ตายแล้ว..ต้องการกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ต้องทำอย่างไร?
ต้องการกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง หลังตายไปแล้วจากภพนี้.....ใครรู้จริง พระศาสดา

รู้จริง...ต้องปฏิบัติตามนี้ตั้งแต่วันนี้....

คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวร ๕ ประการ
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย, อริยสาวกประกอบ
พร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย,
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์
ตนด้วยตน นั่นแหละว่า
“เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็น
ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า”
ดังนี้.
คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการ เหล่าไหนเล่า
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ?

(๑) คหบดี ! บุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติ
ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) บ้าง, ย่อม
ประสบภัยเวรใดในสัมปรายิก (ในเวลาถัดต่อมา) บ ้าง,
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาต
เป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้ว
จากปาณาติบาต ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๒) คหบดี ! บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้
ให้อยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง,
ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง, ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
แห่งจิตบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ
เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากอทินนาทาน ทำให้สงบ
รำงับได้แล้ว.
(๓) คหบดี ! บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม
ทั้งหลายอยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง,
ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง, ย่อมเสวย
ทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง, เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย;
ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.

(๔) คหบดี ! บุคคลผู้กล่าวคำเท็จอยู่เป็นปกติ
ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง, ย่อมประสบภัยเวรใด
ในสัมปรายิกบ้าง, ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะ
มุสาวาทเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาด
แล้วจากมุสาวาท ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๕) คหบดี ! บุคคลผู้ดื่มสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งของความประมาทอยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใด
ในทิฏฐธรรมบ้าง, ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง,
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง, เพราะสุราและเมรัย
เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้ว
จากสุราและเมรัยทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
… … … …
คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วย องค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า ?

(๑) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้
โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปแล้วดว้ ยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
ฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
(๒) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและ
ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ
ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า
ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่
ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

(๓) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “ สงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้
ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่
นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์
ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี
เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.
(๔) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่
พอใจของพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อ
สมาธิ ดังนี้.

คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.

ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒.

นี่คือองค์คุณสมบัติของการเป็นอริยะบุคคลขั้นต้น (โสดาบัน) นอกจากจะได้กลับมาเป็น

มนุษย์แล้วยังแถมการเป็นผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า(สิ้นอาสวะ)

***และนี่คือ1ในอีกหลายนัยยะของความเป็นอริยะบุคคลขั้นต้น

......ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์
สาม๑ เป็นผู้สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพ
แห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วย่อม
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบ
แห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยว
ไปสู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้.
(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบ
แห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้เป็น เอกพีชี คือจักเกิดในภพแห่ง
มนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙/๕๒๗.




Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2556 8:46:02 น.
Counter : 954 Pageviews.

1 comments
  
อ่านยากหน่อย แต่เป็นการน้อมเอาคำสอนของพระพุทธองค์มาเป็นความรู้่
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ
โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:19:21:25 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog