นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
การติดเชื้อ HPV กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองของมะเร็งในสตรีทั่วโลกแต่ในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยและพบมากในช่วงอายุ 35 ถึง 60 ปีโดยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่มากกว่า 6,000 รายต่อปี หรือประมาณ 21 รายต่อสตรี 100,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 3,166รายต่อปี

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยที่แพทย์สามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ “ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก” ซึ่งผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการ

เชื้อเอชพีวี เป็นสาเหตุสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากพอจนสรุปได้ว่า เชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส หรือ เอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV ) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูกโดยพบเชื้อนี้จากผลการตรวจชิ้นเนื้อของมะเร็งปากมดลูกเกือบทุกรายที่เป็นมะเร็ง (ร้อยละ 99.7)ไวรัสชนิดนี้ติดได้ทางเพศสัมพันธ์และเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะสืบพันธุ์

เชื้อเอชพีวีที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์มีมากกว่า 50 สายพันธุ์พบว่าสายพันธุ์ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 13 สายพันธุ์จะก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกและอาจจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ส่วนสายพันธุ์ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำอาจทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น

การตรวจหามะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกหรือที่เรียกว่า “แพปเสมียร์” ได้รับการยอมรับกันทั่วโลกว่าสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ดีการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแพปเสมียร์ดั้งเดิม หรือ วิธีตินเพร็พ ยังมีปัญหาในเรื่องความไวในการวินิจฉัยโรค ทำให้มีผลลบปลอมค่อนข้างสูง (หมายถึงมีเซลล์ผิดปกติอยู่ที่ปากมดลูกแต่ตรวจไม่พบโดยวิธีดังกล่าว) ทำให้การตรวจครั้งนั้นผิดพลาดส่งผลทำให้คนไข้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ

เทคนิคใหม่ในการตรวจหา HPV DNA

การตรวจหาตัวเชื้อเอชพีวีโดยตรง หรือที่เรียกว่า HPV DNA โดยวิธี PCR หรือ Polymerase Chain Reaction เป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุล ที่ให้ความไวในการตรวจที่สูง (ร้อยละ 96 – 98.7) นั่นคือสามารถตรวจพบเช้อได้ตั้งแต่ในระยะแรกๆ ที่มีการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับการตรวจ “ แพปเสมียร์” เทคนิคนี้จะตรวจหาเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และพบว่าการตรวจหาเช้อเอชพีวีร่วมกับการตรวจแพปเสมียร์จะมีความไวสูง ในการวินิจฉัยคามผิดปกติของปากมดลูกหรือกล่าวคือ แทบไม่มีผลลบลวงจากการตรวจเลย

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ป้องกันได้การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกต้องใช้ระยะเวลาเป็นปีๆ การตรวจคัดกรองหาความผิดปกติที่ปากมดลูกแต่เนิ่นๆ ร่วมกับการให้การดูแลรักษาจึงเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

ใครบ้างที่ควรจะตรวจหาเชื้อเอชพีวีร่วมกับการตรวจ “ แพปเสมียร์”

สมาคมโรคมะเร็งและองค์การอาหารและยาแห่สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้ตรวจหาเชื้อเอชพีวีร่วมกับแพปเสมียร์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปโดยถ้าผลการตรวจเป็นปกติก็สามารถเว้นระยะการตรวจได้ทุกๆ 3 ปี หากผลการตรวจทั้ง 2วิธี ไม่สอดคล้องกันเช่นผลการตรวจเอชพีวีให้ผลบวก แต่ไม่พบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจแพปเสมียร์ แพทยจะนัดให้ผู้ป่วยมาทำการตรวจยืนยันทั้ง 2 วิธีทุกๆ 6 ถึง 12 เดือน ดังแผนผังข้างล่าง

ตรวจ HPV DNA ร่วมกับการตรวจ “แพปเสมียร์ “

HPV DNA (+) HPV (+ ) HPV DNA (-)

“ แพปเสมียร์ “(+) “แพปเสมียร์” (-) “แพปเสมียร์” (-)

มีความเสี่ยงสูงในการเป็น มีโอกาศที่จะเป็นมะเร็ง มีความเสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็ง

มะเร็งปากมดลูกแนะนำส่งต่อ ปากมดลูกแนะนำให้ แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3ปี

ผู้ป่วยไปส่องกล้องภายใน ตรวจซ้ำทุก 6 – 12 เดือน

หมายเหตุ : สตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 ปีขึ้นไปที่ผลการตรวจเอชพีวีเป็นบวกแต่ผลของแพปเสมียร์ ปกติมีโอกาส เสี่ยงสูงถึง 116 เท่าที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกเมื่อเทียบกับกลุ่มสตรีวัยเดียวกันที่ผลการตรวจทั้ง 2 วิธีเป็นปกติ




Create Date : 03 ธันวาคม 2553
Last Update : 3 ธันวาคม 2553 15:35:56 น. 1 comments
Counter : 1373 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:04:08 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com