เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท ๕ เป็นไฉน

[๒๗๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเรา
ทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน
ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์
แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท
๕ เป็นไฉน
 ขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปขันธ์             [กองรูป]
๒. เวทนาขันธ์          [กองเวทนา]
๓. สัญญาขันธ์           [กองสัญญา]
๔. สังขารขันธ์          [กองสังขาร]
๕. วิญญาณขันธ์          [กองวิญญาณ] ฯ
[๒๗๙]             อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ) ฯ
[๒๘๐]               กามคุณ ๕ อย่าง
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก  ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ

๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ    น่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ  น่ารัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
[๒๘๑]          คติ ๕ อย่าง
๑. นิรยะ                  [นรก]
๒. ติรัจฉานโยนิ             [กำเนิดดิรัจฉาน]
๓. ปิตติวิสัย                [ภูมิแห่งเปรต]
๔. มนุสสะ                 [มนุษย์]
๕. เทวะ                  [เทวดา] ฯ
[๒๘๒]          มัจฉริยะ ๕ อย่าง
๑. อาวาสมัจฉริยะ           [ตระหนี่ที่อยู่]
๒. กุลมัจฉริยะ              [ตระหนี่สกุล]
๓. ลาภมัจฉริยะ             [ตระหนี่ลาภ]
๔. วัณณมัจฉริยะ             [ตระหนี่วรรณะ]
๕. ธัมมมัจฉริยะ             [ตระหนี่ธรรม] ฯ
[๒๘๓]         นีวรณ์ ๕ อย่าง
๑. กามฉันทนีวรณ์            [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม]
๒. พยาปาทนีวรณ์            [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท]
๓. ถีนมิทธนีวรณ์             [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม]
๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์        [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ]
๕. วิจิกิจฉานีวรณ์            [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย] ฯ

[๒๘๔]  โอรัมภาคิยสังโยชน์          [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ                  [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา                    [ความสงสัย]
๓. สีลัพตปรามาส            [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
ศีลหรือพรต]
๔. กามฉันทะ                 [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
๕. พยาบาท                  [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
[๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง
๑. รูปราคะ                [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
๒. อรูปราคะ               [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
๓. มานะ                  [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
๔. อุทธัจจะ                [ความคิดพล่าน]
๕. อวิชชา                 [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]
[๒๘๖]        สิกขาบท ๕ อย่าง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์]
๒. อทินนาทานา เวรมณี       [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี      [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม]
๔. มุสาวาทา เวรมณี         [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัย     อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท] ฯ

[๒๘๗]              อภัพพฐาน ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่
๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกามเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์
อยู่ ฯ
[๒๘๘]              พยสนะ ๕ อย่าง
๑. ญาติพยสนะ              [ความฉิบหายแห่งญาติ]
๒. โภคพยสนะ              [ความฉิบหายแห่งโภคะ]
๓. โรคพยสนะ              [ความฉิบหายเพราะโรค]
๔. สีลพยสนะ               [ความฉิบหายแห่งศีล]
๕. ทิฏฐิพยสนะ              [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะ
เหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ    สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
[๒๘๙]            สัมปทา ๕ อย่าง
๑. ญาติสัมปทา                  [ความถึงพร้อมด้วยญาติ]
๒. โภคสัมปทา                  [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ]
๓. อาโรคยสัมปทา           [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค]
๔. สีลสัมปทา                   [ความถึงพร้อมด้วยศีล]
๕. ทิฏฐิสัมปทา                  [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภคสัมปทาก็ดี
เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค  ข้อที่ ๒๗๘-๒๗๙  หน้าที่ ๑๙๔-๑๙๘





Create Date : 13 มกราคม 2556
Last Update : 13 มกราคม 2556 9:57:24 น.
Counter : 791 Pageviews.

2 comments
  
รูปขัณข์แห่งจักษุกล่าวคือเป็นเพชฆาตแห่งกคลายความกำหนัด
โดย: เดวิด IP: 58.9.167.38 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:12:40:02 น.
  
ทุกข์เหนือทุกข์เป็นไฉน. อะไรเป็นปัจจัยในการปล่อยวางหรือการคลายจากสิ่งไม่รู้ไปสิ่งรู้คลายกับมีตัวตนแต่ไม่มีตัวตน. สุขเหนือสุขเป็นไฉน ผู้รู้ช่วยแถลงไข. แต่ผู้ไรปัญญา
โดย: ผู้อาพับ IP: 58.9.167.38 วันที่: 16 มีนาคม 2556 เวลา:12:49:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog