Mind City: Western Philosophy and Buddhist Teaching




Mind City: Western Philosophy andBuddhist Teaching

Friday, December 30, 2016 10:15 AM


ปรัชญาตะวันตกที่ต้องกล่าวถึง:

1. Fundamentalismได้แก่การมีศาสนจักรเป็นศูนย์กลาง การศึกษาพระคัมภีร์ทางศาสนาตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด เพื่อการกลับไปสู่อุดมคติมีสุขอันเป็นนิรันดร์

2. Secularismได้แก่การที่รัฐแยกตัวออกมาจากการครบงำทางการเมืองของศาสนจักรรวมทั้งการตัดอุดมคติและความเชื่อทางศาสนาอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิงออกมาเสียจากกิจการของรัฐทว่าหันมาเน้นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ต่อพัฒนาการทางวัตถุและสังคม

3. Post- Secularism ได้แก่การสานสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา

4. PostmodernReligion ได้แก่การเน้นหนักกับปัจเจก กับปรากฏการณ์ทางการฝึกอบรมจิตที่เป็นส่วนตัวกับการเปิดเผยทางวิญญาณที่เป็นส่วนตัว

From <https://en.wikipedia.org/wiki/>

แม้ว่าแนวปรัชญาทางตะวันตกทั้ง ๔ ข้างต้นจะอุบัติขึ้นทางโลกตะวันตก และมีส่วนแตกต่างบ้างหรือ ระม้ายกันบ้าง กับพุทธปรัชญา ซึ่งก็จะยกมาอภิปรายดังนี้

พุทธปรัชญาเถระวาท:

1. BuddhistFundamentalism: ศูนย์กลางที่เป็นอุดมคติอย่างเดียวของพุทธปรัชญาคือพระไตรสรณาคมณ์ อันได้แก่ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ซึ่งรวมลงสู่"การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง, นิพฺพานสจฺฉิกิริยา"

2. Secularism & Post - Secularism in Buddhist Philosphy: ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ตั้งแต่พระไตรปิฎกลงมาจนถึงที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมุกขบาฐก์ระบุว่า พระพุทธเจ้าทรงฝากพระศาสนาไว้กับพุทธบริษัท ๔หรือแม้แต่การตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง เช่น ญาติโยมส่งเสริมพระเณรศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยปัจจัย ๔พระเณรเมื่อได้รับการส่งเสริมดังนี้แล้วก็จะได้มีใจศีกษาและปฏิบัติธรรมสัมมาปฏิบัติต่อไปรวมทั้งการอบรมสั่งสอนญาติโยมให้รู้ตามเห็นตามในธรรมได้ด้วย เป็นการตอบแทน ฯลฯ

3. PostmodernReligion in the Teaching of Buddha: ดังพระบาลีพุทธพจน์ว่า "เอกายโน อยํภิกฺขเว มคฺโค" แปลว่าภิกษุ [ผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร] ทั้งหลาย เรากล่าว นี้เป็นหนทางอันเอก ซึ่งก็ทรงหมายความรวมไปถึง หนทางที่ไปลำพังคนเดียวในพุทธพจน์บทนี้ เปรียบได้กับ การรับประทานอาหาร หิวก็หิวคนเดียว อิ่มก็อิ่มคนเดียว หิวหรืออิ่มแทนกันไม่ได้

อีกอย่างหนึ่งโดยนัยหนึ่งตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การจะเปลี่ยนแปลงอะไรนั้น การอมรมจิตของตนเป็นสำคัญมากกว่าการพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่น จากภายนอก ฉะนั้น การทำชาติประเทศให้สุขสงบได้โดยแท้จริงนั้น ย่อมอยู่ที่คนแต่คนนั่นเอง แม้จะดูผู้อื่นบ้างก็เป็นเพียงแค่กรณีศึกษา และทรงสอนให้น้อมเข้ามาในตน ดังบาลีพุทธพจน์ว่า

"..โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ."

“(พระธรรม) ..เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน”

การฝึกอบรมจิต:

๑.การฝึกจิตเพื่อสุขทิฏฐะวิหารธรรม

๒.การฝึกจิตเพื่อการได้ญาณทัสสนะ

๓.การฝึกจิตเพื่อสติและสัมปชัญญะ

๔.การฝึกจิตเพื่อการสิ้นไปแห่งอาสวะ

จิตนครอีกสำนวนหนึ่ง:

๑.จิต

ก.โดยสุตตันตะนัย ในมหาสติปัฏฐานสูตร ได้แก่ จิต ๘ คู่ ๑๖ ดวง ย่อลงในวิมุตติจิต ๑อวิมุตติจิต ๑

ข.โดยอภิธรรมนัย ตามหลักปรมัตถะธรรม ๔ ในอภิธัมมัตถะสังคหะ ได้แก่ จิต เจตสิก รูปนิพพาน

๒.มโนทวาร หนึ่งในอายตนะภายใน ๖

๓.วิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณในผัสสะ ๖

เปรียบเทียบ.. จิตนคร โดย สมเด็จพระสังฆราช (สุวฑฺฒนมหาเถร)

.. จิต มโน วิญญาณ โดย บรรจบ บรรณรุจิ

เขียนโดย 

นายจารุกิตติ์ สรรพโรจน์พัฒนา




Create Date : 25 ธันวาคม 2559
Last Update : 16 มกราคม 2560 2:42:59 น.
Counter : 1013 Pageviews.

0 comments
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
come from away พุดดิ้งรสกาแฟ
(7 เม.ย. 2567 19:24:46 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 28 : กะว่าก๋า
(5 เม.ย. 2567 04:10:07 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 27 : กะว่าก๋า
(4 เม.ย. 2567 05:11:37 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด