นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
วัคซีนชนิดต่างๆ

วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีดดีอย่างไร

วัคซีนป้องกันโปลิโอมี 2 ชนิดคือ

1. Oral Polio Vaccine ( OPV ) ทำจากไวรัสโปลิโอที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ให้โดยการหยดทางปาก

2. Inactivated Polio Vaccine ( IPV ) ทำจากไวรัสที่ตายแล้วต้องให้โดยการฉีด

วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอได้ดีใกล้เคียงกัน แต่มีข้อดี ข้อเสียต่างกันคือ

ข้อดีของ OPVคือให้ง่าย,ราคาถูก,ป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสียของOPV คือเป็นวัคซีนที่ทำจากไวรัสมีชีวิต ถ้าให้ในเด็กที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเป็นอันตรายได้

โดยถ้าให้ในเด็กที่ภูมิคุ้มกันปกติโอกาสเป็นอันตรายเพียงแค่1ใน2.4ล้านครั้งแต่ถ้าให้ในเด็กที่ภูมิคุ้มกันพบพร่องโอกาสเกิดอันตรายสูงขึ้น 3,200-6,800 เท่าโดยความเสี่ยงจะสูงในการให้ครั้งแรก ส่วนครั้งต่อ ๆ มาโอกาสจะน้อยลงมาก

ข้อดีของ IPV คือเนื่องจากเป็นวัคซีนที่ทำจากไวรัสไม่มีชีวิต จึงสามารถให้ได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ข้อเสียของ IPVคือราคาแพงต้องให้โดยการฉีดเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถให้ในกรณีต้องการป้องกันการระบาดในชุมชนอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำให้ใช้วัคซีนโปลิโอชนิดกินอยู่ โดยเฉพาะในเขตที่ยังพบโปลิโออยู่ แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง จำเป็นต้องใช้ IPV ส่วนเด็กที่ภูมิคุ้มกันปกติ แต่มีความประสงค์จะใช้ IPV เพื่อลดความเสี่ยงของ OPV อาจใช้ IPVเพียง 2ครั้งแรก คือเมื่ออายุ 2,4 เดือน และใช้ OPV เมื่ออายุ 6-18 เดือน และ 4-6 ปี

ปัจจุบันมีวัคซีนซึ่งมี IPV รวมกับ คอตีบ,ไอกรน,บาดทะยัก ซึ่งเด็กจะต้องได้รับด้วยการฉีดอยู่แล้วทำให้เด็กไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มขึ้น

วัคซีนไข้สมองอักเสบ เป็นอย่างไร

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันการติดเชื้อที่สมองในเด็ก อยู่ 2 ชนิด คือ

1. วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ หรือ Japanese encephalitis (JE)

JE Vaccineถือเป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องให้กับเด็กไทยทุกคนในช่วงอายุ 1-

1ปีครึ่งโรคไข้สมองอักเสบ JEเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศแถบเอเชียใน

ประเทศไทยพบได้บ่อยทางภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,ภาค

กลาง รวมทั้งชานเมืองกรุงเทพฯเชื้อ JEเพิ่มจำนวนในหมูและพาหะนำโรค

คือยุง ซึ่งเพาะพันธุ์ในนาข้าว โรคนี้จึงพบในเขตชนบทมากกว่าเขตเมือง

อัตราการตายในโรคนี้สูง10-35 % และอัตราการเกิดความพิการทางสมอง

สูงถึง 30-50 %

2. วัคซีน HIB ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อ HIBหรื Hemophilusinfluenge tyrebเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมอง

อักเสบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2ปีในภาพรวมอัตราการเกิดความพิการ และ

อัตราการตายสูง จึงทำให้มีการใช้วัคซีน HIB นี้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่ม

ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก (Nursery)หรืออยู่ในชุมชน

แออัดเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเด็กที่เป็นธาลัสซีเมีย เป็นต้น

การฉีดวัคซีน HIBจะฉีดเมื่อเด็กอายุ 2,4และ6เดือนโดยปัจจุบันมี

วัคซีนที่รวมHIBกับคอตีบ,ไอกรน,บาดทะยักและโปลิโอชนิดฉีดในเข็ม

เดียวกัน ซึ่งเด็กจำเป็นต้องได้รับในช่วงอายุเดียวกัน คือ 2,4 และ 6

เดือน ทำให้เด็กไม่ต้องถูกฉีดยาเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร ตัวอย่างวัคซีนรวม

ดังกล่าว ได้แก่ Pentacthib ,Infanrix-IPV-HIB เป็นต้น

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ

ตับอักเสบ เอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และอาจพบการระบาดได้ ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือ น้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

การติดเชื้ออาจไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยจนอาจถึงอาการรุนแรงจนทำให้เกิดตับอักเสบแบบเฉียบพลันและตับวายได้

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ

และความปลอดภัยสูงแต่มีราคาแพง จึงพิจารณาให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน

และมีความเสี่ยงต่อโรคตับรุนแรง เช่น ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง นอกจากนี้ควร

พิจารณาให้ในผู้ประกอบอาหาร ผู้ที่จะเดินทางไปในที่ที่มีการระบาด ส่วนเด็ก

ทั่วไปอาจป้องกันโดยเคร่งครัดในเรื่องสุขอนามัยความสะอาดของอาหารและ

น้ำดื่ม หรือให้วัคซีนป้องกัน โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 ปี ขึ้นไปไม่

จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันก่อนฉีดในเด็กไทย เพราะส่วนใหญ่ยัง

ไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ควรพิจารณาตรวจเลือดก่อนฉีดในผู้ใหญ่ ซึ่งหากมี

ภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

อีสุกอีใส (Chicken pox) เป็นโรคที่ไม่รุนแรงในเด็กปกติ แต่อาจทำให้มีผลเสียทางอ้อม เช่น ต้องหยุดโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแล

อาการของโรคและผลกระทบจะมากขึ้นกรณีเป็นเด็กโต,ผู้ใหญ่

เพราะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้มากขึ้น เช่น ปอดอักเสบ,ติดเชื้อ

แบคทีเรียซ้ำเติม หรือมีอาการทางสมอง เป็นต้นหลังจากเป็นอีสุกอีใส เชื้อจะ

ยังคงหลบซ่อนอยู่ในปมประสาททำให้มีโอกาสเกิดเป็นงูสวัสได้ เมื่อภูมิ

ต้านทานของร่างกายอ่อนแอลงประมาณว่า 15%ของคนทั่วไปที่เคยเป็น

อีสุกอีใส จะเป็นงูสวัสในที่สุด

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส โดยในเด็กอายุ 1-13 ปีฉีด 1ครั้ง เด็กอายุเกิน 13 ปีและผู้ใหญ่ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 4-8 สัปดาห์

คนที่ได้รับวัคซีนไปแล้วเมื่อไปสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ป่วยเป็นโรค

อีสุกอีใส เช่นอยู่ในบ้านเดียวกัน อาจติดโรคได้แต่อาการจะน้อยมาก เมื่อ

เปรียบเทียบกับคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน วัคซีนป้องกันการเกิดอีสุกอีใส

ได้ 70-90 % และป้องกันการเกิดโรคอีสุกอีใสรุนแรงได้ 95 % เด็กที่ได้รับ

วัคซีนมีโอกาสเป็นโรคงูสวัสประมาณ 2%ซึ่งต่ำกว่า ผู้ที่ติดเชื้ออีสุกอีใสตาม

ธรรมชาติ (ประมาณ 15 % )

แต่เนื่องจากวัคซีนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงดังนั้น

อาจพิจารณาฉีดเมื่อเด็กอายุ 10-12 ปี แล้วยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส เพราะจะ

ลดการฉีดวัคซีนลงได้ 60 % แต่ถ้าให้วัคซีนในเด็กอายุเกิน 13 ปีไปแล้ว

ต้องให้ 2 เข็ม ทำให้ต้องสิ้นเปลืองมากขึ้นจึงควรให้ก่อนเด็กอายุเกิน 13 ปี








Create Date : 07 มกราคม 2554
Last Update : 7 มกราคม 2554 14:08:10 น. 1 comments
Counter : 2687 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:04:53 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com