...วันนี้เราได้ เตรียมตัวเพื่อตายแล้วหรือยัง?

[๕๓๔]  บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
          ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
          แล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคล
          ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน
          ในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
          ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยน
          กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
          พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความ
          เพียร  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า
          ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำที่เรากล่าวไว้ว่า  เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น  เราอาศัยเนื้อความดังนี้  กล่าวแล้ว  ด้วยประการฉะนี้  ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์   ข้อที่ ๕๓๔  หน้าที่ ๒๖๗

ขอยกพระสูตรนี้ขึ้นนำก่อน ในเรื่องของ..ความตาย....

ตวามตายเป็นเรื่องที่น่ากลัว สำหรับผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงอริยสัจสี่ ความตายเป็นสิ่งที่ยังหวาดหวั่น

สำหรับผู้ที่ยังหลงในกามสุข...

แต่ความตายเป็นสิ่งที่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ต้องได้รับแน่นอน ไม่มีใครที่ได้เกิดแล้วไม่ได้ตาย

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า

เราเตรียมตัวเพื่อ..ตาย..แล้วหรือยัง

การอย่างอื่นในโลกเราอาจจะเตรียมการไว้แล้วล่วงหน้า เช่น การประชุมงานในวันหน้า การที่จะมี

ครอบครัว การที่จะวางชีวิตอนาคต เวลาที่ันั้นมาถึง เราก็พร้อมเพราะได้เตรียมการเตรียมข้อมูลไว้

เรียบร้อยแล้ว...

แต่เรื่องความตายที่อาจจะบังเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต เราได้เตรียมอะไรไว้เพื่อวันนั้นแล้ว

หรือยัง เพราะเมื่อเราละภพนี้ไปแล้ว  อะไรที่รอเราอยู่ในภพหน้านั้น...

ทรัพย์สมบัติแม้เพียงเหรียญสลึงเพียงเหรียญเดียว ที่เขาเอาใส่ปากเราก็ไม่สามารถเอาไปได้

สิ่งที่เราจะนำติดตัวเราไป และจะติดตามไปส่งผลในภพหน้าก็คือ

  กรรม ทั้งกรรมดี และกรรมไม่ดี

สร้างกรรมดีวันนี้ครับ เพราะพรุ่งนี้ถ้าไม่มีวันให้เรา อย่างน้อยเราก็ยังได้มีกรรมดีนำติดตัวไปบ้าง

ส่วนผู้ที่ทำกรรมดีมาตลอดถือว่า เขาได้เตรียมตัวเพื่อรอคอยการตายไว้แล้ว จึงเป็นผู้ไม่ประมาทโดยแท้

   อย่าคิดว่าภพหน้าชาติหน้าไม่มี แล้วไม่คิดทำกรรมดี เพราะถ้าเมื่อถึงเวลานั้น เราจะไม่มีโอกาสได้แก้ตัว

กรรมดีที่กระทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากคือ

บุญกิริยาวัตถุ 3

   1.ให้ทาน

  2. ถือศีล

  3. ภาวนา

เพียงสามประการนี้เราก็ได้ทำกรรมที่ดีไว้เพื่อเป็นสิ่งที่จะนำเราไปในภพที่ดีแล้ว





Create Date : 08 มกราคม 2556
Last Update : 8 มกราคม 2556 10:25:02 น.
Counter : 1247 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog