*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การดำเนินคดีกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐ: Illinois Gov. George Ryan



อดีตผู้ว่าการรัฐ Illinois นาย George Ryan อายุ ๗๒ ปี


เมื่อวันที่ ๑๗ เม.ย. ๔๙ ที่ผ่านมา ที่สหรัฐฯ มีข่าวใหญ่และเป็นที่น่าสนใจของนักการเมือง และนักกฎหมายทั่วไป เพราะนาย George Ryan อดีตผู้ว่ารัฐอิลลินอยส์ ได้ถูกคณะลูกขุน ของศาลระดับ Federal court ได้ประกาศว่าได้กระทำผิดในข้อหาฉกาจฉกรรจ์เกี่ยวกับคอรัปชั่น และความผิดต่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐฯ หลังจากที่คณะลูกขุนได้ประชุมต่อเนื่องยาวนานถึง ๑๐ วัน

คดีเรื่องนี้ ทางอัยการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนระดับสูงของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้สืบสวนและฟ้องร้องนาย Ryan หลังจากที่เขาพ้นตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฯ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ แล้ว เนื่องจากระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ได้มีการทุจริตคอรัปชั่นหลายประการ เช่น ใช้อำนาจในทางไม่ชอบเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มผลประโยชน์และเพื่อนพ้องของนาย Ryan ที่สนับสนุนเขาในการลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐฯ มีโครงการประมูลงานขนาดยักษ์จำนวนมาก ที่นาย Ryan ได้ช่วยเหลือให้พวกพ้องได้รับประโยชน์ไปจำนวนมหาศาล และมีการรับเงินจำนวนก้อนโต เพื่อนำไปใช้ในทางส่วนตัว

เขาได้ถูกฟ้อง ในข้อหา สมคบเพื่อกระทำผิดฐาน Racketeering conspiracy ฉ้อโกงโดยวิธีการทางจดหมาย ( Mail frau) ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สรรพากร ( Obstructing the Internal Revenue Service) การฉ้อโกงภาษี (Tax fraud) และ การให้การอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน (Lying to the FBI) โดยเขาได้กระทำผิดอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่ง เป็น Secretary of state ในช่วงทศวรรต 1990 ต่อเนื่องมาถึงขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์

สิ่งที่ผมได้นำมาเผยแพร่นี้ เป็นผลงานการเขียนของ Thomas B. Edsall และ Kari Lydersen ผู้สื่อข่าวประจำ Washington Post ฉบับวันอังคารที่ ๑๘ เม.ย. ๒๐๐๖ ปรากฎในหน้า เอ ๐๓ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการกระทำผิดของนาย Ryan ที่มีการนำมาเสนอให้ทราบทางหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป




- คำแปล ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในข่าว -





"คณะลูกขุนประจำ Federal Court ที่ Chicago ได้ลงมติว่า นาย Ryan อดีตผู้การรัฐอิลลินอยส์ และผู้ซึ่งได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Nobel Prize ได้กระทำผิด (guilty) จำนวน ๑๘ ข้อหา ในฐานความผิดฐานสมคบเพื่อกระทำไม่ชอบแสวงประโยชน์ ใช้ทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบตามกฎหมายอาชญากรรมทางเศรษฐกิจหลายประการ (Racketeering) การฉ้อโกงโดยใช้จดหมายเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ( Mail fraud) ให้การเท็จหรือสร้างเอกสารเท็จกับพนักงานสอบสวน (Making false statements to FBI agents) และ กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีรายได้ (Income tax violations)

นาย Ryan ปัจจุบันอายุ ๗๒ ปี ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งได้รับการกล่าวขานและจับตาโดยชาวโลก ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ในฐานะที่เขาได้ประกาศพักการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาด จำนวน ๑๖๗ คน เนื่องจากเขามาต้องโทษในขณะที่สูงอายุแล้ว เขาจึงได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต หากการอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จ

นาย Ryan เป็นผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ คนที่ ๓ ที่ถูกฟ้องคดีและได้รับโทษทางอาญา ในช่วงทศวรรตที่ผ่านมา โดยนาย Daniel Walker ดำรงตำแหน่งระหว่าง ๑๙๗๓ ถึง ๑๙๗๗ ซึ่งได้รับสารภาพในปี ๑๙๘๗ ว่าเขาได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร (Bank fraud) แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตำแหน่งหน้าที่ของเขาในฐานะผู้ว่าการรัฐฯ เป็นคนแรกที่ได้รับโทษ นาย Otto Kerner ดำรงตำแหน่ง ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๖๑ ถึง ๑๙๖๘ ได้รับโทษจำนวน ๑๗ ฐานความผิด รวมถึงการรับสินบนและการฉ้อโกงด้วย

แต่ข้อหาส่วนใหญ่ที่นาย Ryan ถูกฟ้องร้องนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในสมัยตำรงตำแหน่ง Secretary of State โดยเขามีพฤติการณ์ การเรียกสินบน เพื่อเป็นการตอบแทนการให้บริการของเขา (Licenses for bribes) ตัวอย่างเช่น การซื้อขายใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น

นาย Ryan ได้ต่อสู้คดีว่า ข้อกล่าวหาของฝ่ายรัฐบาลกลางนั้น เป็นข้อหาที่เลื่อนลอย ปราศจากพยานหลักฐานที่หนักแน่น เป็นเพียงพยานแวดล้อม ที่ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่น มาพิสูจน์ความผิดที่กล่าวหาว่าเขาได้รับสินบนจริง

หลังมีคำตัดสินแล้ว นาย Ryan ได้กล่าวอย่างขมขื่น แม้จะพยายามยิ้มออกมาแบบเจื่อน ๆ ว่า การตัดสินคดีในครั้งนี้ เป็นการตัดสินคดี ที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปในฐานะผู้ให้บริการสาธารณะ (Public service) ให้แก่ประชาชนชาวอิลลินอยส์ มาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง ๔๐ ปี

เขายังกล่าวต่อไปด้วยว่า "ไม่ต้องสงสัยเลย ตนเองรู้สึกผิดหวังต่อผลการตัดสินคดีครั้งนี้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจในกระบวนการอุทธรณ์คำพิพากษา และจะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาในเร็ว ๆ วันนี้"

ผลของคดีนี้ ไม่เพียงนาย Ryan เท่านั้นที่ต้องได้รับโทษทางอาญาอย่างหนักหน่วง นาย Larry Warner ซึ่งเป็นนัก Lobbyist และเป็นเพื่อนของนาย Ryan ยังต้องรับผิดด้วย จำนวน ๑๒ ข้อหา ในความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งรวมถึง การฉ้อโกงโดยใช้วิธีการทางไปรษณีย์หรือจดหมายเป็นเครื่องมือ (Mail fraud) การกรรโชกทรัพย์ (Extortion) ความผิดฐาน Racketeering และการ ฟอกเงิน ( Money laundering)

นาย Ryan ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฯ ในช่วง ๑๙๙๙ ถึง ๒๐๐๓ คงจะรู้ชะตากรรมดี เขาจึงได้ว่าจ้างนายโจรที่เก่งกาจที่สุด ผู้มีชื่อเสียงในการช่วยให้จำเลยหลุดพ้นคดีอาญา และเคยเป็นอัยการ รวมทั้งยังเป็นอดีตผู้ว่าการรัฐ รวมถึงอัยการสูงสุดของสหรัฐฯ อย่างนาย Jim Thompsonและ Dan K. Webb มาแก้ต่างคดีให้ตนเอง ซึ่งทำให้การไต่สวนและพิจารณาคดีอาญาที่มีการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องยาวทุกวัน กินเวลายาวนานถึง ๖ เดือน
ภายหลังการตัดสินคดี นาย Webb ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า "ผมพูดได้เลยครับ ว่าผมรู้สึกผิดหวังกับการตัดสินคดีนี้เป็นอย่างมาก" เพราะว่า "นาย Ryan ไม่เคยได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาแม้แต่น้อยเลย"

นาย Ryan เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เป็นเป้าหมายของพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้กระทำผิดในคดีที่เรียกว่า "Operation Safe Road" ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้ค้นหาข้อเท็จจริงซึ่งถูกกล่าวหาว่า มีการออกใบอนุญาตให้แก่รถยนต์อย่างผิดปกติ

ในส่วนของฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยอัยการสูงสุดของสหรัฐฯ คือ Patrick J. Fitzgerald และผู้ช่วยอัยการสูงสุดสหรัฐฯ คือ Patrick Collins ได้กล่าวว่า การที่ที่นาย Ryan ได้รับโทษจำคุกในครั้งนี้ ถือว่าเป็นชัยชนะของความพยายามที่ทำงานเป็นทีม ในการสอบสวนดำเนินคดีกับผู้บริหารระดับสูงในข้อหาฉกรรจ์ข้างต้น ซึ่งนับเป็นความสำเร็จร่วมกันของ หลายฝ่าย รวมถึง เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร (IRS) เจ้าหน้าที่องค์การไปรษณีย์ (Postal Service) เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก (Department of Transportation) และเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง (FBI)

การสืบสวนสอบสวนครั้งนี้ ใช้เวลายาวนานถึง ๘ ปี เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนที่ทำหน้าที่ฝ่ายสืบสวน จะต้องชะลอการเกษียณอายุราชการเพื่อทำการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ให้สำเร็จลงให้จงได้ จนในที่สุด ได้รวบรวมตัวผู้กระทำผิดจนศาลลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคดี Operation Safe Road ได้ถึง ๗๕ คน จากจำเลยจำนวน ๗๙ คน ซึ่งสองคนในจำนวนนี้ ได้หลบหนีไป อีกคดีนี้หนึ่งพักการพิจารณาคดีชั่วคราว และอีกหนึ่งคดีศาลพิพากษายกฟ้อง"

อัยการสูงสุดของสหรัฐฯ รายงานว่า "เราไม่ได้มีความสุขที่เราชนะคดี แต่เราภูมิใจที่ผลสำเร็จเกิดขึ้นจากความพยายามทำงานเป็นทีมของทุกฝ่าย" จนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานจากคดีเริ่มต้น อยู่ในวงจำกัดเพียงเรื่องการออกใบอนุญาตที่ไม่ชอบมาพากล แต่กลายเป็นคดีฉกรรจ์หลายคดีในที่สุด

รองอัยการสูงสุดกล่าวว่า แม้เราจะรวบรวมได้เพียงพยานแวดล้อม แต่เราก็เห็นว่า คดีมีมูล โดยมีพยานหลักฐานที่หนักแน่นมาก ซึ่งท้ายที่สุด คณะลูกขุน ก็เห็นด้วยกับเรา เพราะไม่มีใครจะเห็นว่า การทุจริตคอรัปชั่น จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม เพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็พบเห็นว่า คดีคอรัปชั่นเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นการทั่วไป


เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนของรัฐอิลลินอยส์ ให้การว่า เขาถูกสั่งห้ามมิให้ทำการสืบสวนสอบสวนคดี ที่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตไม่ชอบ ตั้งแต่ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ ในขณะที่นาย Ryan ดำรงตำแหน่งสำคัญ ในช่วงนั้น ในช่วงดังกล่าว มีคดีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างมาก มีคนตายจำนวนมาก ซึ่งภายหลังพบว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ส่วนใหญ่ ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ เช่น นาย Ricardo Guzman ได้รับอนุญาตโดยการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ตามคำให้การของนาย Guzman นั้น เขาไม่อาจจะพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยซ้ำ แต่เขาได้ใบอนุญาตมาก็เพราะเขาได้เสียค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไป เขาไม่เข้าใจป้ายสัญญาณ ฯลฯ อะไรทั้งนั้น จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติมีผู้เสียชีวิตหลายคนเกิดขึ้น เพราะการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรของเขา

นาย Webb ทนายของนาย Ryan กล่าวว่า เขาจะต้องทำให้คำพิพากษานี้ ถูกกลับให้ได้ เพราะเขาเห็นว่า การลงมติของคณะลูกขุน ไม่ปกติ (Unusual developments during jury deliberations)

ในคดีเดียวกันนี้ ก่อนหน้า คณะลูกขุนจำนวน ๒ คนได้ถูกผู้พิพากษา Rebecca Pallmeyer ปลดออกจากการปฏิบัติหน้าที่ เพราะเขาปกปิดประวัตการต้องโทษคดีอาญา ภายหลังจากที่หนังสือพิมพ์ Chicago Tribune ได้ตีแผ่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้"




- ความเห็นเพิ่มเติม -





ที่จริงยังมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ อีกมาก แต่ขอยกมาเป็นเพียงตัวอย่างว่า ในสหรัฐฯ นี่ แท้จจริง มีเรื่องทุจริต คอรัปชั่นในวงการราชการจำนวนมาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของมลรัฐ ในเกือบทุกแขนง ตั้งแต่ ผู้ว่าการรัฐฯ ศาล อัยการ ตำรวจ ฯลฯ ล้วนมีเรื่องทุจริต อื้อฉาว จำนวนมาก

แต่ในสหรัฐฯ จะมีปรากฎการณ์ที่ค่อนข้างแปลก คือ เจ้าหน้าที่ของระดับรัฐบาลกลาง (Federal government) ไม่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง (FBI) พนักงานอัยการ (Federal prosecutor) ศาลระดับ Federal Judges แทบจะไม่เคยได้ยินเรื่องทุจริตคอรัปชั่นเลย

นักวิชาการหลายคน ตั้งข้อสมมุติฐานว่า ในระดับรัฐบาลกลาง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าระดับรัฐบาลมลรัฐมาก ๆ และในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้รับการคัดเลือกอย่างเข้มข้น โดยระบบกฎหมายคุ้มครองข้าราชการพลเรือน ที่ไม่ให้ถูกปลดจากตำแหน่งโดยง่าย หลังจากเปลี่ยนจากระบบ Common law ที่ผู้บริหารสามารถสั่งปลดเจ้าหน้าที่ได้ตามอำเภอใจ (At will employment) มาเป็นการถูกปลดเฉพาะเมื่อมีเหตุอันสมควร (For cause) เท่านั้น

เจ้าหน้าที่ระดับรัฐบาลกลางในระดับสูง ส่วนใหญ่ ประธานาธิบดี จะเป็นผู้อำนาจเด็ดขาดในการแต่งตั้ง หรือเสนอแต่งตั้ง รวมไปถึงผู้พิพากษาระดับศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุดสหรัฐ ก็ล้วนแต่มาจากอำนาจตาม appointment clause แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ที่ยกอำนาจนี้ของประธานาธิบดีทั้งสิ้น แม้จะมีที่มาจากฝ่ายบริหาร แต่ปรากฎการณ์ที่แปลกสำหรับเมืองไทย และนักวิชาการไทยไม่เชื่อว่าจะเป็นจริงได้ คือ บุคคลที่ฝ่ายบริหารแต่งตั้งเหล่านี้ สามารถทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเอาจริงเอาจัง เป็นอิสระ ซึ่งผมคิดว่า การที่เขาทำงานได้ดีนี้ ก็เพราะคนเหล่านี้ มีสำนึกในหน้าที่ และมีกฎหมายที่ดีเป็นหลักประกันความมั่นคงในอาชีพให้กับเขาเป็นอย่างดี

เรื่อง อำนาจประมุขฝ่ายบริหารนี่ เป็นเรื่องใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และศาลสูงสุดสหรัฐฯ ยอมรับว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะกำหนดกลไกในการบริหารรัฐกิจ อย่างค่อนข้างอิสระ การแต่งตั้งบุคคลสำคัญหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงในสหรัฐฯ จึงเป็นเอกสิทธิ์ของประธานาธิบดีเท่านั้น ศาล ไม่อาจจะเข้าแทรกแซง รวมถึง สภา Congress ก็ไม่อาจจะออกกฎหมาย มาจำกัดไม่ให้ประธานาธิบดี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมา มีความพยายามของ Congress จะออกกฎหมายในการแต่งตั้งบุคคลสำคัญ โดยให้ฝ่ายรัฐสภา เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจ ตาม Appointment clause นี้หลายครั้ง แต่ศาลสูงสุดสหรัฐ ก็ประกาศว่า กฎหมายนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น (Unconstitutional)

เรื่องความสุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของระดับรัฐบาลกลางนี่ ต้องยอมรับว่า แตกต่างจากเจ้าหน้าที่ระดับมลรัฐ อย่างมาก เพราะมีข่าวเนืองว่า ผู้พิพากษา อัยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ รับสินบน หรือใช้อำนาจไม่ชอบ ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ามีกฎหมายคุ้มครองน้อยกว่า ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ จะเป็นไปตามกลไกของมลรัฐต่าง ๆ และได้เงินเดือนน้อยกว่าเจ้าหน้าที่ระดับรัฐบาลกลางอย่างมาก เช่นว่า การเข้าสู่ตำแหน่งของ ผู้ว่าการรัฐฯ อัยการสูงสุดของรัฐ ผู้พิพากษาของศาลมลรัฐส่วนใหญ่ ต้องมาจากการเลือกตั้ง การเข้าสู่ตำแหน่ง จึงใช้เงินจำนวนมาก ในการรณรงค์การเลือกตั้ง เมื่อลงทุนมาก ก็ถอนทุนมากเช่นกัน

นาย Ryan นี่ ก็เช่นกัน มาจากพรรค Republican ได้มีกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) สนับสนุนทางการเงินจำนวนมาก ตั้งแต่ขณะดำรงตำแหน่ง Secretary of State จนกระทั่งเขามารณงค์การเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐฯ โดยมีเพื่อนรู้ใจ เป็นนายหน้าให้ ความโลกไม่ปราณีใคร แต่เวรกรรมก็เดินตามเหมือน ล้อเควียนหมุนตาม รอยเท้าของโค ที่ลากมันไปไม่หยุดหย่อน

แม้ว่านาย Ryan จะพยายามสร้างภาพว่าเป็นผู้รักสันติ โดยหยิบประเด็นเรื่องโทษประหารชีวิต (Death Penalty) ขึ้นมาเบี่ยงเบนความสนใจเรื่องอื้อฉาวที่เขาทำไว้ แต่เรื่องชั่ว ก็ยังคงชั่วอยู่เยี่ยงนั้นครับ เขาได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต ในรัฐอิลลินอยส์ แต่เสียงในสภาของเขาไม่เห็นด้วย ทำให้โทษประหารชีวิตของอิลลินอยส์ ยังดำเนินต่อไป

ครั้งหนึ่งนาย George Ryan ได้เคยไปกล่าวสุนทรพจน์ ที่ Northwestern University Law School ไว้ว่า เขามีเจตจำนงค์แน่วแน่ที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตให้ได้ เพราะประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ซึ่งความผิดพลาดร้ายแรงจำนวนมากของการลงโทษประหารชีวิต เขาจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาและปฎิรูปกฎหมายเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นปรากฎที่ตรงข้ามกับ รัฐ Massachusetts ที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปนานแล้ว ตอนนี้ ได้รื้อฟื้นมันขั้นมาใหม่เรียบร้อยแล้ว .....

ผลงานของเขาเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับการเสนอยกเลิกโทษประหารชีวิตนี้ เขาจึงได้รับการเสนอชื่อเพื่อชิงรางวัล Nobel Prize เลยทีเดียว แต่ว่า เขาก็หนีไม่พ้นสิ่งที่เขาทำเอาไว้ นี่แหละครับ ความชั่วกับความดี ต้องแยกจากกัน ต้องแยกแยะให้ออก ครับ ไม่งั้นวุ่นไปหมด ดีก็ต้องว่าดี ชั่วก็ต้องว่าชั่ว ไม่ใช่อะไรก็ชั่วไปหมด ..............




หมายเหตุ

(๑) สนใจอ่าน ข่าวภาคภาษาอังกฤษ ในเรื่องนี้ โปรด คลิ๊กที่นี่

(๒) สนใจจะอ่าน สุนทรพจน์ของนาย Ryan ที่ Nortwestern Law School โปรด คลิ๊กที่นี่




เพื่อน ๆ ว่า ประเทศไทย เราจะมีเหตุการณ์แบบนี้ไหมในอนาคต ... ผู้บริหารระดับสูง จะถูกดำเนินคดีอย่างจริงจัง หากกระทำผิด ทุจริตคอรัปชั่น ต่อแผ่นดินครับ


Create Date : 21 เมษายน 2549
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:40:20 น. 12 comments
Counter : 1076 Pageviews.

 
blog นี้ ทั้งยาว ทั้งใหญ่ อีกแล้ว คนต่อไป ห้ามบ่นครับ ผมบ่นดักคอไว้แล้ว ..................................... เหอ เหอ


โดย: POL_US วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:9:01:23 น.  

 
ค่ะ ค่ะ ไม่บ่นค่ะ
จะรีบก้มหน้าก้มตาอ่านโดยดี อิอิ


โดย: ซีบวก วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:9:58:23 น.  

 
ไม่บ่นเหมือนกัน แต่ขออ่านครึ่งหนึ่งได้ไหมครับ เพราะงานรอเพียบ


โดย: ชายคา วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:10:14:05 น.  

 
อ่านจบละ ...
(ไม่บ่นซักคำน๊า)

คอรัปชั่นนี่ รู้สึกว่าที่ไหนก็มีเนาะ
จะมีมากมีน้อย ก็แล้วแต่แต่ละที่ไป

ตอนเรียนอยู่ที่โน่น มีข่าวนักวิจัยใน NIH รับเงินจากบริษัทยา
ข่าวนั้นช็อกคนไปเลย
เพราะมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตคนแท้ๆ ยังทำได้

คนที่คอรัปชั่น สมควรรับโทษแล้วล่ะค่ะ


โดย: ซีบวก วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:10:16:38 น.  

 
อืม คอรัปชั่นมันมีทุกๆที่จริงๆ ถ้ายังมีความอยากได้ไม่สิ้นสุด ก็เป็นแบบนี้ ก็ดีครับได้รับโทษซะบ้าง และที่เห็นได้ชัดคือ ยังไงๆ ก็ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายไปได้ ประเทศไทยน่าจะมีแบบนี้บ้างนะครับ ให้ฝ่ายกฎหมายเป็นฝ่ายดำเนินการตรวจสอบเอง ไม่ใช่ใครอยากทำอะไรก็ทำ


โดย: Markabyte วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:11:15:34 น.  

 
power corrupts, absolute power corrupts absolutely.

ใช้ได้เสมอ


โดย: praphrut608 วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:12:30:42 น.  

 
คำถาม: เพื่อน ๆ ว่า ประเทศไทย เราจะมีเหตุการณ์แบบนี้ไหมในอนาคต ... ผู้บริหารระดับสูง จะถูกดำเนินคดีอย่างจริงจัง หากกระทำผิด ทุจริตคอรัปชั่น ต่อแผ่นดินครับ

คำตอบ: อาจจะไม่มีเพราะ
1. ทำผิดแล้วจับไม่ได้
2. โดนเดินขบวนขับไล่ซะก่อน

อิ อิ อิ

Political power is harmful as the power of the war!


โดย: คุณหนูลมหวน (zardamon ) วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:14:02:38 น.  

 
ดูจากโหงวเฮ้ง + ฮวงจุ้ย ของแกแล้ว ไม่ค่อยน่าไว้ไจ

ถ้าอยู่เมืองไทยจะไว้ใจได้ก๊า....


โดย: ดำรงเฮฮา วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:14:28:55 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยชอบอ่าน ขอบคุณครับ

ปล.เรื่องที่บล๊อกผมเป็นเรื่องแต่งครับ
แต่อาจจะผสมจริงมั่งนิดหน่อยนะครับผมเดา
ตอนนั้นช่วงใกล้ฮาลโลวีนปีที่แล้ว
รุ่นพี่ผมก็แต่งเล่นหลอกน้องๆหนุกๆอ่ะครับ


โดย: maczy วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:17:23:10 น.  

 
อุ๊บ ไม่บ่นครับ


โดย: T_Ang วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:18:21:41 น.  

 
เพื่อน ๆ ว่า ประเทศไทย เราจะมีเหตุการณ์แบบนี้ไหมในอนาคต ... ผู้บริหารระดับสูง จะถูกดำเนินคดีอย่างจริงจัง หากกระทำผิด ทุจริตคอรัปชั่น ต่อแผ่นดินครับ





โดย: Geodesy IP: 202.41.187.247 วันที่: 29 มกราคม 2550 เวลา:16:47:09 น.  

 
มีคะ อาจจะไม่นานเกินรอนี้คะ


โดย: Geodesy IP: 202.41.187.247 วันที่: 29 มกราคม 2550 เวลา:16:47:56 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.