โยค ๔






Wednesday,November 9, 2016

1:49PM

     อ้างอิง .. . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต)

                 ๒. ดรรชนีศัพท์ธรรมะในพระสุตตันตปิฎก โดยปีเตอร์ เอ. เจ็คสัน

     โยคะ ๔, สภาวะอันผูกกรรมไว้กับวิบาก: กามะโยคะ ภวะโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชะโยคะ.

     Yoga 4,Nature (Truth) that binds actions with their results: Sensual Bondage,Experiential Bondage, Thought Bondage and Ignorant Bondage

ขยายความ:

      โดยหลักวัฏฏะ ๓ อันได้แก่ กิเลส กรรม วิบากก็ดี พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยเรื่องอิทัปปัจจะยะตา-ปฏิจจะสมุบบาท ก็ดี หรือแม้แต่พระเถราธิบายของพระสารีบุตรในเรื่องสัมมาทิฏฐิ ก็ดี หรือ หลักอริยะสัจจ์ ๔ ในธรรมะจักกัปปะวัตนะสูตรก็ดี ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นพระสัทธรรมะปริยัติ อันเป็นพื้นฐานแห่งพระสัทธรรมะปฏิบัติ(การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้ได้อาสวะขยะญาณ)อันเป็นพระสัทธรรมปฏิเวธ/ผลสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา

      หมายความว่าโยคะทั้งสิ้นนี้เป็นสมุทยะสัจจ์ ซึ่งสามารถละหรือดับไปได้ ด้วยการกำหนดรู้ทุกขะสัจจ์ อันได้แก่ รูปนามขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ สติปัฏฐาน ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ฯลฯ โดยธรรมชาติเหล่านี้ ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของ ๆ เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของ ๆเขา

     อีกอย่างหนึ่ง กรรมภพ ๑ (สังขารที่เกิด/ดับเพราะการเกิด/ดับของอิชชา) และ อุปปัตติภพ ๑ (ภพที่เกิด/ดับเพราะการเกิด/ดับของอุปาทาน) ในวัฏฏะ ๓ กรรมภพเป็นกรรมวัฏฏ์อุปปัตติภพเป็นวิปากวัฏฏ์ อวิชชา/อุปาทาน เป็นกิเลสวัฏฏ์




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2559 17:47:00 น.
Counter : 853 Pageviews.

0 comments
เป็นขันธ์ที่มีคุณค่า แบ่งเวลา คุณค่าของสิ่งต่างๆ ปัญญา Dh
(19 เม.ย. 2567 23:27:48 น.)
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด