นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

 

❤️หมอหัวใจฝากมาบอก!! ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งคนไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน

และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตการเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13%และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี

↔️ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ20%

↔️เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10%

↔️หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10%

เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก

☑️มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

☑️ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้

คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคร่วมในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในโรคเดิมของผู้ป่วยเอง ดังนี้

↔️โรคหัวใจพบในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% โดยแบ่งเป็น
- เส้นเลือดหัวใจตีบ ประมาณ 10%
- หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ประมาณ 5%

↔️ความดันโลหิตสูง พบเป็นโรคร่วมได้ ถึง 20-30%

↔️เบาหวาน พบเป็นโรคร่วมได้ 10-15%

↔️เส้นเลือดสมองตีบ พบเป็นโรคร่วมได้ 5%

ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเคร่งครัดมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า

☑️ ควรปฏิบัติตัวตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก

☑️ หากมีอาการไข้ หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรงและต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง

☑️ รับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

☑️ ยาบางตัวใช้รักษา COVID-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19

โดยคุณหมอจะเน้นการรักษาโรคเดิมให้ได้ตามเป้าหมาย อย่างเคร่งครัด มีความแทรกซ้อนทางหัวใจ กับผู้ป่วยโรคหัวใจ, โรคความดัน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โดยอาจเพิ่มระยะเวลานอนรพ., เพิ่มอัตราการเสียชีวิต, การนอนICU

ดังนั้น การมาพบแพทย์ตามนัด จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อติดตามการรักษา การทานยาและปฏิบัติตามแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัดและสามารถควบคุมโรคได้ดีสำคัญมากเนื่องจากหากเจ็บป่วยด้วย COVID-19 แล้วอาจทำให้เกิดผล




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2563   
Last Update : 18 พฤษภาคม 2563 10:14:23 น.   
Counter : 5783 Pageviews.  


หน้าร้อนให้ระวังอาหารเป็นพิษ อันตรายถึงชีวิต


ในช่วงที่อากาศร้อนแบบนี้ ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งอาการท้องเสียเฉียบพลันจากอาหารเป็นพิษนั้นมักเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ที่ปนเปื้อนมากับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือเป็นมูก ถ่ายติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง และอาจมีอาการปวดท้องบิด เป็นๆ หายๆ หรือมีอาการท้องอืดคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการมักเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 1-6 วัน และสามารถหายได้เองหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

ในกรณีที่อาการรุนแรงอาจถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมากกว่า 10 ครั้ง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุจำเป็นบางคนเกิดอาการช็อค เป็นสาเหตุให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว เช่น ไตวายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวดังนั้นไม่ว่าอาการจะมากหรือน้อย ก็ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

📌วิธีป้องกัน ควรเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เสร็จใหม่ ไม่ค้างคืน ดื่มน้ำสะอาด และล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง อีกอย่างช่วงนี้คนใช้บริการสั่งอาหารส่งถึงบ้าน (Delivery) กันเยอะ ควรเลือกร้านที่ไว้ใจได้ การขนส่งได้มาตรฐานและตรวจสอบสภาพอาหารก่อนบริโภค เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับอาหาร ที่จะทำให้เราท้องเสียได้แล้ว




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2563   
Last Update : 15 พฤษภาคม 2563 10:25:46 น.   
Counter : 317 Pageviews.  


วัคซีนเรื่องจำเป็นของผู้ใหญ่และวัยเกษียณ



วัคซีนเรื่องจำเป็นของผู้ใหญ่และวัยเกษียณ

เรามักจะเข้าใจกันว่าวัคซีนจำเป็นสำหรับเด็ก แต่ความจริงแล้วการได้รับวัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน การป้องกันก่อนเกิดโรคถือเป็นหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ที่มักจะมีความรุนแรงมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นของเรา

วัคซีนที่แพทย์แนะนำสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญและพบเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือป่วยหนัก เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต

วัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น วัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ งูสวัด ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนควรพบแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีด แพทย์จะให้คำแนะนำ ข้อบ่งชี้หรือข้อห้ามของวัคซีนแต่ละตัว เพื่อให้คนไข้ได้รับประโยชน์สูงสุดและปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนนั่นเอง

📌วัคซีนผู้ใหญ่ที่ควรฉีดและประโยชน์ของวัคซีนแต่ละชนิด คลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/295




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2563   
Last Update : 13 พฤษภาคม 2563 14:02:11 น.   
Counter : 445 Pageviews.  


รู้หรือไม่? การอดอาหารไม่ได้ทำให้เป็นโรคกระเพาะ


น้ำย่อยในกระเพาะกัดกระเพาะไม่ได้นะครับ เพราะในกระเพาะมีชั้นเมือกเคลือบไว้ ทำหน้าที่ปกป้องอยู่แล้ว จริงๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะนั้น มาจากเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori หรือ H. Pylori) ต่างหากซึ่งเจ้าแบคทีเรียนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมายตั้งแต่แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในหลอดอาหาร รวมไปถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่เชื้อแบคทีเรียนี้จะอาศัยอยู่ที่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารเป็นหลัก ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทำให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น

จากการประเมินพบว่าประชากรทั่วโลกมีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้อยู่ในร่างกายถึง 50% บางประเทศอาจมีมากถึง 60% ด้วยซ้ำ โดย 15% ของคนที่มีเชื้อจะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วมด้วย แต่บางคนก็อาจมีอาการนิดหน่อย ไม่เป็นไรมาก และถ้าพูดถึงคนที่มีแผลในกระเพาะอาหารมีถึง 90% ที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง แต่จะบอกว่าแบคทีเรียตัวนี้ไม่ได้มีอยู่ในอาหารไหนมากเป็นพิเศษ ฉะนั้นทานได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

ปัจจุบันเราสามารถตรวจหาเชื้อแบคทีเรียนี้ในกระเพาะอาหารได้หลายวิธีเช่น กินยาแล้วตรวจจากลมหายใจ หรือเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ หรือถ้าใครมีแผนจะตรวจร่างกายด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารอยู่แล้ว ก็ตรวจได้เลย เพราะตอนส่องกล้อง หมอจะเข้าไปเก็บตัวอย่างเยื่อบุกระเพาะมาตรวจด้วย ก็จะทำให้ผลตรวจละเอียดขึ้นไปอีก

ซึ่งหลายคนเมื่อเป็นโรคกระเพาะแล้วมักจะเป็นอยู่เรื่อยๆ ไม่หายสักที บางคนบอกกินอาหารตรงเวลาแล้ว อาการก็ดีขึ้นเดี๋ยวเดียว อีกสักพักก็กลับมากำเริบอีก นั่นก็เพราะร่างกายเรายังมีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้อยู่ก็เลยไม่หายซักที
 
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การกำจัดเชื้อออกไปให้หมดด้วยการทานยาฆ่าเชื้อตามที่หมอสั่ง (ยกเว้นบางรายที่ดื้อยา) ซึ่งถ้ากำจัดเชื้อออกไปหมดแล้วไม่ค่อยมีใครกลับไปเป็นซ้ำอีก นอกจากจะไม่ต้องไปหาหมอรักษาโรคกระเพาะบ่อยๆ แล้วยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

ยกเว้นว่าช่วงที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารอยู่ ถ้ากินข้าวไม่เป็นเวลา กินอาหารไม่สะอาด กินรสเผ็ดจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือกินยาที่กัดกระเพาะ น้ำย่อยก็อาจไปทำร้ายแผลเดิม อาการก็อาจกลับมากำเริบได้เช่นกัน




 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2563   
Last Update : 11 พฤษภาคม 2563 11:59:35 น.   
Counter : 712 Pageviews.  


เชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19


เชิญร่วมบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ COVID-19
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/532

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยังคงประสบภาวะวิกฤติโลหิตไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง

โรงพยาบาลรามคำแหงร่วมกับสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 25 ในวันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00-15.00 น. (พักเที่ยง 12.00-13.00 น.) ณ ห้องประชุมอาคาร 3 ชั้น 10 รพ.รามคำแหง

โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาคจากท่าน สภากาชาดไทย จะนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ

สายด่วนสุขภาพโทร 0 2743 9999 ต่อ 2999 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : แอดไลน์โรงพยาบาลรามคำแหง ID Line : @ramhospital หรือ คลิก https://lin.ee/dED0pj2




 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2563   
Last Update : 8 พฤษภาคม 2563 10:25:24 น.   
Counter : 599 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com