พุทธจรรยากับความตาย


เอกสารประกอบคำบรรยาย/A Lecture Note On

พุทธจรรยาที่เกี่ยวข้องกับความตาย ฉบับมุขบาฐ

(Buddhist Ethical Law Pertainingto Death: An Oral Tradition)

โดย/By

จารุกิตติ์สรรพโรจน์พัฒนา

(JarukirtiSapparojpattana)

๑. ทุจริตกับสุจริต

ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาทุจริตได้แก่ การกระทำอันเป็นบาปอกุศลทั้งการทำการพูดความคิดที่เบียดเบียนตนเองและคนอื่นสัตว์อื่น เช่น การฆ่าที่เกิดจากความจงใจ เป็นต้น ส่วนบุญกุศลนั้นทรงแสดงในเบื้องต้นอย่างกว้าง ๆ ว่า การทำพูดคิดที่ไม่เป็นบาปม่เป็นอกุศล เช่นการทำที่ประกอบเจตนาเว้นจากการฆ่า (ปาณาติปาตา เวรมณี) แต่หากจะว่าโดยละเอียดขึ้นไปกุศลสุจริตก็ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น

๒. ศีลกับปฏิจจสมุปบาท– อิทัปปัจจยตา

ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด(สมุทยวาร) เริ่มต้นจาก อาสวะและอวิชชาอันเป็นบาป ที่ก่อภพก่อชาติเป็นการก่อเกิดการเวียนว่ายตายเกิดและความทุกขกายทุกข์ใจไม่รู้จบไม่รู้สิ้นส่วนสายดับ (นิโรธวาร) ทรงแสดงถึง กองขันธ์อันเป็นเพลิงทุกข์ดับ เพราะการดับอย่างถาวรของเพลิงกิเลส(อาสวะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน)

เพราะการก่อเกิดของบาปอกุศลหรือกิเลสหมายถึงถึงการก่อเกิดวัฏฏะสงสารอันอเนกอนันต์ จึงเท่ากับว่า เมื่อย่อมรับในทุกข์ไม่หนีทุกข์แต่กำหนดรู้ไม่คาดหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า นี้ “ทุกข์ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา”แล้วใช้ปัญญาพิจารณาสาวหาต้นเหตุแห่ง “ทุกข์” นี้และแสวงหาหนทางในการละเลิกต้นเหตุนี้ได้ ย่อมพบสุขอันเป็นอมตะ (“ความไม่ประมาท[ปัญญา] เป็นทางแห่งความไม่ตาย”)

สติสังวรและญาณสังวรเช่นนี้เองกล่าวได้ว่า เป็นศีลในปริยายแห่งปฏิจจสมุปบาท - อิทัปปัจจยตา

๓. ศีลกับอริยมรรคมีองค์๘/สิกขา ๓

การอยู่ลำพังตนเองในภายในก็ดีการอยู่ใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่นภายนอกก็ดี จำเป็นว่าต้องเป็นคนประกอบอยู่กฏระเบียบเพื่อรักษาการทำพูดคิดที่เป็นปกติคือไม่เบียดทำร้ายตนเองและคนอื่นสัตว์อื่น ทั้งในที่ลับและที่แจ้งทำเองหรือให้ใครทำแทน คำสอนในพระพุทธศาสนาจัดสิ่งนี้ ไว้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของการจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้น

๔. ศีลขันธ์กับปัญญาขันธ์

ในคุณธรรมที่เรียกว่า“ธรรมขันธ์ ๕” ศีลขันธ์ มาเป็นที่ ๑ ส่วนปัญญาขันธ์ มาเป็นที่ ๓ ซึ่งการเรียงลำดับคุณธรรมชุดนี้ ไว้เช่นนี้ อาจสามารถตีความได้ว่า “ศีลเป็นมารดาของธรรม [ชั้นสูง] ทั้งปวง” (พุทธพจน์) เช่นหากคนเราเมื่อมีปัญญามากแต่ไม่มีศีลกำกับก็อาจสามารถก่อทุกข์โทษให้แก่ตนและคนส่วนรวมได้มาก

๕. ศีลกับสังวร๗ [อินทรียสังวรศีล]

การสำรวมอินทรียทั้ง ๗ทรงตรัสว่าเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย วาจาและใจ

๖. ศีลบารมีกับเขกขัมมะบารมี

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแสดงไว้ในหนังสือเบญจศีล - เบญจธรรมถึง “กามสังวร”ว่าเป็นศีลที่เป็นศัตรูกับการประพฤติผิดในกามหรือการนอกใจภรรยาของตน

๗. ศีลกับความตาย

การพัฒนา [ภาวนา] ตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานอกจากจะเน้นการไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ยังสอนให้แก้ไขตนเองหรือการชนะใจตนเองก่อนการชนะการจองเวรด้วยการไม่จองเวร และการฝึกฝนตนเองเพื่อการหลุดพ้นฯ กล่าวได้ว่าการเกิดตายที่มีความหมายหรือความมุ่งหมายในพระศาสนานี้ คือ การตายจากตัณหา มานะทิฏฐิ และเกิดใหม่ในการประกอบคุณงามความดีจนถึงที่สุดอย่างถาวรและพ้นจากเวียนเกิดเวียนตายตามภาษาพูดทั่วไป หรือสมมติบัญญัติ

๘. ความตายกับนิพพาน

ตามที่ได้พาดพิงมาหลายครั้งเกี่ยวกับ“ความตาย” ตามการตีความใหม่ในพระพุทธศาสนา คือ การตายจากความชั่ว และการตายจากวัฏฏสงสาร ยังมีความตายอีก ๒ ประเภทที่ต้องกล่าวถึง คือ การตายจากคุณงามความดีกลางครันแล้วไม่เดินต่อจนถึงความสำเร็จ๑ และ การประกอบคุณความความดีจนถึงที่สุด จนบรรลุถึงความสำเร็จไม่มีกิจอะไรที่ต้องทำให้ยิ่งไปกว่านี้แล้ว ๑

๙. ความตายกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ในพระบาลีตอนหนึ่งทรงแสดงว่า นามรูปเป็นทุกข์ อวิชชาและภวตัณหาเป็นทุกขสมุทัยวิชชาและวิมุติเป็นทุกขนิโรธ สมถและวิปัสสนาเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๙.๑. แม้ว่าการเจริญมรณสติ โดยหลักการจะเป็นสมถภาวนาก็จริงอยู่ แต่โดยหลักการอีกนั้น สมถภาวนาหรืออธิจิตสิกขาก็เป็นบาทแห่งวิปัสสนาภาวนาหรืออธิปัญญาสิกขาแล้วก็รวมกันเป็นมรรคสมังคีถ่ายถอนกิเลสาสวะให้หมดไปได้

๙.๒. มีแสดงไว้ในพระบาลีอีกแห่งว่าอานิสงค์ของ “สมาธิภาวนา” ประการหนึ่ง คือ “อาสวะขยะญาณ”




Create Date : 31 สิงหาคม 2561
Last Update : 31 สิงหาคม 2561 5:40:55 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 9 : กะว่าก๋า
(20 มี.ค. 2567 05:08:18 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 8 : กะว่าก๋า
(19 มี.ค. 2567 05:02:03 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 7 : กะว่าก๋า
(18 มี.ค. 2567 06:03:40 น.)
บทสัมภาษณ์เทวดาในพระแก้วฯ 10 มี.ค. 67 สมภพ เจ้าเก่า
(13 มี.ค. 2567 21:57:26 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด