นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
 

พังผืดออกฤทธิ์จนอุ้งมือแฟบ มือไม้ชาหมดแรง

มักมีอาการปวดชา 3 นิ้วสร้างความรำคาญให้ผู้ป่วย ปล่อยทิ้งไว้อาจใช้งานมือเจ้าปัญหาไม่ได้แพทย์แนะวิธีแก้แค่ผ่าตัดเลาะพังผืดออกซึ่งปัจจุบันทำได้ 2 แบบคือผ่าตัดแผลเล็กและผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ซึ่งให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันไป ย้ำสังเกตอาการแต่เนิ่นๆและรีบรักษาดีกว่า

ปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายโรคออกไปซึ่งบางโรคก็มีอาการคล้ายคลึงกัน สร้างความสับสนให้ผู้ป่วยได้ เช่นกรณีที่เกิดอาการมือชาหรือมีการปวดข้อมือซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกล้ามเนื้ออักเสบมะเร็ง เส้นประสาทถูกกดทับบริเวณต้นคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ หรือเกิดพังผืดที่ข้อมือ ซึ่งในกรณีของการเกิดพังผืดที่ข้อมือนั้นถือว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงนักเพียงแต่อาจสร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วยและทำลายบุคลิกภาพเท่านั้น ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

สำหรับการผ่าตัดรักษาสามารถทำได้2 วิธี คือการส่องกล้องผ่าตัด ซึ่งจะให้แผลผ่าตัดเล็กแต่ผลการผ่าตัดอาจไม่ประสบผลสำเร็จในทุกราย ด้วยข้อจำกัดในการมองเห็นของเครื่องมือกับอีกวิธีหนึ่งคือการเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ซึ่งจะให้แผลผ่าตัดประมาณ 1- 2 เซนติเมตรโดยการผ่าตัดตามแนวเส้นลายมือจากกลางฝ่ามือไล่มาจนถึงข้อมือ แต่การผ่าตัดในลักษณะนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อภายในข้อมือได้อย่างชัดเจนสามารถนำพังผืดออกจากข้อมือได้หมดมีความปลอดภัยและสามารถให้ผลการรักษาที่น่าพอใจได้

การเกิดพังผืดที่ข้อมือนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ดังนั้น หากเกิดอาการมือชาก็ควรพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่าลักษณะของการชาเป็นอย่างไรเช่น ชาทั้งมือ ชาบางส่วนบางนิ้ว ชา 3 นิ้ว ซึ่งการปรึกษาแพทย์จะช่วยให้การบำบัดรักษาเป็นไปอย่างถูกวิธี

ปัจจุบันแพทย์สามารถสันนิษฐานสาเหตุของการชามือได้จากอาการของผู้ป่วยเบื้องต้นหลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้ารับการตรวจกล้ามเนื้อและประสาทด้วย EMG เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจด้วย EMG นั้นสามารถบอกความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนปลายคือ ตั้งแต่เซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลัง เส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทสั่งการจนกระทั่งความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง โดยมีหลักฐานแสดงได้อย่างชัดเจนเพื่อช่วยให้แพทย์ที่ทำการรักษาได้ทราบถึงการดำเนินโรค และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องมากขึ้นด้วย




 

Create Date : 18 เมษายน 2555   
Last Update : 18 เมษายน 2555 11:02:49 น.   
Counter : 1650 Pageviews.  


ไหลตาย-หัวใจตายเฉียบพลัน

ไหลตาย-หัวใจตายเฉียบพลัน...มัจจุราชเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


ผู้ป่วยมักมีอาการหัวใจเต้นรัวเร็วจนล้มเหลวและหยุดเต้นในที่สุดหากไม่ได้รับการช่วยชีวิตภายใน 4นาทีผู้ป่วยจะต้องจากโลกไปก่อนวัยอันควรแพทย์แนะอาการหัวใจตายเฉียบพลันมักเกิดในผู้ป่วยโรคหัวใจ ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจึงควรเข้ารับการตรวจให้รู้แต่เนิ่นๆเพราะปัจจุบันมีวิธีป้องกันไม่ให้หัวใจตายได้

ภาวะหัวใจตายเฉียบพลันถือเป็นภัยเงียบที่ควรต้องใส่ใจอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นภาวะที่มักไม่มีสัญญาณเตือนก่อนดังเช่นโรคอื่นๆผู้ป่วยที่เผชิญสถานการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่จึงต้องสูญเสียชีวิตไปโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจตายเฉียบพลันมักมีอาการหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติจนหัวใจล้มเหลวและหยุดเต้นในที่สุดอาทิ ผู้ป่วยโรคไหลตายซึ่งหัวใจหยุดเต้นโดยไม่รู้ตัวขณะที่เจ้าตัวนอนหลับ ซึ่งภาวะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยและมักเกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจซึ่งหากเกิดอาการหัวใจตายเฉียบพลันแล้วผู้ใกล้ชิดจะมีเวลาในการกู้ชีพเพียง 4นาที ด้วยวิธีปั๊มหัวใจและปฐมพยาบาลเบื้องต้นซึ่งเมื่อผู้ป่วยกลับมาหายใจได้ใกล้เคียงกับปกติแล้วจะต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจตายเฉียบพลันนั้นปัจจุบันสามารถทำได้โดยการฝังอุปกรณ์บางชนิดเข้าไปใต้ผิวหนังช่วงหน้าอกซ้ายและเชื่อมสายไฟไปต่อเข้ากับหัวใจซึ่งเมื่อใดที่หัวใจเกิดอาการเต้นเร็วกว่าปกติ อุปกรณ์ดังกล่าวก็จะส่งกระแสไฟเข้าสู่หัวใจทำให้กลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิมก่อนที่จะเต้นผิดจังหวะมากจนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมากเพราะหากเกิดอาการขึ้นแล้วจะต้องได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีภายในเวลา4นาทีเท่านั้นทางที่ดีแล้วผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจหรือมีอาการเข้าข่ายว่าจะมีความผิดปกติด้านหัวใจจึงควรต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดส่วนผู้ใกล้ชิดก็ต้องเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับภาวะหัวใจตายและสูญเสียชีวิตอย่างน่าเสียดาย




 

Create Date : 09 เมษายน 2555   
Last Update : 9 เมษายน 2555 14:35:25 น.   
Counter : 1540 Pageviews.  


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรค มือ เท้า ปาก


โรคมือเท้าปากมีสาเหตุมาจากอะไร
โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิดอเช่น เชื้อค๊อกแซกกี่ A ( COXSACKIC VIRUS A) ซึ่งเชื้อนี้ไม่จะรุนแรง เป็นแล้วเองได้ แต่ถ้าเป็นจากเชื้อค๊อกแซกกี่ B (COXSACKIC VIRUS B ) หรือเอนเทอโรไวรัส 71
( Enterovirus 71 ) อาการจะรุนแรงกว่ามาก อาจทำให้เกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบ , สมองอักเสบ , อัมพาต หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

โรคนี้พบได้บ่อยในช่วงไหนและติดต่อกันได้อย่างไร
ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงฤดูร้อน สามารถติดต่อกันได้ทางน้ำลาย เช่น สัมผัสผ่านมือที่จับอาหาร ใช้ภาชนะร่วมกัน เช่นแก้วน้ำ หรือติดต่อทางลมหายใจจากการไอหรือจามเหมือนกับโรคหวัด หลังจากได้รับเชื้อแล้ว จะมีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้นคือ ประมาณ 3-6 วัน ถึงจะมีอาการแสดงให้เห็น ภายหลัง

การได้รับเชื้อจะมีอาการเกิดขึ้นทุกคนหรือไม่
ถ้าเป็นเด็กเล็กจะปรากฏอาการ 100 % ถ้าเป็นเด็กนักเรียน อาจแสดงอาการ 38 % และในผู้ใหญ่แสดงอาการ 11 %

อาการใดบ้างที่ควรจะคิดถึงโรคนี้
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีไข้เจ็บคอประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะมีแผลลักษณะคล้ายแผลร้อนในปากที่ลิ้นกระพุ้งแก้ม ขนาดประมาณ 4-8 มิลลิเมตร จะพบตุ่มใสๆ ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มักพบที่ก้นด้วย ขนาดประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ตุ่มเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 7 วัน

โรคนี้มีความรุนแรงหรือไม
โดยส่วนใหญ่จะหายได้เหมือนกับโรคจากไวรัสทั่วๆไป โดยให้การรักษาตามอาการ ยกเว้นโรคที่เกิดจากไวรัสบางสายพันธุ์ เช่น Enterovirus 71 และเกิดในเด็กเล็กต่ำกว่า 4-5 ปี อาจจะมีอาการทางสมอง และระบบประสาทมีอาการอักเสบของปอด และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่พบค่อนข้างน้อย

สามารถจะวินิฉัยได้อย่างไร
สามารถวินิจฉัยจากประวัติ และอาการแสดงทางร่างกาย

ควรปฎิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลี หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดนเฉพาะผู้เลี้ยงเด็ก ควรล้างทำความสะอาดมือบ่อยๆ ก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทานและรับประทานอาหารสุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ
- ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดน้ำ
- เมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลายให้เด็กแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
- ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ ต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็วและทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ
- ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน


การดูแลรักษาควรทำอย่างไร
ส่วนใหญ่โรคนี้จะหายเองได้ภายในระยะเวลาไม่เกิด 1 สัปดาห์ เหมือนกับโรคหวัด เพียงแค่ให้การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ แต่เด็กอาจจะมีอาการเจ็บเยื่อบุในช่องปากจนไม่อยากทานอาหาร ควรให้ทานอาหารอ่อนๆถ้าเด็กไม่ทานอาหารอาจมีไข้สูง ซึมลงหรือมีอาการเหนื่อยหอบควรรีบนำไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆเพื่อรับการรักษาไว้ในโรงพยาบาลเพื่อดูแลอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้



//www.ram-hosp.co.th




 

Create Date : 04 เมษายน 2555   
Last Update : 4 เมษายน 2555 14:58:40 น.   
Counter : 1439 Pageviews.  


ภาพงานสัมมนา“ ป้องกันอย่างไร...ให้ห่างไกลจากมะเร็งลำไส้ ? ”

ภาพงานสัมมนา "ป้องกันอย่างไร...ให้ห่างไกลมะเร็งลำไส้"
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2555 ณ.ห้องประชุมอาคาร C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง
โดยที่งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พญ.ถิรทัย เตรีกุลและแพทย์หญิงสรรพจน์ โคมทอง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหารรงพยาบาลรามคำแหง

เป็นผู้ให้ความรู้เรื่อง วิธีการป้องกันและวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
บรรยากาศภายในงานอบอุ่นเป็นกันเอง และยังเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมสัมมนาสอบถามข้อสงสัยต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องมะเร็งลำไส้ทุกเรื่องที่อยากรู้ และผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้รับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดความดันตา และมีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ
เรียกได้ว่าใครที่มาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับความรู้และสุขภาพที่ดีกลับบ้านกันทุกคน.....
















 

Create Date : 29 มีนาคม 2555   
Last Update : 29 มีนาคม 2555 11:42:23 น.   
Counter : 1974 Pageviews.  


ขอเชิญร่วมสัมมนาในหัวข้อ “ ป้องกันอย่างไร..ให้ห่างไกลจากมะเร็งลำไส้ ? ”

คลินิกระบบทางเดินอาหาร รพ.รามคำแหง
ขอเชิญร่วมสัมมนาในหัวข้อ “ ป้องกันอย่างไร..ให้ห่างไกลจากมะเร็งลำไส้ ? ”
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2555 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคาร C โรงพยาบาลรามคำแหง


13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน พร้อมรับบริการตรวจสุขภาพ
- ตรวจวัดความดันโลหิตด้วยระบบดิจิตอล
- ตรวจวัดความดันตาอัตโนมัติชนิดไม่สัมผัส
- รับคำปรึกษาโรคระบบทางเดินอาหารโดยผู้เชี่ยวชาญ

13.30 – 15.00 น. ป้องกันอย่างไร..ให้ห่างไกลจากมะเร็งลำไส้
โดยผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร
พญ.ถิรทัย เตรีกุล
พญ.สรรพจน์ โคมทอง

15.00 – 16.00 น. ไขข้อข้องใจ...โรคมะเร็งลำไส้
16.00 น. รับประทานอาหารว่าง
จบการสัมมนา



ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งด่วนที่...คลินิกระบบทางเดินอาหาร อาคาร B ชั้น 2
หรือ โทร 0-27439999 ต่อ Call Center 2680 ,2688,2699




 

Create Date : 08 มีนาคม 2555   
Last Update : 8 มีนาคม 2555 10:02:18 น.   
Counter : 1509 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  155  156  157  158  159  160  161  162  163  164  165  166  167  168  169  170  171  172  173  174  175  176  177  178  179  180  181  182  183  184  185  186  187  188  189  

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com