ผู้เห็นว่า..เห็นยอดอ่อน ๆ ว่าเป็นแก่น



เห็นยอดอ่อน ๆ ว่าเป็นแก่น
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ กุลบุตรบางคนมีศรัทธา ออกบวชจากเรือน
ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉน
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้” ดังนี้. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว
กุลบุตรนั้น จึงออกจากเรือนด้วยศรัทธา, ครั้นบวชแล้ว สามารถทำลาภ


สักการะและเสียงเยินยอ ให้เกิดขึ้นได้. เธอมีใจยินดีแล้ว มีความดำริเต็ม
รอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น. เธอทะนงตัวเพราะลาภ
สักการะและเสียงเยินยอนั้นว่า “เราเป็นผู้มีลาภสักการะและเสียงเยินยอ ส่วน
ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ต่ำต้อยน้อยศักดิ์” ดังนี้. เธอนั้น เมาอยู่ มัวเมาอยู่ ถึง
ความประมาทอยู่ เพราะลาภสักการะและเสียงเยินยอนั้น. เมื่อประมาทแล้ว
เธอก็อยู่ด้วยความเป็นอยู่ที่ดูแล้วน่าชัง.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้
เที่ยวค้นหาแก่นไม้อยู่ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว มองข้ามพ้นแก่น, มอง
ข้ามพ้นกระพี้, มองข้ามพ้นเปลือกสด, มองข้ามพ้นสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก,
เด็ดเอาใบอ่อนที่ปลายกิ่งถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้. บุรุษมีตาดี เห็น
คนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างไม่รู้จักแก่น, ไม่รู้จักกระพี้,
ไม่รู้จักเปลือกสด, ไม่รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, ไม่รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้
จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็มองข้ามพ้นแก่น, ข้ามพ้นกระพี้, ข้ามพ้น
เปลือกสด, ข้ามพ้นสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, ไปเด็ดเอาใบอ่อนที่ปลายกิ่ง
ถือไป ด้วยเข้าใจว่า นี่แก่นไม้ ; สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักไม่สำเร็จ
ประโยชน์เลย” ดังนี้ ; ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เราเรียกคนบวชชนิดนี้ว่า
ได้ถือเอาพรหมจรรย์ ตรงใบอ่อนที่ปลายกิ่งของมัน และเขาถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ ด้วยการกระทำเพียงให้ลาภสักการะและเสียงเยินยอเกิดขึ้น
เท่านั้นเอง.

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์






Create Date : 24 ธันวาคม 2555
Last Update : 24 ธันวาคม 2555 10:05:25 น.
Counter : 901 Pageviews.

0 comment
ถ้ายังดูหนัง ฟังเพลง และไปงานปาร์ตี้อยู่ จะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้อย่างไร


ยังมีพวกบริโภคกามโดยไม่จมกาม

ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยผิวกาย, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ชน เหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้มีบาปต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบ ได้ดังเนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในกองบ่วง ในลักษณะที่ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า มันจะถึงซึ่งความพินาศย่อยยับ เป็นไปตามความประสงค์ของพรานทุกประการ, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ดังนี้, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน ชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ไม่ติดใจ ไม่สยบอยู่ ไม่เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าเหล่านี้แล้ว มองเห็นส่วนที่เป็นโทษอยู่ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ บริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความพินาศย่อยยับ ไปตามความประสงค์ของมารผู้มีบาปแต่อย่างใด ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบ เหมือนเนื้อป่าตัวที่ไม่ติดบ่วง แม้นอนจมอยู่บนกองบ่วง มันก็เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า เป็นสัตว์ที่ไม่ถึงความพินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของพรานแต่อย่างใด, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหลีกหนีไปได้ตามที่ต้องการ ดังนี้, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! (อีกอย่างหนึ่ง) เปรียบเหมือนเนื้อป่า เที่ยวไปในป่ากว้าง เดินอยู่ก็สง่างาม ยืนอยู่ก็สง่างาม หมอบอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม. เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่าเนื้อป่านั้นยังไม่มาสู่คลองแห่งจักษุของพราน, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน : สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาณ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร ไปแล้วสู่ที่ที่มารผู้มีบาปมองไม่เห็น.

(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการบรรลุ ทุติยฌาน - ตติยฌาน - จตุตถฌาน - อากาสานัญจายตนะ - วิญญาณัญจายตนะ -อากิญจัญญายตนะ - เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยนัยเดียวกันกับการบรรลุปฐมฌาน เป็นลำดับไป, จนกระทั่งถึง สัญญาเวทยิตนิโรธโดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)

ภิกษุทั้งหลาย ! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น, ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก. ภิกษุนั้นยืนอยู่ก็สง่างาม เดินอยู่ก็สง่างาม นั่งอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม. เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นไม่ได้มาสู่คลองแห่งอำนาจของมารผู้มีบาป, ดังนี้แล.

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า34   
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๒๓๑/๓๒๗-๓๒๘                                                                     

//www.watnapahpong.com:8080/faq/index.php/other/86-daily-life/107-05-02-0044



Create Date : 23 ธันวาคม 2555
Last Update : 23 ธันวาคม 2555 9:48:23 น.
Counter : 1206 Pageviews.

1 comment
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕




Create Date : 21 ธันวาคม 2555
Last Update : 21 ธันวาคม 2555 9:08:13 น.
Counter : 770 Pageviews.

0 comment
พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการตาย : นี้แล เป็นอนุสาสนีของเรา




วินาทีสุดท้ายไม่ต้องทำอะไร หรือคิดอะไร เพราะการคิดจะนำพาเราไปสู่ภพใหม่

ซึ่งจะเป็นบุญหรืออบุญ ก็อยู่ที่อนุสัย (ความเคยชิน)ของเราเอง

สติ สัมปชัญญะ นั่นคือวิธีที่ดีที่สุด คือไม่ต้องคิดเอาจิตให้อยู่กับลมหายใจจนวาระ

สุดท้าย...




Create Date : 20 ธันวาคม 2555
Last Update : 20 ธันวาคม 2555 9:54:52 น.
Counter : 1043 Pageviews.

0 comment
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ..ธรรมะที่ทำให้พระสารีบุตรบรรลุธรรม...


ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ

                แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น

                พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.

ธรรมะที่พระสารีบุตร และ พระโมคลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา ได้ยินได้ฟังจนบรรลุ

เป็นโสดาบัน และเข้ามาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา...

  และนี่คือเรื่องราวตั้งแต่ 2 อัครสาวกได้พบกับพระอัสชิ หนึ่งในปัจจวัคคี และได้ฟังธรรมจนได้เข้า

มาบวชกับพระศาสดา..

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา

พระอัสสชิเถระ

        [๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วย

ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน. ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก. ท่านทั้งสองได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน

ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง. ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร

เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน

น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ. สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิ

กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน

เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า

บรรดาพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่

ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน

หรือท่านชอบใจธรรมของใคร? แล้วได้ดำริต่อไปว่า ยังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะ

ท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ เพราะเป็น

ทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ. ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร

ราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป. จึงสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด

ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. สารีบุตรปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้

 กะท่านพระอัสสชิว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวช

เฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?

อ. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา

บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเรา

ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

สา. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?

อ. เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน

ได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.

สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้อง

การใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

  พระอัสสชิเถระแสดงธรรม

        [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม

                เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ

                ทรงสั่งสอนอย่างนี้.

สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

        [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด

สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่

สารีบุตรปริพาชก

                ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทง

                ตลอดบทอันหาความโศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้

                        พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.

                        สารีบุตรปริพาชกเปลื้องคำปฏิญญา

        [๖๗] เวลาต่อมา สารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชก. โมคคัลลานปริพาชก

ได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ถามสารีบุตรปริพาชกว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์

ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ?

สา. ถูกละ ผู้มีอายุ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว.

โมค. ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร?

        สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี

มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึง

พร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วเราได้มีความดำริว่า บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุอรหัตมรรค

ในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่าน

บวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร เรานั้นได้ยั้งคิดว่า ยัง

เป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านยังกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้น

เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลังๆ เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ลำดับ

นั้น พระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว ต่อมา เราได้เข้า

ไปหาพระอัสสชิ ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอให้เป็น

ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์

ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?

พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เรา

บวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของ

ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของ

ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร? พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา

สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เรา

ได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการ

ใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

        [๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้:-

                ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตทรงแสดงเหตุ

                แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น

                พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.

โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

        [๖๙] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่

โมคคัลลานปริพาชก

                        ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความ

                        โศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้ว

                        หลายหมื่นกัลป์.

สองสหายอำลาอาจารย์

        [๗๐] ครั้งนั้น โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวชักชวนสารีบุตรปริพาชกว่า ผู้มีอายุ เรา

พากันไปสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของเรา.

        สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปริพาชก ๒๕๐ คนนี้อาศัยเรา เห็นแก่เรา จึงอยู่ใน

สำนักนี้ เราจงบอกกล่าวพวกนั้นก่อน พวกนั้นจักทำตามที่เข้าใจ.

        ลำดับนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าว

คำนี้ต่อพวกปริพาชกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย เราจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาค

นั้นเป็นพระศาสดาของเรา.

        พวกปริพาชกตอบว่า พวกข้าพเจ้าอาศัยท่าน เห็นแก่ท่านจึงอยู่ในสำนักนี้ ถ้าท่าน

จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้าทั้งหมด ก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระมหาสมณะด้วย.

        ต่อมา สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปหาท่านสญชัยปริพาชก ครั้นถึงแล้วได้เรียน

ว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระ

ศาสดาของพวกกระผม

        สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน

จักช่วยกันบริหารคณะนี้.

        แม้ครั้งที่ ๒ ...

        แม้ครั้งที่สาม สารีบุตรโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ต่อสญชัยปริพาชกว่า ท่านขอรับ พวก

กระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระศาสดาของพวกกระผม.

สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เราทั้งหมด ๓ คน

จักช่วยกันบริหารคณะนี้.

ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพาปริพาชก ๒๕๐ คนนั้น มุ่งไปทางที่จะไปพระวิหาร

เวฬุวัน. ก็โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากสญชัยปริพาชกในที่นั้นเอง.

ทรงพยากรณ์พระอัครสาวก

        [๗๑] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตรโมคคัลลานะมาแต่ไกลเทียว ครั้น

แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนนั้น คือโกลิตะ และอุปติสสะ

กำลังมานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา

                ก็สหายสองคนนั้นพ้นวิเศษแล้ว ในธรรมอันเป็น

                ที่สิ้นอุปธิ อันยอดเยี่ยม มีญาณวิสัยอันลึกซึ้ง

                ยังมาไม่ทันถึงพระวิหารเวฬุวัน พระศาสดา

                ทรงพยากรณ์ ว่าดังนี้

                สหายสองคนนี้คือ โกลิตะและอุปติสสะกำลัง

                มานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญ

                ชั้นเยี่ยมของเรา.

เข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท

        [๗๒] ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว

ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอ

พวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอัน

เรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

        พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑                   

ข้อที่ 64-72 หน้าที่ 56-60



Create Date : 19 ธันวาคม 2555
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 9:04:28 น.
Counter : 1257 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog