พุทธจรรยากับความตาย แก้ไขครั้งที่ ๑


เอกสารประกอบคำบรรยาย/A Lecture Note On

พุทธจรรยาที่เกี่ยวข้องกับความตาย ฉบับมุขบาฐ

(Buddhist Ethical Law Pertainingto Death: An Oral Tradition)

โดย/By

จารุกิตติ์สรรพโรจน์พัฒนา

(JarukirtiSapparojpattana)

I. INTRODUCTION

เพี่อไม่ให้เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาอดีตพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ) วัดบวรนิเวศวิหารเคยแสดงไว้ในงานเขียนของท่านตอนหนึ่งเป็นใจความว่า ชาวพุทธที่ดีควรเข้าใจหลักการ ๕ประการนี้และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ ศึกษา (ปริยัติ) ปฏิบัติ สัมผัสผล(ปฏิเวธ) เผยแผ่ แก้ปัญหา สำหรับ ๓ ประการแรกเป็นพุทธพจน์ และใช้กับปัจเจกส่วนสองประการหลังใช้เพื่อการสนับสนุนบุคคลอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์จะพระศาสนาไม่เก็บไว้คนเดียว และ เพื่อหวังประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก

ในบทความนี้จะเริ่มด้วยการสำรวจเค้าโครงแห่งคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการฆ่า ในความหมายว่าการทำชีวิตสัตว์ให้ตกไป อย่างทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้จากนั้นก็จะมาสงเคราะห์หลักการเหล่านั้นมาพิจารณาร่วมกับการฆ่าที่หมายถึงโทษประหาร

II. EXPLORATION

๑. ทุจริตกับสุจริต

ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาทุจริตได้แก่ การกระทำอันเป็นบาปอกุศลทั้งการทำการพูดความคิดที่เบียดเบียนตนเองและคนอื่นสัตว์อื่น เช่น การฆ่าที่เกิดจากความจงใจ เป็นต้น ส่วนบุญกุศลนั้นทรงแสดงในเบื้องต้นอย่างกว้าง ๆ ว่า การทำพูดคิดที่ไม่เป็นบาปม่เป็นอกุศล เช่น การทำที่ประกอบเจตนาเว้นจากการฆ่า(ปาณาติปาตา เวรมณี) แต่หากจะว่าโดยละเอียดขึ้นไป กุศลสุจริตก็ได้แก่ ศรัทธาวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น

๑. ศีลกับปฏิจจสมุปบาท– อิทัปปัจจยตา

ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด(สมุทยวาร) เริ่มต้นจาก อาสวะและอวิชชาอันเป็นบาป ที่ก่อภพก่อชาติ เป็นการก่อเกิดการเวียนว่ายตายเกิดและความทุกขกายทุกข์ใจไม่รู้จบไม่รู้สิ้นส่วนสายดับ (นิโรธวาร) ทรงแสดงถึง กองขันธ์อันเป็นเพลิงทุกข์ดับ เพราะการดับอย่างถาวรของเพลิงกิเลส(อาสวะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน)

เพราะการก่อเกิดของบาปอกุศลหรือกิเลสหมายถึงถึงการก่อเกิดวัฏฏะสงสารอันอเนกอนันต์ จึงเท่ากับว่า เมื่อย่อมรับในทุกข์ไม่หนีทุกข์แต่กำหนดรู้ไม่คาดหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า นี้ “ทุกข์ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา”แล้วใช้ปัญญาพิจารณาสาวหาต้นเหตุแห่ง “ทุกข์” นี้และแสวงหาหนทางในการละเลิกต้นเหตุนี้ได้ ย่อมพบสุขอันเป็นอมตะ (“ความไม่ประมาท[ปัญญา] เป็นทางแห่งความไม่ตาย”)

สติสังวรและญาณสังวรเช่นนี้เองกล่าวได้ว่า เป็นศีลในปริยายแห่งปฏิจจสมุปบาท - อิทัปปัจจยตา

๒. ศีลกับอริยมรรคมีองค์๘/สิกขา ๓

การอยู่ลำพังตนเองในภายในก็ดีการอยู่ใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่นภายนอกก็ดี จำเป็นต้องเป็นคนที่ประกอบอยู่ด้วยกฏระเบียบเพื่อรักษาการทำพูดคิดที่เป็นปกติคือไม่เบียดทำร้ายตนเองและคนอื่นสัตว์อื่น ทั้งในที่ลับและที่แจ้งทำเองหรือให้ใครทำแทน คำสอนในพระพุทธศาสนาจัดสิ่งนี้ ไว้เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของการจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้น

๓. ศีลขันธ์กับปัญญาขันธ์

ในคุณธรรมที่เรียกว่า“ธรรมขันธ์ ๕” ศีลขันธ์ มาเป็นที่ ๑ ส่วนปัญญาขันธ์ มาเป็นที่ ๓ ซึ่งการเรียงลำดับคุณธรรมชุดนี้ ไว้เช่นนี้ อาจสามารถตีความได้ว่า “ศีลเป็นมารดาของธรรม [ชั้นสูง] ทั้งปวง” (พุทธพจน์) เช่นหากคนเราเมื่อมีปัญญามากแต่ไม่มีศีลกำกับก็อาจสามารถก่อทุกข์โทษให้แก่ตนและคนส่วนรวมได้มาก (ดูด้วย ศีลภาวนากับภาวนา ๔)

๔. ศีลกับสังวร๗ [อินทรียสังวรศีล]

การสำรวมอินทรียทั้ง ๗ทรงตรัสว่าเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย วาจาและใจ

๕. ศีลบารมีกับเขกขัมมะบารมี

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแสดงไว้ในหนังสือเบญจศีล - เบญจธรรมถึง “กามสังวร”ว่าเป็นศีลที่เป็นศัตรูกับการประพฤติผิดในกามหรือการนอกใจภรรยาของตน

๖. ศีลกับความตาย

การพัฒนา [ภาวนา] ตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานอกจากจะเน้นการไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ยังสอนให้แก้ไขตนเองหรือการชนะใจตนเองก่อนการชนะการจองเวรด้วยการไม่จองเวร และการฝึกฝนตนเองเพื่อการหลุดพ้นฯ กล่าวได้ว่าการเกิดตายที่มีความหมายหรือความมุ่งหมายในพระศาสนานี้ คือ การตายจากตัณหา มานะทิฏฐิ และเกิดใหม่ในการประกอบคุณงามความดีจนถึงที่สุดอย่างถาวรและพ้นจากเวียนเกิดเวียนตายตามภาษาพูดทั่วไป หรือสมมติบัญญัติ

๗. ความตายกับนิพพาน

ตามที่ได้อ้างอิงเกี่ยวกับ“ความตาย” มาบ้างตามการตีความใหม่ในพระพุทธศาสนา คือ การตายจากความชั่ว และการตายจากวัฏฏะสงสาร ยังมีความตายอีก ๒ ประเภทที่ต้องกล่าวถึง คือ การตายจากคุณงามความดีกลางครันแล้วไม่เดินต่อจนถึงความสำเร็จ๑ และ การประกอบคุณความความดีจนถึงที่สุด จนบรรลุถึงความสำเร็จไม่มีกิจอะไรที่ต้องทำให้ยิ่งไปกว่านี้แล้ว ๑

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้แสดงเนื่อง ๆ ว่า “นิพพาน อยู่ที่ ตายก่อนตาย” โดยนัยนี้ ความตายหนึ่งคือตายจากกิเลส (ทุกขสมุทัยสัจ) ความตายหนึ่ง คือ ความตายโดยทางการละธาตุขันธ์ หรือการตายทางรูปกายและนามกาย (ทุกขสัจ)

ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร(เจริญ)ฯ ยังได้สอนแนวคิดอีกแนวหนึ่งเกี่ยวกับความตายด้วยวลีว่า “หัดตาย”ทางอธิบายว่า คนเราควรฝึกหัดปล่อยวางทุกข์สิ่งเหมือนกับว่า เราได้ตายไปแล้วก่อนที่เราจะถูกความตายมาบังคมให้ตายให้ปล่อยให้วาง

๘. ความตายกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ในพระบาลีตอนหนึ่งทรงแสดงว่า นามรูปเป็นทุกข์ อวิชชาและภวตัณหาเป็นทุกขสมุทัยวิชชาและวิมุติเป็นทุกขนิโรธ สมถและวิปัสสนาเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๙.๑. แม้ว่าการเจริญมรณสติ โดยหลักการจะเป็นสมถภาวนาก็จริงอยู่ แต่โดยหลักการ สมถภาวนาหรืออธิจิตสิกขาก็เป็นบาทแห่งวิปัสสนาภาวนาหรืออธิปัญญาสิกขา แล้วก็รวมกันเป็นมรรคสมังคีถ่ายถอนกิเลสาสวะให้หมดไปได้

๙.๒. มีแสดงไว้ในพระบาลีอีกแห่งว่าผลานิสงค์ของ “สมาธิภาวนา” ประการหนึ่ง คือ “อาสวะขยะญาณ”(ความรู้ความเห็นด้วยธรรมจักษุแห่งการดับสิ้นไปของอาสวะ)

๑๐. ศีลกับปรมัตถบารมี

ในบรรดาบารมี ๓ ระดับได้แก่ สามัญบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และ ปรมัตถบารมี ๑๐ นั้น ปรมัตถบารมีจัดว่าเป็นการบำพ็ญธรรมขั่นสูงถึงขนาดยอมเสียสละได้แม้กระทั้งชีวิตตนและชีวิตของคนสัตว์สิ่งของที่ตนเป็นกรรมสิทธิ์และรักใคร่หวงแหนดังมีคำกล่าวว่า “ยอมสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมะ”เป็นต้น

๑๑. ศีลกับอนันตริยกรรม๕

การเบียดเบียนทำลายหรือ ฆ่า บุคคลหรือ หมู่คณะ ให้ได้รับความเสียถึงชีวิต เรียกว่า อนันตริยกรรม มี ๕ประการ ได้แก่ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แต่กัน และการทำพระพุทธเจ้าให้บาดเจ็บเล็กน้อยขึ้นไป อนันตริยกรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ใครทำแล้วตายไปต้องตกนรก ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน

๑๒. ศีลกับวินัยของพระสงฆ์

เป็นที่รู้กันดีว่า ศีล๕ เป็นแกนหลักอันหนึ่งของวินัยสงฆ์ โดยเฉพาะคุรุกาบัติ ที่เรียกว่า “ปราชิก ๔”

III. CONCLUSION AND RECOMMENDATION FORFURTHER STUDIES

โดยสรุปในแง่หนึ่ง ศีล เป็นธรรมะระดับสมมติบัญญัติ ที่เป็นรากฐานของปรมัตถ์จนอาจกล่าวได้ว่า ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เช่น ถ้ามีแต่ปัญญาไม่มีศีลการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ก็จะกลายเป็นสิ่งชอบธรรมขึ้นมา เพราะ ขันธ์ ๕ ฆ่า ขันธ์ ๕มีแต่การฆ่า แต่ไม่มีผู้ฆ่าหรือผู้ถูกฆ่า ในประเด็นนี้ อาชญากรผู้ฆ่า จึงไม่ชอบที่จะฆ่าใครทั้งกฎหมายบ้านเมืองและทางศีลธรรม

ในเรื่องบทลงโทษของคนที่ละเมิดศีลทั้งกับพระและโยม ทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ถึงกับ “ให้ดาบนั้น คืนสนอง” ดังเช่นของสงฆ์ก็ขับออกจากสมาชิกภาพสำหรับอาบัติหนัก ส่วนชาวบ้านก็ให้ต่อศีล หรือใช้หลัก “อธิศีลสิกขา” หมายความว่าศึกษาเรียนรู้กันไปและตั้งใจพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆจนกว่าจะสมบูรณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “บารมี” หรือ “บรมธรรม”

นอกจากนี้“ศีลเป็นมารดาของคุณธรรมทั้งปวง” เช่น เป็นเหตุเป็นปัจจัยของสมาธิ เป็นต้น ศีลสูงสุดที่คนจะทำได้พระพุทธศาสนาใช้ ๒ ศัพท์ว่า “ลีพรตปรามาส” คำหนึ่ง และ “อริยกันตศีล” อีกคำหนึ่งศัพท์แรกบ่งว่า ศีลต้องเกิดจากการกล่อมเกลี้ยงของ “ปัญญา” คือไม่ถือศีลอย่างหลงงมงาย หรือ ยกตนข่มคนอื่นว่า ไม่มีใครอื่นรักษาศีลได้ดีไปกว่าตัวอันนี้เป็นการเรียนรู้ตรวจสอบตนเองในด้านความประพฤติ ส่วนศัพท์ที่สอง บ่งว่าคนอื่นภายนอก ที่เป็นคนดีมีสติปัญญาใคร่ครวญแล้ว ชมเชย

อนึ่งคำสอนในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า“กฎแห่งกรรม” ที่เน้นผลแห่งกรรมดี – กรรมชั่วที่ได้ทำในอดีตและปัจจุบันควรจะถูกนำมาพิจารณาในการละเมิดศีล โดยเฉพาะในที่นี้ คือ เรื่อง “การฆ่า”

อย่างไรก็ดียังมีอยู่อีก ๓ ประเด็นที่บทความนี้ ครอบคลุมไปไม่ถึง ได้แก่ ประการแรกภารกิจของทหารหาญในการปกป้องประเทศชาติจากอริราชศัตรู ประการที่สอง การค้าอาวุธและอาชีพฆ่าสัตว์เพื่อค้า- ประทังชีวิต และ ประเด็นสุดท้าย มีการทำชีวิตสัตว์ให้ตกไปในความหมาบใดบ้างที่พระพุทธศาสนายอมรับได้




Create Date : 05 กันยายน 2561
Last Update : 5 กันยายน 2561 21:16:12 น.
Counter : 723 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(11 เม.ย. 2567 08:25:45 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Iamtheway.BlogGang.com

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด