นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
COVID-19 ไม่ได้ทำร้ายแค่ปอด ติดเชื้อขึ้นมาระบบทางเดินอาหารและตับก็พังได้ด้วย




นอกจากที่เราเคยได้ยินกันมาโดยตลอด ว่า COVID-19 มุ่งเน้นทำลายระบบทางเดินหายใจเป็นหลักแล้ว ต้องบอกว่าตอนนี้มีงานวิจัยหลายตัว บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับได้ด้วย

เนื่องจากไวรัส COVID-19 เวลามันเข้ามาโจมตีร่างกายเรา มันไม่สามารถเข้ามาได้โดยตรง เพราะภูมิคุ้มกันเราจะคอยดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ทว่าเชื้อ COVID-19 นั้นฉลาดมาก ในเมื่อเดินเข้ามาทื่อๆไม่ได้ ก็ติดขออาศัยตัวรับบนผิวเซลล์อื่นๆในการเข้าออกร่างกายแทน อารมณ์เหมือนคนแปลกหน้าอยากเข้าหมู่บ้าน แต่รปภ.ไม่ปล่อยเข้า ก็ดักจี้ลูกบ้าน แล้วอาศัยติดรถเข้ามาในร่างกายพร้อมกัน
 
ซึ่งตัวรับบนผิวเซลล์ที่เป็นช่องทางให้เจ้า COVID-19 อาศัยเข้ามาในร่างกายมีชื่อว่า ACE2 Receptor โดยปกติแล้วจะพบตัวรับบนผิวเซลล์ชนิดนี้ได้มากในปอดและเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ก่อนหน้านี้เราก็เลยสันนิฐานกันว่ามันน่าจะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ในระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก
 
แต่ทว่า เจ้าACE2 Receptor ตัวนี้ที่โดน COVID-19 ดักปล้น นอกจากจะมีเยอะในปอดแล้ว ยังพบมากในเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินอาหารและเยื่อบุท่อน้ำดีอีกด้วย !!สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร ส่งผลให้เซลล์ทำงานผิดปกติเกิดการดูดซึมผิดปกติ และมีการรั่วซึมของสิ่งแปลกปลอมภายนอกเข้าสู่เซลล์เพิ่มขึ้น

โดยอาการของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่ได้แก่
  • อาการท้องเสีย (เจอบ่อยสุด)
  • คลื่นไส้อาเจียน (พบบ้างปานกลาง)
  • ปวดท้อง (มีน้อยเคส)
ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นในทางระบบทางเดินอาหารเหล่านี้มักแสดงก่อน 1-2 วันแรก หลังจากนั้นเราจึงเริ่มมีอาการไข้ หรือหายใจหอบเจ็บปอดอะไรแบบนั้นตามมาและอาการในระบบทางเดินอาหารอาจรุนแรงตามผู้ป่วย COVID-19 ที่ติดเชื้อรุนแรงอีกด้วย
 
ส่วนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ แล้วเกิดติดเชื้อ COVID-19 ด้วยนั้น...
 
COVID-19 X โรคตับ= อันตรายคูณ 2
 
มีสถิตินึงพบว่า ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เมื่อตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ตับ (ASTและALT) ค่าที่ได้จะสูงผิดปกติ (ซึ่งพบได้ราว 14-57% ของผู้ป่วย)โดยมีระดับสูงขึ้นประมาณ 1-3 เท่าของค่าปกติ จึงไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการทางตับที่ชัดเจน อีกทั้งค่าตับสามารถกลับเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องให้การรักษาจำเพาะ

ในกรณีที่ผู้ป่วย COVID-19 มีโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังเดิมอยู่แล้ว อาจมีความผิดปกติของค่าตับได้มากกว่าตัวเลข 1-3 ดังกล่าวข้างต้น และอาจทำให้มีอาการที่แย่ลงได้หลังรับเชื้อเช่นกัน

แต่ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตจากตับวายที่เกิดจาก COVID-19 โดยตรง ฉะนั้นจึงยังฟันธงอะไรในจุดนี้ไม่ได้
 
แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาท สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19นอกจากการเว้นระยะ หมั่นล้างมือแล้ว ทางรพ.รามคำแหงขอแนะนำให้ปฎิบัติเพิ่มเติมดังนี้
  • ทานยารักษาโรคประจำตัวเดิมอย่างต่อเนื่อง สามารถทานยาลดไข้พาราเซตามอล ขนาดไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (4 เม็ดต่อวัน) หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มNSAIDS โดยเฉพาะไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ทานอาหารที่สุกร้อน สะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้
  • มาพบแพทย์ตามนัด (ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดผู้ป่วยติดตาม อาการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น)



Create Date : 07 พฤษภาคม 2563
Last Update : 7 พฤษภาคม 2563 9:36:38 น. 0 comments
Counter : 773 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com