<<< "สติเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง" >>>










"สติเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง"

สิ่งที่เราต้องเจริญเบื้องต้นคือสติ

เพราะสตินี้แหละเป็นตัวที่ดึงใจให้เข้าสู่ความสงบ

 เพราะถ้าไม่มีสติใจจะฟุ้งจะคิดเรื่อยเปื่อย

ถ้าปล่อยให้ใจคิดแล้ว

ต่อให้เดินจงกรมนั่งสมาธิเป็นชั่วโมงๆ

 ก็จะไม่เกิดผลขึ้นมา เพราะผลไม่ได้อยู่ที่เวลา

ที่เราใช้กับการเดินหรือการนั่งเพียงอย่างเดียว

การเดินการนั่งก็สำคัญ แต่ต้องเดินด้วยสตินั่งด้วยสติ

ถ้าไม่มีสติแล้วก็ไม่ถือว่าไม่มีความเพียร

หัวใจของความเพียรคือสติ

 ไม่ใช่อยู่ที่เวลาที่เราเดินหรืออยู่ที่เวลา

ที่เรานั่งเพียงอย่างเดียว

ต้องอยู่ที่สติในทุกเวลานาทีของการบำเพ็ญ

ถ้าเดินจงกรมชั่วโมงหนึ่งก็ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา

หนึ่งชั่วโมง ถึงจะเรียกว่าได้ทำความเพียรเต็มที่

 เวลานั่งสมาธิก็ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาถึงจะสงบได้

ถึงจะรวมเข้าสู่ความเป็นหนึ่งได้

 เป็นอุเบกขาได้ สักแต่ว่ารู้ได้

ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงต้องเจริญสติให้ได้ก่อน

 เพราะถ้าเจริญสติไม่ได้ นั่งสมาธิก็จะไม่สงบ

 ถ้าไม่สงบก็จะพิจารณาปัญญามองไม่เห็น

จะตัดต้นเหตุของปัญหาไม่ได้

ในเรื่องของการบำเพ็ญ

 สติจึงเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง มองข้ามไปไม่ได้

 ควรที่จะประคับประคองสติให้มีไว้ตั้งแต่ตื่นจนหลับ

ก็คือไม่ให้ใจเผลอไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ

 ไม่ส่งใจไปที่อื่น ให้ใจอยู่ในปัจจุบัน

อยู่กับการเคลื่อนไหว การกระทำของร่างกาย

 หรือให้อยู่กับคำบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

หรือทั้งสองอย่างก็ได้ เช่นเราทำภารกิจอะไร

 เช่นอาบน้ำอาบท่า เราก็บริกรรมพุทโธๆ ไป

 ถ้าเราไม่สามารถดึงใจ

ให้อยู่กับการทำงานของร่างกาย

อาบน้ำแล้วยังอดที่จะไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้

คนนั้นคนนี้ไม่ได้ ก็ต้องใช้พุทโธดึงกลับเข้ามา

 อาบน้ำไปพุทโธๆ ไป ล้างหน้าล้างตา แปรงฟัน

แต่งเนื้อแต่งตัว ต้องมีสติอย่างต่อเนื่อง

 ถ้ามีสติอย่างต่อเนื่องใจจะตั้งอยู่ในปัจจุบันได้

ตั้งอยู่ในที่เดียว ที่ที่จะทำให้ใจสงบนี่เอง

 พอไม่ได้ทำอะไร ใจจะรวมเข้าสู่ความสงบได้

 ถ้ายังมีการกระทำ การเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่

 ก็จะยากต่อการที่ใจจะรวมเข้าสู่ความสงบได้

 ผู้ที่อยากทำให้ใจเป็นฌานเป็นสมาธิ

 ถึงจะต้องนั่งเฉยๆ นั่งขัดสมาธิหลับตาเจริญสติ

 พุทธานุสติ ก็บริกรรมพุทโธๆ

 อานาปานสติ ก็ดูลมหายใจเข้าออก

 คือใจอยู่กับลม อยู่กับพุทโธอย่างต่อเนื่อง

 ใจก็ต้องรวมเข้าสู่ความสงบอย่างเเน่นอน

 พอเข้าสู่ความสงบแล้ว

ก็จะพบกับความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง

 ซึ่งดีกว่าที่เคยสัมผัสมา ก็จะทำให้มีกำลังใจ

ที่จะบำเพ็ญให้มากขึ้น

 แล้วจะเบื่อกับการที่จะไปหาความสุขในรูปแบบต่างๆ

ที่ตัณหาความอยากจะดึงไป

 พอออกจากความสงบมา

 พอมีตัณหาจะดึงให้ไปหาความสุขแบบเดิมๆ

 ไปหารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ไปทำนั่นทำนี่

ไปอยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

มันก็จะไม่อยากจะไป แต่ก็ต้องใช้ปัญญา

มาคอยประกบอีกชั้น เพื่อเตือนไว้ว่า

อย่าไปทำตามความอยาก

 เพราะจะไปสร้างความทุกข์ให้กับใจ

 ไม่ได้สร้างความสงบ ความสุขให้กับใจ.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

............................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 12 มิถุนายน 2561
Last Update : 12 มิถุนายน 2561 9:33:26 น.
Counter : 559 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด