มรรค 8 และความหมาย....


มรรค 8 เราๆท่านๆคงทราบกันดี ว่าเป็นอริยสัจองค์ที่ 4 ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติให้พ้นทุกข์

แต่อาจจะมีหลายคนไม่ทราบว่า มรรค 8 มีอะไรบ้างและมีความหมายอย่างไร

  มาทบทวนกันครับ..

อุทเทสและนิทเทสแห่งอัฏฐังคิกมรรคแต่ละองค์


ภิกษุ ท. ! เราจัก แสดง จัก จำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค แก่เธอทั้งหลาย.
เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์เราจักกล่าว.
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นอย่างไรเล่า? อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่สิ่ง
เหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ความรู้อันใดเป็นความรู้
ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทาง
ดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? ความดำริในการ ออกจากกาม
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า
สัมมาสังกัปปะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า? เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการพูดไม่
จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนา
เป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า? เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการฆ่า
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก
กรรมอันมิใช่พรหมจรรย์.๑ ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า
ในกรณีนี้ การเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. !
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยัง
อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อม
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่

เกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิต
ไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียรประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงาม
ยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. !
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีกิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอน
ความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความ
เพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก
เสียได้; ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี นี้ สงัด
แล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วย
วิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะความจางคลาย
ไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติ
สุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อันนี้
เรากล่าวว่าสัมมาสมาธิ.
-มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๐ - ๑๒/๓๓-๔๑.





Create Date : 13 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 8:32:01 น.
Counter : 1205 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog