อยู่อย่างเพื่อนสอง...อยู่อย่างผู้เดียว...

ปฏิจจสมุปบาท แห่งการอยู่อย่างมี "เพื่อนสอง"
พระมิคชาละ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มี การ อยู่ อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า?".
ดูก่อนมิคชาละ รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่; ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา
ซึ่งรูปนั้นไซร้,
แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ, นันทิ
(ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อนันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมี;
เมื่อสาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี:

ดูก่อนมิคชาละ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์-
ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า "ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง".
(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธัมมารมณ์ทั้งหลาย
อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะ
พึงเห็นได้ด้วยจักษุ).
ดูก่อนมิคชาละ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ
อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย
ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น
เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง
อยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสอง
ของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า
ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง, ดังนี้

ปฏิจจสมุปบาท แห่งการอยู่อย่างมี "เพื่อนคนเดียว"
พระมิคชาละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอแล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างผู้เดียว พระเจ้าข้า?".

ดูก่อนมิคชาละ รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีรูปน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัดย้อมใจ มีอยู่; ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ
มัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้,
แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ,
นันทิ ย่อมดับ
เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มี;
เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี
:
ดูก่อนมิคชาละ! ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า "ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว".
(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธัมมารมณ์ทั้งหลาย
อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะ
พึงเห็นได้ด้วยจักษุ).
ดูก่อนมิคชาละ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน
อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย, ด้วยพระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย, ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม;
ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นละ
เสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว, ดังนี้ แล.
 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2556 10:50:55 น.
Counter : 822 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog