สังโยชนสูตร




พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

สังยุตตนิกายสฬายตนวรรค

จิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์

สังโยชนสูตร

[๕๓๗] สมัยหนึ่งภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ก็สมัยนั้นแลภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนากันที่โรงกลมได้สนทนากันว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันบรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดีสังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ

[๕๓๘] ก็สมัยนั้นแลจิตตคฤหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่าภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดีสังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกันพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ

[๕๓๙] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่าข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ กระผมได้สดับข่าวว่าภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดีสังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกันพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดีมีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้หรือ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่าอย่างนั้นคฤหบดี จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันถ้ากระนั้นกระผมจักอุปมาให้ฟัง เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตแม้ด้วยข้ออุปมาฯ

[๕๔๐] ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลายเปรียบเหมือนโคดำตัวหนึ่งโคขาวตัวหนึ่ง เขาผูกด้วยทามหรือเชือกเส้นเดียวกันผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคดำติดกับโคขาว โคขาวติดกับโคดำ ดังนี้ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกละหรือ ฯ

ภิ. ไม่ถูก คฤหบดีเพราะโคดำไม่ติดกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่ติดกับโคดำ ทามหรือเชือกที่ผูกโคทั้งสองนั้นชื่อว่าเป็นเครื่องผูก ฯ

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติดกับรูป รูปไม่ติดกับจักษุฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติดหูไม่ติดกับเสียง เสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหู และเสียงทั้ง๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติดกับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูก ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติดกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติดกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ติดกับใจฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด

ภิ. ดูกรคฤหบดีการที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่านท่านได้ดีแล้ว ฯ

จบสูตรที่๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๗๑๘๔-๗๒๓๕ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๔.

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=7184&Z=7235&pagebreak=0

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=7184&w=พยัญชนะต่างกัน&pagebreak=0

อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=257

ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=537

พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-

https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=7044

อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย:-

https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3325

The PaliTipitaka in Roman :-

https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=7044

The PaliAtthakatha in Roman :-

https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3325

สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘

https://84000.org/tipitaka/read/?index_18

อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-

https://metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/3Samyutta-Nikaya/Samyutta4/40-Citta-Samyutta/01-Cittavaggo-e.html





Create Date : 12 สิงหาคม 2561
Last Update : 12 สิงหาคม 2561 17:25:39 น.
Counter : 552 Pageviews.

0 comments
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด