อะไรเล่า เป็นของหนัก....ทำไมถูกเรียกว่าสัตว์..

อะไรเล่า เป็นของหนัก

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงภาระ (ของหนัก)... แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย
จงฟังข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นของหนัก ? ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งห้า
นั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ
เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙.

เรียกกันว่า “สัตว์” เพราะติดเบญจขันธ์


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, เขากล่าวกันว่า ‘สัตว์’ เช่นนี้
มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน)
ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป, สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติด
ในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า
“สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา, สัตว์ย่อม
เกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา, สัตว์ย่อม
เกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย,
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ, สัตว์
ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

ของหนัก และ สัตว์ มีด้วยอาการดังนี้แล



Create Date : 16 มีนาคม 2556
Last Update : 16 มีนาคม 2556 9:05:08 น.
Counter : 1293 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog