<<< “ทำไมเราต้องละความอยาก” >>>










“ทำไมเราต้องละความอยาก”

ทำไมเราต้องละความอยาก

 เพราะความอยากจะนำเราไปสู่ความทุกข์

ไม่ใช่ไปสู่ความสุข

 ความสุขที่ได้จากการทำตามความอยาก

เป็นความสุขปลอมเป็นความสุขเดี๋ยวเดียว

 เป็นเหมือนเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ด

 เหยื่อนี่มันชิ้นเล็กๆ เท่านั้นเอง

แต่พอเราไปฮุบเหยื่อแล้วทีนี้เป็นยังไง

 ถูกตะขอเบ็ดเกี่ยวปาก เสียชีวิตเลยไหมปลา

 ปลาโง่ไม่ฉลาด เหมือนเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ด

คิดว่าเป็นอาหารอันโอชะ พอไปฮุบเหยื่อเข้า

ก็ถูกตะขอเบ็ดเกี่ยวปาก

ถูกเขาดึงไปจับไปฆ่าลงหม้อแกง

แต่ถ้าปลาฉลาดเห็นว่าโอยมันมีตะขอเบ็ดซ่อนอยู่น

ะ อย่าไปฮุบมันดีกว่า ถอยดีกว่า ก็จะปลอดภัย

จิตที่ฉลาดมีปัญญาก็จะเห็นว่า

ความสุขที่จะได้จากการทำตามความอยากนี้

เป็นเหมือนกับเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ด

 เพราะถ้าไปฮุบแล้วมันจะติด

มันจะต้องอยากได้อยู่เรื่อยๆ

ได้มาปั๊บเดี๋ยวมันก็หมดแล้ว

 เที่ยวมาปั๊บเดี๋ยวกลับมาบ้านเดี๋ยวมันก็หายไปแล้ว

 พรุ่งนี้ก็อยากไปเที่ยวใหม่แล้ว

 ถ้าไม่ได้ไปเที่ยวก็ทุกข์หล่ะสิ ทรมานใจแล้ว

นี่คือปัญญา ทำไมเราต้องไม่ทำตามความอยาก

 ทำไมเราต้องละความอยาก

เพราะความอยากเป็นผู้ที่จะดึงให้เราต้องไปทุกข์

ไม่มีวันจบไม่มีวันสิ้น

 เป็นผู้ที่จะดึงให้เราต้องไปเวียนว่ายตายเกิด

อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ถ้าเรารู้ด้วยปัญญาทุกครั้งเกิดความอยาก

เราก็จะสู้กับมันด้วยสติ มีสติมีปัญญาแล้วก็ต้องมีสติ

สติปัญญานี้เป็นอาวุธเหมือนมือซ้ายมือขวา

ช่วยกันสนับสนุนกัน ปัญญาจะเป็นผู้สอนว่า

ทำไมไม่ควรทำตามความอยาก

 สติเป็นผู้หยุดความอยาก

 พออยากเราก็พุทโธพุทโธพุทโธไป

หยุดคิดถึงเรื่องที่เราอยากเดี๋ยวมันก็หายไป

หรือคิดในเรื่องที่ทำให้เราไม่อยาก

 เช่นคิดถึงแฟนก็คิดถึงศพเขา

 ก็คิดเขาเป็นซากศพคิดถึงอวัยวะต่างๆ

 ที่มีอยู่ในร่างกายเขา

ก็ไม่อยากจะได้เขามาเป็นแฟน

 ถ้าเห็นโครงกระดูกเขาเห็นตับไตไส้พุงของเขา

 เห็นกระดูกเห็นอุจจาระเห็นปัสสาวะของเขา

 มันก็จะทำให้หายอยากได้ นี่ก็คือการใช้สติ

ให้คิดไปในทางที่จะทำให้ไม่อยาก

 หรือไม่เช่นนั้นก็หยุดคิด

ใช้พุทโธหยุดคิดไปได้ทั้งสองอย่าง

 ถ้าเห็นเป็นอสุภะได้ยิ่งดีใหญ่

เพราะมันจะไม่อยากเลยต่อไป

 เห็นแฟนทีไรก็เห็นเป็นโครงกระดูก

เห็นเป็นซากศพไป

 เห็นอาหารก็เห็นว่ากลายเป็นอุจจาระไป

 อาหารที่เรากินมันจะกลายเป็นอะไร

มันไม่เป็นอุจจาระมันจะเป็นอะไร

 มันก็ไปเสริมอาการ ๓๒

 บางส่วนก็ไปเสริมผมขนเล็บฟันหนัง

ส่วนที่ไม่ไปเสริมก็กลายเป็นอุจจาระไป

 กินอาหารก็เหมือนกับกินอุจจาระนี่เอง

 ถ้าทุกครั้งที่เราอยากจะกินอาหาร

เช่นเราถือศีล ๘ แล้วตอนเย็น

นึกอยากจะกินอาหาร

ก็คิดว่ากำลังจะกินอุจจาระ

 พอคิดอย่างนี้มันก็หายหิวเลย ไม่อยากกิน

นี่คือวิธีการใช้ปัญญาเพื่อหยุดความอยากต่างๆ

 ต้องมองมุมกลับอย่าไปมองมุมที่มันกิเลสชอบมอง

 กิเลสชอบมองมุมสวยเราก็ต้องมองมุมที่มันไม่สวย

กิเลสชอบมองมุมที่อร่อยเราก็ต้องมองมุมที่ไม่อร่อย

 แล้วความอยากกินก็ไม่มี

ความอยากจะนอนกับแฟนก็ไม่มี นี่คือปัญญา

ที่จะทำให้เราละความอยากต่างๆ ได้

 เมื่อเราละความอยากต่างๆ ได้

 การที่จะไปเกิดต่อไปก็ไม่มี

เพราะเหตุที่จะดึงไปเกิดมันไม่มี

เหมือนน้ำมันที่หมดถ้าเราไม่เติมน้ำมัน

พอน้ำมันหมดเราไม่เติม รถมันก็วิ่งไม่ได้

น้ำมันที่พาให้จิตเราไปเวียนว่ายตายเกิด

ก็คือความอยากนั่นเอง แต่ทุกครั้งที่มันอยาก

เราก็ไม่ไปเติมมัน เราไม่ไปทำตามความอยาก

 ต่อไปความอยากมันก็หมด

หมดแล้วมันก็จะไม่มีอะไรมาดึงให้เรา

ไปเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..........................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

“เหตุของความแตกต่าง”








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2561 12:58:11 น.
Counter : 339 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด