การทรมานร่างกาย..วัตรของเดียรถีย์..ที่พระศาสดาปฏิบัติแล้วไม่สามารถตรัสรู้ได้

ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค
(วัตรของเดียรถีย์)
สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔
ที่ได้ประพฤติแล้ว; ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง, ลูขวัตร เราก็ได้
ประพฤติอย่างยิ่ง, เชคุจฉิวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง, ปวิวิตตวัตร เราก็ได้
ประพฤติอย่างยิ่ง.
ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเราคือเรา
ได้ประพฤติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ด
อุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา
ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์ว่าท่านผู้เจริญจงหยุดก่อน ไม่ยินดีในอาหารที่เขานำมา
จำเพาะ ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทำอุทิศเจาะจง ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต ์
เราไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อม
ธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหาร

ของชนสองคนผู้บริโภคอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของ
หญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ
ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทำ ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัข
เข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา
ไม่รับเนื้อ ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ เรารับเรือนเดียว
ฉันคำเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคำบ้าง รับสามเรือนฉันสามคำบ้าง ....ฯลฯ....
รับเจ็ดเรือนฉันเจ็ดคำบ้าง, เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหาร ในภาชนะน้อย ๆ ภาชนะ
เดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ....ฯลฯ....
เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉันอาหารที่เก็บไว้
วันเดียวบ้าง ฉันอาหารที่ เก็บไว้สองวันบ้าง ....ฯลฯ.... ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง,
เราประกอบความเพียรในภัตรและโภชนะมีปริยายอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือนด้วยอาการ
อย่างนี้. เรานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือย
เป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำข้าว
เป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็น
ภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง
บริโภคผลไม้อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง. เรานั้นนุ่งห่มด้วยผ้าป่าน
บ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุกฝุ่นบ้าง
นุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนังอชินะทั้งเล็บบ้าง นุ่งห่ม
แผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดานกรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง
(ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคำว่ากัมพล) เราตัดผมและหนวด ประกอบตามซึ่งความเพียรในการ
ตัดผมและหนวด, เราเป็นผู้ยืนกระหย่งห้ามเสียซึ่งการนั่ง, เป็นผู้เดินกระหย่ง
ประกอบตามซึ่งความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง, เราประกอบการยืนการเดิน
บนหนาม สำเร็จการนอนบนที่นอนทำด้วยหนาม, เราประกอบตามซึ่งความเพียร

ในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง, เราประกอบตามซึ่งความเพียร
ในการทำ (กิเลสใน) กายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.
สารีบุตร ! นี่แลป็นวัตรเพื่อความเป็นผู้มีตบะ ของเรา.
สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง)
ของเรา คือ ธุลีเกรอะกรังแล้วที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น. สารีบุตร !
เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรังแล้ว
ที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากจนเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น. สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอ
เราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มีแก่เรา, แม้ความคิดนึกว่าก็หรือ
ชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา. ดูก่อนสารีบุตร !
นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา.
สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็น
ผู้รังเกียจ) ของเรา คือ ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับ
โดยอาการเท่าที่ความเอ็นดูอ่อนโยนของเราพึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาดแห่งน้ำ
ว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติไม่เสมอกันให้ลำบากเลย. สารีบุตร !
นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้รังเกียจของเรา.
สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็น
ผู้สงัดทั่วแล้ว) ของเรา คือ ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว
แลอยู่ เมื่อเห็นคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้
หรือคนทำงานในป่ามา เราก็รีบลัดเลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น
จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้น
อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นชนพวกนั้น. สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้อ
อันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น
จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น, ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโค

หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทำงานในป่ามาก็รีบเลาะลัด
จากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น
ด้วยหวังว่าคนพวกนี้อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนพวกนั้น. สารีบุตร !
นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา.
สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้, เราก็คลาน
เข้าไปในที่นั้น ถือเอาโคมัยของลูกโคน้อยๆ ที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร !
มูตรและกรีส (ปัสสาวะและอัจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตร
และกรีสนั้นเป็นอาหารตลอดกาลเพียงนั้น. ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรใน
มหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา.
สารีบุตร ! เราแลเข้าไปสู่ชัฏแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่.
เพราะชัฏแห่งป่านั้นกระทำซึ่งความกลัวเป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจาก
ราคะ เข้าไปสู่ชัฏป่านั้นแล้ว โลมชาติย่อมชูชันโดยมาก. สารีบุตร ! เรานั้น
ในราตรีทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัยที่ตกแห่งหิมะ
อันเย็นเยือกกลางคืนเราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฏแห่งป่า. ครั้นถึง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในป่า. สารีบุตร !
คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน มาแจ้งแก่เราว่า :-
“เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว, เปี ยกแล้วผู้เดียว, อยู่ในป่ า
น่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว, เป็ นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ,
เป็ นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธ์ิ.” ดังนี้.
สารีบุตร ! เรานั้นนอนในป่าช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลาย
ฝูงเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุ่นใส่บ้าง
เอาไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง. สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อ

เด็กเลี้ยงโคทั้งหลายเหล่านั้นแม้ด้วยการทำความคิดนึกให้เกิดขึ้น. สารีบุตร !
นี้เป็นวัตรในการอยู่อุเบกขา ของเรา.
สารีบุตร ! สมณพราหมณ์บางพวกมักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า “ความบริสุทธิ์
มีได้เพราะอาหาร”, สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจงเลี้ยงชีวิต
ให้เป็นไปด้วยผลกะเบา๑ ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยวกินผล
กะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตำผงบ้าง ดื่มน้ำคั้นจากผลกะเบาบ้าง ย่อมบริโภคผล
กะเบาอันทำให้แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง. สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็น
อาหาร สารีบุตร ! คำเล่าลืออาจมีแก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้
เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้งนั้น ก็โตเท่านี้เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้
เหมือนกัน. สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความซูบ
ผอมอย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพหรือเถากาฬบรรพมีสัณฐานเช่นไร อวัยวะ
น้อยใหญ่ของเรา ก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.
รอยเท้าอูฐมีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะ
ความเป็นผู้มีอาหารน้อย. เถาวัฏฏนาวฬีมีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเรา
ก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. กลอน (หรือจันทัน)
แห่งศาลาที่คร่ำคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเราก็เกะกะมีสัณฐานเช่นนั้น
เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. ดวงดาวที่ปรากฏในน้ำในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่
ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึกในเบ้าตาฉันนั้น เพราะความ
เป็นผู้มีอาหารน้อย.น้ำเต้าที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดดย่อมเหี่ยวยู่ยี่
มีสัณฐานเป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความ
เป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย,

ตั้งใจว่าลูบกระดูกสันหลัง ก็ลูบถูกท้องด้วย. สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลัง
ของเราชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เรา เมื่อคิดว่าจัก
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ตรงนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร !
เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้นให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ, เมื่อเราลูบตัว
ด้วยฝ่ามือ ขนที่มีรากเน่าแล้วได้หลุดออกจากกายร่วงไป เพราะความเป็นผู้มี
อาหารน้อย.

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์

****นี่คือการทรมานพระวรกาย ของพระศาสดาก่อนที่จะหันมาใช้วิธีแบบสายกลางในการตรัสรู้

เป็นการให้ทราบว่า มรรควิธีที่ทรมานร่างกายนั้น ไม่สามารถบรรลุซึ่งธรรมได้ ส่วนมรรควิธีที่สามารถบรรลุธรรมได้

นั้น พระศาสดาได้จำแนกแจกแจงไว้หมดแล้ว

  ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุซึ่งธรรมนั้น ไม่ต้องคิดมรรคขึ้นใหม่ เพราะ...

มรรคที่พระศาสดาสอนไว้นั้น ดีแล้ว ชอบแล้ว สมบูรณ์แล้ว....




Create Date : 01 มีนาคม 2556
Last Update : 1 มีนาคม 2556 9:21:14 น.
Counter : 1258 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog