รู้แต่ปริญัติ แต่ไม่ปฏิบัติ ...... ปฏิบัติ แต่ไม่รู้ปริญัติ


รู้แต่ปริญัติ  แต่ไม่ปฏิบัติ

ปฏิบัติ      แต่ไม่รู้ปริญัติ

ใช้ได้กับพุทธบริษัททุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา

การรู้แต่วิธีและข้อปฏิบัติอย่างแตกฉาน แต่ไม่ลงมือปฏิบัติหรือปฏิบัติเพียงแต่น้อย ก็ไม่อาจจะบรรลุ

ถึงจุดหมายปลายทาง เปรียบเหมือน ท่องตำราซ่อมรถยนต์ได้หมดทั้งเล่ม แต่ไม่เคยลงมือซ่อมเลยแม้แต่

ครั้งเดียว ก็ไม่สามารถซ่อมรถได้ ...

***ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
 และนี่คือ วิธีปฏิบัติอาณาปานสติ ตามพระศาสดา ผู้ที่ท่องจำได้ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว การปฏิบัติ

อานาปาณสติเป็นอย่างไร มีอุปสรรค ปัญหาอย่างไรในระหว่างการปฏิบัติ...และนี่คือ

รู้แต่ปริญัติ  แต่ไม่ปฏิบัติ

ผู้ที่จะปฏิบัติ แต่ยังไม่ทราบปริญัติ ก็เหมือนเหล่าฤาษี โยคีเมื่อครั้งก่อนพุทธกาล พวกนี้จะพากันเข้าป่าเพื่อแสวงหาการดับทุกข์

แต่ยังไม่มีวิธีที่จะใช้ดับทุกข์ ต่างก็ไปหาวิธีปฏิบัติกันเอาเอง ลองผิดลองถูก แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้พบวิธีที่ถูก ต่างก็ได้ฤทธิ์คุณวิเศษ

ต่างๆกันไป ยกเว้นวิธีดับทุกข์ที่ไม่มีผู้ใดได้ค้นพบ

 เหมือนกับพระศาสดาเมื่อครั้งยังไม่ได้ตรัสรู้ ก็ใช้วิธีลองผิดลองถูกมาตลอดเวลา 6 ปี จึงได้พบวิธีดับทุกข์ ได้ค้นพบ

อริยสัจสี่ ธรรมะอันวิเศษ จึงได้มาถ่ายทอดบอกสอนเหล่าสาวก เพื่อให้ได้ทราบวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์

ดังนั้นสาวกทุกคนจึงไม่ต้องคิดหาวิธีดับทุกข์อีกแล้ว เพราะพระศาสดาได้ค้นหาไว้ให้แล้ว และพิสูจน์ให้เห็นแล้ว่า

นี่คือวิธีดับทุกข์ที่ให้ผลจริงตลอดกาล

ดังนั้นอย่าลงมือ ปฏิบัติ      แต่ไม่รู้ปริญัติ

รู้ปริญัติแต่พอควร แล้วลงมือปฏิบัติให้มาก ก็จะยังประโยชน์เฉพาะตน

แต่ถ้ารู้ปริญัติให้มาก แล้วปฏิบัติให้มาก ก็จะยังประโยชน์เฉพาะตนและผู้อื่น



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2555 8:48:46 น.
Counter : 1636 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog