะเวลา 12 เดือนโดยจะต้องระวางโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับสองเท่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบการกระทำผิดตามมาตรา 5324(a)

การฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามมาตรา 5324(a)รัฐจะต้องพิสูจน์ว่า

1. จำเลยมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการรายงานตามที่กำหนดกฎหมายและระเบียบCTR และ

2. จำเลยจงใจกระทำ กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

a. ก่อให้เกิด หรือพยายามก่อให้เกิดซึ่งสถาบันทางการเงินภายในประเทศ ไม่อาจแจ้งรายงานธุรกรรมทางการเงินตามมาตรา 5313(a) หรือ5325 หรือระเบียบใด ๆ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว …

b. ก่อให้เกิด หรือพยายามก่อให้เกิดซึ่งสถาบันทางการเงินภายในประเทศ ไม่อาจแจ้งรายงานธุรกรรมทางการเงินตามมาตรา 5313(a) หรือ 5325 หรือระเบียบใด ๆ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายดังกล่าว … ซึ่งเป็นการงดเว้นกระทำการอันเป็นสาระสำคัญหรือทำให้เกิดการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น ; หรือ

c. ก่อให้เกิดหรือช่วยเหลือในการกระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำธุรกรรมทางการเงินใดของสถาบันทางการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง

ตามมาตรานี้รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทราบว่ามีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการรายงานธุรกรรมทางการเงิน และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงไม่รายงานตามแบบที่กำหนด อย่างไรก็ตาม รัฐไม่จำต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทราบว่า การกระทำการเพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานดังกล่าวนั้นถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแต่ประการใด

มาตรา 6050 ไอ – การรายงานธุรกรรมที่เป็นเงินสด (CashTransaction) โดยองค์กรธุรกิจ

ในปี ค.ศ.1984รัฐสภา ได้ตรากฎหมายมาตรา 6050 ไอเพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายภาษีอากร (Internal Revenue Code) (26 U.S.C.§6050I) โดยมาตรานี้ขยายการรายงานธุรกรรมเงินสด (CashTransaction) ซึ่งแต่เดิมจะกำหนดให้รายงานเฉพาะธุรกรรมที่ดำเนินการโดยสถาบันทางการเงิน(Financial Institutions) เท่านั้นไปยังบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจทางการค้า และองค์กรธุรกิจทุกประเภทที่จะต้องรายงานตามแบบฟอร์ม IRS Form 8300 ด้วย โดยมาตรา 6050I ได้กำหนดไว้ดังนี้

(a) Cashreceipts of more than $10,000, Any person –

(1) Whois engaged in a trade or business, and

(2) Who,in the course of such trade or business, receives more than $10,000 in cash in1 transaction (or 2 or more relates transactions),

Shall make the return described insubsection (b) with respect to such transaction (or related transactions) atsuch time as the Secretary may be regulations prescribe.

(b) Formand manner of returns. A return isdescribed in this subsection if such return –

(1) Is in such form as the Secretary mayprescribe,

(2) Contains-

(A) Thename, address, and [tax identification number] of the person from whom the cashwas received,

(B) Theamount of cash received,

(C) Thedate and nature of the transaction, and

(D) Suchother information as the Secretary many prescribe.

อย่างไรก็ตาม มาตรา 6050I(c) กำหนดข้อยกเว้นตามกฎหมายนี้หากได้มีการส่งข้อมูลที่กำหนดไว้ในแบบรายงานธุรกรรมทางการเงิน (CTRs) แล้วตามกฎหมาย Bank Secrecy Act

สำหรับผู้ใดที่ “willful failure tofile a Form 8300” เจตนาที่จะไม่ส่งแบบไปยัง IRS จะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 7203 ของ InternalRevenue Code ซึ่งจะมีโทษกำหนดให้จำคุกไม่เกิน 1 ปี และโทษปรับตามที่กำหนดไว้ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในกรณีที่เจตนาส่งแบบฟอร์มอันเป็นเท็จ (afalse Form 8300) จะถูกลงโทษตามมาตรา 7206 ของInternal Revenue Code ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับตามที่กำหนดไว้ หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนมาตรา 6050I(f)จะกำหนดห้ามมิให้กระทำการใด ๆที่ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมเงินสด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กฎหมายนี้จะกำหนดให้บุคคลที่กำหนดไว้จะต้องส่งคืนแบบรายงานและจะต้องไม่หลีกเลี่ยงที่จะส่งคืนแบบรายงานดังกล่าวโดยการก่อให้เกิดหรือพยายามก่อให้ผู้ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจไม่ส่งแบบฟอร์มดังกล่าวและแบบรายงานนั้นมีสาระสำคัญหากไม่ส่งจะเป็นการงดเว้นกระทำการหรือก่อให้เกิดการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือ กระทำการหรือช่วยเหลือในการหลีกเลี่ยงการส่งแบบรายงาน โดยการกระทำไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมเดียวกันหรือหลายๆ ธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือการประกอบธุรกิจซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5324(a) ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

องค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 6050I

การพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 6050I คือ จงใจไม่ส่งแบบฟอร์ม 8300 นี้รัฐบาลจะต้องพิสูจน์ได้ว่า องค์ประกอบความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา 7203 ครบถ้วนแล้ว ส่วนการส่งแบบฟอร์มอันเป็นเท็จ หรือ false Form 8300 รัฐก็จะต้องพิสูจน์องค์ประกอบตาม7206 โดยเฉพาะในความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีอากรนั้นรัฐจะต้องพิสูจน์ว่า จำเลยจงใจละเมิดกฎหมายที่กำหนดให้มีการรายงานแบบฟอร์มที่กำหนดและจำเลยนั้นทราบว่า การหลีกเลี่ยงดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งจะแตกต่างจากการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินที่มีการแบ่งธุรกรรมออกเป็นส่วนๆ เพื่อมิให้ต้องรายงานตามมาตรา 5324 นั้น จำเลยไม่จำต้องทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายแต่ประการใด

ในการฟ้องร้องจำเลยที่กระทำผิดตามมาตรา6050Iตามกฎหมายภาษีอากร จึงยุ่งยากกว่า กล่าวคือ ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยจำเลยมีเจตนากระทำ (Act willfully) ด้วยเจตนาจะละเมิดต่อกฎหมาย( intent to violate the law) และก่อให้บุคคลที่ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจไม่อาจจะรายงานธุรกรรมเงินสดได้หรือมีส่วนช่วยในการก่อให้เกิดการกระทำผิดนั้นร่วมกับผู้ประกอบการค้าหรือประกอบธุรกิจ โดยการก่อให้เกิดการกระทำผิดที่จะถือว่าเข้าข่ายการกระทำผิด(structure) จะต้องเป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมเงินสดไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการรายงานตามที่กฎหมายกำหนด

องค์ประกอบภายในหรือองค์ประกอบทางจิตใจ (Mens Rea) ในคดี Currency Reporting Cases

1. ระดับความรับรู้หรือ Knowledge และเจตนาที่กระทำผิดกฎหมาย (Intent to violate the Law)

หลักการสำคัญคือ ความไม่รู้กฎหมายไม่สามารถอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ ดังนั้นรัฐจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบว่าจำเลยมีระดับความรับรู้และมีเจตนาที่จะกระทำผิดกฎหมายสำหรับการกระทำผิดเกี่ยวกับหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมทางการเงิน ตามมาตรา 5324รัฐมีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยรับรู้การกระทำของตนเองในการที่ทำให้การรายงานธุรกรรมนั้นมีอุปสรรคหรือไม่สามารถกระทำได้แต่จำไม่ต้องรับรู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดกฎหมาย กล่าวคือ ไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดหรือละเมิดกฎหมายส่วนการรายงานธุรกรรมเงินสดที่เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายภาษีอากร ตามมาตรา 6050Iนั้น ศาลสูงสุดอเมริกันเห็นว่า จำต้องมีทั้ง Knowledge และIntent to violate the law ด้วย

2. ระดับความรับรู้โดยผลรวมจากการกระทำทั้งปวงหรือ CollectiveKnowledge

หลักการ Doctrineof Collective Knowledge เป็นวิธีการพิสูจน์ระดับจิตใจในกรณีที่ไม่อาจจะทราบได้ว่าจำเลยมีกระทำผิดโดยลำพังแต่ละบุคคลอย่างไรจึงต้องพิจารณาถึงผลรวมของการกระทำทั้งปวงแล้วพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ตัวอย่างเช่น คดี UnitedState v. Bank of New England, 484 U.S.943 (1987) คดีนี้ธนาคารจำเลย ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการไม่รายงานธุรกรรมทางการเงินศาลให้คำแนะนำต่อคณะลูกขุนว่า “ให้พิจารณาว่าธนาคารคือองค์กรในลักษณะที่เป็นสถาบัน ดังนั้น ระดับความรับรู้ว่ามีการกระทำผิดจึงต้องเป็นความรับรู้ของพนักงานที่ปฏิบัติงานให้แก่ธนาคารทั้งหมดกล่าวคือ พิจารณาความรับรู้โดยรวมของพนักงานภายใต้ขอบเขตของทางการที่จ้าง ดังนั้นถ้าพนักงานคนหนึ่งทราบถึงหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมทางการเงินพนักงานอีกคนหนึ่งทราบ และพนักงานอีกคนหนึ่งก็ทราบ ดังนั้นความรับรู้ของธนาคารจึงนำความรับรู้ของพนักงานดังกล่าวมาพิจารณาโดยรวม”ศาลสูงเห็นพ้องด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะเป็นการให้สถาบันฯหรือนิติบุคคลหลีกเลี่ยงการกระทำผิดอาญาได้

ดังนั้นในกรณีนิติบุคคลกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมทางการเงิน จะต้องพิจารณาถึงการกระทำของพนักงานของนิติบุคคลในการกระทำผิดเช่นนั้นหากพนักงานทราบถึงหน้าที่ในการรายงานและไม่ปฏิบัติตามย่อมถือได้ว่านิติบุคคลมีความรับรู้เช่นนั้นด้วยและจะต้องรับผิดทางอาญาและแพ่งตามกฎหมายด้วย

กล่าวโดยสรุปกฎหมายว่าด้วยการรายงานธุรกรรมทางการเงินและเงินสดนั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยการรายงานดังกล่าวเมื่อมีการนำมาใช้ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกฎหมายที่กำหนดการรายงานดังกล่าวถือเป็นการการเพิ่มมาตรการในการชี้ให้เห็นถึงการกระทำผิดและนำไปสู่การฟ้องร้องในคดีอาญาที่จะต้องมีการติดตามความเคลื่อนไหวของเงินที่ใช้ในการกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าการกระทำผิดนั้นจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา หรือต่างประเทศก็ตาม

ส่วนที่ 2กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : MoneyLaundering

นับแต่ปีค.ศ. 1986กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ตราขึ้นตามประมวลกฎหมายสหรัฐลำดับที่ 18 U.S.C. §1956 เพื่อเสริมประสิทธิภาพกฎหมายป้องกันปราบปรามองค์กรอาชญากรรมหรือ RICO (Racketeer Influenced and Corrupt Organizations) ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือสำคัญและทรงพลานุภาพของรัฐโดยกฎหมายป้องกันปราบปรามการฟอกเงินครอบคลุมขอบเขตกว้างขวางไปยังการกระทำผิดจำนวนมากและมีบทลงโทษรุนแรง รวมถึงการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการฟอกเงิน

กฎหมายนี้ ยังมีอำนาจมากขึ้นจากการใช้กฎหมายรายงานธุรกรรมเนื่องจากการรายงานธุรกรรมนั้นสามารถใช้เป็นวิธีการในการชี้เฉพาะถึงการกระทำผิดกฎหมายและการเคลื่อนย้ายเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายหรือการหลีกเลี่ยงภาษีเนื่องจากการรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่าการเคลื่อนย้ายเงินจำนวนมากนั้นนำไปสู่การใช้ในการกระทำผิดขนาดใหญ่ไปด้วย

กฎหมายนี้แต่เดิมใช้เฉพาะการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่ต่อมาได้นำมาใช้กับการกระทำเกี่ยวกับการฉ้อโกงภาษี และ การกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการซ่อนเร้นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดเกี่ยวกับการติดสินบน(Bribery) หรือการเรียกค่าไถ่ (Extortion) โดยกฎหมายนี้ไม่เพียงลงโทษผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดเงินสกปรก (Dirty money) เท่านั้นแต่ยังลงโทษผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินดังกล่าวในทางใดทางหนึ่งแม้จะเข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลังก็ตามสำหรับ กฎหมายฟอกเงินนี้ มีการบัญญัติไว้ 2 มาตราด้วยกันได้แก่ มาตรา 1956 และมาตรา 1957 ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทนำ

กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาตรา 1956ได้ถูกตราขึ้นในประมวลกฎหมายสหรัฐฯโดยมีสาระสำคัญที่จะเกี่ยวข้องกับการ (1) ธุรกรรมทางการเงิน (Financialtransaction) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด (Proceedsof criminal activities) และ (2) ธุรกรรมทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์ในการปกปิดแหล่งที่มาของเงินทุน (cover up the source ofthe funds) ส่วนมาตรา 1957นั้น จะเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เป็นเงินสด (Monetarytransaction) ซึ่งเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาที่มูลค่ากว่า $10,000เหรียญสหรัฐ แต่ในปัจจุบันการฟ้องร้องคดีฟอกเงินได้มีการพัฒนาขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิมไปมาก เช่นเดียวกับ RICO กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ถูกตราขึ้นเพื่อใช้ทั้งการกระทำผิดต่อกฎหมายในระดับมลรัฐและรัฐบาลกลางและมีการตีความและแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน

DomesticMoney Laundering – Section 1956(a)(1)

กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินภายในประเทศสหรัฐฯมาตรา 1956(a)(1) ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายนี้ โดยมาตรานี้กำหนดว่า

(a) (1)Whoever, knowing that the property involved in a financial transactionrepresents the proceeds of some form of unlawful activity, conducts or attemptsto conduct such a financial transaction which in fact involves the proceeds ofspecified unlawful activity-

(A) (i)with the intent to promote the carrying on of specified unlawful activity; or

(ii) with theintent to engage in conduct constituting a violation of section 7201 or 7206 ofInternal Revenue Code of 1986; or

(B) Knowingthat the transaction is designed in whole or in part-

(i) To concealor disguise the nature, the location, the source, the ownership, or the controlof the proceeds of specified unlawful activity; or

(ii) to avoida transaction reporting requirement under State or Federal Law ..

ตามกฎหมายนี้กำหนดให้ใครก็ตามที่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่มาจากกากระทำผิดที่ผิดกฎหมายในรูปใดรูปแบบหนึ่งแล้วกระทำการสนับสนุนให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือการกระทำผิดที่เข้าข่ายความผิดที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 7201 หรือ 7206 ของกฎหมายภาษีอากร หรือ ทราบว่าธุรกรรมทางการเงินนั้นได้กระทำไปเพื่อซุกซ่อนปกปิดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนแหล่งที่มาหรือเจ้าของในทรัพย์สินหรือเพื่อมิให้มีการรายงานธุรกรรมทางการเงินนั้นตามที่กำหนดตามกฎหมายให้ถือเป็นการกระทำผิดฐานฟอกเงินตาม มาตรา 1956(a)(1) นี้

คำว่า ธุรกรรมทางการเงิน หรือ Financialtransaction จะกินความกว้างขวางอันหมายถึงกิจกรรมทางการเงินที่อาจจะส่งผลต่อการค้าระหว่างมลรัฐหรือระหว่างประเทศโดยคำว่าธุรกรรมนั้น ยังรวมถึงการดำเนินการทางธุรกิจทางด้านการเงินของธนาคารการโอนเงิน ทรัพย์สิน หรือของขวัญหรือความเป็นเจ้าของอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ยานพาหนะ เรือ เครื่องบิน ด้วย เช่น การโอนเงินผ่านระบบ wire หรือวิธีการอื่น ๆ การใช้กลไกทางตราสารทางการเงิน หรือเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ใช้สถาบันทางการเงินดำเนินการซึ่งผลการดำเนินการจะกระทบต่อการค้าระหว่างรัฐหรือระหว่างประเทศ

ส่วนคำว่า ธุรกรรม หรือ transactionได้กำหนดไว้ในมาตรา 1956(c)(3) ให้หมายรวมถึง purchasesale, loan, pledge, gift transfer, delivery, or other deposition and withrespect to a finance institution includes a deposit, withdrawal, transfer betweenaccounts, exchange of currency, loan, extension of credit, purchase or sale ofany stock, bond, certificate of deposit, or other monetary instrument, use of asafe deposit box, or any other payment, transfer, or delivery by, through, orto a financial institution, by whatever means effected …

สำหรับคำว่าตราสารทางการเงิน หรือ monetary instrument ได้ถูกกำหนดไว้ตามมาตรา 1956(c)(5) ให้หมายถึง (i) coin or currency ofthe United States or of any other country, travelers’ checks, personal checks, bankchecks, and money orders, or (ii) investment securities or negotiableinstruments, in bearer form or otherwise in such form that title thereto passesupon delivery…’

ตามบทบัญญัติข้างต้น บัญญัติคำว่า “specified unlawful activities” นั้น จะหมายถึงการกระทำผิดกฎหมายที่มีขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งอาจจะหมายถึงการกระทำผิดมูลฐานตามที่กำหนดไว้ใน RICO predicates ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงหรือได้มาซึ่งทรัพย์สินผ่านระบบจดหมายหรือระบบสาย(mail or wire) หรือการฉ้อโกงทางการเงินการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (obstruct of justice) หรือความผิดเกี่ยวหลักทรัพย์ รวมถึงความผิดอื่น ๆ ทั่วไปด้วย

ผู้กระทำผิดตามกฎหมายนี้จะได้รับโทษที่รุนแรง รวมถึงการปรับไม่เกิน 500,000 เหรียญสหรัฐ หรือปรับเป็นมูลค่าสองเท่าของทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องในธุรกรรมนั้นแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า หรือการจำคุกไม่เกิน 20 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ผู้กระทำผิดยังจะต้องประสบกับฟ้องร้องริบทรัพย์ทางแพ่งและทางอาญา

องค์ประกอบการกระทำผิด

การฟ้องร้องตามมาตรา 1956(a)(1)รัฐจะต้องพิสูจน์ ดังนี้

1. จำเลยกระทำ(Conducted) หรือพยายามกระทำ (Attempted to conduct) ธุรกรรมทางการเงิน โดยการกระทำนั้น หมายรวมถึง การริเริ่ม การก่อให้เกิดผลหรือการมีส่วนร่วมในการริเริ่มหรือการก่อให้เกิดผลในการกระทำธุรกรรมนั้น

2. จำเลยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมทางการเงินนั้นจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งการกระทำผิดดังกล่าวนั้นถือเป็นความผิดร้ายแรง (felony) ต่อกฎหมายของมลรัฐ หรือรัฐบาลกลาง หรือกฎหมายรัฐบาลต่างประเทศ

3. เงินทุนที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้จากการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

3.1 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ ต่อไป

3.2 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยมีเจตนาที่จะกระทำผิดหลีกเลี่ยงภาษาซึ่งได้กำหนดไว้ตาม มาตรา 7201ในข้อหาหลีกเลี่ยงภาษี ( Tax evasion)

3.3 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นถูกกำหนดขึ้นไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดในการที่จะปิดบังซ่อนเร้น หรือ ปกปิดแหล่งที่มาของเงินนั้น หรือ

3.4 จำเลยได้กระทำธุรกรรมโดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นถูกกำหนดขึ้นไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดในการหลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดให้รายงาน(currencytransaction reporting laws)

International Money Laundering –Section 1956(a)(2)

การกระทำผิดฐานฟอกเงินระหว่างประเทศตามมาตรา 1956(a)(2) ได้กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายเงินเข้าหรือออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาในบางลักษณะโดยกฎหมายนี้ได้กำหนดไว้ว่า

Whoever transports,transmits, or transfers, or attempts to transport, transmit, or transfers amonetary instrument or funds from a place in the United States to or through aplace outside the United States or to a place in the United States from orthrough a place outside the United States-

(A) Withthe intent to promote the carrying on of specified unlawful activity; or

(B) Knowingthat the monetary instrument or funds involved in the transportation representthe proceeds of some form of unlawful activity and knowing that suchtransportation, transmission, or transfer is designed in whole or in part-

(i) toconceal or disguise the nature, the location, the source, the ownership, or thecontrol of the proceeds of specified unlawful activity; or

(ii) to avoida transaction reporting requirement under State or Federal Law

ตามกฎหมายดังกล่าวหากรัฐประสงค์จะฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามกฎหมายนี้ จะต้องพิสูจน์ ดังนี้

1. จำเลยเคลื่อนย้ายหรือพยายามเคลื่อนย้ายตราสารทางการเงินหรือเงินทุน

2. การเคลื่อนย้ายหรือพยายามเคลื่อนย้ายนั้นเป็นการนำออกหรือนำเข้ามาในประเทศสหรัฐและเป็นการกระทำเพื่ออย่างหนึ่งอย่างใด ตาม 2.1 หรือ2.2 ดังนี้

2.1 จำเลยกระทำโดยเจตนาที่จะสนับสนุนส่งเสริมการกระทำผิดที่ได้กำหนดไว้หรือ

2.2 จำเลยกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่า

2.2.1 ตราสารทางการเงินหรือเงินทุนนั้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญา หรือมีโทษร้ายแรง (felony)ภายใต้กฎหมายของมลรัฐ รัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลต่างประเทศ และ

2.2.2 การเคลื่อนย้ายเงินทุนนั้นถูกกำหนดไว้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อที่จะ

2.2.2.1 ซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินทุนหรือ

2.2.2.2 หลีกเลี่ยงการรายงานธุรกรรมทางการเงินตามที่กฎหมายกำหนด

เมื่อเปรียบเทียบ มาตรา 1956(a)(1)กับ มาตรา 1956(a)(2) จะพบว่ามีความแตกต่างระหว่างสองมาตราดังกล่าวกรณีแรกจะเป็นการฟอกเงินภายในประเทศ แต่กรณีที่สองจะเป็นการฟอกเงินระหว่างประเทศโดยกรณีตาม 1956(a)(1) จะธุรกรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศสหรัฐและขอบเขตของธุรกรรมตามกรณีนี้ จะกว้างขวางมาก ในขณะที่มาตรา 1956(a)(2) จะกำหนดขอบเขตเฉพาะการเคลื่อนย้ายตราสารทางการเงินหรือเงินทุนเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีแต่ประการใด

มาตรา 1957– ข้อห้ามในการทำธุรกรรมเงินสด ( Monetary Transaction)

ความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 1957 นี้จะเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเงินสดจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้โดยกฎหมายนี้ จะเน้นไปที่การห้ามใช้เงินทุนเข้ามาหมุนเวียนในระบบการเงินดังนั้น มาตรา 1957 จึงบัญญัติดังนี้

“Whoever, in any ofthe circumstances set forth in subsection (d), knowingly engages or attempts toengage in a monetary transaction in criminally derived property that is of avalue greater than $10,000 and is derived from specified unlawful activity,shall be punished as provided in subsection (b).

(c) Thecircumstances referred to in subsection (a) are-

(1) Thatthe offense under this section takes place in the United States or in thespecial maritime and territorial jurisdiction of the United States; or

(2) Thatthe offense under this section takes places outside the United States and suchspecial jurisdiction, but the defendant is a United States person (as definedin section 3077 of this title, but excluding the class described in paragraph(2)(D) of such section)

(f) As used in this section-

(1) the term “monetary transaction”means the deposit, withdrawal, transfer, or exchange, in or affectinginterstate or foreign commerce, of funds or a monetary instrument (as definedin section 1956(c)(5) of this title) by, through, or to a financial institution(as defined in section 1956 of this title), including any transaction thatwould be a financial transaction under section 1956(c)(4)(B) of this title, butsuch term does not include any transaction necessary to preserve a person’sright to representation as guaranteed by the sixth amendment to theConstitution.

(2)the term “criminally derived property” means any property constituting, orderived from, proceeds obtained from a criminal offense; and

(3) the term “specified unlawfulactivity} has the meaning given that term in section 1956 of this title.

จากตัวบทข้างต้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัตินิยามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1957 จะเหมือนกับที่บัญญัติไว้ภายใต้มาตรา 1956 ส่วนคำว่า monetary transaction จะถูกบัญญัติไว้อย่างกว้างให้รวมถึงสารัตถะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมกับสถาบันทางการเงินทั้งหมดแต่สำหรับโทษทางอาญานั้น จะไม่สูงเท่าโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 1956 กล่าวคือ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตามการกระทำผิดทั้งต่อมาตรา 1956 และ มาตรา 1957 ผู้กระทำผิดอาจจะถูกริบทรัพย์ทั้งทางแพ่งและริบทรัพย์ทางอาญาได้

องค์ประกอบความผิดทางอาญา มาตรา 1957

1. จำเลยกระทำการและพยายามกระทำธุรกรรมเงินสด

2. ธุรกรรมเงินสดนั้นเกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดอาญา

3. ธุรกรรมเงินสดนั้นมีมูลค่าสูงกว่า $10,000 เหรียญสหรัฐ

4. ธุรกรรมนั้นได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาตามที่กำหนดไว้

5. ธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาหรือผู้กระทำผิดเป็นชาวสหรัฐอเมริกา

6. จำเลยนั้นรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดทางอาญารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

หากเปรียบเทียบกันระหว่างมาตรา 1956(a)(1)กับ มาตรา 1957 จะพบว่าส่วนที่แตกต่างกันที่สุดก็คือ มาตรา 1957 จะมีความชัดเจนกว่าและสลับซับซ้อนน้อยกว่ามาตรา1956(a)(1) เนื่องจากมาตรา 1956(a)(1) นั้นกำหนดให้รัฐจะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเข้าเงื่อนไขอะไร เช่นเป็นผู้กระทำธุรกรรมหรือพยายามกระทำธุรกรรม โดยรู้ว่าว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดหรือ ผู้กระทำผิดทราบว่าทรัพย์ได้มาจากการกระทำผิดแต่ยังเจตนาที่จะใช้กระทำผิดฐานอื่น ๆ หรือเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี หรือโดยรู้ว่าการกระทำธุรกรรมนั้นจะปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน ดังนั้น มาตรา 1956(a)(1) จึงพิสูจน์หลายชั้น รวมถึงระดับ Mens rea ของผู้กระทำผิดด้วยซึ่งมี 2 ระดับ กล่าวคือ intent กับ Knowledge แต่มาตรา 1957 แค่พิจารณาจะกระทำธุรกรรมเงินสดด้วย โดยระดับ Mens rea เพียงการรับรู้ (knowledge)ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิด เท่านั้น

มาตรา Section 1956(a)(1)

มาตรา Section 1957

องค์ประกอบภายใน / Mens rea

โจทก์ต้องพิสูจน์ระดับจิตใจของจำเลย ดังนี้

(1) ความรับรู้ ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิด และ

(2) กระทำโดยรับรู้อยู่แล้วว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการรายงาน หรือเป็นการปกปิดซ่อนเร้นที่มาของทรัพย์ หรือ กระทำโดยเจตนาที่กระทำผิดอื่นต่อไป หรือกระทำโดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี

โจทก์ต้องพิสูจน์ระดับจิตใจของจำเลย ว่า มีความรับรู้ว่ากระทำธุรกรรมเงินสด อันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด

ขอบเขตการกระทำ / Scope

ครอบคลุมการกระทำเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินทั้งปวง ในความหมายกว้างขวาง รวมถึงการให้ของขวัญ และการยกให้ซึ่งกรรมสิทธิ์ที่จะต้องมีการจดทะเบียน (gifts and transfers of property titles)

ครอบคลุมเฉพาะธุรกรรมเงินสด ในความหมายที่แคบ และกระทำผ่านสถาบันทางการเงินเท่านั้น

จำนวน / Amount

ไม่กำหนดมูลค่า

กำหนดมูลค่าจะต้องสูงกว่า $10,000 เหรียญสหรัฐฯ

การพิสูจน์องค์ประกอบด้านจิตใจของจำเลย(Proof of the Defendant’s Mental State)

มาตรา 1956

สำหรับมาตรา 1956กำหนดให้รัฐหรือฝ่ายโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์ระดับของ Mens rea ถึง 2 ระดับ ประกอบด้วย (1) การรับรู้ว่าธุรกรรมทางการเงินนั้น มีทรัพย์ที่ได้รับมาจากกระทำผิด และจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ามีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดและมีระดับ Mensreas ที่แตกต่างกัน โดย มาตรา 1956 มีรายละเอียด ดังนี้

(1) ระดับองค์ประกอบทางจิตใจในระดับที่1 (First Level of Mens Rea) คือความรับรู้ว่าธุรกรรมนั้นมีทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด - Knowledge that the Transaction RepresentedProceeds of Unlawful Activity

ภายใต้มาตรา 1956(a)(1)โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเงินที่ผ่านการฟอกหรือทรัพย์สินนั้นได้มาจากการกระทำผิดบางอย่างโดยรัฐไม่จำต้องพิสูจน์ว่าจำเลยนั้นรู้ว่าได้มาจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งเป็นการเฉพาะ การพิสูจน์ว่า “รับรู้” อาจจะใช้การรับรู้อย่างแท้จริง (actualknowledge) จากการมีส่วนร่วมกระทำผิดหรือการรับรู้แบบแกล้งปิดหูปิดตามองไม่เห็น (Willfull blindness) จากการได้รับผลประโยชน์ที่ไม่อาจจะเป็นจริงได้หรือได้รับประโยชน์จากธุรกิจผิดกฎหมายย่อมเป็นการเพียงพอในการพิสูจน์ว่าจำเลยได้รับรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดแล้ว

เอกสารเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายนี้อธิบายว่า ผู้ที่ยอมรับการแลกเปลี่ยนเงินซึ่งเงินนั้นได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำธุรกรรมกับผู้จำหน่ายยาเสพติดที่มีทรัพย์สินเป็นเงินสดเกี่ยวข้องหลายร้อยดอลล่าร์ โดย ผู้แลกเปลี่ยนเงินตรา ได้รับค่านายหน้าในการแลกเปลี่ยนเงินจำนวนสูงกว่ามูลค่าทางการตลาดมากผู้นั้นย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลงโทษตามกฎหมายได้ การอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นว่าเงินดังกล่าวมาจากการกระทำผิด ในทางกลับกันตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ซึ่งขายรถยนต์ในราคาตลาดยังบุคคลซึ่งน่าสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอาญาบุคคลนี้ ก็ไม่สามารถถูกลงโทษได้ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าเขามีความรับรู้เกี่ยวกับผู้กระทำผิดมากกว่าการทำธุรกรรมซื้อขายรถยนต์ หรือไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆยืนยันว่าเขากระทำผิด

คำว่า Willfull blindness คือการที่ยอมรับเอาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยสามัญสำนึกจะต้องทราบว่าไม่ชอบมาพากลหรือได้มาจากการกระทำผิดอย่างแน่นอนเช่นนี้ ผู้ที่ยอมรับยอมถือว่ามีความรับรู้ หรือ Knowledgeในการกระทำผิดแล้ว จะอ้างว่าไม่รู้ย่อมไม่ได้

ตัวอย่างคดี UnitedStates v. Campbell, 977 F.2d 854 (4th Cir. 1992) เป็นกรณีที่ พบว่านางCampbell ซึ่งมีอาชีพซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ทำธุรกรรมขายบ้านกับ นาย Lawing ที่แสดงตนว่าเป็นนักธุรกิจด้วยแต่แท้จริง นาย Lawing คนนี้เป็นพ่อค้ายาเสพติดโดยทั้งคู่ทำสัญญาซื้อขายบ้านราคา 182,500 เหรียญสหรัฐ ในเบื้องต้น นาย Lawing ขอให้นาง Campbell ยอมรับเงินก้อนแรกเป็นเงินใต้โต๊ะจำนวน 60,000เหรียญ เพื่อแลกกับการลดราคาบ้านเป็น 122,500 เหรียญและช่วยเหลือให้ธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้น ต่อมา Lawing จึงได้ส่งมอบเงินจำนวนนั้นที่บรรจุใส่ถุงกระดาษสีน้ำตาล

นาง Campbell ถูกพิพากษาลงโทษฐานฟอกเงินด้วยทฤษฎีที่ว่าเธอได้กระทำธุรกรรมทางการเงินโดยมีวัตถุประสงค์ในการปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินนั้น โดยศาลพิจารณาเห็นว่าพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษเธอแล้ว โดยพิจารณาระดับ Mensrea จากการกระทำของเธอโดยในกรณีนี้ รัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเธอควรจะรู้ว่าเงินนั้นได้มาโดยผิดกฎหมายหรือเธอจงใจแกล้งไม่รู้ไม่เห็นว่าเงินนั้นได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยศาลพิจารณาจากพยานแวดล้อมทั้งปวงแล้ว จึงสามารถสรุป (infer) ได้ว่านาง Campbell จงใจปิดตาหรี่ตาหลับตาทำไม่รู้ไม่เห็น(deliberately closed her eyes) ว่าเงินนั้นน่าจะมาจากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

(2) ระดับที่สองขององค์ประกอบภายใจ(SecondLevel of Mens Rea – Four Possible Theories)

สมมติว่า รัฐ หรือโจทก์ได้พิสูจน์ระดับ Mens rea ในระดับที่1 แล้ว รัฐก็จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่า จำเลยได้กระทำธุรกรรมทางการเงินนั้นด้วย(1) เจตนาที่จะสนับสนุนการกระทำผิด หรือ (2) ด้วยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงฉ้อโกงภาษี หรือ (3) โดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นใช้เพื่อการซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินหรือ (4) โดยรู้อยู่แล้วว่าธุรกรรมนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการรายงานธุรกรรมทางการเงิน (currencytransaction reporting laws) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้กระทำผิดมักจะกระทำผิดเพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงิน กล่าวคือทำให้เงินสกปรกกลายเป็นเงินสะอาด ด้วยกระบวนการฟอกเงิน โดยธุรกรรมนั้นจะเป็นการแปลงสภาพเงินสกปรกที่มาโดยการกระทำผิดกฎหมายให้กลายเป็นเงินที่ผ่านระบบธุรกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐจึงมักจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามทฤษฎีที่สามหรือมักจะฟ้องร้องควบคู่ไปกับทฤษฎีแรก คือการนำเงินทุนนั้นไปทำธุรกรรมเพื่อสนับสนุนการกระทำผิดอื่น ๆประกอบด้วยกับทฤษฎีที่สาม

พยานหลักฐานที่จะแสดงถึงวิธีการเพื่อปกปิดหรือเปลี่ยนสภาพเงินสกปรกตามมาตรา 1965(a)(1)(B)(i)

หรือ Evidenceof a Design to Conceal or Disguise Dirty Money Under Section 1965(a)(1)(B)(i)

โดยปกติแล้วลำพังเพียงการใช้เงินที่ได้มาโดยวิธีการที่ผิดกฎหมายโดยไม่มีวิธีการที่จะปกปิดแหล่งที่มาของเงินก็จะไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรานี้ ตัวอย่างเช่น คดี United States v.Sanders, 292 F.2d 1466 (10th Cir.1991) รัฐหรือโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินสกปรกโดยการใช้เพื่อซื้อรถยนต์สองคัน ศาลอุทธรณ์ภาค 10 ได้พิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่ารัฐหรือโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าธุรกรรมการซื้อรถยนต์นั้นเป็นวิธีการที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกปิดแหล่งที่มาของเงินโดยจำเลยและสามารถได้ดำเนินธุรกรรมโดยเปิดเผยกับผู้จำหน่ายและใช้รถยนต์ในทางส่วนตัวอย่างไม่ปิดปกหลบซ่อนดังนั้น จึงไม่มีพยานหลักฐานแห่งการออกแบบวิธีการปกปิดซ่อนเร้นรวมถึงรถยนต์อีกคันหนึ่งที่ซื้อให้กับลูกสาวของจำเลย ก็กระทำการโดยเปิดเผยและใช้อย่างเปิดเผย ศาลเห็นว่าหากลำพังเพียงการใช้เงินที่สกปรกจะเป็นความผิดฐานฟอกเงินก็จะเหมือนกับว่ากฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับการฟอกเงินให้เป็นความผิด กลายเป็นกฎหมายที่การใช้เงินจะเป็นความผิดกฎหมายคดีนี้จึงพิพากษายกฟ้อง

ในขณะที่คดี UnitedStates v. Jackson, 935 F.2d 832 (7th Cir. 1991) ศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงเนื่องจากรัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีการออกแบบเพื่อปกปิดซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินสกปรก ในคดีนี้ Davis จำเลยมีบ้านสองหลังเพื่อจำหน่ายยาเสพติด(crack house) หลังจากนั้นจำเลยก็ได้ฝากเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดต่อธนาคารสองแห่งซึ่งเงินส่วนหนึ่งในบัญชีก็เป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยสำหรับสองบัญชีนี้ Davis จะเขียนเช็คสำหรับการใช้จ่ายในหลายวัตถุประสงค์เช่น เงินสดเพื่อการใช้จ่ายส่วนตัว การจ่ายสำหรับโทรศัพท์และเครื่องมือส่งข้อความการเช่าที่พักส่วนตัว และเงินสดสำหรับการซื้อรถยนต์ รัฐ หรือโจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยในความผิดสี่ฐานด้วยกันโดยใช้หลักฐานจากเช็คที่ใช้จ่ายข้างต้นภายใต้ทฤษฎีที่ว่าเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดถูกนำมาใช้จ่ายเพื่อฟอกให้เป็นเงินสะอาดทั้งเพื่อ (a) สนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติด และ (b) เพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติด

ในขั้นอุทธรณ์ จำเลยได้โต้แย้งว่ารัฐหรือโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ถึงองค์ประกอบการกระทำผิดและเจตนาในการฟอกเงินในหลายข้อกล่าวหาแต่ศาลปฏิเสธการโต้แย้งของจำเลย ประเด็นแรกศาลพบว่ารัฐหรือโจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าเงินนั้นได้มาจากการกระทำผิดนั้นได้ถูกนำมาฝากไว้ในธนาคารประเด็นที่สอง รัฐหรือโจทก์ได้แสดงให้เห็นว่าเงินที่ได้มานั้นมาจากแผนการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเป็นกระบวนการกระทำผิดทางอาญา(operationof a continuing criminal enterprise) รวมถึงการที่มีการนำเงินสกปรกมาผสมกับเงินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สาม ตามหลักการซุกซ่อนเงินสกปรกถือว่าพยานหลักฐานเพียงพอแล้วหากคณะลูกขุนพิจารณาและสรุป (infer) ได้จากการใช้บัญชีธนาคารที่ถูกต้องในความพยายามที่จะปกปิดความเป็นเจ้าของเงินสกปรกและแหล่งที่มาของเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดของ Davis ในขณะที่ผู้เข้าถึงบัญชีได้เอง

ประการสุดท้ายศาลยังเห็นว่ารัฐบาลไม่จำต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมทางการเงินต้องกระทำเพื่อฟอกเงินในทุกๆ ทฤษฎี ๆ ที่อธิบายแล้วข้างต้น ) กล่าวคือไม่ต้องพิสูจน์ว่าเงินสกปรกนั้นใช้เพื่อสนับสนุนการกระทำผิด อื่น ๆ และใช้วิธีการนั้นเพื่อซุกซ่อนแหล่งที่มาของเงินแต่เป็นดุลพินิจของรัฐหรือโจทก์ที่จะเลือกทฤษฎีในการฟ้องร้องจำเลย

จำเลยในคดี Jacksonได้กระทำผิดฐานฟอกเงินจากเงินสกปรกด้วยตนเองและกฎหมายว่าด้วยการฟอกเงินนี้ ยังใช้กับบุคคลอื่น ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอื่น (underlying crimes) ตัวอย่างเช่นUnited States v. Campbell, 977 F.2d 562 (10th Cir. 1992) ที่ได้กล่าวไปแล้วสำหรับ Campbell ที่ยอมรับค่านายหน้าที่เกินกว่าอัตราของราคาตลาด โดยศาลเห็นว่าคดีดังกล่าว Campbell ได้จงใจแกล้งไม่รู้ไม่เห็น (knew or was willfully blind) ต่อข้อเท็จจริงที่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นถูกใช้เพื่อเป็นวิธีการหลบเลี่ยงแหล่งที่มาของเงินสกปรก ซึ่งได้แก่การสร้างสัญญาซื้อขายหลอกลวงที่มีการจ่ายเงินจำนวน 60,000เหรียญใต้โต๊ะ เพื่อลดราคาในสัญญาซื้อขายจริง ๆ หลักฐานดังกล่าวถือว่า จำเลยได้รับรู้ว่ามีการออกแบบวิธีการเพื่อซ่อนเร้นแหล่งกำเนิดของเงินนั้น

หลักฐานในการพิสูจน์ถึงเจตนาในการสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดตามมาตรา 1956(a)(1)(A)(i)

สำหรับหลักฐานในการพิสูจน์Intent to Promote Unlawful Activity Under Section 1956(a)(1)(A)(i) นั้น เนื่องจากในคดี Campbell ศาลได้พิพากษาว่าการพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดฐานซ่อนเร้นที่มาของเงินสกปรกโจทก์หรือรัฐมีภาระการพิสูจน์ระดับ Mens rea ของจำเลยว่า“รู้” หรือ Knowledge ของทรัพย์สินนั้นว่าได้มาจากการกระทำผิดแต่ในการฟ้องร้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานสนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่น ๆ ภายใต้มาตรา 1956(a)(1)(A)(i)รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ระดับ Mens rea ของจำเลยว่ามีเจตนา(intent) ที่จะกระทำธุรกรรมเพื่อใช้เงินสกปรกที่ได้มาโดยผิดกฎหมายนั้นจะใช้ในการกระทำการอย่างอื่น ตัวอย่างคดีต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการพิสูจน์ดังกล่าว

ในคดี United Statesv. Johnson, 971 F.2d 562 (10th Cir. 1992) ได้กระทำการฉ้อโกงอย่างมีแผนการแยบยล(fraudulent scheme) ในการซื้อเงินแม๊กซิกันสกุล Pesosโดยได้รับส่วนลด และขายเงินสกุลอเมริกันในอัตราที่กำไรผู้ลงทุนได้โอนเงินผ่านระบบ wire มายังจำเลยเพื่อซื้อเงินPesos ซึ่งในทางความเป็นจริงจำเลยไม่ได้มีความตั้งใจที่จะดำเนินการดังกล่าวและกำไรที่จ่ายให้กับผู้ลงทุนมาจากเงินทุนของผู้ลงทุนรายอื่น รัฐหรือโจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยในสองกรรม กล่าวคือการใช้ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดจากการฉ้อโกงผ่านระบบ wire หรือ wire fraud เพื่อกระทำผิดอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา1956(a)(1)(A)(i) สำหรับการกระทำกรรมแรกนั้นอาศัยข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ใช้การฉ้อโกงโดยการนำทรัพย์สินที่ได้มาจากการฉ้อโกงไปชำระหนี้สินการซื้ออสังหาริมทรัพย์(mortgage) ซึ่งเป็นบ้านของจำเลย ส่วนอีกกรรมหนึ่งนั้น เป็นการนำทรัพย์ที่ได้มาจากการฉ้อโกงไปซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ซึ่งกรณีนี้ศาลพิจารณาเห็นว่าการจ่ายเงินชำระหนี้สินหรือซื้อสินค้านั้น เป็นการกระทำโดยเจตนา (intent) ที่จะทำให้การแผนการฉ้อโกงผ่านระบบ wire นั้น ดำเนินการต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนี้ จำเลยได้ใช้บ้านที่ซื้อดังกล่าวเป็นสถานที่ทำงานในการดำเนินตามแผนการฉ้อโกงต่อไปทั้งบ้านและรถยนต์ต่างก็ใช้ในการสร้างความประทับใจให้กับนักลงทุนต่อความสำเร็จของจำเลย

คำพิพากษาในคดี Johnsonนี้ได้นำมาซึ่งคำถามว่าการซื้อทรัพย์สินอย่างชัดแจ้งไม่มีการปิดบังอำพรางแค่นั้นจะถือเป็นการกระทำผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ ศาลอื่น ๆ ในสหรัฐฯก็พิจารณาตีความโดยกว้างขวางในการกระทำผิดตาม มาตรา 1956(a)(1)(A)(i) นี้ กล่าวคือแค่เพียงการได้รับเงินสดหรือการฝากเช็คซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดก็ถือว่าเป็นการแสดงหลักฐานแห่งเจตนากระทำผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายนี้แล้ว ตัวอย่างเช่น คดี United States v.Montoya, 945 F.2d 1068 (9th Cir. 1991) จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับสินบนโดยวิธีการส่งมอบเช็คและเขาได้ฝากเช็คดังกล่าวต่อธนาคารศาลได้พิพากษาว่าเขาฟอกเงินจากการได้รับการติดสินบนเพื่อทำให้ความผิดฐานติดสินบนสำเร็จโดยบริบูรณ์แม้ว่าความผิดฐานติดสินบนจะสำเร็จไปแล้วก็ตาม แต่การฝากเช็คดังกล่าวจะมีผลทำให้เขาสามารนำเงินดังกล่าวไปใช้ได้จริง ตามที่เขาติดสินบน การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายเป็นการฟอกเงินแล้ว

ในคดี United Statesv. Paramo, 998 F.2d 1212 (3d. Cir. 1993) นั้น จำเลยได้เข้าร่วมในแผนการที่จะยักยอกทรัพย์โดยการทำให้กรมสรรพากร ( I.R.S. )สั่งจ่ายเช็คคืนเงินให้กับบุคคลที่เป็นผู้จ่ายภาษีจำแลงที่สร้างขึ้นมา (fictitioustaxpayer) จำเลยได้ถูกพิพากษาลงโทษโดยอาศัยทฤษฎีที่ว่า การนำเช็คไปขึ้นเงินสดถือเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดอื่นให้สำเร็จแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยจะใช้เงินดังกล่าวเพื่อค่าใช้จ่ายส่วนตัว และไม่เกี่ยวข้องกับแผนการฉ้อโกงเลยก็ตามศาลพิพากษาว่า เนื่องจากการนำเช็คไปขึ้นเงินสดดังกล่าวจึงทำให้จำเลยสามารถแสวงประโยชน์จากการฉ้อโกงนั้นได้ดังนั้นการนำเช็คไปขึ้นเงินจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอในการแสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะสนับสนุนให้การกระทำผิดสำเร็จแล้ว

การฟ้องร้องในความผิด ตามมาตรา 1957

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วมาตรา 1957 นั้น จะมีความง่ายและชัดเจนกว่ามาตรา 1956โดยสาระสำคัญแล้ว มาตรา 1957 จะกำหนดหน้าที่ให้รัฐหรือโจทก์จะต้องแสดงว่าจำเลยได้ดำเนินธุรกรรมเงินสด(monetary transaction) ซึ่งมีมูลกว่า 10,000 เหรียญ ที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาบางประการซึ่งจำเลยจะต้องรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับความผิดตาม มาตรา 1956 สำหรับความผิดตามมาตรา1957 ผู้กระทำผิดตามมาตรานี้อาจจะหมายถึงบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดโดยตรงและบุคคลที่ได้รับการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานหรือบริการจากเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาด้วยก็ได้

การพิสูจน์ระดับความรู้ (Proofof Knowledge)

โจทก์หรือรัฐอาจจะพิสูจน์ระดับ Mens rea ในเรื่องความรับรู้ หรือ Knowledgeจากพยานหลักฐานโดยตรง ( direct evidence ) หรือพยานแวดล้อมกรณี ( circumstantialevidence) ที่จะแสดงให้เห็นถึงความรับรู้จริง ๆ (actualknowledge) หรือการแกล้งหลับหูหลับตามองไม่เห็น (willfulblindness) ตัวอย่างเช่นคดี Campbell case ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วซึ่งเธอได้รับเงินสดใต้โต๊ะในการซื้อขายที่ดินโดยแกล้งไม่รับรู้ถึงที่มาของเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดเธอจึงมีความผิดตาม มาตรา 1957 เพิ่มเติมจากมาตรา 1956ด้วย

การพิสูจน์ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นผลมาจากการกระทำผิดทางอาญา(Proof that the Property Was the Product ofCriminal Activity)

ประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลาการกระทำผิด

มาตรา 1957

ภาระการพิสูจน์ของรัฐหรือโจทก์ตามมาตรา1957 นั้น ก็คือการแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ดำเนินธุรกรรมเงินสดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด(criminally derived property) คำว่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดนั้นตามกฎหมายมาตรา 1957(f)(2) ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึงทรัพย์สินใด ๆซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือมาจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญา ศาลพิจารณาเห็นว่าตามบทบัญญัติของมาตรา 1957นั้น จำเลยจะกระทำผิดได้จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดนั้นสมบูรณ์แล้ว จึงดำเนินธุรกรรมเงินสดต่อไปตัวอย่างเช่น จำเลยหลอกลวงให้นักลงทุนโอนเงินให้กับจำเลยผ่านด้วยแผนการฉ้อโกงผ่าน Wirefraud หากการกระทำการโอนเงินจากนักลงทุนยังไม่สมบูรณ์จำเลยยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ฝากเข้าบัญชีของจำเลย ก็ไม่ถือว่ามีการกระทำผิดตามมาตรานี้

มาตรา 1956

ตามมาตรา 1956(a)(1)นั้น กำหนดให้การกระทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด กล่าวคือทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด (Proceeds) จะต้องได้มาก่อนจึงจะมีการดำเนินธุรกรรมเพื่อฟอกเงิน อย่างไรก็ตาม การตีความแตกต่างกันไป เช่น ในคดี United States v.Allen, 76 F.3d 1348 (5th Cir. 1996) ได้อธิบาย มาตรา 1956(a)(1)(B)(i) ไว้ในคดีนี้ โดย Cihak มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ซึ่งมีการโอนเงินจากธนาคารด้วย2 วิธีการ ด้วยกัน วิธีการแรกเขาได้จัดการให้ธนาคารโอนเงินไปยังที่ปรึกษาผู้ซึ่งจ่ายเงินสินบนให้กับเขา และวิธีการที่สองเขาได้จัดการให้มีการกู้ยืมหนี้สินกับบุคคลอื่น และหลังจากนั้นเขาก็ใช้เงินนั้นจากเงินกู้ดังกล่าว หรือได้รับสินบนจากผู้กู้ยืม เขาและจำเลยอื่น ๆถูกตัดสินว่ากระทำผิดฐานฟอกเงินโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำธุรกรรมผ่านธนาคารซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับแผนการกระทำผิดของเขา

ในขั้นตอนการอุทธรณ์จำเลยได้โต้แย้งว่า ธุรกรรมดังกล่าวยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่อาจจะถือว่าเป็น “ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือ Proceeds” เขาโต้แย้งว่า การกระทำผิดยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งเขาจะได้รับเงินที่ถูกโอนออกไปจากธนาคาร ดังนั้นการที่มีเพียงธุรกรรมการโอนเงินไปยังบุคคลที่กู้ยืมหรือที่ปรึกษาดังกล่าวยังไม่ถือว่ามีทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดเกิดขึ้นแต่ศาลไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งดังกล่าว โดยพิพากษาว่าเงินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารกลายเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทันทีที่ปรึกษาหรือผู้กู้ยืมได้รับแล้ว ซึ่งถือว่าการฉ้อโกงธนาคารได้สำเร็จแล้วในเวลานั้นโดยไม่ต้องสนใจว่าหลังจากนั้นผู้ที่ได้รับเงินไปจะไปโอนเงินให้กับใครต่อไปอย่างไรในคดี United States v. Kennedy, 64 F.3d 1465 (10th Cir. 1995) ก็เช่นเดียวกันศาลพิจารณาว่าการที่จำเลยได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงผ่านระบบจดหมาย (mail fraud) ถือว่ากระทำผิดโดยสมบูรณ์แล้วก่อนที่จะการนำเช็คหรือเงินไปฝากต่อธนาคาร การกระทำผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวจึงถือเป็นพื้นฐานในการที่จะพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะการฝากเงินดังกล่าวถือเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดที่กำหนดไว้ตาม มาตรา1956 แล้ว

กรณีทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมายผสมปะปนกับทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบ(Commingling)

ประเด็นที่ยุ่งยากที่สุดคือ กรณีที่ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบผสมปะปนกับทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย การจะติดตามหรือ tracing เงินสกปรกใน Commingling Funds จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ตามมาตรา 1956 รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมทางการเงินนั้นมีความเกี่ยวพันกับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย(involving proceeds of the specified unlawful activity) ส่วนมาตรา 1957 รัฐหรือโจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า ธุรกรรมเงินสดนั้นมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย(derived from the unlawful activity) ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่ารัฐหรือโจทก์ได้ปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์หรือไม่

มาตรา 1956

โดยทั่วไปศาลจะพิพากษาว่าตามมาตรา 1956 นั้น รัฐหรือโจทก์ ไม่จำต้องถึงขนาดติดตาม (trace)ทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (illegal proceeds) นั้นถูกผสมปะปนกับทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไรบ้าง เช่นในคดี Jackson ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น จำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่อาจถูกลงโทษได้เนื่องจากการใช้จ่ายของเขมาจากบัญชีที่มีเงินที่ชอบด้วยกฎหมายที่ไม่ได้มาจากการกระทำผิดแต่ประการใดแต่ศาลไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ตามบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น กำหนดให้รัฐต้องพิสูจน์เพียงว่าการดำเนินธุรกรรมทางการเงินนั้น เกี่ยวพันกับทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย (financial transaction “involved” the proceeds of the illegal activity.) ดังนั้นหากทางการนำสืบสามารถพิสูจน์ได้ว่าบางส่วนของทรัพย์ที่นำมาดำเนินธุรกรรมนั้นมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งที่ผิดกฎหมายก็สามารถลงโทษได้ และรัฐสภาก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ลงโทษเฉพาะธุรกรรมที่ไม่ได้ผสมปะปนกับเงินถูกกฎหมายเลยมิเช่นนั้น จำเลยย่อมสามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายได้เพียงการผสมปะปนเงินที่สะอาดกับเงินที่สกปรกเท่านั้น

มาตรา 1957

การฟ้องร้องตามมาตรา 1957ศาลยังมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง เช่นในคดี Johnson ศาลเห็นว่า การติดตามแยกแยะทรัพย์ที่สกปรกกับทรัพย์ที่สะอาดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐที่จะต้องพิสูจน์แต่ประการใด กรณีนี้จำเลยฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารของตนจำนวน 5.5 ล้านเหรียญมีจำนวน 1.2 ล้านเหรียญที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 10 พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ว่า ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐที่จะต้องพิสูจน์ที่มาของแหล่งเงินนั้นว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร มิเช่นนั้นแล้วผู้กระทำผิดสามารถหลีกเลี่ยงการลงโทษได้เพียงแค่การนำเงินสะอาดไปผสมกับเงินสกปรกเท่านั้นและเท่ากับเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ของการมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในคดี United States v. Rutgard, 116 F.3d 1270 ( 9th Cir. 1997) เห็นว่า ความผิดทางอาญาควรจะต้องตีความเคร่งครัด ดังนั้นศาลจึงเห็นว่ากฎหมายนี้ควรตีความให้แคบและรัฐจำต้องพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมาจากแหล่งใดได้ ( thestatute should be narrowly construed to require tracing.)




 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2560    
Last Update : 12 พฤษภาคม 2560 7:43:23 น.
Counter : 2342 Pageviews.  

กฎหมายในภาวะฉุกเฉินของสหรัฐฯ กับ การปฏิรูปตำรวจ ....

ช่วงนี้ ผมรับงานวิจัยร่วมกับกลุ่ม iLaw เพื่อสำรวจว่า นับแต่มีการประกาศใช้ กม.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาสักสองสามปีมานี้ มีคนได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะบ้านเมือง ถูกประกาศให้ "อยู่ในภาวะฉุกเฉินอย่างร้ายแรง" ซึ่งผมเชื่อว่า นักกฎหมายและคนธรรมดาสามัญที่มีสติดี ๆ ทั่วไป ก็คงมองไม่ออกว่า บ้านเมืองมันอยู่ในเงื่อนไขที่เรียกว่า "สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง" หรือ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ได้อย่างไร

นักกฎหมายมหาชนชั้นนำในเมืองไทย ต่างมีความเห็นตรงกันว่า แม้ในช่วงการชุมนุมประท้วงรัฐบาลนั้น รัฐบาลก็ไม่อาจจะประกาศภาวะฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงได้เลย เพราะไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในการประกาศใช้ กล่าวคือ ไม่เป็นไปตามหลักสัดส่วน และ ไม่มีความจำเป็นต้องทำกันขนาดนั้น นอกจากการประกาศใช้ กม.ดังกล่าว เพราะขจัดอุปสรรคในการปฏิบัติตามเงื่อนไขตามกฎหมาย อันเป็นอุปสรรคในการคุ้มครองชีวิตและเสรีภาพของประชาชนเท่านั้น หรือ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ทำงานได้ง่ายขึ้น แม้กระทั่งการถืออาวุธสงครามมาใช้ และเล็งยิงไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม ที่ถูกอ้างว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย"

คนที่มีหัวใจเป็นธรรม จะถามต่อไปว่า "ผู้ก่อการร้ายอะไร ใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ มีเพียงหนังสติ๊กในมือ" แล้วก็นอนตายเหมือนหมู เหมือนหมา แบบนั้น ขอให้ทหาร ช่วยไปตรวจสอบประวัติบุคคลที่ตายในสภาพดังกล่าวหน่อยได้ไหมว่า เขาเคยมีประวัติ "ก่อการร้าย" หรือ "ก่อการรัก" อย่างไรบ้าง อย่าไปใส่ร้ายเขาให้เจ็บใจ เจ็บช้ำ เหมือนที่ทำกับคนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่สองสามร้อยปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันเลย

ผมได้เริ่มลงมือค้นหาข้อมูล พบว่า ในปี ๒๕๕๓ มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ และ เวปไซต์ต่าง ๆ รวมถึง URL ที่ถูกบล๊อก หรือ ปิดกั้นไปแล้ว กว่า ๔๓,๐๐๐ แห่ง และ กำลังดำเนินการต่อไปอีกกว่า ๓,๐๐๐ ที่อยู่ ถ้าคำนวนเล่น ๆ นี่ครึ่ีงปี ก็ ๔.๓ หมื่น อีกครึ่งปี ก็คูณสอง แบบง่าย ๆ นะครับ ก็น่าเชื่อว่า ยันเสร็จสิ้นการประกาศใช้ กม. ฯ ภาวะฉุกเฉินฯ นี้ น่าจะทะลุไปกว่า ๖๐,๐๐๐ แห่ง หรือ ถ้าประกาศใช้ยัน ธ.ค. ปี ๕๔ ก็น่าจะทะลุหลักแสน .... แซงประเทศจีน คอมมิวนิสต์ อย่างแน่นอนครับ ...น่าภาคภูมิใจนะครับ ประเทศไทยที่อ้างตนเองว่า เคารพหลักประชาธิปไตย และ เสรีภาพ ฯ ทุกประการ กระทำการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารได้ขนาดนี้

ทุกองค์กร รวมถึง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็นิ่งเงียบ จนผมสงสัยว่า เรายังมีคณะกรรมการสิทธิฯ กันอยู่หรือเปล่า และ ถ้ามี ยังสมควรจะมีต่อไปหรือไม่ รวมถึง องค์กรศาลไทยด้วย เพราะท่านไม่เคยมีความจริงใจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเลย เมื่อมีคดีฟ้องเกี่ยวกับการปิดกั้นสื่อ ท่านพิพากษาแบบเด็กปี ๑ คณะนิติศาสตร์ ตอบข้อสอบได้เพียง ๑ หรือ ๒ คะแนน จาก ๑๐ คะแนน ว่า รัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินการใดตาม กม. ฯ ฉุกเฉินฯ

ท่านไม่ทราบหรือว่า ศาลมีอำนาจทบทวน หรือ Judicial Review ทั้งในแง่ เนื้อหากฎหมายว่าขัดหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ และ ยังมีอำนาจพิจารณาว่า การใช้อำนาจตามกฎหมายดงกล่าวของรัฐบาลเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ได้แก่ หลักความจำเป็น และ หลักสัดส่วน ถ้าแม้ กม.ฯ ฉุกเฉินฯ มีเนื้อหา ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำของรัฐบาล ไม่ชอบด้วยเงื่อนไขของกฎหมาย ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) แต่ท่านพิพากษาเพียงว่า รัฐบาลทำได้ทุกอย่าง ............ ผมอ่านคำพิพากษาแล้ว ผิดหวังอย่างแรง ไม่ทราบว่า ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจ หรือเพราะเหตุใด แต่ถ้าเด็กปี ๑ ที่ผมสอน กม.อยู่ ตอบข้อสอบแบบนี้ อย่างมาก ก็คงได้แค่น้ำหมึก สัก ๑ คะแนน เท่านั้น




เล่าเรื่องงานวิจัยต่อ เพราะมันเกี่ยวพันกับเสรีภาพเกี่ยวกับสื่อในสังคมไทย เลยไปศึกษา กม.ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในของสหรัฐฯ กับ จีน และ แนวนโยบายการปิดกั้นสื่อฯ หรือการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ในสังคมที่เป็นคอมมิวนิสต์ และ ประชาธิปไตย มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ประเทศไทย กำลังเป็น ..... ผมเลยหยิบ กม.สหรัฐ ที่เกี่ยวกับ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในของสหรัฐอเมริกา มาแปะไว้ใน บล๊อกนี้ สักนิดครับ

กม.นี้ อยู่ใน TITLE ที่ 6 ในหมวด DOMESTIC SECURITY
บทที่ 1 โดย กม.นี้ กล่าวถึง การจัดตั้ง HOMELAND SECURITY ORGANIZATION และ นิยาม ตลอดจนถึงอำนาจต่าง ๆ ของหน่วยงานนี้ ตัวอย่างเช่น คำว่า "ผู้ก่อการร้าย" ที่ไม่ใช่ "ผู้ก่อการรัก" ดังนี้


(16) The term "terrorism" means any activity that--

(A) involves an act that--

(i) is dangerous to human life or potentially destructive of critical infrastructure or key resources; and
(ii) is a violation of the criminal laws of the United States or of any State or other subdivision of the United States; and

(B) appears to be intended--

(i) to intimidate or coerce a civilian population;
(ii) to influence the policy of a government by intimidation or coercion; or
(iii) to affect the conduct of a government by mass destruction, assassination, or kidnapping.

โดยย่อ ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการที่เป็นภยันตรายต่อชีวิตมนุษย์ หรือ จะมีผลอย่างแน่แท้ในการทำลายสาธารณูปโภคหรือทรัพยากรสำคัญของชาติอย่างร้ายแรง และ เป็นการกระทำที่ละเมิดหรือขัดต่อกฎหมายอาญาของสหรัฐฯ และ

การกระทำดังกล่าวข้างต้น จะต้องปรากฎว่า เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการข่มขู่หรือภัยคุกคามต่อพลเรือน หรือ ต้องการบังคับรัฐบาลโดยวิธีการเดียวกัน หรือ การกระทำที่เป็นการทำลายล้างอย่างร้ายแรง การลอบสังหาร หรือ การลักพาตัว




ลองไปเปรียบเทียบกับ มาตรา ๑๓๕/๑ ของไทยเองแล้วกันครับว่า จะเทียบกันได้หรือไม่ หรือ กม.ไทย ขาดความชัดเจน ตามหลัก Principle of Legality คือ อ่านแล้ว ชัดเจน เข้าใจได้ ถึงขนาดที่ว่าคนที่โง่ที่สุดจะเข้าใจได้หรือไม่ หรือ อ่านแล้วมันคลุมเครือ (Vagueness) ขนาดที่ว่า หาเส้นแบ่งระหว่าง การทำร้ายร่างกายปกติ ตาม ป.อาญา ๒๙๕ กับ มาตรา ๑๓๕/๑ ไม่ได้เลย หรือ ไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า ตกลง มาตรา ๑๓๕/๑ ในวรรคแรกที่ว่า การกระทำผิดอาญาดังต่อไปนี้ ... จะต้องมีความชัดเจนว่า ความผิดอาญาที่ระบุไว้นั้น จะต้องมีความชัดเจนว่า เป็น กม.อาญา มาตรใด ของกฎหมายใด อย่างชัดเจนหรือไม่ ... ?




อย่างไรก็ตาม เมื่อหันไปมอง กม.การบริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน ของสหรัฐอเมริกาแล้ว พบว่า มันเป็นคนละเรื่องกับความหมายในไทยเลย เพราะ สถานการณ์ฉุกเฉินของ สหรัฐอเมริกา จะหมายถึง สภาวะที่บ้านเมืองมีภัยพิบัติ เช่น จากพายุ หรือ หายนะทางธรรมชาติ ฯลฯ ไม่ใช่ เพราะ การชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาของประชาชน แล้วนำกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในภาวะฉุกเฉินฯ ที่มีความมุ่งหมายจะไปใช้กับสถานการณ์การก่อความไม่สงบ หรือ การแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ มาใช้กับกระบวนการเรียกร้องทางการเมือง แบบไทย ๆ ๆ

โดย กม.การบริหารราชการในสภาวะฉุกเฉินของสหรัฐอเมริกา มีหัวข้อหรือประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

NATIONAL EMERGENCY MANAGEMENT

มาตรา 311. Definitions

มาตรา 312. Definition

มาตรา 313. Federal Emergency Management Agency

มาตรา 314. Authority and responsibilities

มาตรา 314a. FEMA programs

มาตรา 315. Functions transferred

มาตรา 316. Preserving the Federal Emergency Management Agency

มาตรา 317. Regional Offices

....,

มาตรา 321g. Conduct of certain public health-related activities

มาตรา 321h. Use of national private sector networks in emergency response

มาตรา 321i. Use of commercially available technology, goods, and services

มาตรา 321j. Procurement of security countermeasures for Strategic National Stockpile


...,


มาตรา 321m. Voluntary private sector preparedness accreditation and certification program






ตามหัวข้อข้างต้น นั่นก็คือ ให้มีหน่วยงานของรัฐบาล ที่เรียกว่า FEMA ขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนมีที่พึ่งพิงในยามมีภัย โดยอาจจะใช้กำลังทหารเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ ไม่ใช่นำกำลังทหาร มาปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมืองแบบไทย ๆ ของเรา ที่หลายกลุ่ม ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แปลกมาก เพราะว่า หากเหตุการณ์เช่นที่เกิดในประเทศไทย ไปปรากฎในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ประเทศเยอรมัน กล่าวคือ หากมีการสั่งการให้ทหาร มาปราบปรามประชาชนในลักษณะที่เกิดขึ้น เหล่าทหารหาญ เหล่านั้น จะหันกลับไปถามผู้สั่งการว่า ท่านอาศัยอำนาจอะไรมาสั่งการ และ อำนาจนั้น ชอบด้วยหลักกติกาสากลระหว่างประเทศหรือไม่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่ และสุดท้าย ชอบด้วยหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทหารที่จะต้องเคารพหลักการแห่งประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ นิติธรรมอย่างเคร่งครัด


ทหารเยอรมันจะได้รับการสั่งสอนแบบให้เป็นทหารรักประชาธิไตยและกฎหมายอย่างมืออาชีพ เพราะระบบการสอนที่เรียกว่า การทำลายความเป็นทหาร หรือ Demilitarilization ให้ทหาร เป็นเพียง Civilian in Uniform เท่านั้น การกระทำในลักษณะนี้ จะไม่เกิดขึ้นในประเทศที่เจริญแล้วเหล่านั้นอย่างเด็ดขาด ในโลกประชาธิปไตย เขาจึงต้องมีการฝึกฝนเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมาจัดการควบคุมการชุมนุมให้สงบเรียบร้อยตามวิถีประชาธิปไตย ไม่ใช่ "สงบเรียบร้อย" แบบไทย ๆ

แม้จะใช้ตำรวจในการควบคุมการชุมนุม ผมก็เชื่อว่า แม้รัฐบาลจะสั่งให้ตำรวจทำร้ายประชาชน ตำรวจมืออาชีพ ก็ได้รับการอบรมสั่งสอนไม่ให้ทำร้ายประชาชน (แม้ตำรวจจะรีดไถประชาชน เพื่อปากท้องของตนเองบ้าง) แต่ตำรวจก็จะไม่ยิงประชาชนอย่างเด็ดขาด ... คำสั่งในลักษณะนี้ ตำรวจก็จะไม่ทำตามอย่างแน่นอน ไม่ว่าตำรวจในประเทศไทย หรือ ตำรวจในประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกนี้ ซึ่งผมก็เชื่อว่า พี่น้องประชาชนทุกสีเสื้อ จะเห็นดีเห็นงามกับหลักการนี้ เพราะผมไม่เชื่อว่า ใครที่อ้างว่าตนเองยังเป็นคนอยู่ จะสนับสนุนการฆ่าผู้อื่นได้ ถ้าใครก็ตามเห็นดีเห็นงามกับการฆ่าผู้อื่นแล้ว คนนั้น ย่อมไม่อาจจะนับตัวเองว่า "เป็นคน" ได้อีกต่อไป ....




สุดท้าย หากรัฐบาลคิดว่าจะปฏิรูปตำรวจ ให้ยอมทำตามคำสั่ง "รัฐบาล" ทุกประการ พี่น้องประชาชนทั้งหลาย ลองหันไปมองประวัติศาสตร์ของโลกนี้สักหน่อยครับ หันไปมองประเทศใกล้ ๆ เรานี่แหละ ตำรวจญี่ปุ่นในยุค เมจิ ที่เชื่อฟังรัฐบาลแล้วเข่นฆ่าและทำร้ายประชาชนเป็นร้อย ๆ หันไปมองตำรวจเกาหลี ที่เชื่อฟังรัฐบาล ตกเป็นเครื่องของฝ่ายการเมือง ก็เข่นฆ่าประชาชน นักศึกษา นักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม และ นักวิชาการจำนวนมาก .... ตำรวจ อยู่ใต้อุ้งมืออุ้งเท้านักการเมืองโดยสมบูรณ์เมื่อใด เมื่อนั้น ประชาชน อาจจะประสบเคราะห์กรรม แบบที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ประสบมาแล้ว ... แน่นอนที่สุด แม้ผู้นำเหล่านั้น จะถูกนำตัวมาลงโทษภายหลังเกิดเหตุนองเลือด แต่ก็ใช้เวลานาน ๒๐ หรือ ๓๐ ปีเลยทีเดียว ..... จะเอาหรือไม่ครับพี่น้อง ...




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2553 10:31:43 น.
Counter : 1096 Pageviews.  

Advanced Criminal Law : ส่วนที่สี่

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
JSD University of Illinoisi



อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) เป็นอาชญากรรมร้ายแรง ที่รัฐบางสหรัฐฯ และรัฐบาลมลรัฐให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายจำนวนมากออกมา เพื่อให้หน่วยงานสอบสวนของตำรวจ FBI มีอำนาจสอบสวนได้ทั่วประเทศ หากการกระทำความผิดเกิดขึ้นในลักษณะข้ามเขตมลรัฐ หรือ เขตอำนาจศาลของรัฐใดรัฐหนึ่ง

การสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจนั้น โดยหลักการแล้วจะใช้วิธีการสืบสวนสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานด้วยวิธีการพิเศษ โดยใช้คณะลูกขุนใหญ่ หรือ Grand Jury Investigation เนื่องจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเป็นอาชญากรรมร้ายแรง เป็นภัยคุกคามต่อสังคม และระบบเศรษฐกิจ สร้างความเสียหายแก่ปัจเจกชนได้มาก การจะฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีประเภทนี้ จึงต้องใช้วิธีการรวบรวมพยานหลักฐานที่พิเศษกว่าการสืบสวนสอบสวนคดีปกติทั่วไป เนื่องจาก Grand Jury Investigation นั้น สามารถบังคับให้จำเลยหรือพยานให้การแก่คณะลูกขุนได้ ภายใต้สัญญาว่า บุคคลนั้นจะได้รับการคุ้มกันและเอกสิทธิ์ที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาอันเนื่องจากมาจากถ้อยคำของตนเอง ตาม Federal Rule of Criminal Procedure ข้อ ๑๗ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดนี้ กฎหมายห้ามฟ้องคดีโดยอาศัยเฉพาะถ้อยคำนั้น ๆ ที่พยานหรือผู้ต้องหาให้การต่อคณะลูกขุนเท่านั้น แต่ถ้าคณะลูกขุน ซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นผู้นำสืบพยานหลักฐาน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ FBI ให้ความช่วยเหลือในการแสวงหาพยานหลักฐาน ยังสามารถฟ้องคดีนั้นได้ ถ้าหากสามารถแสวงหาพยานหลักฐานโดยอิสระอันเป็นหลักฐานใหม่ ซึ่งโดยปกติ ก็อาศัยแหล่งข้อมูลมาจากถ้อยคำของพยานหรือผู้ต้องหานั้นเอง และถ้าพบว่า พยานหรือผู้ต้องหา เบิกความอันเป็นเท็จ ก็สามารถดำเนินคดีฐานให้การเท็จ (Perjury) อย่างจริงจังด้วย โดยเฉพาะหากพบว่า พยานหรือผู้ต้องหา พยายามทำลายพยานหลักฐานใด ๆ หรือ ข่มขู่พยาน ก็จะมีความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม หรือ Obstruction of Justice อีกส่วนหนึ่ง ทำให้กระบวนการดำเนินคดีอาญาในสหรัฐฯ เกิดความสมดุลระหว่างการปกป้องสิทธิ์ของผู้ต้องหาในฐานปัจเจกชน กับ การดำเนินคดีอาญาที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะ ได้แก่ความสงบเรียบร้อยของสังคม อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วมกันของการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ เพราะว่า หากสังคมไม่อาจจะดำรงอยู่สังคมสุขได้ สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนก็ไม่จะเป็นจริงได้

การสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่ดำเนินการโดย ระบบ Grand Jury Investigation ยังมีข้อพิเศษตรงที่ว่า สามารถสร้างข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นข้อยกเว้นสิทธิทางรัฐธรรมนูญได้บางประการ โดยมีหลักประกันอื่นเข้ามาทดแทน เช่น สิทธิที่จะมีทนายระหว่างการสอบสวนปากคำนั้น อาจจะถูกจำกัดลงได้ด้วย ในลักษณะที่ว่า จำเลยต้องให้การต่อคณะลูกขุนโดยลำพัง แต่อาจจะขอเวลามาปรึกษากับทนายความที่อยู่นอกห้องสอบสวนได้ตาม Federal Rule of Criminal Procedure ข้อ ๑๕.๑(a) แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเป็นคดีที่มีโทษร้ายแรง ระบบ Grand Jury Investigation ซึ่งปกติ มีระบบการคัดเลือกอย่างเป็นธรรมและป้องกันอคติของบุคคลที่จะมาเป็นคณะลูกขุน เป็นระบบที่ป้องกันการฟ้องร้องคดีตามอำเภอใจของพนักงานอัยการหรือฝ่ายรัฐ เนื่องจากการตัดสินใจจะฟ้องหรือไม่ฟ้องขั้นสุดท้ายนั้น อยู่ที่คณะลูกขุนใหญ่นี่เอง โดยพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า ประชาชนในสังคม จะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาภายในชุมชนของตน ซึ่งเป็นการรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนที่อยู่ในสังคมนั้นเอง บทความนี้ เขียนขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เป็นความพยายามที่จะยกตัวคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ บางประเภท มาเป็นแนวคิด ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในประเทศไทยได้ ในบางกรณี

ก.นิยามของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มาจากภาษาอังกฤษว่า White Collar Crime หรือ อาชญากรรมเสื้อคอปกขาว คำนี้ อาจจะเป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทยกันแล้วระดับหนึ่ง แต่กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของไทย และสหรัฐอเมริกา มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายนั้น แตกต่างกันมาก จึงขอนำกฎหมายว่าด้วย อาชญากรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อท่านจะได้นำไปเปรียบเทียบ และเป็นแนวทางในการค้นคว้าต่อไป

คำว่า White Collar Crime นี้ นาย Edward Sutherland นักอาชญาวิทยาและนักสังคมวิทยา เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ ๆ นี้ โดยให้นิยามตั้งแต่ ปี ค.ศ.๑๙๓๙ ว่า “เป็นอาชญากรรมที่กระทำโดยบุคคลมีสถานทางสังคมระดับสูงและเป็นที่เคารพนับถือ โดยอาศัยโอกาส หรืออาชีพของตนในการกระทำผิด ซึ่งรวมถึงการกระทำผิดโดยบริษัท หรือนิติบุคคลอื่นด้วย”

คำนิยามดังกล่าว ซึ่งเกิดจากมุมมองเฉพาะในตัวแบบอาชญาวิทยา (Criminology) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ถูกต้องนัก เพราะจำกัดขอบเขตของผู้กระทำผิดโดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานในทางสังคมและทางเศรษฐกิจของตัวผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ เช่น พิจารณาเฉพาะพื้นเพทางครอบครัว (Family background) และ ความระดับร่ำรวยของบุคคลคนนั้น ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้ว บุคคลที่กระทำผิดนั้น ไม่ได้เป็นบุคคลที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี หรือเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยเสมอไป และผู้กระทำผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีอำนาจในทางการบริหารขององค์กรนั้นๆ เท่านั้น คำนิยามข้างต้น จึงถือว่าค่อนข้างล้าสมัยไปแล้ว

ประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการฟ้องร้องคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นใน ปีช่วงปี ค.ศ.๑๙๗๐ เป็นต้นมา และได้มีการให้คำนิยามเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจใหม่ ที่แตกต่างจากที่ Sutherland ได้กล่าวไว้ เช่น คดีเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษี (tax fraud) หรือความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ (Securities fraud) ก็พบว่า บุคคลที่ทำผิดไม่จำเป็นต้องบุคคลที่มีสถานะทางสังคมที่สูงแบบที่ Sutherland ให้คำนิยามไว้แต่ประการใด แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า white collar crime ก็ช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าเป็นการกระทำผิดที่ไม่ใช่การกระทำผิดกรณีทั่วไป ที่เรียกว่า street crime ซึ่งได้แก่คดี ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ได้นิยาม white collar crime ว่าหมายถึง การกระทำความผิดที่ไม่ใช่ความผิดรุนแรง เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยวิธีการฉ้อโกงของบุคคลหรือคณะบุคคลผู้ซึ่งมีสถานะประกอบอาชีพในฐานะผู้เป็นเจ้าของกิจการ หรือมีวิชาชีพ หรือกึ่งวิชาชีพเฉพาะ โดยใช้วิธีการทั้งหลายซึ่งจะต้องมีความชำนาญเฉพาะและโอกาสในการกระทำความผิด นอกจากนี้ ยังรวมความถึง การกระทำความผิดที่ไม่รุนแรง เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางการเงินโดยใช้วิธีการอันเป็นการฉ้อโกง และกระทำความผิดโดยบุคคลใดก็ตามซึ่งจะมีความรู้พิเศษหรือทางเทคนิควิธีการทางธุรกิจและทางการบริหารงาน โดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นจะมีอาชีพอะไร ( “Nonviolent crime for financial gain committed by means of deception by persons whose occupational status is entrepreneurial, professional or semi-professional and utilizing their special occupational skills and opportunities; also, nonviolent crime for financial gain utilizing deception and committed by anyone having special technical and professional knowledge of business and government, irrespective of the person’s occupation.”)

คำนิยามข้างต้น ให้ความสำคัญกับการใช้วิธีการโกง เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด อย่างไรก็ตาม ตามคำนิยามนี้ ผู้กระทำผิดอย่างน้อง จะต้องเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญเป็นพื้นฐาน (Semi-professional) หรือ มีทักษะ (special technical and professional knowledge) แต่ในทางข้อเท็จจริงผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดไม่จำเป็นต้องมีความรู้พิเศษหรือทักษะเฉพาะดังกล่าวเลย คำนิยามดังกล่าว จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยังแคบเกินไป ผู้ที่ในวงวิชาชีพผู้ใช้กฎหมาย โดยเฉพาะ ศาล อัยการ และทนายความ จึงได้พยายามให้คำนิยามคำนี้ เพื่อแยกแยะความแตกต่างจาก อาชญากรรมทั่วไป (street crime) ไว้เชิงปฏิเสธ (โดยไม่ได้ให้นิยามเฉพาะเจาะจง) ดังนี้ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นการกระทำความผิดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่จำต้องมีลักษณะ ดังนี้ (๑) เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลหรือทรัพย์ (๒) เกี่ยวข้องกับการครอบครอง การขาย หรือการจำหน่ายซึ่งยาเสพติด (๓) เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม (๔) เกี่ยวข้องกับนโยบายการเมืองเกี่ยวกับคนเข้าเมือง สิทธิพลเมือง และ ความมั่นคงของชาติ และ เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เป็นการสิ่งที่ชั่วร้าย หรือ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ทั่วไป (“White Collar Crime as crime that does not: (a) necessarily involve force against a person or property; (b) directly relate to the possession, sale, or distribution of narcotics; (c) directly relate to organized crimes activities; (d) directly relate to such national policies as immigration, civil rights, and national security; or (e) directly involve “vice crimes” or the common theft of property.)

การนิยามข้างต้น จึงเป็นการนิยามเชิงปฏิเสธที่กว้างขวางมาก คดี White Collar Crime ในสหรัฐจึงค่อนข้างกว้างขวาง ในบางกรณีคดีอาญาทั่วไป ผู้กระทำผิดอาจจะถูกดำเนินคดีได้ทั้งแบบคดีอาญาทั่วไป และคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับว่าลักษณะข้อเท็จจริงและเหตุผลธรรมชาติของการกระทำผิดนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานสมคบ (conspiracy) กรรโชก (extortion) การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (obstruction of justice) เป็นต้น

ฉะนั้น ในการดำเนินคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบัน คลอบคลุมกฎหมายหลายร้อยฉบับ โดยองค์กรที่ดำเนินคดีจะเป็นหน่วยงานทั้งระดับรัฐบาลกลาง (Federal Government) ได้แก่ F.B.I และพนักงานอัยการ หรือ หน่วยงานทางภาษีอากร (IRS) กับอัยการ ได้ร่วมกันดำเนินการสืบสวนสอบสวน และจะต้องดำเนินการไต่สวนผ่านขณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) เพื่อให้คณะลูกขุนออกคำรับรองให้ฟ้องคดีต่อศาล (Indictment) ต่อไป ซึ่งมีระบบที่ให้อำนาจแก่คณะลูกขุนใหญ่อย่างมากในการแสวงหาพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐาน และพิจารณาว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ฟ้องคดีกับพยานหรือจำเลยหรือไม่

ข.ประเภทคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ

คดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ๆ จะประกอบไปด้วยการกระทำผิด เหล่านี้

๑. ความผิดของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น และปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท

๒. ความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยผู้ที่สมคบกัน จะมีความผิดทันที ตั้งแต่มีการตกลงกันโดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป

๓. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงโดยวิธีการทางจดหมาย (Mail Fraud) การฉ้อโกงเงินผ่านระบบธนาคาร (Wire Fraud) การฉ้อโกงธนาคาร (Bank Fraud) การฉ้อโกงประกันภัย (Health Care Fraud) และการฟ้องคดีอันเป็นเท็จ (False Government Claims) การแจ้งล้มละลายอันเป็นการฉ้อโกง (Bankruptcy Fraud)

๔. การฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud)

๕. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer crime)

๖. ความผิดเกี่ยวสิ่งแวดล้อม (Environmental Crimes) ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับการสารพิษ (Hazardous Wastes) การก่อมลพิเศษต่อน้ำ (Water Pollution) การก่อมลพิษทางอากาศ (Air Pollution)

๗. การติดสินบนเจ้าพนักงาน (Bribery and Gratuities)

๘. ความผิดฐานกรรโชก (Extortion)

๙. การแจ้งความอันเป็นเท็จ (False Statements) โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับภาษี และ ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน

๑๐. การเบิกความทันเท็จต่อศาล (Perjury)

๑๑. ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice) ตัวอย่างเช่น การการกระทำใดที่กระทบต่อการดำเนินคดีของศาล เช่น ให้เงินแก่พยานเพื่อไม่ให้ไปเบิกความต่อศาล ไปจนถึง ฆ่าพยาน เป็นต้น

๑๒. การกระทำผิดเกี่ยวกับทางภาษี (Tax Crimes)

๑๓. การกระทำผิดเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมทางการเงิน (Currency Transaction Reporting Crimes) ซึ่งเป็นมาตรการที่เกี่ยวน้องกับความผิดในฐานฟอกเงิน

๑๔. ความผิดฐานฟอกเงิน (Money Laundering) กฎหมายฟอกเงินของสหรัฐนี้ ต่างจากกฎหมายฟอกเงินของไทยอย่างมาก เพราะกฎหมายฟอกเงินของสหรัฐ ไม่ได้กำหนดประเภทของการกระทำผิดมูลแบบของไทย โดยกำหนดเพียงแต่ว่า หากมีการใช้เงินในลักษณะกระทำธุรกิจทางด้านเงินตรา (Monetary transaction)ที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย (lawful activity) โดยรู้ว่าเงินนั้นเกี่ยวพันและเป็นดอกผลมาจากการกระทำผิดนั้น ผ่านสถาบันทางการเงินฯ หรือ มีการทำธุรกรรมทางการเงิน (Financial transaction) ที่ได้มาจากการกระทำผิดใด ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระทำผิดนั้น หรือ ซ่อนเร้นแหล่งที่มาของเงินฯ ก็เป็นความผิดฐานฟอกเงิน ไม่จำเป็นต้องมีการกระทำผิดพื้นฐานที่เฉพาะเจาะจงแค่ ๘ ความผิดมูลฐานแบบกฎหมายฟอกเงินของไทย

๑๕. ความผิดฐาน RICO : Racketeer Influenced and Corrupt Organizations ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐสภาสหรัฐ ออกมาบังคับใช้ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ เพื่อเสริมมาตรฐานเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมการกระทำขององค์กรอาชญากรรม (Organized Crime Control Act ค.ศ.๑๙๗๐)

สำหรับกฎหมาย RICO กล่าวโดยย่อ คือ เป็นกฎหมายที่ควบคุมองค์กรอาชญากรรม ซึ่งมี (๑) การนำเงินที่ได้มาจากธุรกิจผิดกฎหมายไปลงทุนในธุรกิจปกติ (๒) การนำเงินผิดกฎหมายมาใช้แทรกแซงและควบคุมธุรกิจผู้อื่นที่ถูกกฎหมาย เพื่อแสวงกำไรอันไม่ควรได้ (๓) การนำกลไกธุรกิจที่ถูกกฎหมายมาใช้บังหน้าหรือเป็นเครื่องมือในการดำเนินการธุรกิจผิดกฎหมาย (๔) การสมคบกันกระทำผิด ตามข้อ (๑) ถึง (๓) ซึ่งจะเป็นการกรทำความผิดที่มีโทษรุนแรงมาก ๆ

ค. ตัวอย่างการกระทำผิดตามกฎหมายบางประเภทของคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

๑. การกระทำความผิดของนิติบุคคล และ กรรมการผู้มีอำนาจ

นิติบุคคล เป็นบุคคลที่สมมุติทางกฎหมาย (artificial entity) ซึ่งในทางกฎหมายอาจจะถูกฟ้องดำเนินคดีต่อนิติบุคคล หรือ กรรมการผู้มีอำนาจที่กระทำผิดร่วมกับนิติบุคคลนั้น โดยถือเป็นความรับผิดอย่างเด็ดขาด (Strict Liability) ซึ่งรัฐสภาอเมริกัน ได้ตรากฎหมาย Sherman Antitrust Act of 1890 และกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลสูงสุดสหรัฐฯ (The U.S. Supreme Court) ได้รับรองการบัญญัติกฎหมายให้มีความรับผิดกฎหมายอย่างกว้างขวาง ในการใช้บทลงโทษต่อการกระทำความผิดของนิติบุคคล ( New York Central & Hudson River Railroad v. U.S., 212 U.S. 481 (1909) ) โดยกฎหมายจะกำหนดความผิดต่อนิติบุคคล เช่น ปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารนิติบุคคล (Respondeat Superior) ในกรณีที่ (๑) เป็นบุคคลที่กระทำการในนามของนิติบุคคลนั้น (๒) กระทำให้เกิดประโยชน์ต่อนิติบุคคล (๓) ภายในขอบอำนาจของนิติบุคคลนั้น ซึ่งความรับผิดนี้ จะขยายไปถึงผู้แทนนิติบุคคล รวมถึงลูกจ้าง และ คู่สัญญาของนิติบุคคลนั้น (Independent contractors) ซึ่งรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลในระดับที่มีความรับผิดชอบน้อยที่สุดด้วย นอกจากนี้ ศาลสูงสุดสหรัฐ ยังได้ขยายความรับผิดทางอาญาที่ได้กระทำผิดไปแล้วไปยัง บริษัทหรือนิติบุคคลที่เป็นจัดตั้งเพื่อดำเนินกิจการต่อเนื่องจากบริษัทหรือนิติบุคคลเดิม (Successor Corporations) นั้น แม้บริษัทเดิมจะสิ้นสภาพ (Non-Existent Corporations) ไปแล้ว

Model Penal Code มาตรา ๒.๐๗(๑) กำหนดว่า นิติบุคคลอาจจะต้องรับผิดทางอาญา เมื่อ กระทำผิดซึ่งเป็นการละเมิด หรือกระทำผิดที่กำหนดไว้ในรัฐบัญญัติ ซึ่งกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่นิติบุคคลนั้น ซึ่งได้กระทำลงโดยผู้แทนนิติบุคคล (corporation agent) ซึ่งได้กระทำในนามนิติบุคคล ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหรือหน้าที่ในทางการที่จ้าง ..., หรือ การกระทำความผิด ซึ่งเป็นกระทำที่ละเว้นหน้าที่กระทำการที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องปฏิบัติ หรือ การกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นการให้อนุญาต หรือ เป็นการสั่งการ หรือ ร้องขอ หรือ การกระทำอย่างใด ๆ หรือ เป็นการละเลยการกระทำอันควรของคณะผู้บริหารนิติบุคคล หรือ ผู้บริหารระดับสูงของนิติบุคคลนั้น ซึ่งได้กระทำการในนามของนิติบุคคล ภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น

ข้อสังเกต ที่น่าสนใจ

ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล ยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับต่ำสุดของนิติบุคคล และ การกระทำอันเป็นการละเลยไม่ควบคุมดูแลการบริหารงานของนิติบุคคลใด้ดี ปล่อยให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยคณะผู้บริหาร หรือ ผู้บริหารระดับสูงด้วย เว้นแต่บุคคลนั้นพิสูจน์ได้ว่า ตนเองได้ใช้ความพยายามในการกำกับดูแลเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลกระทำอาญาใด ๆ ในระดับที่ดีพอสมควรแล้ว นอกจากนี้ กฎหมายสหรัฐฯ ยังได้มีบทจูงใจให้บริษัทหรือนิติบุคคลมีมาตรการจูงใจในการป้องกันมิให้ตัวแทนหรือลูกจ้างของตนกระทำผิดอาญา ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายของมลรัฐ หรือ กฎหมายของรัฐบาลกลาง เป็นต้นว่า กฎหมายว่าด้วยอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ ( Federal Food, Drug, and Cosmetic Act ) ด้วย เช่น การกำหนดโปรแกรมในการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายใด ๆ และ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว หากบริษัทให้ความร่วมมือในการดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านั้นแล้ว โทษปรับต่อนิติบุคคลจะลดลงด้วย ซึ่งกรรมการหรือผู้มีอำนาจ หรือลูกจ้าง ฯลฯ จะต้องรับผิดทางอาญาและโทษปรับในทางแพ่งเป็นการส่วนตัว แยกจากนิติบุคคลด้วยอีกส่วนหนึ่ง ฉะนั้น ในกรณีที่ตัวแทนนิติบุคคล มีอำนาจกระทำการใด เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายแล้ว แต่ไม่ได้ทำการป้องกัน หรือ กระทำการแก้ไขการละเมิดเหล่านั้น นิติบุคคลและตัวแทนนิติบุคคลนั้น จะต้องรับผิดตามกฎหมาย (U.S. v. Dotterweich, 320 U.S. 277 (1943))

๒. ความผิดฐานสมคบ (Conspiracy)

ความผิดฐานอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยปกติจะต้องกระทำความผิดโดยบุคคลหลายคน สมคบกระทำความผิด ความผิดในฐานสมคบ หรือ Conspiracy จึงได้นำมาใช้ในความผิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจด้วยเหตุผลที่ว่า ความผิดในลักษณะนี้ มีความสลับซับซ้อน

หลักการในเรื่องสมคบ ตามกฎหมายสหรัฐฯ มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้น แม้จะยังไม่ได้มีการกระทำความผิดสำเร็จ หรือ ยังไม่ได้มีการลงมือกระทำความผิดอันเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดใกล้จะถึงขั้นความผิดสำเร็จก็ตาม แต่ความผิดฐานสมคบ จะเป็นความผิดสำเร็จทันที เมื่อบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ได้ตกลงกัน ที่จะกระทำความผิดใด ๆ (Agree to commit crime ) หากมีกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด (Overt Act) อันเกี่ยวข้องกับการตกลงกันนั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระทำความผิดในฐานนั้น ๆ แม้จะยังไม่มีความผิดสำเร็จเกิดขึ้นก็ตาม โดยฝ่ายรัฐ ไม่จำต้องพิสูจน์ว่า ผู้สมคบ ได้กระทำการในขั้นตอนสำคัญ (Substantial Steps) แล้ว จนผลแห่งการกระทำใกล้จะเกิดขึ้น ตามหลัก Dangerous Proximity ซึ่งต่างจาก ความผิดในฐานพยายาม (Attempt) ที่จะต้องมีเจตนาร่วมกัน และมีการลงมือกระทำความผิดจนถึงขั้นตอนสำคัญ ที่เพียงแต่รอให้มีผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นเท่านั้น

การพิสูจน์ความรับผิดในฐานสมคบนั้น รัฐสามารถนำพยานหลักฐานที่เป็นพยานบอกเล่า (Hearsay evidence) มาใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยได้ และ การกระทำของผู้สบคบ ที่เรียกว่า Overt Act นั้น ขยายไปถึงการกระทำใด ๆ ที่กระทำโดยผู้ร่วมสมคบ (Co-Conspirator) นั้น เช่น ความผิดฐานสมคบกันฉ้อโกงภาษี หากผู้ร่วมสมคบได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปก่อนหน้าที่จะมีการลงมือกระทำผิดของอีกบุคคลหนึ่ง ก็ถือเป็นความผิดแล้ว เช่น ในคดี Pinkerton v. U.S., 320 U.S. 640 (1946) นั้น นายแดเนี่ยล ถูกพิพากษาลงโทษฐานสมคบกับพี่ชายกระทำผิดในฐานฉ้อโกงภาษี แม้ในขณะนั้น เขาถูกจำคุกอยู่และไม่ได้มีส่วนร่วมกระทำผิดในขั้นตอนการฉ้อโกงภาษีก็ตาม เนื่องจาก ความผิดฐานสมคบ เป็นความผิดเพื่อการกระทำของบุคคลอื่น และในคดีนี้ นายแดเนี่ยล ได้ตกลงในการฉ้อโกงภาษีกับพี่ชาย และได้มีการเตรียมเอกสารบางส่วนไว้แล้ว ซึ่งแม้จะไม่ใช้เอกสารที่จะเป็นหลักฐานในฉ้อโกงภาษีจากรัฐบาลโดยตรง อันเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ ที่กำหนดความผิดฐานฉ้อโกงภาษี ตาม 18 U.S.C. § 371 เป็นต้น

๓. ความผิดฐาน Mail Fraud, Wire Fraud, and Related Offenses

ความผิดในฐานนี้ มีลักษณะแตกต่างจากความผิดในฐานอาญาของประเทศไทย เนื่องจาก ในสหรัฐฯ นั้น มี ๕๐ มลรัฐ แต่ละรัฐมีอำนาจในการออกกฎหมายอาญาและควบคุมการกระทำทางอาญาภายในเขตมลรัฐของตนเอง แต่ความผิดระหว่างมลรัฐ หากมีความผิดอาญาที่เกิดขึ้นและข้ามดินแดนแต่ละมลรัฐแล้ว หากรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ไม่มีมาตรการควบคุมแล้ว ก็จะเกิดภาวะสูญญากาศในทางกฎหมายได้ หรือ การป้องกันอาชญากรรมอาจจะไม่มีประสิทธิภาพได้ รัฐบาลสหรัฐฯ จึงออกกฎหมายที่ควบคุมการกระทำที่มีลักษณะข้ามมลรัฐ ข้ามเขตอำนาจศาลของแต่ละมลรัฐ เช่น การป้องกันการฉ้อโกงที่กระทำลงในลักษณะข้ามมลรัฐ ซึ่งผู้กระทำผิดอาจจะใช้วิธีการส่งจดหมาย หรือ การหลอกลวงให้โอนเงินเข้าบัญชีผ่านระบบ Wire เป็นต้น

ความผิดฐานฉ้อโกงโดยใช้วิธีการทางไปรษณีย์ (Mail) หรือ โดยสายอิเล็คทรอนิกส์ (Wire) เป็นกฎหมายที่คลอบคลุมการกระทำความผิดที่กว้างขวางตั้งแต่ การฉ้อโกงเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมถึง การฉ้อโกงประกันภัย จนถึงการฉ้อโกงหลักทรัพย์ ฉ้อโกงธนาคาร ฯลฯ ความผิดฐานฟอกเงิน จนกระทั่งความผิดร้ายแรงในฐานความผิดฐาน RICO หรือ Racketeer Influenced and Corrupt Organizations และ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมอาชญากรรมของสหรัฐอเมริกาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง โดยกฎหมายนี้ มีบทบัญญัติ ใน18 U.S.C.§ 1341, 1343 ซี่งกำหนดไว้ ดังนี้

มาตรา ๑๓๔๑ ลงโทษการกระทำผิดฐานฉ้อโกง สำหรับบุคคลใด ๆ ซึ่งใช้แผนแห่งวิธีการในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง (scheme or artifice to defraud) หรือ กระทำการเพื่อได้มาซึ่งเงินตรา หรือ ทรัพย์สินโดยวิธีแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ สัญญา เพื่อดำเนินการตามวิธีการในการฉ้อโกง หรือ พยายามกระทำการเช่นนั้น โดยการใช้วิธีการส่งจดหมาย หรือ กระทำการอันเป็นส่งเอกสารหรือสิ่งของใด ๆ หรือ เพื่อให้ได้รับซึ่งผลประโยชน์ใด ๆ โดยวิธีการไปรษณีย์ ...,

มาตรา ๑๓๔๓ ลงโทษการกระทำผิดฐานฉ้อโกง สำหรับบุคคลใด ๆ ซึ่งใช้แผนแห่งวิธีการในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตรา หรือทรัพย์สินโดยวิธีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือสัญญา โดยการส่งข้อมูล หรือ ก่อให้เกิดการส่งข้อมูลผ่านระบบสาย หรือ วิทยุ หรือ การสื่อสารโดยโทรทัศน์ ข้อความใด ๆ สัญลักษณ์ ภาพ หรือ เสียง ข้ามผ่านระหว่างมลรัฐ เพื่อดำเนินการตามแผนแห่งวิธีการฉ้อโกง

ด้วยเหตุนี้ การส่งข้อมูล โดยการส่งจดหมาย หรือทางสาย หรือ วิทยุโทรทัศน์ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฉ้อโกง เพื่อได้ทรัพย์สินหรือเงินทอง หรือ การรับเงินผ่านธนาคารโดยระบบ Wire หรือ รับเช็คโดยวิธีการทางจดหมาย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแผนแห่งวิธีการฉ้อโกงนั้น ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จึงมีเครื่องมือทีทรงพลานุภาพในการปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนได้อย่างกว้างและรวดเร็ว ครอบคลุมเขตอำนาจรัฐทั้ง ๕๐ มลรัฐ

ข้อสังเกต

ความผิดในฐานนี้ ยังรวมถึง การได้ทรัพย์สินในลักษณะที่เป็น Intangible Proper Rights สำหรับการกระทำผิดฐาน คอรับชั่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้าได้รับผลประโยชน์ใด ๆ เช่น การรับเช็คจากการส่งจดหมาย หรือ โอนเงินเข้าบัญชีโดยวิธีการ Wire หากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้รับทรัพย์สินใด ๆ ก็ถือเป็นการกระทำผิดฐานฉ้อโกงด้วย โดยศาลสูงสุดสหรัฐฯ ได้ตีความขยายในคดี U.S. v. Carpenter, 484 U.S. 19 (1987) ว่า กฎหมายนี้ ครอบคลุมและปกป้องสิทธิของประชาชน ที่จะไม่ถูกพรากไปซึ่งการบริการที่ซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย (Mail Fraud statute clearly protects property rights which does include the intangible property rights – good and honest services of the officials.) ซึ่งต่อมา สภาคองเกรส ได้ตรากฎหมายมาตรา ๑๓๔๖ เพื่อให้ครอบคลุมกรณีป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ขยายไปการกระทำไม่ชอบของพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทหรือของนิติบุคคลเอกชนใด ๆ ด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีความผิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานนี้อีก เช่น ความผิดฐานการฉ้อโกงอันเกิดจากการแจ้งการล้มละลายอันเป็นเท็จ (Bankruptcy Fraud) การฉ้อโกงอันเนื่องจากการแจ้งเอาประกันสุขภาพอันเป็นเท็จ (Health Care Fraud) และ การแจ้งความอันเป็นเท็จเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากรัฐ (False Government Claims) ตามกฎหมายมาตรา ๒๗๘ ของ Federal Criminal Code และความผิดฐานสมคบเพื่อกระทำการดังกล่าว ตามมาตรา ๒๘๖ ของกฎหมายเดียวกัน

๔. กฎหมายว่าด้วยการฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud)
หลักทรัพย์ เป็นเรื่องที่กระทบต่อความผาสุกของสังคมอเมริกันเป็นอย่างมาก เพราะระบบเศรษฐกิจอเมริกัน พึ่งพาระบบตลาดหลักทรัพย์ และการซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งกระบวนการทำนิติกรรมบนอินเตอร์เน็ต จะดำเนินการได้อย่างมั่นคง หากบริษัทต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานะทางการเงินของบริษัทให้สาธารณชนทราบ การปกปิดข้อมูล หรือ การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน ย่อมกระทบต่อความมั่นคงและความถูกต้องของระบบตลาด ซึ่งเป็นการบิดเบือนความรับรู้ของสาธารณชนให้ผิดเพี้ยนไปได้

เนื่องจากหลักทรัพย์มีความสำคัญดังกล่าว ทำให้รัฐสภาสหรัฐฯ ได้กำหนดกฎหมายที่ให้อำนาจดุลพินิจที่กว้างขวางแก่พนักงานอัยการในการดำเนินคดีทั้งในปกครอง ทางแพ่ง และทางอาญาประกอบกัน และสามารถถือเอาพยานหลักฐานในกระบวนการใด ๆ ข้างต้น มาใช้พิจารณาการดำเนินคดีอาญาได้ด้วย

กฎหมายหลักทรัพย์ได้กำหนดไว้ ตาม Securities Exchange Act ปี ค.ศ. ๑๙๓๓ และ ๑๙๓๔ ซึ่งมีคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities Exchange Commission : SEC) ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีกับบริษัทที่กระทำผิดตามกฎหมายนี้ โดยกฎหมายหลักทรัพย์ ค.ศ.๑๙๓๓ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดของบริษัทแก่สาธาณชนที่ประสงค์จะซื้อขายหุ้นของบริษัท และ กฎหมายหลักทรัพย์ ค.ศ. ๑๙๓๔ เป็นเครื่องมือในการกำหนดการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกำหนดความผิดทางอาญาไว้อย่างกว้างขวาง หากมีการฉ้อโกงเกิดขึ้น รวมถึงการกระทำการในลักษณะที่เป็นการช่วยเหลือในการฉ้อโกงหุ้น นอกจากนี้ กฎหมาย Litigation Reform Act ปี ค.ศ.๑๙๙๕ ยังกำหนดให้ SEC ดำเนินคดีทางแพ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้บริษัทเอกชน และ ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์ ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

กล่าวโดยสรุป กฎหมายหลักทรัพย์ ปี ๑๙๓๓ กำหนดฐานความผิด เช่น มาตรา ๑๑ กำหนดค่าเสียหาย กรณีบริษัทแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อ SEC เกี่ยวกับสถานะของบริษัท มาตรา ๑๒(๑) กำหนดค่าเสียหายกรณีไม่จดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้น มาตรา ๑๒(๒) กำหนดความรับผิดทางอาญา สำหรับการเสนอซื้อหรือขายหุ้นอันมีข้อความอันเป็นเท็จ และ กฎหมายหลักทรัพย์ปี ๑๙๓๔ มาตรา ๙ กำหนดความผิด กรณีที่มีการกระทำการในลักษณะการควบคุม (Manipulative Devices) โดยจงใจในการบิดผันราคาตลาดของหุ้น และหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ตามมาตรา ๒๔ และ ๓๒(a) ของกฎหมายหลักทรัพย์ปี ค.ศ.๑๙๓๔ จะมีความรับผิดทางอาญาเกิดขึ้น หากเจตนากระทำผิดต่อกฎหมายและกฎเกณฑ์ใด ๆ ของ SEC รวมถึงกรณีเจตนากระทำผิดโดยวิธีการละเลยหรือไม่ใส่ใจต่อหลักเกณฑ์อันเป็นปล่อยให้ผู้อื่นกระทำผิดด้วย (acted with reckless indifference to the truth.)

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมาย Sarbanes-Oxley Act ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ กำหนดฐานความผิดฐานฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud) โดยกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา Federal Criminal Code มาตรา ๑๓๔๘ ( 18 U.S.C.§1348) สำหรับความผิดที่กระทำโดยการพยายามที่ดำเนินการมาตราการหรือแผนการในการฉ้อโกงประชาชน ในการออกหุ้น ที่จดทะเบียนตามกฎหมายหลักทรัพย์ ค.ศ. ๑๙๓๔ หรือ หุ้นที่กำหนดให้ต้องมีการรายงาน รวมถึงกำหนดความผิดสำหรับการดำเนินการแผนการเพื่อให้ได้ไปซึ่งเงินตราของประชาชน หรือทรัพย์สินใด ๆ โดยวิธีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหุ้นนั้น ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ ปี ค.ศ.๑๙๓๔ เป็นต้น

โดยสรุป กฎหมายหลักทรัพย์ ห้ามมิให้มีการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) ไม่ว่าจะดำเนินการโดยผู้บริหาร หรือโดยที่ปรึกษา หรือโดยพนักงานของบริษัท รวมถึง กรณีการให้ผู้อื่นถื้อหุ้นแทนตนเอง ในลักษณะ Stock Parking ซึ่งมีผลทำให้การรายงานผลการดำเนินการ รายได้ ฯลฯ ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง จึงอาจถูกดำเนินคดีฐานจดทะเบียนหรือบันทึกข้อความอันเป็นเท็จ สืบเนื่องจากการไม่ได้จดทะเบียนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงนั้น นอกจากยังเอาผิดทางอาญา กับ บริษัทที่เป็นหุ้นส่วน หรือ Partner ทนายความ หรือ นักบัญชีที่มีส่วนร่วมกระทำผิด สนับสนุน หรือ ให้คำแนะนำในการกระทำผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น ๆ ด้วย

ความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยังมีหลายประการ เช่น ความผิดที่กระทำโดยหรือกระทำต่อคอมพิวเตอร์ (Computer crime) ซึ่งปกป้องข้อมูลภายในระบบคอมพิวเตอร์ มิให้ถูกบุกรุกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะกระทำเพื่อการฉ้อโกง หรือ ทำความเสียหายแก่ข้อมูล หรือ เพียงการลักข้อมูล หรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือ เพียงบุกรุกเข้าไป ตามกฎหมาย Counterfeit Access Device and Computer Fraud and Abuse Act of 1984 ความผิดต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Crimes) ตามกฎหมาย ป้องกันขยะพิษ มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ ความผิดฐานสินบนและของรางวัล (Bribery and Gratuities) ที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาญา Federal Criminal Code มาตรา ๒๐๑ และ มาตรา ๖๖๖ ซึ่งห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลให้ติดสินบนหรือรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เจ้าหน้าทีกระทำการหรือไม่กระทำการตามหน้าที่ โดยความผิดดังกล่าว ได้มีการกำหนดควบคู่กับความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ (Extortion law) ตาม 18 U.S.C.§1951 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ภายใต้กฎหมายที่มีชื่อว่า Hobbs Act of 1946 (18 U.S.C.§1951)

ตามกฎหมาย Hobbs Act นี้ หากเจ้าหน้าที่คนใด ใช้อำนาจหรือเพราะการเป็นเจ้าพนักงาน (under color of the official right) กระทำการอันใด อันเป็นการถ่วงหรือทำให้ล่าช้าหรือกระทบต่อการค้าระหว่างมลรัฐ โดยการปล้น หรือ รีดเอาทรัพย์ หรือพยายามกระทำการนั้น จากบุคคลใด ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ความผิดฐานแจ้งความเป็นเท็จ (False Statements) ความผิดฐาน เบิกความเป็นเท็จ (Perjury) ตาม 18 U.S.C.§1621, 1623 ความผิดฐาน Obstruction of Justice ซึ่งกฎหมายที่ครอบคลุมกว้างขวางมากในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทางอาญาใด ๆ ที่เสริมเพิ่มเติมจากความผิดฐานเบิกความหรือให้การอันเป็นเท็จต่อศาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กฎหมายกำหนดให้ต้องสาบานตนก่อนให้การหรือเบิกความ ซึ่งครอบคลุมการกระทำของบุคคลใด ๆ ที่ลักษณะขัดขวางกระบวนการดำเนินคดีอันบริสุทธิ์ยุติธรรม ความผิดฐานนี้ อาจจะเกิดจากการที่จำเลย ได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการทำให้ตนพ้นผิดในทางที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ กระทำการใด ๆ ที่ศาลเห็นสมควรว่าเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม เช่น การทำร้ายพยาน หรือเหยื่ออาชญากรรม ตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองพยาน (Victim and Witness Protection Act of 1982) การทำร้ายหรือข่มขู่เจ้าหน้าที่ ตาม 18 U.S.C.§ 1503, 1505, 1510 การข่มขู่คณะลูกขุน ตามมาตรา 1503 และยังมีความผิดอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม

ความผิดอื่นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ความผิดฐานฟอกเงิน (Money Laundering) ตามมาตรา 1956 และ 1957 เช่น การกระทำธุรกรรมทางเงิน หรือ ธรุกรรมอื่น โดยการนำเงินที่ผิดกฎหมายที่ได้มาจากการกระทำความผิดกฎหมาย เพื่อนำเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายนั้น ใช้เพื่อสนับสนุนการกระทำผิดกฎหมายอื่น ๆ ความผิดฐานฟอกเงิน แยกจากความผิดฐานไม่แจ้งการกระทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าเกิน ๑๐,๐๐๐ เหรียญอีกประการหนึ่งด้วย นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่เรียกว่า RICO หรือ Racketeer Influenced and Corrupt Organization ซึ่งบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ ซึ่งบัญญัติไว้ใน 18 U.S.C. §1961-1964 เพื่อป้องกันการกระทำผิดในลักษณะที่เป็นองค์กรอาชญากรรม (Racketeering pattern activities) และมีการนำเงินที่ได้จากกระทำความผิดในลักษณะองค์กรอาชญากรรม ไปใช้ในการกระทำผิดอื่น ๆ ประกอบกิจการอันสุจริตอื่น ๆ ซึ่งทำให้การดำเนินคดีในลักษณะนี้ จะกว้างขวางครอบคลุมการกระทำผิดอื่นอย่างกว้างขวางมาก

บทส่งท้าย

ผู้เขียนหวังว่า เอกสาร Advanced Criminal Law ทั้งสี่ส่วนนี้ จะมีประโยชน์ในทางวิชาการบ้าง ไม่มากก็น้อย อย่างน้อย จะได้เผยแพร่ในสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ในระหว่างศีกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาบ้าง ส่วนรายละเอียดในคดีแต่ละประเภท ผู้เขียนหวังว่าจะได้มีโอกาสเขียนในโอกาสต่อไป แต่ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขอได้โปรดอภัย เนื่องจากเป็นการสรุปในเวลาอันจำกัด




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:44:42 น.
Counter : 1035 Pageviews.  

Advanced Criminal Law : ส่วนที่สาม

การพยายามกระทำความผิด หรือ Attempt

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
JSD University of Illinois



1. โดยหลักการแล้ว ความผิดที่จะมี Attempt ได้ จะต้องเป็นความผิดที่ต้องการ “MR” ในระดับ Specific intent ไม่ใช่ General intent กล่าวคือ ต้องไม่ใช่การกระทำโดยประมาท นอกจากนี้ จะต้องมีการกระทำการใด ๆ หรือ “AR” ในระดับที่เกินกว่าระดับการเตรียมการ (Preparation) ไปแล้ว

2. การกระทำใด จะถือเป็นเพียงการเตรียมการ หรือ ถึงขั้นพยายามกระทำความผิดแล้วหรือไม่นั้น มีหลายทฤษฎีที่จะใช้ในการอธิบาย เช่น

a. ตามแนวคิดของ MPC นั้น กากระทำนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนลงมือที่สำคัญ หรือ ‘a substantial step’ ไปแล้ว เพื่อให้มุ่งไปสู่ผลสำเร็จของการกระทำผิดนั้น โดยขั้นตอนลงมือที่สำคัญนั้น จะต้องแสดงให้เห็นเจตนาในการกระทำผิด ในลักษณะที่เป็นส่วนสำคัญ (“strongly corroborative”) กับเจตนาหรือความรับรู้ของจำเลย

b. ส่วนแนวคิดของ Common Law ได้อธิบายโดยใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เช่น

i. ทฤษฎีว่าด้วย physical proximity test : PP test โดยพิจารณาว่า จำเลยยังเหลือสิ่งใดที่จะต้องกระทำเพื่อให้ความผิดที่มุ่งหมายกระทำนั้น ประสบความสำเร็จ หรือ อีกนัยหนึ่ง การกระทำของจำเลยนั้น ใกล้ชิดต่อผลสำเร็จเพียงใด โดยพิจารณาจาก ความใกล้ในเรื่องขั้นตอนสุดท้าย (Close in steps) หรือ ความใกล้ชิดเรื่องเวลา (Close in time) และ ความใกล้ชิดเรื่องทางภูมิศาสตร์ (Close in geography)

ii. ทฤษฎีว่าด้วย Dangerous proximity test : DP test โดยพิจารณา นอกจากสิ่งที่จำเลยได้กระทำลงนั้นใกล้ชิดต่อผลสำเร็จแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบกันด้วย เช่น

1. ความร้ายแรงของอาชญากรรม (Gravity of crime)

2. ความรู้สึกหวาดกลัวของเหยื่อ (Fear aroused in victim)

3. แนวโน้มที่การกระทำผิดจะสำเร็จ (Likelihood of success)

หากว่า องค์ประกอบ 1-3 มีลักษณะใกล้ชิด หรือร้ายแรงมาก ศาลก็จะกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดทางอาญาด้วย หากยังไม่ถึงขั้นฯ ก็อาจจะเป็นเพียงตระเตรียมการเท่านั้น

iii. ทฤษฎี RIL – Res Ipsa Loquitur หมายถึง Thing speaks itself. หลักเกณฑ์เรื่องนี้ พัฒนาจากหลักละเมิด โดยจำเลยได้กระทำการที่ชัดเจน ถึงขนาดไม่ต้องสงสัยได้เลยว่า ต้องเป็นจำเลยเท่านั้นที่กระทำผิดจริง หากจะเปรียบ ก็จะเหมือนกับการเอาข้อเท็จจริงนั้นถ่ายทำเป็นภาพเคลื่อนไหว และเมื่อข้อเท็จจริงยุติลง เหมือนหยุดภาพในวิดีโอ หากมีคำตอบสุดท้ายคำตอบเดียวว่า จำเลยมุ่งประสงค์จะกระทำอะไรแล้วละก็ การกระทำนั้น เป็นการพยายามกระทำผิด

การที่ศาลจะใช้ทฤษฎีใดนั้น ขึ้นกับแนวคิดของศาล ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน หรือ อาจจะนำมาใช้ผสมผสานกันก็ได้ แล้วแต่กรณี

c. ทฤษฎีของเยอรมัน ว่าด้วย การละเมิดคุณธรรมทางกฎหมาย หากการกระทำนั้น ถึงขั้นที่เป็นการละเมิดคุณธรรมทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองแล้ว ก็จะเป็นการลงมือกระทำผิด หาใช่เพียงการตระเตรียมการ เช่น กรณีการซื้อขายเสียง การที่จำเลย นำเงินจำนวน ๑๒๐ บาท ติดกับแผ่นป้ายหมายเลขรับสมัครเลือกตั้งโฆษณาหาเสียง ถือเป็นการลงมือกระทำผิดแล้ว หาใช่เพียงการตระเตรียมการไม่ เพราะคุณธรรมทางกฎหมายได้ถูกละเมิดจนเกิดเป็นอันตรายแล้ว

3. ระดับของจิตใจ หรือ Mental state: MR: สำหรับความผิดฐานพยายามกระทำความผิดจะต้องเป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดระดับ MR ไว้ที่ระดับ “intent or purpose” เท่านั้น รวมถึง กรณีที่กฎหมายต้องการผล (result) และจำเลยต้องการให้เกิดผลเช่นนั้น การพิจารณาว่ามีเจตนากระทำผิดหรือไม่ อาจจะพิจารณาจากสภาวะแวดล้อมได้ เช่น หากรู้ว่าจำเลย ได้ล่วงรู้ว่ามีผลจะเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ หรือ “substantial certainty of result” หากจำเลย ได้ลงมือทำและคาดเห็นเช่นนั้นได้ จึงถือว่าเจตนากระทำ และต้องรับผิดฐานพยายาม หากเป็นการกระทำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ

4. ดังนั้น ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้มี MR ที่ระดับ recklessness, negligence หรือ strict liability: จึงไม่อาจจะมีความผิดฐานพยายามกระทำผิดได้ ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีผลเกิดขึ้น ก็จะไม่มีความรับผิดในทางอาญา แต่หากมีผลเกิดขึ้น เขาอาจจะต้องรับผิดสำหรับความผิดที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ (underline crime) นั้น ๆ

5. การพยายามกระทำความผิด กับ การตระเตรียมการ (Attempt v. Preparation): ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ลำพังแค่ความคิดไม่อาจจะถือเป็นการกระทำความผิดได้ เช่นเดียวกับ การตระเตรียมการ หรือ preparation ก็ไม่อาจจะถือเป็นอาชญากรรมเช่นเดียวกัน สำหรับปัจจัยที่ใช้การพิจารณาว่าอะไรจะถือเป็นการลงมือกระทำผิด หรือ อะไรจะถือเป็นเพียงการตระเตรียมการนั้น อาจจะพิจารณาได้ตามแนวคิด เช่น ตามแนวคิด Common Law อาจจะกล่าวแบบสรุปโดยพิจารณาปัจจัย ดังนี้ :

a. ความใกล้ชิดต่อผลสำเร็จ - The proximity test: (1) พิจารณาว่า จำเลยได้กระทำผิดใกล้ชิดต่อผลสำเร็จเพียงใด (How close to succeed?) และ/หรือ (2) ภยันตรายจากการกระทำผิดนั้น มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นหรือไม่เพียงใด หรือ

b. ทฤษฎี RIL- ทฤษฎีว่าด้วย ความไม่คลุมเครือ หรือ unequivocal test: โดยพิจารณาจากจุดเริ่มต้นว่า จำเลยได้กระทำการใดไปไกลเพียงใด (How far does defendant go?) ทฤษฎีนี้ จะพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยนั้น ชัดเจนไร้ข้อสงสัยว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะทำอะไร เหมือนกับการหยุดภาพยนตร์แล้วมีคำตอบสุดท้ายว่า จำเลยต้องการกระทำอะไร

6. การพยายามกระทำผิดตามหลัก MPC: นั้น จำเลยจะถูกลงโทษในฐานพยายามกระทำความผิด ถ้าการกระทำของจำเลยประกอบด้วย :

a. เป็นขั้นตอนลงมือที่สำคัญ (Substantial step in a course of conduct) ที่ได้กระทำลงไปตามตามที่คิดตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำความผิดนั้น และ

b. การกระทำดังกล่าว ตาม ข้อ a. มีเจตนากระทำผิด หรือ “strongly corroborative’ ตามที่ได้คิดและตัดสินใจนั้น

7. ในกรณีที่การกระทำไม่สำเร็จลง จำเลยมักจะอ้างว่า สิ่งที่ตนเองกระทำนั้น มีลักษณะเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ (Impossibility) ซึ่งมักจะอ้างเป็น Defense ให้พ้นความรับผิดทางอาญาเสมอ ดังนั้น คำถามสำคัญ ก็คือ อะไรคือ Impossibility

a. ความเป็นไปไม่ได้ในเพราะข้อกฎหมาย หรือ Legal impossibility: การกระทำบางประการ เช่น กรณีจำเลยที่ ได้ลงมือกระทำไปหมดแล้วเพื่อบรรลุผลที่ต้องการ แต่เนื่องจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมภายนอก (External circumstances) ทำให้ไม่มีความผิดอาญา (No substantive crime) เกิดขึ้นตามที่ต้องการ ดังเช่น กรณีที่ จำเลยได้หยิบเอากระเป๋าเงินของผู้เสียหายมา ปรากฏว่าไม่มีเงินในกระเป๋า จึงคืนกระเป๋าของผู้เสียหายไว้ที่เดิม หรือ กรณีที่จำเลยตั้งใจจะข่มขืนหญิงสาว แต่ไม่ทราบว่า หญิงดังกล่าวได้ตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว หรือ กรณีที่จำเลยได้ซื้อน้ำตาลมาโดยคิดว่าได้ซื้อผงเฮโรอีนมา กรณีเช่นนี้ จำเลยไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้ แต่จำเลยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตามที่จำเลยเชื่อหรือมี MR ในการกระทำผิดนั้น เพราะตัวอย่างข้างต้นไม่ใช่ Legal impossibility

อย่างไรก็ตาม เป็นการยากมาก ที่จะโต้แย้งเพื่อให้อ้างว่าเป็น Legal Impossibility เพื่อให้ได้ defense ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้เพราะข้อกฎหมายอย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็น True legal impossibility คือ เป็นการกระทำที่ผู้กระทำได้ลงมือกระทำจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีทางจะเป็นความผิดกฎหมายได้ ซึ่งยากจะทำการโต้แย้ง เป็นต้นว่า หากกฎหมายกำหนดว่า บุคคลที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ไม่สามารถซื้อและดื่มสุราได้ จำเลยอายุเกิน ๒๐ ปี แต่ไม่เกิน ๒๑ ปี คิดว่า อายุที่จำกัด คือ ๒๑ ปี ดังนี้ จะเห็นว่า แม้จำเลยจะคิดว่าการกระทำของตนเองมีความผิดตามกฎหมาย ก็ไม่อาจจะทำให้การกระทำที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายเลย เป็นความผิดตามกฎหมายไปได้ หรือในกรณีที่ จำเลยได้ไปลักทรัพย์ แต่กลายเป็นว่า ทรัพย์ดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่ถูกเจ้าสละสิทธิ์การครอบครองและได้นำไปทิ้งแล้ว เช่นนี้ อาจจะโต้แย้งได้ว่าเป็น Legal Impossibility เพราะขาดองค์ประกอบในเรื่องการแย่งการครอบครอง เป็นต้น

8. การกระทำผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ เพราะมีข้อเท็จจริงบางประการ หรือ Factual impossibility : เป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจัยภายนอกไม่ได้ล่วงรู้ต่อผู้พยายามกระทำผิด ทำให้การพยายามกระทำความผิดนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ บางกรณี factual impossibility ก็อาจจะเป็น defense แต่บางกรณี ก็อาจจะไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น กรณีจำเลย ไม่รู้ว่าจำเลยยิงปืนใส่นายเอ โดยไม่รู้ว่า ปืนดังกล่าวไม่มีกระสุน จำเลยมุ่งหมายจะข่มขืนหญิงอื่น แต่ปรากฎว่าเขากลายเป็นคนสมรรถภาพทางเพศเสื่อมไม่อาจร่วมเพศได้ โดยเขาไม่ทราบมาก่อน หรือ กรณีจำเลยได้ใช้ให้นายวี เป็นคนเข้าไปลักเงินจากธนาคารแล้วส่งเงินให้ตนเอง แต่ความผิดไม่สำเร็จเพราะนายวี เป็นตำรวจนอกเครื่องแบบ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่รู้แก่ผู้ลือกระทำความผิด ดังนี้ หากจำเลยเชื่อว่าตนเองทำผิด ข้อเท็จจริงที่ไม่รู้แก่จำเลยดังกล่าว แม้จะทำให้การกระทำดังกล่าวไม่สำเร็จลง ก็ยังต้องยอมรับความผิดทางอาญา เพราะความเชื่อดังกล่าวของเขา

9. เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ หรือ True legal impossibility: เป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเชื่อว่าสิ่งที่กระทำนั้น ผิดต่อกฎหมาย แต่เนื่องจาก จำเลยตีความกฎหมายผิดไปเอง การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดใด ๆ เลย กรณีนี้ จึงเหรียญคนละด้านของ แนวคิดที่ว่า ไม่อาจจะอ้างความสำคัญผิดในข้อกฎหมายให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้ (“mistake of law is no excuse.”) กล่าวคือ ในทางตรงกันข้าม จำเลยไม่อาจจะอ้างได้ว่า ตนคิดว่าการกระทำของตนเองไม่เป็นความผิดกฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดได้ ในอีกทางหนึ่ง เขาไม่อาจจะถูกลงโทษได้ ถ้าหากสิ่งที่เขากระทำและเขาคิดว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายแต่ประการใด

10. ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง กับผลของความสัมพันธ์ในกันในทางกฎหมาย (Mistake of fact governing legal relationship): ถ้าจำเลยเข้าใจว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ โดยสำคัญผิดไปเองว่า เขากระทำสิ่งไปในขอบเขตของกฎหมายนั้น จำเลยจะต้องรับผิดเท่าที่เขาเชื่อ ตัวอย่างเช่น เขาถูกล่อหลอกให้รับของโจร ซึ่งเขาก็ทราบดีซึ่งข้อเท็จจริงนั้น และเขาเชื่อว่าผู้ที่นำทรัพย์มาขายแก่ตนเองนั้นประสงค์จะขายของโจรนั้นจริง แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการล่อขายเอง เช่นนี้ เขาจะมีความผิดฐานพยายามครอบครองของโจร หรือในกรณีที่จำเลย ได้มีเพศสัมพันธ์กับ X โดยเขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า X ยังมีชีวิตอยู่ แท้จริงเธอเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนี้ เขายังคงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนอยู่นั่นเอง

11. การพิจารณาว่ากรณีใดเป็น Impossibilities แบบใด ให้พิจารณาจาก คำถามดังนี้ “ผู้กระทำจะตกเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ หากข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำเข้าใจหรือเชื่อเช่นนั้นมีอยู่จริงตามความเชื่อ?” ถ้าคำตอบเป็นเชิงปฏิเสธ ก็จะถือว่า เป็น True legal impossibility แต่ถ้าคำตอบในเชิงบวก คือ หากมีข้อเท็จจริงเช่นอยู่จริง ผู้กระทำก็จะต้องรับผิดทางอาญา ฉะนั้น ก็จะเป็น Impossibility อีกรูปแบบอื่น

12. การถอนตัวจากการกระทำผิด (Renunciation) : Renunciation จะถือเป็น defense ถ้า...มีการละทิ้งความพยายามในการกระทำผิดโดยสมัครใจก่อนที่จะกระทำผิดข้อหาหลักเป็นผลสำเร็จ

13. คำว่า Renunciation must be voluntary กล่าว จะต้องกระทำโดยสมัครใจนั้น หมายความว่า จะต้องปราศจากการการข่มขู่ว่าจะถูกจับกุม หากมีการกระทำผิดไปโดยตลอด และ การเลื่อนแผนการกระทำผิดออกไป โดยเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า แต่มาถูกจับได้ก่อน ย่อมไม่ถือเป็นการละทิ้งการกระทำผิดโดยสมัครใจ

ความรับผิดเพื่อการกระทำของบุคคลอื่น (Criminal Liability for Conduct of Another.)

กรณีมีการกระทำผิดด้วยตนเอง ผู้กระทำย่อมจะต้องรับผิดทางอาญา การวิเคราะห์ก็อาจจะไม่ยุ่งยากนัก แต่สำหรับการใช้ผู้อื่นกระทำผิด หรือ ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ไม่ว่ากรณีใด ผู้ก่อฯ แม้จะไม่ได้ลงมือกระทำเอง ก็ย่อมต้องรับผิดทางอาญาด้วย ในทางกฎหมายอาญา ได้สร้างทฤษฎีสำหรับลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิด แม้จะไม่ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเทียบได้กับตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ฯลฯ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย แต่ในกฎหมายของอเมริกา ได้กำหนดไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายอาญาของไทยพอสมควร และยังคงมีความแตกต่างกันระหว่าง common law และ MPC jurisdiction ด้วย โดยเรียกว่าทฤษฎี Complicity ซึ่งโดยตัวของมันเอง ไม่ใช่ฐานความผิดหลัก (Underline crime) จะต้องมีการกระทำฐานความผิดหลักเกิดขึ้นเสมอ และฟ้องคดีอาญาควบคู่กันไป กับการกระทำความผิดหลัก โดยไม่สนใจว่า ผู้ที่เป็นตัวการหลักจะพ้นความรับผิดเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่มีผลต่อผู้ก่อให้เกิดหรือผู้ที่จะต้องรับผิดร่วมกัน เช่น กรณีสามีก่อให้เพื่อนมาข่มขืนภรรยาตน โดยหลอกลวงว่า ภรรยาของตนเองเป็นโรคจิต อยากร่วมเพศกับชายอื่น วันเกิดเหตุ สามีได้บังคับร่วมเพศกับภรรยาต่อหน้าเพื่อน และชักชวนให้เพื่อนร่วมเพศกับภรรยาของตนหลังจากนั้น เมื่อเพื่อนหลงเชื่อโดยสำคัญผิด จึงได้ร่วมเพศกับหญิงดังกล่าว ดังนี้ แม้ศาลจะเชื่อว่าผู้ร่วมข่มขืนนั้นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงคิดว่าหญิงยินยอมโดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่ลงโทษชายดังกล่าวก็ตาม แต่สามีก็หาได้พ้นความรับผิดไป เพียงเหตุเพราะ ผู้ลงมือไม่ต้องรับผิดด้วยแต่ประการใด

ทฤษฎี Complicity นี้ จะแตกต่างกันไประหว่างแนวคิดของ Common Law Jurisdiction กับ MPC Jurisdiction โดยใน Common Law จะแบ่งประเภทของ Accomplice หรือ ผู้ร่วมกระทำผิดเป็น First degree principal, Second degree principle, Accessory before the fact, Accessory after the fact, Innocent Agent และ Conspiracy ซึ่งโดยหลักแล้ว ทฤษฎีเหล่านี้ จะไม่ได้เป็นฐานความผิดหลักในตัวของมันเอง ยกเว้น Conspiracy ซึ่งเป็นฐานความผิดหลักในทางอาญาของตนเอง และ ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดอื่นด้วย ทฤษฎี Complicity จึงเปรียบเสมือนส่วนเติมเต็มให้กับทฤษฎีความผิดในเรื่อง Inchoate Crime เช่น การพยายามการกระทำความผิดที่กล่าวไปแล้ว

ทฤษฎี Complicity ตาม Common Law ประกอบด้วย

1. Principal in the First Degree – คือ บุคคลที่ลงมือกระทำผิดจริง

2. Principal in the Second Degree – คือ บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้ลงมือกระทำผิด

3. Accessory before the fact – คือ บุคคลที่ช่วยเหลือ (aid & abet) ผู้อื่นให้กระทำผิด แต่ไม่ได้ปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ

4. Accessory after the fact – คือ บุคคลที่ช่วยเหลือหลังมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ กฎหมายจะบัญญัติความผิดฐานอื่น ๆ ไว้สำหรับการกระทำประเภทนี้ไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice) อันเนื่องจากบุคคลดังกล่าวได้ทำลายพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ

5.Doctrine of Innocent Agent ซึ่งเป็นการกระทำผิดด้วยตนเอง โดยการใช้บุคคลที่ไม่ต้องรับผิดทางอาญา เช่น เด็กเล็ก (infancy) หรือ คนที่บกพร่องทางสติปัญญา (Insanity) กระทำการผิดแทนตน หรือ ใช้สัตว์ ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของตนเอง เช่นว่า ฝึกสุนัขอย่างดี สามารถสั่งการให้ไปลักทรัพย์ หรือ ทำร้ายศัตรูได้ หรือ การทำให้สำคัญผิดในข้อเท็จจริง เป็นต้น

มีตัวอย่างคดีใน ประเทศอังกฤษ คือ กรณีสามีภรรยา มีเรื่องทะวิวาทกันเป็นประจำ และภรรยาเป็นคนขี้น้อยใจ เมื่อทะเลาะกันแล้ว ภรรยาก็กระโดดลงน้ำฆ่าตัว พร้อมนำลูกไปด้วย สามีก็ไม่ได้ห้ามปราบหรือช่วยเหลือใด ๆ ศาลวินิจฉัยว่า โดยปกติแล้ว ลำพังการปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ อาจจะไม่เพียงพอในการลงโทษจำเลย แต่ถ้าจำเลยมีพันธะหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น กรณีนี้คือ หน้าที่ระหว่างสามีภรรยาที่จะต้องห่วงหาอาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การที่สามีนิ่งเฉยไม่ช่วยเหลือ ฯลฯ จึงอาจถือเป็นการยุยงส่งเสริมให้กระทำผิดได้ ดังนี้ แม้สามีจะนิ่งอยู่เฉย ๆ ก็ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามทฤษฎี complicity

ส่วนตามแนวคิดของ MPC ได้บัญญัติความผิดไว้ตามมาตรา 2.06 ซึ่งกำหนดความรับผิดสำหรับบุคคลที่ได้ช่วยเหลือ หรือ ตกลงจะช่วยเหลือ หรือ พยายามจะช่วยเหลือ ฯลฯ ในวางแผนหรือกระทำผิด เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวกันในรายละเอียดต่อไป

การสมคบ หรือ Conspiracy: เป็นทั้งฐานความผิด และเป็นทฤษฎีกำหนดความรับผิดเพื่อการกระทำของบุคคลอื่น ในกรณีที่เป็นความผิดทางอาญาเพื่อการกระทำของบุคคลอื่นนั้น มีจะมีความแตกต่างกันระหว่าง Common Law & MPC Jurisdiction

1. Conspiracy: ตามแนวคิดของ Common Law นั้น กำหนดไว้ว่า – ต้องเป็นข้อตกลงกันของสองฝ่าย (bilateral) ขึ้นไป ระหว่างบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น ในการกระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือ อาจจะกระทำสิ่งที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย โดยผู้สมควบมี MR ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มุ่งประสงค์จะกระทำผิดตามที่ตกลงกันนั้น

2. ข้อตกลง หรือ Agreement: นั้น ตาม Common Law นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกรณีที่มีการประชุมแล้วเห็นพ้องต้องกันทุกประการ (Meeting of the mind is not required.) ดังนั้น แค่มีการสนทนาต่อกันที่จะกระทำความผิดเท่านั้น , แต่สำหรับ MPC- อาจจะเป็นข้อตกลงฝ่ายเดียว หรือ unilateral agreement ก็ได้ แต่จะต้องมีการกระทำการ overt act ด้วย ความผิดฐานสมคบ ถือเป็นฐานความผิดหลัก (Stand alone conspiracy crime) แยกต่างหากจากการกระทำผิดตามที่สมคบกัน ดั้งนั้น แม้ว่า การตกลงกันระหว่าง ผู้สมคบฝ่ายหนึ่ง กับ อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบมา ก็คือว่าเป็น Agreement ตามแนวคิด MPC ซึ่งแม้ว่าจะตำรวจจะไม่ใช่ผู้ร่วมสมคบ (co-conspirators)

3. ความผิดฐานสมคบ หรือ Conspiracy เป็นฐานความผิดอาญาในตัวมันเอง หรือ Stand alone crime โดยผู้ร่วมสมคบ หรือ co-conspirators โดยตาม Common Law นั้น กำหนดความรับผิดอย่างกว้างขวาง แม้ผู้สมคบจะยังไม่ได้อะไรเลยก็ตาม ผู้สมคบก็ยังจะต้องรับผิดในทางอาญาสำหรับความผิดเพื่อการกระทำของผู้อื่น โดยหลักการก็คือ เมื่อสมคบกันแล้ว การกระทำของคนใดคนหนึ่งในบรรดาของผู้ร่วมสมคบ ถือเป็นการกระทำของทุกคน จะต้องรับผิดฐานสมคบนี้ด้วยเสมอ ซึ่งจะแตกต่างจากการสมคบ ตาม MPC กล่าวคือ หากผู้ร่วมสมคบไม่ได้กระทำการในลักษณะ Overt act เลย ก็ไม่ต้องรับผิดในฐานสมคบด้วย

4. ระดับของ MR – ก็คือจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบแต่ละคน มีความประสงค์ที่จะกระทำความผิดตามที่ตกลงกัน (“at least the mental state required for the object crime.” )

5. เจตนาที่จะกระทำผิดฐานสมคบนั้น จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่รัฐต้องพิสูจน์ และในกรณีที่ความผิดนั้นต้องการผล ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบนั้น มีเจตนาประสงค์ที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นด้วย ***

6. ระดับของ MR ที่ knowledge คือรับรู้ว่า จะมีผู้หนึ่งผู้ใด กระทำผิดอาญาขึ้น ยังไม่เพียงพอในการลงโทษฐานสมคบ ตามหลัก Common law นั้น ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องมีเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ที่เรียกว่า Stake in venture หรือ purpose โดยจะต้องแสดงให้เห็นว่า เขามีส่วนในการช่วยเหลือในการกระทำผิด (aiding or abetting) ตัวอย่างเช่น

a. สามารถควบคุมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้เพื่อช่วยเหลือในการกระทำผิด (Controlled commodities: the material substances of aiding or etc) ;

b. การได้ผลประโยชน์พิเศษ จากการทำให้ราคาสูงขึ้น (Inflated charge) เพื่อจะได้กำไรหรือราคาสูงขึ้นจากการขายสินค้านั้น ๆ

c. มีการเสนอขายสินค้าปริมาณที่มาก (Large proportion of sales) อันเกี่ยวข้องกับความผิดที่ได้กระทำลง

d. ความรุนแรงของความผิดที่ร่วมกันสมคบ (Serious crime):

7. ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ว่า สำหรับความผิดที่ต้องการระดับ MR ที่ recklessly หรือ negligently จะไม่อาจมีการกระทำผิดฐานสมคบกันได้

8. องค์ประกอบความรับผิดทางอาญา นั้น นอกจาก มีส่วนของการกระทำการ (Conduct) และผลของการกระทำ (Result) แล้ว ก็ยังจะต้องมีในเรื่อง ปัจจัยภายนอกที่เป็นองค์ประกอบความรับผิดทางอาญาที่จะต้องมีอยู่ตามฐานความผิดนั้น ๆ ที่เรียกว่า Circumstances สำหรับ MPC แล้ว พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบมีระดับความรู้ถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการกระทำผิดนั้นในระดับ knowledge ด้วย จึงจะสามารถลงโทษผู้ร่วมสมคบนั้นได้ ซึ่งแตกต่างจากในระบบ Common law อย่างสิ้นเชิง

9. ตามระบบ Common law นั้น การสมคบจะเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ เมื่อมีการตกลงกัน ในขณะที่ MPC นั้น ผู้ร่วมสมคบจะต้องมีการกระทำการที่เรียกว่า overt act อันจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ความผิดที่สมคบกันประสบความสำเร็จ ซึ่งการกระทำ overt act ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายใด ๆ เลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นความผิดที่จะกระทำผิดร้ายแรง ที่เรียกว่า สมคบเพื่อกระทำผิด a felony of the first หรือ second degree อาจจะไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เกี่ยวกับ overt act ก็ได้

10. การกระทำที่เรียกว่า overt act ปกตินั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นการที่แสดงออกอย่างเด่นชัด (explicit conduct) ว่าจะกระทำผิดกฎหมาย เพราะบางครั้ง ก็เป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายเลยก็ได้ เพราะ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใหญ่ของการกระทำผิด เป็นต้นว่า การไปจัดหาหรือซื้ออุปกรณ์ที่จะใช้ในการกระทำผิดฐานผลิตเหล้าเถื่อน ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ทั่วไปที่อาจซื้อหาได้

11. ความรับผิดทางอาญา ในกรณีของสมคบนั้น จะมีความผิด 2 ฐานความผิดได้แก่ (1) ความผิดฐานสมคบ ซึ่งเป็นความผิดอาญาในตัวของมันเอง และ (2) ความผิดหลักที่สมคบจะกระทำ หรือ substantive crime… เป็นต้นว่า นาย A ตกลงที่จะปล้นธนาคาร กับ B โดยไม่ได้วางแผนจะฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดเลย โดยนาย A ตกลงว่าจะขับให้กับ B; ก่อนที่ B จะปล้นธนาคารได้ A ก็ถูกจับกุม ดังนี้ A ก็ยังผิดทั้งความผิดฐานสมคบกันปล้นธนาคาร อันเป็น substantive crime และความผิดฐานสมคบเพื่อจะกระทำผิดฐานอื่น ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากว่า A ได้ให้ความช่วยเหลือ B โดยขับรถยนต์ให้กับ B ซึ่งเป็นไปตาม MPC ที่จะต้องมีการกระทำบางอย่างเสียก่อน แต่สำหรับ C/L นาย A ผิดตั้งแต่ตกลงปลงใจจะร่วมกระทำผิดกับ B แล้ว แม้ก่อนจะถึงวันปล้นตามที่ตกลงกัน A ได้ถูกจับติดคุกในข้อหาทำร้ายร่างกายคนอื่นไปแล้ว ความผิดในฐานสมคบก็ยังคงอยู่ ซึ่งเป็นไปตาม หลัก Pinkerton Rule

12. ตาม C/L นั้น กำหนดขอบเขตความรับผิดไว้อย่างกว้างขวาง โดยขอบเขตความรับผิดของ A เพราะการกระทำของ B ยังขยายไปถึงกรณีที่ B ได้ฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายในระหว่างการปล้นนั้นด้วย แม้จะไม่ได้ตกลงกันไว้เลยก็ตาม ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่า ตาม C/L เห็นว่า ผู้ร่วมสมคบ ย่อมสามารถคาดเห็นผลได้ว่าอะไรน่าจะเกิดขึ้นระหว่างการกระทำผิดเช่นว่านั้นด้วย (Co-conspirator is likely to reasonably foreseeable what the probable consequence of such agreement in furtherance of conspiracy. [Pinkerton rule.] )

13. อย่างไรก็ตาม สำหรับ MPC แล้ว เห็นว่า ขอบเขตความรับผิดดังกล่าวกว้างขวางเกินไป ดังนั้น จึงเห็นว่า ลำพังการตกลงกันที่จะเป็นสมาชิกของแก๊งผู้สมคบ เห็นว่า หากผู้ร่วมสมคบไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ความผิดที่สมคบประสบความสำเร็จแล้ว ก็จะไม่มีความผิดใด ๆ ดังนั้น หากผู้ร่วมสมคบ ไปกระทำผิดและก่อให้เกิดผลร้ายอื่น ๆ จะไม่มีผลต่อความรับผิดของผู้ร่วมสมคบด้วย

14. ระยะเวลาของการเป็นผู้สมคบ หรือ จุดจบของ conspiracy.

a. การละทิ้ง (Abandonment) ตาม MPC ก็คือ ผู้ร่วมสมคบทุกคนไม่ได้มีการกระทำอะไรเลย แต่สำหรับ C/L ยังคงเป็นความผิดอยู่ เพราะความผิดฐานสมคบนั้น ผิดสำเร็จทันทีที่ตกลงกัน

b. การถอนตัว หรือ Withdrawal โดยผู้ร่วมสมคบ จะมีผลเฉพาะไม่ต้องรับผิดอาญาภายหลังจากที่ถอนตัวไปแล้ว แต่ยังคงมีความรับผิดสำหรับการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนถอนตัวนั้น .

c. การกลับใจแก้ไข (Renunciation) ตาม C/L จะไม่ถือเป็น defense หากผู้กระทำได้กลับใจแก้ไข แต่สำหรับ MPC ถือเป็น defense หากจำเลยได้กระทำการโดยสมัครใจ และขัดขวางมิให้ความผิดที่สมคบนั้นประสบความสำเร็จ เช่น การแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทราบถึงการสมคบ.

15. สำหรับบุคคลที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองเป็นพิเศษ หรือ บุคคลที่เป็นเหยื่อของอาชญากรรม จะไม่สามารถตกเป็นผู้ร่วมสมคบในการกระทำ เนื่องจาก บุคคลดังกล่าวนั้น ผู้ร่างกฎหมายเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดไว้อันเป็นส่วนประกอบสำคัญในความผิดอาญาฐานนั้น ทั้งนี้ ได้เลือกที่จะลงโทษองค์ประกอบที่มีความผิดน่าตำหนิมากกว่า เป็นสำคัญ

16. การพิจารณาลงโทษนั้น ตาม C/L – รัฐส่วนใหญ่เห็นว่า สามารถลงโทษแบบสะสมโทษ (a cumulative sentence) ได้ เช่น ลงโทษทั้งฐานความผิด conspiracy และฐานความผิดหลัก หรือ underlying crime; แต่สำหรับ MPC ไม่ได้ใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจจะถูกลงโทษได้แบบต่อเนื่องสะสม เพราะความผิดฐาน Conspiracy ก็เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐาน ดังนั้น MPC จึงนิยมใช้หลักการลงโทษโดยใช้ แนวคิดเกี่ยวกับ rule of accomplice liability.

สำหรับทฤษฎีที่สอง ที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ร่วมกระทำผิดแม้จะไม่ได้ลงมือกระทำโดยตรงจะต้องผิดทางอาญาด้วยเสมอ เป็นต้นว่า ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ฯลฯ เป็นต้น โดยจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันระหว่าง C/L และ MPC ที่ได้กล่าวไปแล้วในบางส่วน เช่น ทฤษฎีว่าด้วย Complicity โดยผู้ร่วมกระทำผิด จะเรียกว่า accomplice

ความรับผิดฐาน Accomplice และ Solicitation

1. ตามแนวคิด C/L: จะแบ่งผู้ร่วมกระทำผิดหลายระดับ เช่น (1) principal in the first degree, (2) principal in the second degree: (3) accessory before the fact; and (4) accessory after the fact รวมถึง ผู้ร่วมกระทำผิดประเภทอื่นๆ เช่น การก่อให้ผู้ไม่ต้องรับผิดทางอาญากระทำผิดแทนตน ตามหลัก Innocent Agent เป็นต้น

2. ตามแนวคิดของ MPC: ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งตาม มาตรา 2.06 ความสรุปว่า บุคคลจะต้องรับผิดในฐานร่วมกระทำผิด ก็ต่อเมื่อ 1. ได้ช่วยเหลือ ตกลงว่าจะช่วยเหลือ หรือ พยายามจะช่วยเหลือผู้อื่นในการวางแผนหรือลงมือกระทำผิด 2. การชักชวนให้ผู้อื่นกระทำผิด หรือ 3. การไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในกรณีที่ตนเองมีหน้าที่จะต้องป้องกันมิให้ความผิดเกิดขึ้น

3. ตัวการสำคัญ หรือ Principal คือ บุคคลที่ได้ลงมือกระทำผิด โดยมี physical act ด้วยตนเอง แต่สำหรับ accomplice จะหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่น หรือ กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือตัวการสำคัญในการกระทำผิดกฎหมาย

4. หลักการนี้ แตกต่างจาก conspiracy โดยผู้ร่วมสมคบ อาจจะต้องรับผิดเพราะการกระทำของคนอื่น แม้ว่าบุคคลที่ร่วมสมคบอื่นอาจจะไม่ได้รับการลงโทษก็ได้ แต่โดยทฤษฎีแล้ว ความรับผิดของ accomplice จะมีได้สำหรับความผิดฐานหลัก เมื่อเขาได้ช่วยเหลือ หรือกระตุ้นให้มีการกระทำผิดนั้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ร่วมกระทำผิดหรือ accomplice ไม่อาจจะถูกลงโทษได้ หากว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ลงมือกระทำผิด principal มีความผิดในฐานหลักนั้นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น หากมีการกระทำผิดจริง ๆ ความผิดอาญาก็ได้เกิดขึ้นจริง แต่ผู้ลงมือรอดพ้นจากความผิดเพราะความสำคัญผิดหรือมีข้อแก้ตัวอื่น ๆ ก็หาได้เป็นเหตุให้ผู้ก่อให้ผู้กระทำนั้นรอดพ้นความผิดไปได้ เพราะเป็นคนละคำถามกฎหมายกัน และ ความผิดหลัก็เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว

5. ผู้ช่วยเหลือ หรือ Accomplice: จะต้องมีการกระทำการบางประการ เช่นว่า ช่วยเหลือ (aids & abets) กระตุ้นเร่งเร้า (encourages) หรือช่วยหลือบุคคลอื่นในการกระทำความผิด เป็นต้นว่า บุคคลที่เร่งเร้าหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้กระทำผิดทางอาญาโดยตรง แต่ลำพังการกระตุ้นปลุกเร้าให้กระทำผิด เป็นความผิดฐานนี้ได้ ดังนั้น การปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้กล่าวอะไร หรือปลุกเร้า จึงไม่อาจจะเป็นผู้ร่วมกระทำผิดได้ เว้นแต่จะมีหน้าที่ผูกพันระหว่างกันตามกฎหมายหรือตามประเพณีระหว่างสามีภรรยา ซึ่งต้องดูแลกัน หากสามีปล่อยให้ภรรยาที่ขี้น้อยใจ ฯลฯ ฆ่าตัวตายโดยไม่ห้ามปราม สามีก็อาจจะผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้อื่นกระทำการผิดได้ เช่นนี้ สามีย่อมผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา โดยอาศัยทฤษฎี complicity นี้เอง

6. การกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด (Encouragement) แม้จะไม่ได้ปรากฎตัวในที่เกิดเหตุด้วย ก็ถือเป็นการเพียงพอที่จะต้องรับผิดในฐานะเป็น accomplice ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ลำพังเพียงแค่ปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ โดยปราศจากหลักฐานว่าเขามีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ หรือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระทำผิดแล้วละก็ จะไม่เพียงพอในการลงโทษในฐานะ accomplice ได้

7. การไม่ห้ามปราม ไม่อาจจะถือเป็น accomplice ได้ เว้นแต่ ผู้ไม่ห้ามปรามนั้น มีหน้าที่จะต้องแทรกแซง โดยหน้าที่นั้น อาจจะเป็น affirmative legal duty ตัวอย่างเช่น หน้าที่ระหว่างบิดามารดากับเด็ก บิดาจึงเป็น accomplice สำหรับความผิดละเมิดต่อสิทธิของเด็ก ในกรณีที่มีการทำร้ายร่างกาย (battery) หรือ ละเมิดอื่น ๆ (child abuse) ถ้าบิดา นิ่งเงียบ เมื่อมารดาตีลูกอย่างรุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากบิดามีหน้าที่สำคัญที่จะต้องทำการปกป้องบุตรของตน แต่ไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่

8. ตาม MPC: การพยายามช่วยเหลือในการกระทำผิด ตาม มาตรา 2.06 นั้น ถือเป็นการพยายามช่วยเหลือ แม้ว่าจะไม่มีความผิดหลักเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ลงมือกระทำผิด (principal) กระทำผิดไม่สำเร็จ ในกรณีนี้ ทั้งผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ลงมือกระทำผิด (accomplice & principal) จะต้องรับผิดต่อความผิดฐานหลัก (substantive crime) ที่มุ่งกระทำด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลส่วนใหญ่จะไม่ลงโทษผู้สนับสนุน (accomplice) ในกรณีที่ตัวการ (principal) ไม่ได้ลงมือกระทำความผิดอาญาจริง ๆ [ ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในระบบกฎหมายถือว่า Accomplice เป็นผลผลิต (derivative) ของความผิดอาญาฐานหลัก แต่อย่างไรก็ตาม จำเลยอาจจะมีความฐาน ผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด “solicitation” โดยศาลก็อาจจะลงโทษเขาในฐานะเป็นพยายามกระทำความผิดได้

9. สำหรับ MR นั้น : พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ถึงระดับ state of mind ว่า จำเลย : (1) มีความประสงค์ที่จะช่วย หรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ; (2) และ mental state เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีอยู่ในขณะที่กระทำผิดโดยบุคคลอื่น

10. ระดับ MR – : ที่จะต้องมีสำหรับ Conduct – คือ purpose หรือ ความประสงค์ในการเป็น accomplice ในการกระทำความผิดหลัก (underline crime) ในขณะกระทำ ; ส่วน Circumstance – จะต้องมี MR ในระดับ knowledge ; และ ส่วนของ Result – จะมี MR ในระดับเดียวกับความผิดหลัก (underline crime) ดังนั้น ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องมี purpose เหมือนกันกับ principal ในการกระทำผิดเดียวกัน , และส่วนของ circumstances ผู้ช่วยเหลือจะต้องมี knowledge ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบที่จะต้องมีตามองค์ประกอบความผิดตามความผิดนั้น

11. ในกรณีที่ความผิดนั้น ต้องการ MR ในระดับ recklessness หรือ negligent เช่น การขับรถโดยประมาทแล้วก่อให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ดังนั้น ถ้าจำเลยให้ผู้อื่นยืมรถยนต์ไปขับ และเขาทราบดีว่าคนที่ยืมไปนั้น อยู่ในสภาพมึนเมาสุรา หากผู้ขับขี่รถยนต์ที่เมานั้น ขับรถยนต์ชนคนเดินข้ามถนนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ให้ยืมรถยนต์ไป ก็จะต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตาย (manslaughter) ตามทฤษฎี complicity ด้วย เนื่องจากความผิดฐานนี้ ต้องการผล (result) กล่าวคือ ความตายของผู้อื่น สำหรับความผิดที่ต้องการผลลัพท์ ในส่วนของ MR ก็จะต้องมีในสำหรับผลแห่งการกระทำผิดในความผิดหลัก (underline crime)ในระดับเดียวกัน ดังนั้น ความผิดฐาน manslaughter พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ว่า ผู้ให้ยืมรถยนต์ จะต้อง MR ในระดับ recklessness ในระดับเดียวกับผู้ขับขี่ที่เมาสุรานั้น ส่วน MR ในส่วนของ conduct นั้น จำเลยที่ให้ยืมรถยนต์แก่ผู้ขับขี่ จะต้องมีเจตนา (purpose) กล่าวคือ จำเลยทราบดีในขณะนั้นว่า ผู้ที่ยืมรถยนต์นั้น อยู่ในภาวะมึนเมา แล้วยังมีเจตนาให้เขายืมรถยนต์ไปอีก

12. ขอบเขตความรับผิดของ Accomplices – ตาม Common law นั้น ได้สร้างความผิดเพิ่มเติมสำหรับผู้ร่วมกระทำผิด เพื่อการกระทำของของผู้ลงมือกระทำผิด (principal) ผู้อื่น ตามหลักการที่ว่า : หากผู้ร่วมกระทำผิดนั้น สามารถคาดเห็นผลลัพท์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติของการกระทำนั้น (Natural and probable result) ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัด สำหรับผลที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นด้วย แม้จะไม่ได้ทำการตกลงกันไว้ล่วงหน้าก็ตาม ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่า ผู้ลงมือกระทำผิด (principal) อาจจะกระทำผิดอย่างอื่น ๆ ไม่เพียงเท่าที่ตกลงกันที่จะช่วยเหลือ หรือสิ่งที่เขาได้กระตุ้นให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ผู้ลงมืออาจจะกระทำผิดอื่น ๆ อีก ระหว่างที่ทำผิดอาญาที่ตกลงกันนั้นด้วย ดังนี้ ผู้ร่วมกระทำผิด (accomplice) จะต้องรับผิดสำหรับการกระทำผิดอาญาดังกล่าวด้วย โดยสรุป ความรับผิดทางอาญาจะเกิดขึ้น ถ้า : (1) ความผิดที่ผู้ลงมือได้กระทำในภายหลังนั้น มีลักษณะเป็นผลที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือ ‘natural and probable’ consequence แม้ว่า ผู้ร่วมกระทำผิดจะไม่ได้มีเจตนาหรือตกลงจะกระทำผิดดังกล่าวเลยก็ตาม และ (2) ผู้ลงมือ (principal) ได้กระทำผิดอาญาอื่น ๆ เพิ่มเติมจากการกระทำความผิดดั้งเดิมที่มุ่งประสงค์จะช่วยเหลือ ทั้งนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นในภายหลัง (additional crime) จะต้องเป็นสิ่งที่ผู้ร่วมกระทำผิด สามารถคาดเห็นได้ด้วยอย่างสมเหตุสมผล (Durham rule)

13. อย่างไรก็ตาม MPC ได้ปฏิเสธ กฎของ Durham Rule ตามแนวคิดของ Common Law อย่างสิ้นเชิง โดย MPC ได้กำหนดให้ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องรับผิดเฉพาะผลของความผิดอาญาที่ผู้ร่วมกระทำผิดมุ่งประสงค์จะช่วยเหลือ หรือที่ได้ยั่วยุ ชักชวน หรือ กระตุ้นให้เขากระทำผิดเท่านั้น กล่าวง่าย ๆ ก็คือ รับผิดเท่าที่มีความประสงค์

14. ความผิดสำหรับ principal: หลักการทั่วไป ตัวผู้ร่วมกระทำผิด หรือ accomplice ไม่อาจรับผิดได้ หากพนักงานอัยการไม่อาจจะพิสูจน์ให้เห็นว่า บุคคลที่เป็น principal ได้ถูกพิพากษาว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดในความผิดอาญาหลัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ศาลได้พัฒนาแนวคิดใหม่ โดยวางหลักว่า ตัวที่เป็นผู้ลงมือกระทำผิด หรือ principal ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดทางอาญาก็ได้ ตัวอย่างเช่น นาย A ได้ช่วยเหลือนาย B ในการปล้นธนาคาร แต่นาย B ไม่เคยถูกจับมาดำเนินคดีเลย นาย A ก็ยังสามารถถูกพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำผิดในฐานปล้นธนาคาร โดยเป็น accomplice สำหรับความผิดหลักในฐานปล้นทรัพย์

15. การยกเลิก หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ร่วมกระทำผิด (Withdrawal by the accomplice): โดยปกติ การยกเลิกฯ จะไม่ใช่ defense หากจำเลยไม่ได้กระทำการใด ๆ ให้ความผิดที่มุ่งประสงค์จะช่วยเหลือฯ นั้นสิ้นผลไป แนวคิดกฎหมายอเมริกา จะให้ defense สำหรับการถอนตัวและพยายามทำให้ความผิดสิ้นผลไป (renunciation) หากจำเลยได้ทำให้การกระทำผิดนั้นสิ้นผลไป ตามแนวคิด common law แต่สำหรับ MPC การแจ้งตำรวจให้ทราบถึงการกระทำผิดดังกล่าว ก็จะถือว่า ได้ defense แล้ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การ renunciation จะไม่ครอบคลุมไปถึงความผิดอาญาที่ได้กระทำไปแล้ว

16. เหยื่ออาชญากรรม และ ข้อยกเว้นสำหรับความผิดฐาน complicity เช่น หญิงที่อายุต่ำกว่าที่กำหนด ยินยอมให้ผู้อื่นร่วมเพศด้วย หญิงจะไม่มีความผิดฐาน ตามทฤษฎี complicity แม้จะพบว่า แท้จริงแล้ว หญิงนั้น ได้กระตุ้นหรือช่วยเหลือให้จำเลยกระทำผิดในความผิดฐานข่มขืนเด็กฯ ด้วยก็ตาม

17. ความผิดกรณีชักชวนหรือก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด (Solicitation): สำหรับ C/L ความผิดเพราะ solicitation จะเกิดขึ้น หากบุคคลนั้นได้เรียกร้อง ขอร้อง หรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด ไม่ว่าอีกฝ่ายที่ถูกชักชวนฯ จะตกลงกระทำผิดด้วยหรือไม่ก็ตาม บุคคลที่ชักชวนบุคคลอื่น อาจจะถูกลงโทษแม้ว่า ถึงแม้ว่าบุคคลที่ถูกร้องขอให้กระทำผิดนั้น จะไม่ได้มีมีการกระทำที่จะมุ่งไปสู่การกระทำผิดอย่างเปิดเผยก็ตาม (No affirmative act required).

18. การถอนตัวและทำให้สิ้นผล (Renunciation) : จะเป็น defense ของ accomplice (ซึ่งจะต้องไม่ใช่เป็น conspiracy crime (C/L)) แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง C/L และ MPC จะเป็น defense ก็ต่อเมือ จำเลยไม่ได้กระทำการใด ๆ ทำให้ substantive crime สิ้นผลไป ใน C/L จำเลย จะต้องกระทำการทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น เอาปืนกลับมา (หลังจากมอบไปแล้ว) และการกระทำผิดอื่น โดยจะต้องดำเนินการภายในเวลาอันสมควร ส่วน MPC นั้นได้ทำให้ง่ายขึ้นโดยการกำหนดให้ ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องแจ้งตำรวจให้ทราบ ก็จะได้ defense แล้ว

19. โปรดระลึกเสมอว่า ใน Common Law นั้น จำเลยสามารถถูกพิพากษาว่ากระทำผิดฐาน conspiracy และการกระทำผิดานหลัก รวมถึงวามผิดอื่น ๆ ซึ่งอาจจะคาดเห็นได้ว่าจะอาจขึ้นโดยธรรมดา. อย่างไรก็ตาม จำเลยไม่อาจจะถูกพิพากษาให้กระทำผิดตาม accomplice เนื่องจากผู้ช่วยเหลือกระทำผิดหรือ accomplice นั้นไม่ได้เป็นความผิดหลักในตัวมันเอง แต่มันเป็นเพียงทฤษฎีในการอธิบายว่า บุคคลที่แม้ไม่ได้ลงมือกระทำผิดโดยตรงด้วยตนเองก็ตาม

ความผิดบางประการ ตาม MPC

ความผิดฐานฆาตรกรรม และความผิดต่อร่างกายของบุคคล

1. ความผิดฐานฆ่าคนตาย หรือ Homicide: จะมีสาระสำคัญ ได้แก่ ระดับความผิด (grading of homicide) ซึ่งจะแบ่งเป็น (1) การเจตนาฆ่า (murder) และ (2) ฆ่าคนตายโดยไม่ได้มีเจตนาฆ่าโดยตรง (manslaughter) แต่มีเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ

2. การฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือ Murder อาจจะแบ่งได้เป็น (1) ฆ่าคนตายในระดับร้ายแรงสุด ได้แก่ first degree murder – เช่น การฆ่าคนตายโดยคิดและตัดสินใจโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (premeditation and deliberation) หรือฆ่าคนตายในระหว่างการกระทำอาญาร้ายแรง และ (2) ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน คือ second degree murder – ซึ่งกรณีนี้ เป็นกรณีที่ไม่ต้องมีไตร่ตรอง (premeditation and deliberation) นาการกระทำผิดอื่น ๆ .

3. ความผิดฐาน Manslaughter แบ่งได้เป็น 2 ประเภท (1) การฆ่าคนตายโดยสมัครใจ ได้แก่ voluntary manslaughter – ซึ่งกรณีนี้ จะเป็นฆ่าคนตาย เพราะอยู่ในภาวะกดดัน (Heat of Passion) ไม่ได้จงใจจะฆ่าคนตาย และ(2) กรณี involuntary manslaughter – นั้น ต้องการ MR ในระดับ recklessly หรือ negligently ในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาทอย่างร้ายแรง

4. สำหรับ Common Law อาจจะแบ่ง Murder ได้เป็น 4 ประเภท :

a. เจตนาฆ่าผู้อื่น Intent-to-kill murder;

b. เจตนาฆ่าผู้อื่น โดยก่อให้เกิดการทรมาน หรือ Intent-to-commit-grievous-bodily-injury murder;

c. การกระทำผิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือ Depraved heart (เช่น การที่จำเลยเอาปืนไปเล่น แล้วให้เพื่อนเล่นรัสเซียนรูเล็ต โดยผู้ที่หยิบยื่นปืนให้ ทราบว่า มีลูกปืนและหากลั่น ก็จะต้องมีคนเสียชีวิตอย่างแน่นอน เช่น การกระทำที่ประเภทไม่สนใจใยดีในชีวิตมนุษย์ หรือ reckless indifference to the value of human life’ และ

d. ความผิดฐานฆ่าคนอื่นให้ตาย เพราะกระทำผิดอาญาร้ายแรงอื่น ๆ ได้แก่ Felony-murder, เช่น การฆ่าคนอื่นตาย โดยความตายเกิดขึ้นระหว่างการกระทิดอาญาร้ายแรง felony.




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:44:30 น.
Counter : 2590 Pageviews.  

Advanced Criminal Law : ส่วนที่สอง

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
JSD University of Illinois



ส่วนที่ ๒ ความรับผิดทางอาญา
Criminal Liability

ในส่วนนี้ จะประกอบด้วย ความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของตนเอง และความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของบุคคลอื่น โดยมีเนื้อหาและหลักเกณฑ์พอสังเขป ดังนี้

ความรับผิดทางอาญา เพื่อการกระทำของตนเอง

ในเรื่อง โครงสร้างความรับผิดทางอาญานั้น ได้มีการอธิบายไว้หลายแนวทางด้วยกัน เช่น ตามทฤษฎีของกฎหมาย Common Law จะบัญญัติโครงสร้างความรับผิดทางอาญาไว้ เป็นต้นว่า จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ อย่างน้อย ๒ ประการได้ แก่ องค์ประกอบในส่วนของการกระทำ หรือ Actus Reus (AR) กับ องค์ประกอบในส่วนของจิตใจ หรือ Mens Rea (MR)

แนวคิดข้างต้น จะแตกต่างจากโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของเยอรมัน โดยมีแนวคิดว่า บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อ (๑) มีการกระทำที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดทางอาญาไว้อย่างชัดเจน (๒) มีการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดนั้น และ (๓) การกระทำนั้น มีลักษณะที่เข้าองค์ประกอบที่เรียกว่า ความชั่ว หากไม่มีความชั่ว แม้จะมีการกระทำครบองค์ประกอบ ตาม (๑) และ (๒) บุคคลก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาแต่ประการใด เป็นต้น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับเอาแนวคิดทางกฎหมายอาญา มาจากประเทศอังกฤษ แต่ก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป เนื่องจาก ในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาสามารถสร้างหลักกฎหมายและประกาศกำหนดว่าการกระทำใดถือเป็นความผิดอาญาได้ด้วย ในลักษณะ Judge made law แต่ หลักการดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกา ยึดมั่นในหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ Separation of Powers และหลัก Principle of Legality โดยบัญญัติชัดแจ้งให้องค์กรนิติบัญญัติเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายมาบังคับใช้ ในขณะที่ศาล มีอำนาจหน้าที่ในการใช้และแปลความกฎหมายกับคดีที่เกิดขึ้น รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาว่า กฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ Judicial review ซึ่งเป็นต้นแบบให้นักศึกษากฎหมายทั่วไปได้ศึกษาเหตุผลที่ศาลสูงสุดอ้างอำนาจในการตรวจสอบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาว่า ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ (Constitutionality) หรือไม่

ปัจจุบัน ศาลในอเมริกา จึงไม่อาจจะใช้อำนาจในลักษณะ Judge made law ได้ ในระยะแรกนั้น ด้วยเหตุที่มลรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับเอา Common Law มาเป็นตัวแบบ ผู้พิพากษาจึงได้สร้างกฎหมายที่แตกต่างกัน ไม่เป็นเอกภาพ ทำให้ กลุ่มผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความ และนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง รวมตัวเป็น American Law Institute (ALI) เพื่อจัดทำร่างประมวลกฎหมายอาญาขึ้น รู้จักกันในนามของ Model Penal Code (MPC) โดยพยายามสรุปหลักการกฎหมายและสร้างกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนและง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบให้มลรัฐต่าง ๆ นำไปใช้เป็นต้นแบบในการบัญญัติกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบัน มีประมาณ ๓๕ มลรัฐได้ยอมรับเอา MPC เป็นต้นแบบในการบัญญัติกฎหมายอาญาภายในรัฐ ในขณะที่รัฐอื่น ๆ รวมถึง ศาลในระดับรัฐบาลกลางและศาลสูงสุด ยังยอมรับเอา Common Law แบบผสมผสาน ในการใช้ ตีความ และวินิจฉัยคดี

กล่าวโดยสรุป ปัจจุบัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการดำเนินคดีอาญาทั้งตามแนวคิดของ Common Law และ ตาม MPC การเป็นนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา จึงจะต้องทราบว่า มลรัฐที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่นั้น อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายใด ระหว่าง Common Law หรือ MPC

ตามแนวคิดของ Common Law นั้น องค์สร้างความรับผิดทางอาญา จะประกอบด้วย ๒ องค์ประกอบ ได้แก่ มีการกระทำ (Actus Reus) และ จะต้องมีองค์ประกอบในส่วนของจิตใจ (Mens Rea) แต่ตามแนวคิด Common Law ไม่ได้ระบุหรืออธิบายไว้เกี่ยวกับข้ออ้างข้อแก้ตัว ไว้ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาด้วย แต่ตามแนวคิดของ MPC นั้นได้ นอกจากจะต้องมี องค์ประกอบในส่วนของ Actus Reus และ Mens Rea แล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นต้นว่า การกระทำนั้น จะต้องไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวใด ๆ ตามกฎหมาย และ มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำด้วย กล่าวโดยสรุป โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามแนวคิดของ MPC จะประกอบด้วย (1) การกระทำที่สมัครใจ หรือ voluntary act - AR (2) มีเจตนากระทำผิด หรือ culpable intent – MR (3) ไม่มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัว หรือ No excuse & justification และ (4) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำ หรือ causation of harm and act

คำถามที่ตามมา คือ อะไร ที่ถือเป็นการกระทำในสายตาของกฎหมายอาญา

ในส่วนของ AR นั้น จะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ หรือ Voluntary act ซึ่งจะต้องไม่ใช่แค่ความคิด (Mind) แต่จะต้องมีการกระทำการโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย ตามที่คิดและตัดสินใจ โดยในส่วนของการกระทำนี้ จะต้องมีลักษณะที่เพียงพอ ทั้งทางคุณภาพ (Qualitative) และ ปริมาณ (Qualitative) นอกจากนี้ คำว่า การกระทำ หรือ ยังรวมถึงการงดเว้นการกระทำเพื่อป้องกันผลด้วย – สำหรับการงดเว้นการกระทำที่จะต้องมีความรับผิดทางอาญานั้น จะต้องพิจารณาหน้าที่ที่มี ซึ่งอาจจะเกิดจากหน้าที่ตามกฎหมาย (legal duty) ที่กำหนดไว้ให้สามีภรรยามีหน้าที่ดูแลซึ่งกันและกัน บุตรกับบุพการี มีหน้าที่ต้องดูแลกันและกัน หน้าที่ตามสัญญา (contract) หรือ หน้าที่ที่เกิดจากการกระทำของตนซึ่งไม่ได้ทำให้ลุล่วงและอาจจะก่อให้เกิดภยันตรายขึ้นได้ เพราะการกระทำไม่ลุล่วงนั้น (former danger action caused by the accused) เช่น การจูงคนตาบอดข้ามถนนแล้วปล่อยให้อยู่กลางถนนไม่ทำไปให้สำเร็จลุล่วง แล้วเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนคนตาบอดนั้นถึงแก่ความตาย ดังนี้ บุคคลที่เป็นผู้ก่อพันธะไว้ในเบื้องต้นแล้วไม่ทำให้บรรลุ ย่อมต้องรับผิดทางอาญาไปด้วย

ในสหรัฐอเมริกา มีคดีตัวอย่างเช่น ภรรยา ทราบดีว่า สามีต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ แต่ภรรยาละเลยไม่ยอมดูแล ทำให้สามีถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ภรรยาย่อมต้องรับผิดในความตายของสามีโดยการงดเว้นกระทำการด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวคิดที่แตกต่างกันไป เช่น บางมลรัฐระบุว่า การที่จะกำหนดความรับผิดทางอาญา เพราะงดเว้นการกระทำการนั้น จะเกิดขึ้นได้แต่โดยการที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ชัดเจนเท่านั้น ซึ่งในทางกฎหมายประเพณีกำหนดไว้กว้างขวางกว่า แต่ก็ไม่ได้กว้างขวางเกินความจำเป็น เช่น กรณีหน้าที่ระหว่างสามีภรรยา หากภรรยาประสงค์จะดูแลสามีที่เจ็บป่วย แต่สามีฝ่าฝืนไม่ได้กินยาตามที่ภรรยาจัดการให้ เพราะประสงค์จะตายอย่างสงบ ภรรยาก็พยายามทุกทางแล้วจะให้สามีกินยารักษา เช่นนี้ ภรรยาย่อมไม่มีความรับผิดทางอาญา สำหรับความตายของสามีของตนเอง

อีกกรณีหนึ่ง ชายได้ไปเที่ยวตามสถานบริการ แล้วได้พาหญิงรักสนุกกลับมานอนที่บ้านด้วยระหว่างที่ภรรยาของชายนั้นไปเยี่ยมญาติ ๒ วัน ในระหว่างที่มีกิจกรรมทางเพศด้วยกัน หญิงสาวก็ได้เสพสารเสพติดเข้าไปในร่างกายโดยชายห้ามปรามแล้ว แต่หญิงไม่ฟัง จึงได้สลบไป เมื่อใกล้จะถึงเวลาที่ภรรยาของตนจะกลับบ้าน ชายจึงได้นำหญิงที่ที่สลบไม่ได้สติไปฝากให้เพื่อนดูแล ปรากฎว่า หญิงเสพยาเกินขนาดถึงแก่ความตาย ดังนี้ จึงมีคำถามว่า ใครจะต้องรับผิดทางอาญาเพื่อความตายของหญิงผู้นี้หรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ เพราะ ลำพังเพียงการอยู่ด้วยกันชั่วคราวโดยไม่มีหน้าที่จะต้องดูแลต่อกันในลักษณะนี้ และผู้ที่นำหญิงมา ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะอันตรายเช่นว่านั้นแล้ว ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องดูแลหญิงดังกล่าว

ส่วนการกระทำที่ว่าจะต้องมีลักษณะเพียงพอทั้ง ปริมาณและคุณภาพนั้น หมายถึง จะต้องมีการกระทำในความหมายของกฎหมายอาญาจริง ๆ ไม่ใช่เพียงความคิด หรือ การตระเตรียมการ ที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง แต่การกระทำบางประการ แม้จะไม่ยังไม่ถือเป็นการกระทำความผิดกฎหมาย แต่โดยลักษณะการกระทำประกอบกับพฤติการณ์เฉพาะตัวของผู้กระทำแล้ว รัฐก็อาจจะมีบทบัญญัติกำหนดไว้เป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยได้

ในส่วนของจิตใจ มีขอบเขตเพียงใด

หากพิจารณาตามคำอธิบายของไทย ในส่วนของจิตใจ จะอธิบายไว้ว่า ผู้กระทำจะต้องมีความรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อ กระทำโดยเจตนาเป็นสำคัญ หากไม่ได้มีเจตนา ก็จะต้องกระทำโดยประมาท แต่การกระทำโดยประมาทนั้น จะต้องมีกำหนดไว้โดยกฎหมายให้ต้องรับผิดทางอาญาอย่างชัดเจน หรือ บางกรณี อาจจะไม่ต้องมีเจตนาเลยก็ต้องรับผิดทางอาญา หากกำหนดให้ต้องรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict Liability) เช่น ความผิดในหมวดลหุโทษเป็นต้น

ในแนวคิดของอเมริกันนั้น ในส่วนของจิตใจ หรือ MR หรือ culpable state of mind จะกำหนดระดับของ state of mind ไว้หลายระดับ และหลายประเภท เช่น ตาม Common law ได้กำหนดระดับเจตนาไว้ ๒ ระดับได้แก่ Specific intent กับ General Intent ซึ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยส่วนใหญ่ จะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้กระทำผิด จะต้องมีระดับ state of mind ในระดับใดระหว่าง specific intent หรือ general intent เพราะโดยส่วนใหญ่ จะไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้กระทำผิดนั้น MR ในระดับใด กันแน่ แต่นักกฎหมาย จะต้องตรวจสอบจากคำพิพากษาเก่า ๆ ว่า ศาลแปลความระดับ MR นั้นอย่างไร ส่วนแนวคิด MPC ได้กำหนดระดับของจิตใจไว้ ๔ ประเภท ได้แก่ Purpose, Knowledge, Recklessness และ Negligent โดยในมลรัฐที่รับเอา MPC ไปใช้ จะมีการบัญญัติถ้อยคำ MR ไว้อย่างชัดแจ้ง และในกรณีที่ไม่ได้บัญญัติ MR ไว้ว่าหมายถึงระดับใด ตาม MPC ก็ได้บัญญัติไว้ว่า พนักงานอัยการมีหน้าที่พิสูจน์ MR ในระดับ recklessness เป็นระดับต่ำสุด

สำหรับ Common law นั้น ได้บัญญัติระดับ mental state ไว้เป็น ๒ ระดับ ได้แก่ Specific Intent กับ General Intent ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับ MPC แล้ว อาจจะเปรียบเทียบได้ดังนี้ Purpose & Knowledge เท่ากับ Specific intent ส่วน General intent นั้น อาจจะเปรียบได้กับ Recklessness & Negligence มีคดีตัวอย่าง เช่น ในกรณีกลาสีเรือ ชอบดื่มเหล้า จึงได้ขึ้นไปบนเรือขนเหล้ารำ แล้วก็ได้สูบบุหรี่ แล้วเกิดไฟไหม้เรือขนสินค้านั้นจนหมด พนักงานอัยการฟ้องชายผู้นี้ว่าเจตนาวางเพลิง ซึ่งพนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ว่า เขามี Specific intent แต่ข้อเท็จจริงว่า เขาไม่ได้มีเจตนาวางเพลิง แต่เป็นอุบัติเหตุ ดังนี้ หากพนักงานอัยการต้องการจะให้ศาลลงโทษจำเลยผู้นี้ ฐานวางเพลิง ก็จะต้องพิสูจน์ว่าเขามี specific intent ในการวางเพลิงด้วย หากพิสูจน์ไม่ได้ คดีก็ต้องยกฟ้องไปเป็นต้น

นอกจากนี้ การวิเคราะห์เกี่ยวกับข้ออ้าง หรือข้อแก้ตัว ตามกฎหมาย common law ในกรณีที่เกี่ยวกับ การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง การสำคัญผิดในข้อกฎหมาย และ การเมาสุรา ระดับ MR ข้างต้น ก็จะทำให้ defense เหล่านั้น แตกต่างกันไป

a. การเมาสุรา หรือ Intoxication: ไม่อาจจะอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิด ในความผิดที่ต้องการ general intent แต่ในความผิดที่ต้องการ specific intent ก็อาจจะอ้างเป็น defense ได้ ถ้าหากการมึนเมานั้น ถึงขนาดจะไม่อาจจะมี MR ได้เลย

b. ความสำคัญผิด หรือ Mistake: เช่น กรณีสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือ Mistake of fact หากผู้สำคัญผิดนั้นมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ (Honest believe) จนทำให้ specific intent ไม่อาจจะมีได้ ย่อมเป็น defense ได้ แต่สำหรับกรณีความผิดที่ต้องการ general intent ความสำคัญผิดนั้น จะต้องประกอบด้วย ทั้ง Honest belief และ reasonableness ของความสำคัญผิดเช่นว่านั้น

c. ความสำคัญผิดในข้อกฎหมาย หรือ Mistake of law: โดยทั่วไปแล้ว ความสำคัญในข้อกฎหมายในส่วนที่เป็นโทษทางอาญา หรือ Mistake of criminal law ไม่มีกล่าวอ้างความสำคัญผิดให้พ้นผิดได้ แต่สำหรับความสำคัญผิดในกรณีที่ที่ไม่ใช้กฎหมายอาญา (non-criminal law) ผู้สำคัญผิดจะได้ defense หรือไม่ จะมีลักษณะเดียวกับ ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ตามแนวคิดของ MPC ได้กำหนดนิยามของ MR - state of mind ไว้ ดังนี้

a. Purpose: คือ การกระทำที่ประสงค์ต่อผล โดยรู้สำนึกในการกระทำนั้น หรือ การก่อให้เกิดผลตามที่มุ่งประสงค์ (to cause the particular result)

b. Knowing: เป็นกรณีที่ ผู้กระทำไม่ได้มุ่งจะก่อให้เกิดผลเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่เขาได้รู้ว่าจะมีผลบางประการเกิดขึ้นอย่างแน่แท้จากการกระทำของเขา (Aware of the certainty of result will occur from such conduct.)

สำหรับแรงจูงใจ หรือ Motive ไม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการวิเคราะห์ว่า การกระทำนั้น ได้กระทำโดย purposely” หรือ “intentionally” หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สามี จะต้องมีความรับผิดฐานฆ่าภรรยาของตนเอง หากได้ปล่อยให้ภรรยาตาย หลังจากที่ต้องทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งมานาน ไม่ว่าสามีจะมีเจตนาดีเพียงใด หากได้มีส่วนก่อให้เกิดความตายของภรรยา ก็ย่อมต้องรับผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจหรือมูลเหตุบางประการ ก็อาจจะทำให้ผู้กระทำพ้นความรับผิดได้ เช่น กรณี การป้องกันตนเอง(Self-defense), หรือ เหตุจำเป็นต้องกระทำ ( necessity )

c. Reckless: บุคคลที่กระทำการโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือ “recklessly” หาก บุคคลนั้นได้กระทำโดยไม่สนใจว่าจะมีภยันตรายอย่างร้ายแรงที่เขาควรจะคาดเห็น (Consciously disregards a substantial and unjustified risk.) ซึ่งเป็นไปตาม MPC มาตรา 2.02(2). – หมายถึงการกระทำที่เบี่ยงเบนอย่างร้ายแรงจากมาตรการของการกระทำของบุคคลทั่วไปที่พึงเคารพกฎหมาย บุคคลนั้นได้ รู้ถึงภยันตรายนั้น ตามหลักภาวะวิสัย แต่บางศาลก็อาศัยปัจจัยทางอัตตะวิสัยในการวิคราะห์ ความรับรู้ถึงความเสี่ยงหรือภัยดังกล่าว ในการที่จะบุคคลว่า บุคคลนั้น ได้มี MR ในขั้น recklessness หรือไม่

d. Negligent: สำหรับ MR ในระดับนี้ ผู้กระทำ ไม่อาจจะคาดเห็นหรือมีความรับรู้ในภยันตรายได้ ในขณะที่บุคคลทั่วไป ควรสามารถคาดเห็นได้

e. สำหรับ ความรับผิดเด็ดขาด หรือ Strict liability นั้น : เป็นกรณีที่ กฎหมายไม่คำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดจะมี MR หรือไม่ หากมีการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมมีความผิด แม้ผู้กระทำจะไม่ได้มีเจตนา หรือ ไม่มี MR ในระดับใดเลยก็ตาม

f. การสำคัญผิดเกี่ยวกับประเภท หรือ ระดับความผิด (Grading): คือ การสำคัญผิดว่า สิ่งที่ตนเองกระทำไป ไม่มีความผิด หรือ เป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง ความสำคัญผิดนี้ ไม่อาจจะใช้อ้างเป็น defense เพื่อยกเว้นความรับผิดได้ ในเกือบทุก ๆ มลรัฐ แต่ สำหรับ MPC ได้กำหนดให้ผู้กระทำต้องรับผิดเพียงเท่าที่ผู้กระทำมี MR เช่น การลักทรัพย์โดยคิดว่า ตนเองลักทรัพย์ราคาน้อย แม้จะปรากฎว่า ทรัพย์นั้นมีราคาสูง ซึ่งจะระดับความผิดแตกต่างกันไป ในรัฐที่ใช้ MPC จะยอมรับให้ผู้ต้องหา อ้างความสำคัญผิด มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้รับโทษเฉพาะความผิดที่ตนเองประสงค์จะกระทำเท่านั้น

g. MPC: กำหนดว่า การสำคัญในข้อเท็จจริง หรือ mistake of fact ไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่มีเหตุผล (reasonable) เว้นแต่ ความผิดนั้น มีระดับ MR ที่ negligent หรือ reckless หากการสำคัญผิดไม่ได้เกิดจากความประมาทหรือความผิดของผู้กระทำเอง กล่าวคือ ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อเช่นนั้นได้ ก็จะอ้างความสำคัญผิดเป็น defense ไม่ได้ .

h. ความสำคัญในข้อกฎหมาย หรือ Mistake of law: โดยทั่วไป ไม่ใช่ defense โดยเฉพาะความสำคัญผิดในกฎหมายอาญา แต่ถ้าเป็นการสำคัญผิดในข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายอาญา หากความสำคัญผิดนั้น มีลักษณะ honestly และ สามารถทำลาย intent อันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา ก็อาจจะอ้างเป็น defense ได้

ความรับผิดทางอาญา (Responsibility)

1. ความเมาสุรา Intoxication: หากเป็นการมึนเมา โดยความสมัครใจของตนเอง ไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดใด ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากฐานความผิดนั้น ต้องการ MR ในระดับ specific intent ผู้กระทำผิดก็อาจจะอ้างว่า ตนเองเมาสุราจึงไม่อาจจะมี intent ได้ เพื่อจะได้รับ defense

2. MPC มาตรา 2.08(1) ก็อนุญาตให้จำเลยได้แสดงว่า เพราะเขาเมาสุรา นั้น ทำให้เขาไม่สามารถมี mental state หรือ MR ได้เช่นเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเมาสุราโดยสมัครใจไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ แต่หากว่า เมาเสียจนไม่อาจจะมี MR ได้ ก็อาจจะได้รับ defense ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมึนเมานี้ จะไม่อาจจะใช้เป็นข้อแก้ตัวได้เลย ในความผิดที่กระทำโดยประมาทอย่างร้ายแรง (recklessness) โดยกฎหมายไม่ถือว่า การเมาสุราเป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาว่าจะต้องรับผิดหรืไม่ในโครงสร้างความรับผิดทางอาญาเลย

ข้ออ้าง และ ข้อแก้ตัว (Justification and Excuse)

1. หลักการทั่วไป : ข้ออ้าง และข้อแก้ตัวนี้ เป็น defense ที่จะทำให้จำเลยพ้นความผิดได้ แม้ว่าจำเลยจะได้กระทำตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญานั้น ๆ แล้วก็ตาม ตัวอย่างของข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวได้แก่

a. การอยู่ในภาวะกดดัน หรือ duress;

b. ความจำเป็น หรือ necessity

c. การป้องกันตนเอง หรือ self-defense

d. การป้องกันสิทธิของบุคคลอื่น หรือ defense of others;

e. การป้องกันสิทธิในทรัพย์สิทธิ์ หรือ defense of property;

f. การกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือ law enforcement;

g. ความยินยอม consent;

h. การรักษาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย Domestic ( maintenance of domestic authority;

i. การถูกล่อให้กระทำผิด หรือ entrapment.

2. การให้กล่าวอ้างข้อแก้ตัวนี้ MPC ยังอนุญาตให้สามารถกล่าวอ้างได้ แม้จะสำคัญผิดในข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นด้วย หากว่า จำเลยมีความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ แม้จะไม่สมเหตุผล ว่ามีข้อเท็จจริงที่ทำให้กล่าวอ้างข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นได้ แต่ถ้าความผิดพลาดดังกล่าว เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าจะร้ายแรง (recklessly) หรือ ประมาททั่วไป (negligently) จำเลยก็ไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้

3. องค์ประกอบของ Duress: ภายใต้กฎหมาย common law ได้แก่ (1) การมีภยันตราย (Threat); (2) ความรู้สึกกลัวของผู้ถูกข่มเหง (Fear); (3) ภัยนั้นใกล้จะเกิด (imminent danger); (4) ต่อชีวิตร่างกาย (bodily harm (death or serious bodily injury)) หากเข้าองค์ประกอบ แล้วจำเลยได้กระทำผิดลงไป ย่อมอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ ยกเว้น การอ้าง Duress ในกรณีฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย ไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้

4. องค์ประกอบของ Duress: ภายใต้ MPC: จะมีลักษณะที่แตกต่างจาก Common law บางประการ โดย MPC จะให้เป็น defense ก็ต่อเมื่อภยันตรายที่มีนั้นมีความร้ายแรงพอถึงขนาดทำให้ ‘a person of reasonable firmness” ในภาวะของจำเลย ไม่อาจจะต้านทานได้ (‘unable to resist.’ ซึ่งเป็นไปตาม MPC มาตรา 2.09(1) ความแตกต่าง จึงไม่จำเป็นต้องมี Threat ที่ร้ายแรงใกล้จะถึง ต่อชีวิตร่างกาย ฯลฯ พิจารณาแต่เพียงว่า บุคคลในภาวะเช่นนั้น จะทนทานต่อต้านได้หรือไม่เท่านั้น

5. อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่เหมือนกับ Common Law คือ ไม่สามารถอ้าง Duress defense สำหรับความผิดฐานฆ่าคนตายได้ (homicide)

6. ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง ใน common law นั้น Duress defense: ต้องมีภยันตรายต่อมีกระทำต่อสมาชิกครอบครัวของจำเลยด้วย ในขณะที่ MPC ไม่ได้มีข้อกำหนดเช่นว่านั้น พิจารณาแต่ว่า หากคนที่มีความเข้มแข็งในภาวะปกติ จะทนทานต่อต้านได้หรือไม่ หากคนในภาวะเช่นนั้น ยอมแพ้ และยินยอมจะต้องกระทำผิดแล้ว ก็อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้

7. ข้อสำคัญในการอ้าง Duress defense: จำเลยจะต้องไม่มีส่วนผิดในการกระทำให้ตนเองอยู่ในภาวะที่จะถูกข่มขู่ด้วย

8. ข้ออ้างเกี่ยวกับ การป้องกันตนเอง หรือ Self-Defense: โดยหลักการทั่วไปแล้ว มนุษย์ย่อมมีสิทธิในการปกป้องชีวิตตนเองจากการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทำต่อตนเอง

9. องค์ประกอบของ Self-Defense ตามหลัก Common Law: ได้แก่ (1) ผู้กระทำเชื่ออย่างมีเหตุผล (Resonable belief) ว่าต้องใช้กำลังเพื่อต้านต่อการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือ กำลังจะเกิดขึ้น (Resist unlawful force: the present or imminent use of unlawful force); (2) มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลัง แต่จะต้องไม่เกินสมควร (Necessary: force must not be excessive use.) ; (3) ได้สัดส่วนระหว่างภยันตรายที่ผิดกฎหมายกับ การป้องกันตนเอง (Proportionate of the imminence of unlawful force and use of force to self-defense) ฉะนั้น การใช้กำลังป้องกันตนเองจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่อาจจะกระทำได้ เว้นแต่ บุคคลนั้นประสบภาวะที่จะมีการใช้กำลังจนอาจถึงตายแก่เขาได้ ; (4) ผู้ป้องกันต้องไม่ใช่ผู้ก่อภัย (Not the aggressor) และ; (5) ผู้กระทำไม่มีหน้าที่ต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น โดยเฉพาะในกรณีที่อยู่ในบ้านของตนเอง (dwelling) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็น Aggressor ไม่อาจจะใช้กำลังป้องกันตนเองได้ บุคคลนี้ มีหน้าที่จะต้องหลบหลีกการใช้กำลัง (duty to retreat)

10. ส่วนตาม MPC นั้น Self-Defense: MPC ตามมาตรา 3.04 ประกอบ มาตรา 3.09 : ผู้กระทำนั้น เชื่อว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องใช้กำลังป้องกันตนเอง ต่อการกระทำที่ผิดกฎหมายนั้น ในปัจจุบันทันด่วน โดยผู้กระทำไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ

11. การใช้กำลังต่อต้าน จะไม่อาจจะกระทำได้ : (1) หากเป็นการต่อต้านการจับกุมของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และ (2) เป็นการต่อต้านการใช้กำลังของเจ้าของทรัพย์ที่ใช้สิทธิติดตามเอาคืนในกรณีที่จำเลยได้เอาทรัพย์ของบุคคลที่ใช้กำลังมาโดยผู้ที่ใช้กำลังทราบดีว่า เขาสามารถใช้กำลังได้

12. การใช้กำลังป้องกันอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือ Deadly force – โดยปกติแล้ว เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่พึงประสงค์ ดังนั้น การใช้ deadly force จึงเป็นเรื่องต้องห้าม เว้นแต่ (1) ผู้กระทำเชื่อว่า จำเป็นต้องกระทำ และ (2) ไม่มีทางเลือกอื่น ทั้งนี้ เพื่อ ป้องกันการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิด ความตาย หรือ ภยันตรายต่อร่างกายอย่างร้ายแรง หรือ การป้องกันการก่อเหตุลักพาตัวเด็ก (Kidnapping) หรือ เพื่อป้องกันมิให้มีการบังคับข่มขืนโดยใช้กำลังหรือขู่เข็ญจะใช้กำลัง

13. เนื่องจาก กม. ไม่ต้องการให้มีการใช้กำลังในลักษณะ deadly force โดยไม่จำเป็น ตาม MPC จึงกำหนดหน้าที่ให้ผู้ที่จะใช้กำลังนั้น จำเป็นต้องล่าถอย หรือหลีกเลี่ยงก่อน หากการล่าถอยนั้นจะทำให้เขาปลอดภัย เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้กระทำการป้องกัน อยู่ในบ้านของตนเอง หรือ อยู่ในสถานที่ทำงานของตนเอง หรือ เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลัง ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง

14. MPC ยังกำหนดว่า หากบุคคลที่ใช้กำลังนั้น เป็นผู้ก่อให้เกิด (Provocation) ย่อมไม่อาจจะใช้ deadly force ได้เลย .

15. ระดับการใช้กำลัง หรือ Degree of force: ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันตนเอง :

a. การใช้กำลังป้องกันที่ไม่ก่อให้เกิดความตาย หรือ Non-deadly force: จำเลยสามารถกระทำได้ โดย (1) จำเลยไม่มีหน้าที่ในการหลีกเลี่ยง (no duty to retreat) และ (2) ยังสามารถใช้กำลังเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นลักทรัพย์หรือพยายามลักทรัพย์ของตนเองได้ด้วย

b. การใช้ Deadly force: ตาม Common law นั้น จะสามารรถใช้ได้เท่าที่ มีภยันตรายที่เข้ามาใกล้และเป็นภยันตรายต่อชีวิตร่างกาย เช่น มีการยิงปืนใส่จำเลย ก็อาจจะป้องกันได้ รวมถึงกรณีสำคัญผิด หากมีเหตุผลเพียงพอ จำเลยก็ยังอ้างป้องกันโดยสำคัญผิดได้เช่นกัน

c. การใช้ Deadly force ตาม MPC จะใช้ได้เท่าที่มีเงื่อนไขดังกล่าวไปแล้วข้างต้น

16. การปกป้องทรัพย์สิน (Defense of Property) ตามระบบ common law นั้น ในอดีต สามารถใช้กำลังมากน้อยเพียงใดก็ได้ ในการปกป้องทร้พย์สินของตนเอง แต่ในปัจจุบัน เกือบทุกมลรัฐไม่ยอมให้มีการใช้ deadly force ในการปกป้องทรัพย์สินดังกล่าว เช่น การใช้เครื่องยิงอัตโนมัติติดตั้งเพื่อป้องกันผู้บุกรุกหรือขโมย หากมีผู้เสียชีวิต ผู้กระทำการปกป้อง จะต้องรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict liability)

17. การปกป้องทรัพย์สินตามระบบ MPC นั้น เป็นไปตาม มาตรา 3.06 กล่าวคือ เมื่อเจ้าของทรัพย์เชื่อว่าจำเป็นต้องกระทำโดยทันทีทันใด ทั้งนี้ เพื่อ (1) ป้องกันมิให้มีการบุกรุกเข้าในที่ดินของตนเองโดยไม่ชอบ (2) ป้องกันมิให้มีการขโมยสังหาริมทรัพย์ไป หรือ จำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อแย่งชิงหรือติดตามเอาทรัพย์สินของตนเองจากผู้อื่น (3) เพื่อทวงสิทธิ์ในการเข้าไปในดินแดนของตนเองหากถูกแย่งชิง

18. การใช้กำลังเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของตนเองคืนมานั้น ตาม MPC กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะใช้กำลัง จะต้องกระทำในลักษณะที่ทันทีทันใดหรือในลักษณะ fresh pursuit หรือ ในกรณีที่เห็นว่า หากไม่ใช้กำลังแย่งเอาคืนมาในคราวนั้นแล้วก็จะเป็นการยากที่จะได้คืนมา อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการใช้กำลัง ผู้กระทำจะต้องแจ้งให้ผู้แย่งชิงทรัพย์ไป หยุดและคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้กระทำก่อน เว้นแต่ เขาเชื่อว่า การแจ้งเตือนเช่นว่า ไม่อาจจะกระทำได้ หรือ อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้กำลังหรือบุคคลอื่น หรือ ทรัพย์สินนั้นอาจจะถูกทำลายหรือเสียหายอย่างมาก หากไม่ได้ใช้กำลังแย่งชิงเอาคืนในทันที

19. ตามหลัก Common Law กรณีความสำคัญผิดเกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผลรองรับ หรือ Unreasonably mistake of fact: จำเลย อาจจะไม่สามารถกล่าวอ้างความสำคัญนั้นได้ โดยการวินิจฉัยว่า ความสำคัญผิดนั้นมีลักษณะที่เป็น reasonableness หรือไม่ จะต้องตัดสินโดยอาศัยหลักวิญญูชน ตามหลักภาวะวิสัย หรือ objective standard ไม่ใช่จิตตะวิสัย subjective standard. [เช่น คดีนาย Goetz ยิงชายวัยรุ่น 4 คน ตายบนรถไฟในเมืองนิวยอร์ก โดยเข้าใจว่า กลุ่มชายวัยรุ่นดังกล่าวจะมาปล้นตนเอง เนื่องจากมีชายวัยรุ่นคนหนึ่ง ขอเงินเขาเพียง 5 ดอลล่าร์ แม้เขามีประสบการณ์การถูกปล้นมาก่อน ก็ไม่อาจจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ ]

20. ในกรณี ที่เป็น MPC jurisdiction แม้ว่าจะไม่สมเหตุสมผล หากว่าจำเลยเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ แล้วกระทำผิดพลาด เขาก็อาจจะอ้างเป็น Defense เพื่อลดระดับโทษได้ แต่เขาไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้สำหรับการกระทำผิดที่ต้องการ MR ในระดับ recklessness หรือ negligent

21. ในบางสถานการณ์ อาจจะอนุญาตให้ จำเลยนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ในอดีต หรือ การด้อยโอกาสทางกายภาพ ฯลฯ มาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนข้ออ้างของตนเพื่อให้ได้ defense ด้วยก็ได้ว่า จะถือว่า ความสำคัญของเขานั้น reasonableness หรือไม่

22. แต่ถ้าหากว่า การสำคัญผิดนั้น มาจากการมึนเมา แล้ว จะไม่อาจอ้าง self-defense claim ได้

23. ในกรณีที่เป็นความรุนแรงในครอบครัว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถูกทารุณกรรมต่อหญิง (Battered women) แม้จะไม่ได้ทำให้หลักความรับผิดของหญิงที่ถูกทารุณกรรมที่ได้กระทำผิดกฎหมาย เช่น ฆ่าสามีที่ทำร้ายตนเองแล้วอ้างว่า กระทำไปเพราะเคยถูกทำร้ายมาก่อน เช่นนี้ ย่อมไม่กระทบต่อหลักความผิดทางอาญา ที่เกี่ยวกับ self-defense rule แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าว อาจจะนำไปสู่การพิจารณาเหตุผลในการกระทำผิดได้

24. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ Imminence of danger ในกรณีที่อ้างว่าตนเองถูกทำร้ายก่อน ในลักษณะ Battered women: หรือ Battered child ภยันตรายดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ปรากฎปัจจุบันทันด่วน และยังมีข้อเท็จจริงนั้นอยู่ในขณะใช้กำลังป้องกันตนเอง

25. การใช้กำลังต่อต้านการจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ Use of force to resist unlawful arrest. ตามหลัก Common law นั้น ผู้ถูกจับกุมสามารถใช้กำลังประเภท non-deadly ในการต่อต้านได้ แต่ว่า MPC ไม่ประสงค์จะให้เกิดความสูญเสียชีวิตร่างกายทั้งฝ่ายตำรวจและฝ่ายประชาชนที่ถูกจับกุม ดังนั้น MPC จึงไม่อนุญาตให้ประชาชนที่ถูกจับกุม ต่อต้านการกระทำการจับกุมของตำรวจ หากตำรวจได้แสดงตัวหรือเขาทราบดีว่าผู้จับกุมเป็นตำรวจ หากปรากฏภายหลังว่า การจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย จะต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากตำรวจหรือหน่วยงานของรัฐต่อไป

26. หลังจากมีการอ้างความสำคัญผิดอย่างผิดพลาด ศาลจึงได้พัฒนาหลัก Imperfect self-defense ในกรณีที่การอ้าง self-defense นั้น รับฟังไม่ได้ ตามองค์ประกอบที่กำหนดตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลได้อนุญาตให้ จำเลยได้อ้าง Imperfect self-defense ในกรณีที่การสำคัญผิดในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนั้นเป็น unreasonable mistake ทั้งนี้ เพื่อลดระดับการลดโทษลง เช่น จากคดีหนึ่งที่ นักศึกษาชาวญี่ปุ่น ได้เข้าไปในบ้านพักของหญิงในช่วงเทศกาลฮาลาวีน และหญิงชราเข้าใจว่าเป็นโจร จึงได้ยิงนักศึกษานั้น ถึงแก่ความตาย อันเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยผิดพลาดไป กรณีเช่นนี้ ศาลอาจจะลดระดับความผิด (Mitigation) จาก Second degree murder คือ เจตนาฆ่าที่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน เป็น Voluntary manslaughter หรือ ฆ่าคนตายเพราะอยู่ในภาวะกดดัน

27. ตามหลักการของ Common Law นั้น การใช้สิทธิป้องกันชีวิตฯ ของผู้อื่น หรือ Defense of others: ตามกฎหมายอเมริกานั้น กำหนดว่า จำเลยซึ่งใช้กำลังป้องกันสิทธิของผู้อื่น นั้นจะสามารถอ้างเพื่อเป็น defense ได้เท่าที่ บุคคลที่สามที่จำเลยใช้สิทธิป้องกันนั้น มีสิทธิในการป้องกันตนเองหรือไม่ คือ เสมือนจำเลยเข้าไปยืนในรองเท้าของบุคคลนั้น เขามีสิทธิเพียงใด ผู้ใช้สิทธิ์ก็มีสิทธิ์เพียงนั้น ฉะนั้น หากคิดว่าเขามีสิทธิ แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเข้าใจผิด ก็จะอ้าง defense ไม่ได้ เรียกหลักการนี้ว่า ‘alter ego’ ส่วนในแนวคิดของ MPC – การจะอ้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จำเลยเชื่ออย่างไร คือ เน้นที่ระดับ MR เป็นสำคัญ

28. ขอกล่าวย้ำเรื่อง Defense of Property (โดยเฉพาะสังหาริมทรัพย์) อีกครั้ง : กฎหมายจำกัดการใช้กำลังเพื่อต่อต้านการกระทำการป้องกันเพื่อป้องกันการแย่งชิงหรือเอาทรัพย์นั้นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

a. หน้าที่ในการเรียกร้องให้หยุดกระทำการ เว้นแต่ การเรียกร้องให้หยุดนั้น ไม่เป็นผลดี ไม่อาจจะยับยั้งได้ การใช้กำลังประเภท non-deadly force จึงอาจจะกระทำได้ : และ

b. การใช้กำลังจะต้องได้ระดับสัดส่วน หรือ Reasonable degree: เพียงเพื่อป้องกันการแย่งชิงทรัพย์สินนั้นไปเท่านั้น

c. การใช้กำลังประเภท deadly force อาจจะกระทำได้ แต่จำกัดมาก เมื่อเข้าเหตุที่อาจจะใช้ deadly force ได้ หากมีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ใช้ deadly force ป้องกันทรัพย์เป็นการล่วงหน้าไม่ได้

29. การป้องกันทรัพย์สินประเภท Real property หรือ อสังหาริมทรัพย์: โดยหลักการแล้ว ไม่อาจจะใช้ deadly force ได้เลย เว้นแต่จะเข้ามาหลักการใช้ deadly force กรณีอื่น ๆ เช่น ปรากฏในหลังว่า มีคนร้ายเข้ามาแล้วมีภยันตรายต่อชีวิตเจ้าของทรัพย์ เช่นนี้ หากจำเลยเชื่อว่าต้องใช้ deadly force เพื่อป้องกันชีวิตตนเอง ย่อมกระทำได้

30. การใช้เครื่องกล หรือ Mechanical Devices: ในการป้องกันทรัพย์สินของตนเอง

a. การใช้ Non-deadly device: สามารถกระทำได้ หากมีความจำเป็นและเหตุผลเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนเอง โดย MPC ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม คือจะต้องมีป้ายเตือนว่ามีการใช้เครื่องมือกลไกดังกล่าว หากมีการใช้เครื่องกลในหน้าที่พิเศษที่แตกต่างจากปกติของเครื่องกลนั้น [ MPC requires warning if such devices are not ‘customarily used for such a purpose.’]

b. การใช้เครื่องกลที่ก่อให้เกิด Deadly force: ตามแนวคิดดั้งเดิมของ Common law นั้น ยินยอมให้ใช้เครื่องกลที่ก่อให้เกิดความตายเพื่อปกป้องบ้านเรือนได้ แต่หากมีผลร้ายขนาดเกิดขึ้น และกลับกลายเป็นว่า คนที่ได้รับอันตรายไม่ใช่คนร้าย เช่นนี้ ผู้ใช้เครื่องมือ จะต้องรับผิดเด็ดขาด ตามแนวคิด strict liability; ในขณะที่ MPC ไม่ยินยอมให้ใช้เครื่องมือในลักษณะดังกล่าว

31. การเข้ายึดถือครองที่ดินของตนเอง (Recapture of chattel and re-entry on land) : ตามหลักกฎหมายถือว่า บุคคลย่อมมีเอกสิทธิ์ในการที่จะใช้กำลังตามสมควรที่จะยึดเอาที่ดินของตนเองคืนมา หรือ ที่จะเข้าไปใช้สิทธิในที่ดินของตนเอง โดยไม่ต้องมีการแจ้งเตือนใด ๆ ต่อผู้ที่บุกรุกเข้าไปให้หยุดกระทำการบุกรุก

กรณีที่กระทำผิด หากได้มีการลงมือกระทำไปแล้วโดยตลอด แล้วรอคอยผลให้เกิดขึ้นตามที่ประสงค์ ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง หากไม่สำเร็จ ผู้กระทำ ก็ยังคงต้องรับผิดสำหรับการกระทำเหล่านั้น ในขั้นพยายาม หรือ Attempt การพยายามกระทำความผิด ถือเป็น Inchoate Crime ที่จะต้องมีความผิดหลัก (Underline crime) ด้วยเสมอ แต่ผลของการกระทำในความผิดหลักไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น หากมีการกระทำลงแล้ว ย่อมมีความรับผิดตามกฎหมายเกิดขึ้น





 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:44:16 น.
Counter : 3260 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.