สุตมยปัญญา ในธรรมทั้งหมดควรกำหนดรู้และพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว
ปริญเญยยนิทเทส
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ญาณกถา
ตติยภาณวาร – ปริญเญยยนิทเทส
             [๕๖] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณอย่างไร ฯ
             ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๓ ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓ ธรรม ๔ ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔ ธรรม ๕ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖ ธรรม ๗ ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗ ธรรม ๘ ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘ ธรรม ๙ ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙ ธรรม ๑๐ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐ ฯ
             [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ แม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             [๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้ความไม่พยาบาทแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความปราโมทย์แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานเป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา ... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา ... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ... อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ ... อาทีนวานุปัสนา ... ปฏิสังขานุปัสนา ... วิวัฏฏนานุปัสนา ... เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค ... อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
 
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๕๖-๕๑๔ หน้าที่ ๑๙-๒๑.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=456&Z=514&pagebreak=0
             ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=6
             ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=56
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[56-63] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=56&items=8
             อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=2656
             The Pali Tipitaka in Roman :-
[56-63] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=56&items=8
             The Pali Atthakatha in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=2656
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
https://84000.org/tipitaka/read/?index_31



Create Date : 04 มีนาคม 2567
Last Update : 4 มีนาคม 2567 9:16:28 น.
Counter : 94 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด