การอุทิศบุญกุศล และ การเจริญเมตตา ต่างกันอย่างไร...ทำอย่างไร....

//www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201301/31/639610362.jpg

  คำว่าแผ่เมตตาที่เราปฏิบัติกันมานานนับร้อยๆปี ยังมีบางคนเข้าใจผิดคิดว่า เป็นคำๆเดียวกับ

การอุทิศบูญกุศล ซึ่งแท้จริงแล้วต่างกันพอสมควร..

การอุทิศบุญ หมายถึงการที่เรากระทำ บูญกิริยาวัตถุ 3 ซึ่งได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา เมื่อกระทำแล้ว

ก็กระทำการอุทิศบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้นั้นก็ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับกุศลนั้น...(ไม่ทุกเหล่า)ดังพระสูตรนี้

ชาณุสโสณีสูตร

     [๑๖๖] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านโคดมผู้เจริญพวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็น

พราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว

ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้ ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติ

สาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ ฯ

     ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน ฯ

     พ. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม

พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มี

ความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่

ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก ดูกรพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน

แก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ ฯ

     ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหาร

ของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรพราหมณ์แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน

แก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ

     ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์จากการลักทรัพย์

จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียดจากการพูดคำหยาบ จากการ

พูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษย์โลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ใน

มนุษย์นั้นด้วยอาหารของมนุษย์ ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์

ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ

     ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ฯลฯ มีความเห็น

ชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ใน

เทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่

ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แลก็เป็นอฐานะ ฯ

     ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์

ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัย

จากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติ

ทานมัยนั้น ดูกรพราหมณ์ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ ฯ

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น

ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ

 พ. ดูกรพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้นที่เข้าถึง

ฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น ฯ

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และ

ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภค

ทานนั้น

. ดูกรพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านาน

เช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ

     ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่

แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้ ฯ

     พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ

     ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญ

โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔                                                      

                           พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

ข้อที่ ๑๖๖ หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๖                                                                                                                    

   ****สรุปว่าการอุทิศบุญกุศล ผู้ที่จะได้รับกุศลนี้คือ เปรตวิสัย..  

ส่วนการเจริญเมตตา หรือที่เรียกกันว่า แผ่เมตตา หลังจากการได้ทำสมาธิแล้วนั้น สามารถแผ่ได้กับทุกประเภท

ใน คติ 5 (ได้แก่ เทวดา มนุษย์ เปรตวิสัย เดรัจฉาน สัตว์นรก)  และผู้ที่จะมีกำลังในการเจริญเมตตาวัดกันที่่

  สมาธิของแต่ละระดับทั้ง 9

ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน อากาสาฯ วิญญาณฯ อากิญฯ เนวสัญญาฯ สัญญาเวทิตฯ

แต่ถ้าใครยังไม่ได้สมาเลยซักระดับ ก็ให้ตั้งจิตละ นิวรณ์ 5 ได้แก่

  กามฉันทะ     พยาบาท    ถีนมิธธะ   อุถัจจะ กุกกุจจะ    วิจิกิจฉา      เพราะนิวรณ์ทั้ง5 ทำให้จิตไม่มีกำลัง..

การเจริญเมตตา   (หรือการเจริญพรหมวิหาร )

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น

ดำ รงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาป

ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ

เป็นจิตตั้งมั่น ดำ รงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศล-

ธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำ จิตได้ เมื่อนนั้

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำ ให้มากซึ่ง

เมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ,

อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำ ให้เป็นดุจยาน ทำ ให้เป็นที่ตั้ง

ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว

เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก

อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด

เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจ

ประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ

ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย

เมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพ ยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนนั้ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนนั้

แผ่ไปส่ทู ศิ ที่ ๔ ก็อย่างนนั้ และเธอมีจิตประกอบด้วย

กรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพ ยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศ ที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย

มุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพ ยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่

แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น

แผ่ไปสู่ทิศ ที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย

อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีพ ยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

สระโบกขรณนีน้ำใสจืดเย็น สะอาด มีท่าอัน ดี

น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก

ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา

เร่าร้อน ลำ บาก กระหาย อยากดื่มน้ำเขามาถึง

สระโบกขรณนี นั้ แล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำและ

ความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด

เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา

กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต

ณ ภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติ

ข้อปฏิบัติอันดียิ่ง

เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำ ลัง ย่อมเป่าสังข์

ให้ได้ยินทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากฉัน ใด ในเมตตาเจโตวิมุติ

(กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโต-

วิมุตติ...,) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำ อย่างมี

ขีดจำกัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว

เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ ก็จักเดินเป็นสุข

ในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ

นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ

ก็จักนอนเป็นสุขในที่นนั้ ๆ

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก

ทำ ให้เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน

ที่เทียมดีแล้ว ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

หลับเป็นสุข ๑

ตื่นเป็นสุข ๑

ไม่ฝันร้าย ๑

เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑

เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑

เทพยดารักษา ๑

ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนั้น ๑

จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑

สีหน้าผุดผ่อง ๑

ไม่หลงทำ กาละ ๑

เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป

ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก

ทำ ให้เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน

ที่เทียมดีแล้ว ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ

ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐.

มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒.

เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒.

สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔.__




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2556 9:52:08 น.
Counter : 1219 Pageviews.

0 comment
ให้ตั้งหน้าทำก็แล้วกัน เมื่อถึงเวลาผลก็จะปรากฎ
****ให้ตั้งหน้าทำก็แล้วกัน เมื่อถึงเวลาผลก็จะปรากฎ




Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2556 10:40:38 น.
Counter : 754 Pageviews.

0 comment
ความชรา ความเป็นโรค ความมรณะ มันซ่อนอยู่....

//www.matichon.co.th/online/2008/11/12268908471226891034l.jpg

ความชรา ความเป็นโรค ความมรณะ มันซ่อนอยู่..

[๙๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ชราธรรมย่อมมีใน
ความเป็นหนุ่มสาว พยาธิธรรมย่อมมีในความไม่มีโรค มรณธรรมย่อมมีในชีวิต ผิวพรรณไม่
บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน สรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไปข้างหน้า และความ
แปรปรวนแห่งอินทรีย์ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ก็ปรากฏอยู่.
    [๙๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถึงท่านจะติความแก่อันเลวทราม ถึงท่านจะติความแก่อันทำให้ผิวพรรณ
     ทรามไป รูปอันน่าพึงใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีอยู่นั่นเอง แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่
     ได้ร้อยปี (ผู้นั้นก็ไม่พ้นความตายไปได้) สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นเบื้อง
     หน้า ความตายย่อมไม่ละเว้นอะไรๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ข้อที่ 964-965 หน้าที่ ๒๓๗

พระศาสดาทรงตรัสว่า....จงอย่าประมาท




Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2556 8:47:04 น.
Counter : 1045 Pageviews.

1 comment
สัมผัส 5 ของสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษ.....โดยแท้

//www.thaigoodview.com/files/u4662/pic2bus.jpg

บาลีแห่งเอกธรรมเป็นต้น
         [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ฯ
[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูปสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
         [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษตั้งอยู่เหมือนเสียงสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษ
ตั้งอยู่ ฯ
         [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของ
บุรุษตั้งอยู่เหมือนกลิ่นสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
         [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรสสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ

 [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต
ของบุรุษตั้งอยู่เหมือนโผฏฐัพพะของสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลายโผฏฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิต
ของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิต
ของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูปบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
         [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่
เหมือนเสียงบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
         [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิตของ
สตรีตั้งอยู่เหมือนกลิ่นบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
         [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของ
สตรีตั้งอยู่เหมือนรสบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
         [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต
ของสตรีตั้งอยู่เหมือนโผฏฐัพพะบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลายโผฏฐัพพะของบุรุษย่อมครอบงำจิต
ของสตรีตั้งอยู่ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ข้อที่ ๑-๑๑  หน้าที่ ๑-๒




Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2556 9:41:01 น.
Counter : 946 Pageviews.

0 comment
หลักธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน...(วันแห่งความรัก)

เนื่องในวันแห่งความรัก จึงขอนำพระสูตรที่เกี่ยวกับความรักมาฝากชนทั้งโลกครับ...

 ว่าด้วยสาราณิยธรรม ๖
     [๕๔๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ๖
ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วย
เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรัก
กัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อม
เพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน
ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียง
กัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดยธรรม ที่สุดเป็น
ลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับ
เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
พวกเดียวกัน.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาทิธรรมไม่ครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีล
เสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็น
เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม อันนำ
ออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเช่น
นั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึง
กัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำ
ความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน
เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิก
ธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖
ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุด
เป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออก
ซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖
ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

ข้อที่ ๕๔๒  หน้าที่ ๔๑๒-413




Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2556 9:36:17 น.
Counter : 1097 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog