ใคร เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง..จงเป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ...

เรื่องเป็นไม่ต้องกล่าวถึง เพราะ เรื่องเป็นหรือเรื่องการเกิด มีขึ้นมาแล้วของแต่ละคน แต่เรื่องการตาย มันรออยู่

เบื้องหน้า อยู่ที่ว่าใครจะถึงก่อนใคร....

จึงขอกล่าวถึงเรื่องตายให้มาก เพื่อความไม่ประมาท...

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น

ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น

เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มี

เสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความเพียร   ไม่เกียจคร้านทั้ง

กลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า  ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้  ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรงลุก  จากอาสนะ  เสด็จ

เข้าไปยังพระวิหาร  ฯ

และต่อไปนี้คือ การขยายความของพระมหากัจจานะ ที่มีต่อภิกษุทั้งหลาย

  [๕๕๖]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ มีความ
รู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า  จักษุของเราได้เป็นดังนี้  รูปได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วง
แล้ว  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า  โสตของเราได้เป็นดังนี้  เสียงได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า  ฆานะของเราได้เป็นดังนี้  กลิ่นได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า  ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้  รสได้เป็น
ดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า  กายของเราได้เป็นดังนี้  โผฏ
ฐัพพะได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า  มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินมโน
และธรรมารมณ์นั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล  ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่  ล่วงแล้ว  ฯ

   [๕๕๗]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ มี
ความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า  จักษุของเราได้เป็นดังนี้  รูปได้เป็นดังนี้  ในกาล

ที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะจึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่
เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า  โสตของเราได้เป็นดังนี้  เสียง
ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า  ฆานะของเราได้เป็นดังนี้  กลิ่น
ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า  ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้  รสได้
เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า  กายของเราได้เป็นดังนี้
โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า  มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้  ในกาลที่ล่วงแล้ว  เพราะความรู้สึกไม่เนื่อง  ด้วยฉันทราคะ  จึงไม่
เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ

[๕๕๘]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร  คือ
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้  ในกาล
อนาคต  เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงเพลิดเพลิน  จักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่า
มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้  ขอเสียงพึงเป็นดังนี้
ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้   ขอกลิ่นพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้ ขอรสพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้  ขอโผฏฐัพพะพึง
เป็นดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้  ขอธรรมารมณ์
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์
เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่า
มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ฯ

[๕๕๙]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร  คือ
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้  ขอรูปพึงเป็นดังนี้
ในกาลอนาคต  เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้  ขอเสียงพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้  ขอกลิ่นพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้  ขอรสพึงเป็น
ดังนี้  ในกาลอนาคต...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้  ขอโผฏฐัพพะ
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  ...
    บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า  ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้  ขอธรรมารมณ์
พึงเป็นดังนี้  ในกาลอนาคต  เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย  จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์
นั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล
 ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  ฯ

[๕๖๐]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  อย่างไร  คือ
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล  เพราะ
ความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อเพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าง่อนแง่น
ในธรรมปัจจุบัน

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
    มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบัน  ด้วยกัน
แล  เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น  เมื่อ
เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แลชื่อว่า
ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ

[๕๖๑]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง  ๒  อย่าง  ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล  เพราะ
ความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น  เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่า
ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง  ...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...
    มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์  ทั้ง  ๒  อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วย
กันนั้นแล  เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ  จึงไม่  เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน  จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  อย่างนี้แล
ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ

[๕๖๒]  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศ  โดยย่อแก่เรา
ทั้งหลายว่า
    บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯลฯ  พระมุนีผู้สงบย่อม
    เรียกบุคคล...นั้นแลว่า  ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ดังนี้  มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร  แล้วทรงลุกจากอาสนะ  เสด็จเข้าไป  ยังพระวิหาร
นี้แล  ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้  ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่  พึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามเนื้อความนั้นเถิด  พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลาย
อย่างใด  พวกท่านพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น  ฯ

  [๕๖๔]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหากัจจานะเป็นบัณฑิต  มีปัญญา
มาก  แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา  เราก็จะ  พยากรณ์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่
มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน  ก็แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล  พวกเธอจง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด  ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
        จบ  มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร  ที่  ๓

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔                                                                                                              

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อที่ ๕๕๑ - 578
หน้าที่ ๒๗๓-286




Create Date : 17 เมษายน 2556
Last Update : 17 เมษายน 2556 12:03:15 น.
Counter : 1117 Pageviews.

0 comment
วันนี้ในฐานะชาวพุทธ..เราทราบ อริยสัจ ๔ กันแบบถ่องแท้หรือยัง

 สิ่งที่ชาวพุทธต้องทราบ ก็คือ อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ที่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ

ทรงตรัสรู้และได้ถ่ายทอดบอกสอนเหล่าสาวก

ผ่านมาแล้ว 2600 ปี..วันนี้ลองตั้งคำถามสำหรับตัวเองดูว่า

  เรารู้จัก อริยสัจ ๔ แค่ไหน....

บางคนทราบธรรมะมากมาย แต่กลับไม่รู้จัก อริยสัจสี่ ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา....

การรู้อริยสัจ

รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ

ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น

ควรจะทำอย่างไร ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะ

ดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ

อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ(เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”

ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ

เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง

ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)

สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็ นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้

เฉพาะ. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้

เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้

ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน

เป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง

ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗.


การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้นเป็นไปไม่ได้

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐาน

รากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้”ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่

จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะ

พึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้

เกิดทุกข์ , เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ

ทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้องดังนี้.

ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐาน-

รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้”ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี

ได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉัน

ครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความ

ดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง

จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร

เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับ

ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ดังนี้เถิด.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-.

***ถ้าวันนี้ท่านยังไม่ทราบ อริยสัจ ๔ ด้วยบทพยัญชนะและความหมาย ที่พร้อมจะนำไปปฎิบัติ ต้องขวยขวายเพื่อให้

ทราบแล้วละครับ เพราะ....


ความยากที่เท่ากัน 3 อย่าง

ภิกษุ ท. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน
ที่ใคร ๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้


ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้น
ในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัย
อันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก
ภิกษุ ท. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว;
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว;
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า

“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้ เถิด.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.




Create Date : 16 เมษายน 2556
Last Update : 16 เมษายน 2556 8:46:43 น.
Counter : 1197 Pageviews.

0 comment
ทำไม?...ระหว่างการตายของคนสองกลุ่ม..เราถึงเสียใจและไม่เสียใจ อะไรเป็นเหตุุุ.....

จากผังด้านบน บุุคคลๆหนึ่ง กับเหตุการณ์ที่ได้รับ แต่เวทนาที่เกิด ต่างกัน...อะไรคือสาเหตุ...

.....ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูล

แห่งทุกข์.....

ดูพระสูตรเต็มนี้ครับ

[๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ นิคมของมัลลกษัตริย์

ในมัลลรัฐ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดง

เหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี  ก็เราพึง

ปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ความ

สงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเราปรารภอนาคตกาลแสดงเหตุเกิดและ

เหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาลจักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้น ความสงสัย ความ

เคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่านอนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิดและเหตุดับ

แห่งทุกข์แก่ท่านซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นาย

คันธภกคามณีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรนายคามณี

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์  โทมนัสและอุปายาส พึง

เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตายถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน

มีแก่ท่านหรือ ฯ

คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส พึง

เกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูก

ติเตียน ฯ

พ. ดูกรนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ไม่

พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำเสื่อมทรัพย์หรือถูก

ติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ ฯ

คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคมตายถูกจองจำ เสื่อม

ทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ

พ. ดูกรนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์

โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูก

จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็หรือว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความ

ร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดมีขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปป

นิคมบางพวกตายถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส

พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อม

ทรัพย์หรือเพราะถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มีฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคม

เหล่านั้น ส่วนความโศก ความร่ำไรความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์

เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะ

ข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรมที่เห็นแล้วทราบแล้ว บรรลุ

แล้วโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีตและอนาคตทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูล

แห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ

เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ข้อที่ ๖๒๗ หน้าที่ ๓๓๓-335

  ****การที่เราไม่ทุกข์กับ การตายของบุคคลอื่น เพราะเราไม่มีฉันทะราคะ ในบุคคลเหล่านั้น

การที่เราทุกข์กับการตายของญาติพี่น้อง เพราะเรามีฉันทะราคะในบุคคลเหล่านั้น




Create Date : 11 เมษายน 2556
Last Update : 11 เมษายน 2556 9:50:46 น.
Counter : 784 Pageviews.

0 comment
เมื่อได้เห็นธรรมะอย่างหนึ่งบ่อยๆ ธรรมะอีกอย่างหนึ่งจะปรากฎ...

ต้องเห็นบ่อยๆ เห็นให้มาก เห็นแล้วใคร่ครวญให้มาก ความจริงที่มีอยู่จะปรากฎ...

***ถ้าเห็นได้ตามนี้ นั่นแหละคือการถ่ายถอนจากทุกข์ทั้งปวง




Create Date : 10 เมษายน 2556
Last Update : 10 เมษายน 2556 10:04:36 น.
Counter : 766 Pageviews.

0 comment
ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...

 ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเกิดปัญญาดังนี้แล....




Create Date : 09 เมษายน 2556
Last Update : 9 เมษายน 2556 9:34:50 น.
Counter : 1214 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog