ใคร เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง..จงเป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ...

เรื่องเป็นไม่ต้องกล่าวถึง เพราะ เรื่องเป็นหรือเรื่องการเกิด มีขึ้นมาแล้วของแต่ละคน แต่เรื่องการตาย มันรออยู่

เบื้องหน้า อยู่ที่ว่าใครจะถึงก่อนใคร....

จึงขอกล่าวถึงเรื่องตายให้มาก เพื่อความไม่ประมาท...

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น

ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น

เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มี

เสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความเพียร   ไม่เกียจคร้านทั้ง

กลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า  ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้  ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรงลุก  จากอาสนะ  เสด็จ

เข้าไปยังพระวิหาร  ฯ

และต่อไปนี้คือ การขยายความของพระมหากัจจานะ ที่มีต่อภิกษุทั้งหลาย

  [๕๕๖]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ มีความ
รู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า  จักษุของเราได้เป็นดังนี้  รูปได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วง
แล้ว  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า  โสตของเราได้เป็นดังนี้  เสียงได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า  ฆานะของเราได้เป็นดังนี้  กลิ่นได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า  ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้  รสได้เป็น
ดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า  กายของเราได้เป็นดังนี้  โผฏ
ฐัพพะได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า  มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินมโน
และธรรมารมณ์นั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล  ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่  ล่วงแล้ว  ฯ

   [๕๕๗]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ มี
ความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า  จักษุของเราได้เป็นดังนี้  รูปได้เป็นดังนี้  ในกาล

ที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะจึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่
เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า  โสตของเราได้เป็นดังนี้  เสียง
ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า  ฆานะของเราได้เป็นดังนี้  กลิ่น
ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า  ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้  รสได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า  กายของเราได้เป็นดังนี้
โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า  มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกไม่เนื่อง  ด้วยฉันทราคะ  จึงไม่
เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ

[๕๕๘]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร  คือ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้  ในกาล
อนาคต  เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงเพลิดเพลิน  จักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่า
มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้  ขอเสียงพึงเป็นดังนี้
ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้   ขอกลิ่นพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรสพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้  ขอโผฏฐัพพะพึง
เป็นดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้  ขอธรรมารมณ์
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์
เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่า
มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ฯ

[๕๕๙]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร  คือ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้  ขอรูปพึงเป็นดังนี้
ในกาลอนาคต  เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้  ขอเสียงพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้  ขอกลิ่นพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้  ขอรสพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้  ขอโผฏฐัพพะ
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  ...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้  ขอธรรมารมณ์
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์
นั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล
 ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  ฯ

[๕๖๐]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  อย่างไร  คือ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล  เพราะ
ความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าง่อนแง่น
ในธรรมปัจจุบัน

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบัน  ด้วยกัน
แล  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น  เมื่อ
เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แลชื่อว่า
ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ

[๕๖๑]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง  ๒  อย่าง  ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล  เพราะ
ความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่า
ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง  ...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์  ทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วย
กันนั้นแล  เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงไม่  เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล
ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ

[๕๖๒]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศ  โดยย่อแก่เรา
ทั้งหลายว่า
    บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯลฯ  พระมุนีผู้สงบย่อม
    เรียกบุคคล...นั้นแลว่า  ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ดังนี้  มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร  แล้วทรงลุกจากอาสนะ  เสด็จเข้าไป  ยังพระวิหาร
นี้แล  ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้  ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่  พึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามเนื้อความนั้นเถิด  พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลาย
อย่างใด  พวกท่านพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น  ฯ

  [๕๖๔]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหากัจจานะเป็นบัณฑิต  มีปัญญา
มาก  แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา  เราก็จะ  พยากรณ์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่
มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน  ก็แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล  พวกเธอจง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด  ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
        จบ  มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร  ที่  ๓

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔                                                                                                              

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อที่ ๕๕๑ - 578
หน้าที่ ๒๗๓-286




Create Date : 17 เมษายน 2556
Last Update : 17 เมษายน 2556 12:03:15 น.
Counter : 1130 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog