อย่าฉลาดเพียง ปริยัติ....เพราะสิ่งที่สำคัญคือ..การปฏิบัติ


ปริยัติ-คือ การศึกษาเรียนรู้ทางทฤษฎี

ปฏิบัติ-คือ การลงมือฝึก

ในทางโลกหรือทางธรรมก็เหมือนกัน เพราะเมื่อเรียบรู้ทฤษฎีแล้ว ก็ต้องลงมือ

ปฏิบัติ...แต่ทางโลกต่างกับทางธรรมอยู่ที่ทางโลกเป็นการปฏิบัติที่ส่วนใหญ่เป็นรูปธรรม

อย่างเช่น เรียนเรื่องการซ่อมรถยนต์ แล้วลงมือซ่อมจริง อาจจะใช้เวลาไม่กี่ครั้งก็

สามารถซ่อมรถยนต์ได้แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปความชำนาญก็เกิดขึ้น

ส่วนทางธรรมยากกว่ามากในทางปฏิบัติ ด้านปริยัติอาจจะใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน ตัวอย่าง

เช่น เรื่องขันธ์ห้า การทำงานของขันธ์ห้า การถอนอุปทานขันธ์ห้า ใช้เวลาเรียนรู้ทาง

ทฤษฎีเพียงไม่กี่วันก็จำได้ แต่ทางปฏิบัติ...อาจจะต้องใช้เวลาทั้งชีวิต นานช้าอยู่กับ

อินทรีย์ห้าของแต่ละคน....

ดังนั้นเมื่อรู้พุทธวจนในเรื่องที่ทำให้พ้นทุกข์แล้ว ก็ลงมือปฏิบัติแบบตั้งใจ เพราะธรรมอัน

ปรากฎนั้นเป็นปัจจตัง รู้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่มีใครบอกแล้วเราจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

......วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่......

  วันเวลาไม่คอยใคร เมื่อวันนี้เรายังมีชีวิตอยู่ ก็ลงมือปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ อย่ารอพรุ่งนี้

เพราะเราอาจจะไม่มีโอกาสแล้วก็เป็นได้

***การปฏิบัติสำคัญอย่างไรนั้น พระศาสดาได้ตรัสสอนสาวกไว้แล้ว จากพระสูตรนี้...

๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา

อยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม

อันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอัน

เป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดัง

ราชสีห์โดยเบื้องขวา ซ้อนเท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในอัน

ลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่อง

กีดกั้นด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า

พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะ

บริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะ

ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว

สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้ว โดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำได้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความ

ยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควร

ทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

พระ ไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒                                                                                                      

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

ข้อที่ ๔๖๗

หน้าที่ ๓๕๒

จากพระสูตรนี้ พระศาสดาแบ่งราตรีเป็น 3 ยามๆละ 4 ชั่วโมง (ตั้งแต่อาทิตย์ตกจนอาทิตย์ขึ้น) ในระหว่างวัน

หลังจากทำภาระกิจส่วนตัว (ฉันอาหารเช้า..ล้างบาตรเช็ดบาตร..เข้าห้องน้ำ..ศึกษาธรรมและวินัย)ก็เริ่มปฏิบัติธรรม

ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรีคือเวลา สี่ทุ่ม ยามสองตั้งแต่สีทุ่มถึงตีสองให้นอน...ยามสามตื่นตั้งแต่ตีสองจนถึง

เช้าให้ปฏิบัติธรรม....และวนไปอย่างนี้ทุกวัน...

นี่คือกิจของสงฆ์ที่ควรจะปฏิบัติ ส่วนของอุบาสก อุบาสิกาก็ใช้ความเหมาะสม แต่เป็นไปตามแนวทาง

ที่พระศาสดาบัญญัติไว้

  นี่ก็แสดงว่า การที่จะรู้ซึ่งธรรมเพื่อการหลุดพ้นอย่างแท้จริง เป็นเรื่องยากมาก ไม่อย่างนั้นพระศาสดา

คงไม่ให้สาวกใช้เวลาเกือบ 80 % หนักไปในทางปฏิบัติ....

พุทธบริษัทที่ต้องการพ้นจากทุกข์ มาปฏิบัติกันเถิดครับ....



Create Date : 05 มกราคม 2556
Last Update : 5 มกราคม 2556 11:19:54 น.
Counter : 916 Pageviews.

2 comments
  
สาธุ ด้วย ครับ
โดย: bobobull วันที่: 5 มกราคม 2556 เวลา:12:11:25 น.
  
like
โดย: biocellulose วันที่: 5 มกราคม 2556 เวลา:18:06:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog