นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย

สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ของบุตรหลานของท่าน ย่อมเป็นสิ่งที่เราทุกคนปราถนา แต่ว่าบางครั้งเราพบว่าเด็กของเรามีสุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ดูซีดๆ เหลืองๆ อ่อนเพลียง่าย เลี้ยงไม่โตอาการต่างๆ เหล่านี้ อาจบ่งบอกถึงว่าเด็กป่วยเป็นโรคโลหิตจางได้
โรคโลหิตจางหรือที่เรียกว่าโรคซีดนั้น มีโอกาสพบได้มากในวัยเด็ก ไม่ว่าจะช่วงวัยเด็ก ทารกเด็กวัยเตาะแตะ เด็กวัยอนุบาล จนไปถึงเด็กโต เด็กวัยเรียน หรือเด็กวัยรุ่นเพศหญิง การที่จะวินิจฉัยว่าใครมีโลหิตจาง ทำโดยการตรวจเลือดและพบว่า ผู้ป่วยเด็กนั้นมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าหรือมีปริมาณฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักในเม็ดเลือดแดง) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในเด็กอายุนั้นๆ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กไทย คือภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็นหรือขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการดูแลเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ทานยาบำรุงเลือดที่เหมาะสม ขจัดสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียเลือดเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิ สามารถรักษาโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กให้หายได้
อย่างไรก็ตาม โรคโลหิตจางที่เป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยในคนไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia and Hemoglobinopathies) ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้จากบิดามารดา ที่เป็นพาหะ (หรือภาวะแฝง) มาสู่บุตร ทำให้บุตรป่วยได้โดยที่บิดามารดาไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปรกติเลย จึงเป็นเรื่องน่าแปลกใจหรือน่าตกใจ สำหรับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ที่เพิ่งเคยทราบเป็นครั้งแรกว่าบุตรหลานของตนป่วยเป็นโรคนี้
อันที่จริง ประเทศไทยเรามีประชาชน ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดต่างๆ รวมกัน ประมาณ20 - 30% ของประชากรทั้งหมด และคู่สมรสที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียประเภทเดียวกัน เมื่อให้้กำเนิดบุตรแต่ละคน จะมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ 25% หรือ 1 ใน 4
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียหลายประเภท ที่สำคัญในเมืองไทยคือ กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียและกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย (Alpha-and Beta-Thalassemia diseases) กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียนั้น ถ้าเป็นแบบรุนแรง (Hemoglobin Bart hydrops fetalis ) จะทำให้เด็กตายคลอดหรือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้ ถ้าเป็นแบบรุนแรงปานกลาง (Hemoglobin H disease ) ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการซีดเรื้อรัง ตับม้ามโต ต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีไข้หรือเจ็บป่วยไม่สบาย เด็กจะซีดลงเร็วมากเนื่องจากเม็ดเลือดแดงจะแตกทำลายเร็วขึ้นอย่างมาก สำหรับกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย พวกนี้อาจมีความผิดปกติชนิดฮีโมโกลบินอี (Hemoglobin E ) ร่วมด้วยแบบที่มีอาการรุนแรงคือโฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย (Homozygous Beta Thalassemia) ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการซีดมากตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ตัวเหลือง ท้องป่อง ตับโตม้ามโตมาก ร่างกายเจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ยแคระแกรน โครงสร้างใบหน้าเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (Thalassemia facies) มีโรคเจ็บป่วยอื่นแทรกซ้อนง่าย ผู้ป่วยต้องได้รับเลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอ ทุก 2 - 4 สัปดาห์ จึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ มิฉะนั้น สุขภาพจะทรุดโทรมอย่างมาก ซีดมากจนหัวใจวาย และมีอายุขัยสั้นโรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี (Beta-Thalassemia/Hemoglobin E) ก็เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กไทย อาการอาจจะรุนแรงมาก หรือค่อนข้างรุนแรงก็ได้
ปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซีดรุนแรง ควรจะพยายามหาทางปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด จากผู้บริจาคที่ไม่ป่วยและมีหมู่เลือดพิเศษ HLA ตรงกัน ซึ่งมักจะเลือกจากพี่น้องของผู้ป่วยก่อน เพราะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมีโอกาสมีหมู่ HLA ตรงกันได้ 25 % การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ ถ้าไม่สามารถหาผู้บริจาคที่เหมาะสมได้ คงต้องให้การรักษาโดยการให้เลือดทดแทนอย่างสม่ำเสมอตลอดไป ร่วมกับการให้ยาขับเหล็กอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีภาวะธาตุเหล็กสะสมเกินผิดปกติ จากการได้รับเลือดบ่อย ธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ ตับอ่อน ต่อมไร้ท่อและหัวใจนอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับประทานยาบำรุงเม็ดเลือดโฟลิค (Folic acid) ทุกวันไปตลอดชีวิต ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและหลีกเลี่ยงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ผู้ป่วยบางรายมีม้ามโตมากหรือ มีอาการซีดลงเร็วมากจนต้องให้เลือดบ่อยขึ้น แพทย์อาจจะต้องพิจารณาผ่าตัดม้ามออกเมื่อผู้ป่วยมีอายุเกิน 4 ปีแล้ว วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
การดูแลด้วยความเข้าใจและใส่ใจผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก เด็กเล็กอาจจะกลัวการที่ถูกเจาะเลือดบ่อยหรือถูกแทงเข็มเพื่อให้เลือด เด็กโตที่รู้ความอาจเกิดความรู้สึกเป็นปมด้วยที่ตนเองเป็นผู้ป่วยเรื้อรังสุขภาพไม่แข็งแรง หรือหน้าตารูปร่างดูผิดปรกติ บิดามารดาผู้ปกครองและครูอาจารย์จะต้องคอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก โดยทั่วไป ถ้าเด็กได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและระดับเลือดแดงไม่ซีดมากเกินไป เด็กก็สามารถไปเรียนหนังสือหรือออกกำลังกายได้ใกล้เคียงกับเด็กปรกติคนอื่น
โรคโลหิตจางในเด็กไทย ยังมีโรคอื่นๆ ที่พบได้อีกหลายโรค ซึ่งกุมารแพทย์ผู้ชำนาญทางโลหิตวิทยา สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำกับท่านได้ โดยทางโรงพยาบาลได้เปิดคลินิกให้การตรวจรักษาโรคเลือดในเด็กแล้วการดูแลด้วยความเข้าใจและใส่ใจผู้ป่วยเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก เด็กเล็กอาจจะกลัวการที่ถูกเจาะเลือดบ่อยหรือถูกแทงเข็มเพื่อให้เลือด เด็กโตที่รู้ความอาจเกิดความรู้สึกเป็นปมด้วยที่ตนเองเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง
สุขภาพไม่แข็งแรง หรือหน้าตารูปร่างดูผิดปรกติ บิดามารดาผู้ปกครองและครูอาจารย์จะต้องคอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก โดยทั่วไป ถ้าเด็กได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและระดับเลือดแดงไม่ซีดมากเกินไป เด็กก็สามารถไปเรียนหนังสือหรือออกกำลังกายได้ใกล้เคียงกับเด็กปรกติคนอื่น


Create Date : 29 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2553 15:09:06 น. 1 comments
Counter : 1513 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:01:31 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com