บุคคลประเภทนี้..คือคนถ่อย....


[๓๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

       สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อัคคิก

ภารทวาชพราหมณ์ก่อไฟแล้วตกแต่งของที่ควรบูชา อยู่ในนิเวศน์ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค

เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ในพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอัคคิก

ภารทวาชพราหมณ์ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกลทีเดียวครั้น

แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนโล้น หยุดอยู่ที่นั่นแหละสมณะ หยุด

อยู่ที่นั่นแหละคนถ่อย ฯ

เมื่ออัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกร

พราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ ฯ

อ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อย

ดีละ ขอท่านพระโคดมจงแสดงธรรมตามที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้จักคนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้

เป็นคนถ่อยเถิด ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวอัคคิกภารทวาช

พราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ว่า

  [๓๐๖] ๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่อย่างเลว มีทิฐิวิบัติ และมีมายา

       พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย

       ๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนไม่มี

       ความเอ็นดูในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มีชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้านและชาว

       นิคม พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ไม่ได้อนุญาตให้ ในบ้านหรือในป่า

       พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หาได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย

       พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ เพราะอยากได้สิ่งของพึงรู้ว่า

       เป็นคนถ่อย ฯ

       ๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้วกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแห่งตนก็ดี

       เพราะเหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิน ในภริยาของญาติก็ตาม ของเพื่อนก็ตาม

       ด้วยข่มขืนหรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาว

       ไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดา พี่ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยายแม่ผัวหรือ

       พ่อผัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๑. คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์พูดกลบ

       เกลื่อนเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนาว่าใครอย่าพึงรู้เรา ปกปิดไว้ พึงรู้

       ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และบริโภคโภชนะที่สะอาดย่อมไม่ตอบ

       แทนเขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่น ด้วยมุสาวาท

       พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่าสมณะหรือพราหมณ์และไม่ให้

       โภชนะ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบงำแล้ว ปรารถนาของเล็กน้อย พูด

       อวดสิ่งที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยมานะของตน พึงรู้ว่า

       เป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความปรารถนาลามก มีความตระหนี่

       โอ้อวด ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัวพึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือคฤหัสถ์สาวก

       ของพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ

       ๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้น

       แลเป็นคนถ่อยต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก คนเหล่าใด

       เราประกาศแก่ท่านแล้วคนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย ฯ

บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติแต่เป็น

       คนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่านจงรู้ข้อนั้น ตามที่

       เราแสดงนี้ บุตรของคนจัณฑาลเลี้ยงตัวเองได้ ปรากฏชื่อว่าตังมาคะ

       เป็นคนกินของที่ตนให้สุกเอง เขาได้ยศอย่างสูงที่ได้แสนยาก กษัตริย์

       และพราหมณ์เป็นอันมากได้มาสู่ที่บำรุงของเขา เขาขึ้นยานอันประเสริฐ

       ไปสู่หนทางใหญ่อันไม่มีฝุ่น เขาสำรอกกามราคะเสียได้แล้ว เป็นผู้เข้า

       ถึงพรหมโลก ชาติไม่ได้ห้ามเขาให้เข้าถึงพรหมโลก พราหมณ์เกิดใน

       สกุลผู้สาธยายมนต์ เป็นพวกร่ายมนต์ แต่พวกเขาปรากฏในบาปกรรม

       อยู่เนืองๆ พึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้าก็เป็นทุคติ

       ชาติห้ามกันพวกเขาจากทุคติหรือจากครหาไม่ได้บุคคลไม่เป็นคนถ่อย

       เพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติแต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม

       เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๒69-272 ข้อที่ ๓๐๕





Create Date : 24 มกราคม 2556
Last Update : 24 มกราคม 2556 8:51:42 น.
Counter : 977 Pageviews.

2 comment
จิตสุดท้ายของชีวิต..สำคัญอย่างไร? และเมื่อไหร่คือจิตสุดท้าย....
  จิตสุดท้ายของชีวิต..สำคัญอย่างไร? และเมื่อไหร่คือจิตสุดท้าย....







ขอให้บรรลุซึ่งธรรมโดยเร็วพลันนะครับ.....



Create Date : 23 มกราคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2556 9:22:38 น.
Counter : 1012 Pageviews.

0 comment
ความแตกต่างระหว่าง ปุถุชน กับ ผู้ที่ได้รูปสัญญา เมื่อตายลง....


นี่คือความแตกต่างระหว่าง ปุถุชนที่ไปเกิดในชั้นพรหมต่างๆ และผู้ที่ได้รูปสัญญาทั้ง 4 ระดับที่ไปเกิดในชั้นเดียวกัน

แต่ปุถุชนเมื่อหมดอายุของพรหมนั้นแล้ว ยังไม่พ้นอบายต่างๆ แต่ผู้ที่ได้รูปสัญญาเมื่อหมดอายุของพรหม จะปรินิพพานใน

ภพนั้น...

ฌานสูตรที่ ๑

         [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็น

ไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐม

ฌานนั้น ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม

เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกาดูกรภิกษุ  ทั้งหลาย กัปหนึ่ง

เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอด

อายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉาน

บ้าง เปรตวิสัยบ้างส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยัง

ประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ  ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ใน

เมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

 เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌาน

นั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดา

เหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของ

เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวก

ของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของ

เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ

ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ    คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม

กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่

ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของ

เทวดาเหล่าสุภกิณหะ  ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด

ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วน

สาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด

ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความ

พิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้   สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ

มีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ

ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้น

พอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อม

ใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็น

สหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น

ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี

พระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่า

นั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผก

แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ  ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๕-127 ข้อที่ ๑๒๓

   ****ดังนั้นอย่างน้อยเราควรจะได้ ปฐมฌาน ครับ






Create Date : 22 มกราคม 2556
Last Update : 22 มกราคม 2556 9:05:11 น.
Counter : 789 Pageviews.

0 comment
ปฏิปทาให้ถึงความเป็นสุนัขและโค....

ปฏิปทาให้ถึงความเป็นสุนัขและโค

๗. กุกกุโรวาทสูตร

                 เรื่องปุณณโกลิยบุตรและเสนิยะอเจละ

       [๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:

     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในโกลิยชนบท ทรงทำนิคมของชาวโกลิยะ

ชื่อว่าหลิททวสนะให้เป็นโคจรคาม. ครั้งนั้นปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค และเสนิยะ

อเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วปุณณโกลิยบุตร

ผู้ประพฤติวัตรดังโค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายเสนิยะอเจละ

ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว ก็คุ้ยเขี่ยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเสนิยะอเจละนี้ ประพฤติวัตรดังสุนัข

ทำกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่าง

บริบูรณ์ สิ้นกาลนาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาค

ตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตร

ผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เสนิยะอเจละ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทำกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน

เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขา

จะเป็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเรา

ถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๓ ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยะอเจละ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทำกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้

บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนาน คติของเขา

จักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร?

[๘๕] พ. ดูกรปุณณะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคำนี้ว่า อย่าเลยปุณณะ จงงดข้อนั้น

เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจักพยากรณ์แก่ท่าน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคน

ในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญปกติของสุนัข บำเพ็ญกิริยาการของสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่ขาด

สาย ครั้นแล้วเมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็น

อย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้

ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรปุณณะ เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ

นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดูกรปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนำเข้า

ถึงความเป็นสหายของสุนัข เมื่อวิบัติย่อมนำเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาค

ตรัสอย่างนี้แล้ว เสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ร้องไห้น้ำตาไหล.

คติของผู้ประพฤติวัตรดังโค

       [๘๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะปุณณโกลิยบุตรประพฤติวัตรดังโคว่า ดูกร

ปุณณะ เราไม่ได้คำนี้จากท่านว่า อย่าเลยปุณณะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย

ดังนี้ เสนิยะอเจละทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น  ที่พระผู้มี

พระภาคตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าได้สมาทานกุกกุรวัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านานแล้ว ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ปุณณโกลิยบุตร ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มา

ช้านาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร?

     อย่าเลย เสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย.

เสนิยะอเจละทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ ... เป็นครั้งที่ ๓ ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ปุณณโกลิยบุตรนี้ ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขา

จะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร?

     ดูกรเสนิยะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคำนี้ว่า อย่าเลยเสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด

อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจักพยากรณ์แก่ท่าน ดูกรเสนิยะ บุคคลบางคนในโลกนี้

บำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญปกติของโค บำเพ็ญกิริยาการของโคอย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้ว

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดา

หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วย ศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้น

เป็นความเห็นผิด ดูกรเสนิยะ เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดูกรเสนิยะ โควัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของโค

เมื่อวิบัติ ย่อมนำเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตร

ผู้ประพฤติวัตรดังโค ร้องไห้น้ำตาไหล.

       [๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเสนิยะอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขว่า

ดูกรเสนิยะ เราไม่ได้คำนี้จากท่านว่า อย่าเลยเสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้น

เลย ดังนี้. ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น

ที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทานโควัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านาน ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดง

ธรรมโดยประการที่ให้ข้าพเจ้าพึงละโควัตรนี้ได้ และเสนิยะอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละ

กุกกุรวัตรนั้นได้.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

ข้อที่ ๘๔-87 หน้าที่ ๖๔-6






Create Date : 21 มกราคม 2556
Last Update : 21 มกราคม 2556 9:06:40 น.
Counter : 862 Pageviews.

0 comment
เหตุที่ได้ความเป็น หญิงและชาย และหญิงเป็นชาย ชายเป็นหญิง


  เหตุที่ได้ความเป็น หญิงและชาย และหญิงเป็นชาย ชายเป็นหญิง

สังโยคสูตร

     [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายอันเป็นสังโยคะทั้งวิสังโยคะแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมบรรยายอันเป็นสังโยคะทั้งวิสังโยคะเป็นไฉน

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หญิงย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความ

พอใจเสียง และเครื่องประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพของตนนั้นๆเขายินดี

พอใจในสภาพของตนนั้นๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความ

ไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี พอใจในสภาพของชายนั้นๆ

เขายินดี พอใจในสภาพของชายนั้นๆ แล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่

เกิดเพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งหญิงก็ถึงความ

เกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

 ชายย่อมสนใจสภาพแห่งชายในภายใน กิริยา ท่าทางความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและ

เครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจในสภาพของตน เขายินดีพอใจในสภาพของตนนั้นๆ

แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของหญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง

 และเครื่องประดับของหญิง ย่อมยินดี พอใจในสภาพของหญิงนั้นๆ แล้วย่อมมุ่งหวังการสมาคม

กับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจ

ในภาวะแห่งชายก็ถึงความเกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งชาย

ไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนความไม่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย  หญิงย่อม

ไม่สนใจในสภาพของหญิงในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและ

เครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิงย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งชาย

ในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับแห่งชาย

 เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชายในภายนอก

และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่ง

หญิงก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชาย กิริยา ท่าทางความไว้ตัว

ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว

ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงในภายนอก กิริยาท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและ

เครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดีไม่พอใจในสภาพแห่งหญิงนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการ

สมาคมกับหญิงในภายนอก และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมนั้นเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึง

ล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลชื่อว่าธรรมบรรยายอันเป็นทั้งสังโยคะและวิสังโยคะ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๕๒-53  ข้อที่ ๔๘






Create Date : 20 มกราคม 2556
Last Update : 20 มกราคม 2556 9:13:21 น.
Counter : 1005 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog