สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม ตอนจบ


เลข ๕  ขันธ์ ๕

รูป เวทนา สัญญา สังขาร

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่น
นี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ?
สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง,
(ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น
(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่
ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้
ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความ

รู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
(ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้
มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้
แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา. สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ?

สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลือง
บ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่ง
สีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ใน
สิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.
- ขนฺธฺ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความ
หมายอะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่ง
นั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่ง
อะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความ
เป็นรูป, ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุง
แต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จ
รูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความ
เป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น
(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.

เลข ๖ อายตนะ ๖

อายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์

 [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะ
ภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น
ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อม
รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ
ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า
อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภาย
นอก ๖ อยู่ ฯ

เลข ๗   โพชฌงค์ ๗

[๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
๑. สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้]
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม]

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น]
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]


เลข ๘  มรรค ๘

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ใน

หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า

ความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ใน

หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า

ความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูด

เท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการ

พูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ

ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้

ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,

ี้ เราเรียกว่า อาชีวะชอบ


ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี

นี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก

ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความ

งอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า  ความเพียรชอบ

ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความ

รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา

บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก

เสียได้ ; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา

บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก

เสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุ

ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง

ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะ

วิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน

ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่

สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อัน

เป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้

มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ

เพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่

อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. !

นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ

ไม่เหลือแห่งทุกข์.

- มหา. ที. ๑๐/๓๔๐-๓๕๐/๒๙๔-๒๙๙.

 และนี่แหละ ตัวเลข 1-8 ในการปฏิบัติธรรม ขึ้นอยู่กับผู้ที่มีธุลีในดวงตาน้อย จะหยิบฉวยธรรมะเลขไหน ไปปฏิบัติ

เพื่อความพ้นทุกข์..



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2555 8:37:28 น.
Counter : 911 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog