บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2548
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 

โยนิโสมนสิการ 10 วิธี

โยนิโสมนสิการ 10 วิธี
ของ พระราชวรมุนี


เพื่อให้ปรโตโฆสะ นำไปสู่โยนิโสมนสิการ ทำให้คนรู้จักคิด หรือคิดเองเป็นอันจุดเริ่มของการศึกษา และจำเป็นสำหรับการที่จะมีการศึกษา จึงจะเสนอวิธีคิดที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำไว้สัก 10 วิธี

คนทั่วไปซึ่งได้สั่งสมความเคยชินให้จิตมีนิสัยแห่งการคิดในแนวทางของการสนองตัณหาหรือคิดโดยมีความไม่ชอบใจเป็นพื้นฐานมาเป็นเวลายาวนาน วิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆนี่จะเริ่มเป็นเครื่องฝึกในการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิต การสร้างนิสัยใหม่นี้ อาจจะต้องการใช้เวลานานบ้าง เพราะนิสัยเดิมเป็นสิ่งที่ได้สั่งสมมานานคนละเป็นสิบๆปี แต่เมื่อได้ฝึกขึ้นบ้างแล้วก็ได้ผลคุ้มค่า เพราะเป็นการที่ทำให้เกิดปัญญา ทำให้แก้ปัญหาดับความทุกข์ได้แม้จะยังทำไม่ได้สมบูรณ์ ก็ยังพอเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสมดุล และได้มีทางออกในยามที่ถูกความคิดตามแนวนิสัยเดิมชักนำไปสู่ความอับจน ความทุกข์ และปัญหาบีบคั้นต่างๆ

อนึ่ง พึงทราบว่าวิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆถึงจะมีมากอย่าง ก็สรุปลงได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ

1. โยนิโสมนสิการประเภทพัฒนาปัญญาโดยตรง มุ่งให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริงตรงตามสภาวะแท้ๆ เน้นที่การ ขจัดอวิชชา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิอาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับสัจธรรม

2. โยนิโสมนสิการประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรมหรือกุศลธรรมต่างๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกีย์สัมมาทิฏฐิ อาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม


วิธีโยนิโสมนสิการต่อไปนี้ บางอย่างใช้ประโยชน์ประเภทเดียว บางอย่างใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองประเภท ในที่นี้จะยังไม่แยกกลุ่มไว้ จะยกมาแสดงทีละอย่างตามลำดับที่เห็นสมควร และชี้แจงประโยชน์เป็นข้อๆไปหรือให้ผู้อ่านพิจารณาดูเอง ซึ่งก็จะแยกได้โดยไม่ยาก

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆ ให้รู้จักสภาวะตามที่มันเป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา ค้นหาหนทางแก้ไข ด้วยการสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา จะเรียกว่า วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา หรือวิธีคิกแบบปัจจยตาการก็ได้ ในทางปฏิบัติ อาจแยกวิธีคิดนี้ได้ 2 อย่าง คือ

ก. คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ คือ เมื่อพบเหตุการณ์หรือเรื่องที่พิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใด ก็มองหยั่งย้อนและสืบสาวชักโยงอกไปถึงปัจจัยต่างๆทั้งหลายที่เข้ามาสัมพันธ์นั้น ก่อให้เกิดผลหรือปรากฏการณ์นั้นๆขึ้น เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนบ่อยๆให้พระสาวกพิจารณาว่า “เมื่อสิ่งนั้นมี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ”

ข. คิดแบบสอบสวน หรือ ตั้งคำถาม คือ เมื่อประสบพบเห็นสิ่งใดๆที่ควรพิจารณา ก็คอยตั้งคำถามแก่ตนว่า ทำไม เพราะอะไร เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งปัญหาถามพระองค์เองก่อนตรัสรู้ว่า “ตัณหาเกิดขึ้น เพราะอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เป็นต้น หรือคิดสืบสาวหาสาเหตุจิตใจต่อไป


2. วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ หรือกระจายเนื้อหา เป็นวิธีคิดสำคัญอีกแบบหนึ่งที่มุ่งเพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆตามสภาวะของมัน ตามธรรมดา สิ่งทั้งหลายก็ดี ปรากฏการณ์ต่างๆก็ดี เรื่องราวต่างๆที่อุบัติขึ้นก็ดี เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆมารวมกันเข้า เมื่อแยกแยะกระจายออกไปให้เห็นองค์ประกอบย่อยๆต่างๆได้แล้ว จึงจะรู้จักสิ่งนั้น เรื่องราวนั้นๆได้ถูกต้องแท้จริง จึงจับจุดที่เป็นปัญหาได้ และจึงจะแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างของการคิดแบบนี้เช่นที่พระพุทธศาสนาแยกแยะชีวิตออกเป็นส่วนประกอบย่อยต่างๆ เช่น เป็นขันธ์ 5 เป็นต้น

3. วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความเป็ยไปของสิ่งทั้งหลายอย่างรู้เข้าใจธรรมดาธรรมชาติของมัน ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างนั้น ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น จึงจะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ การที่มันเกิดขึ้นแล้วจะต้องดับไป ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่คงอยู่ตลอดไป มีภาวะที่ถูกปัจจัยต่างๆที่ขัดแย้ง บีบคั้นได้ ไม่มีอยู่และไม่สามารถดำรงอยู่โดยไตรลักษณ์ หรือ สามัญลักษณ์ จึงเรียกความคิดแบบนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ วิธีคิดแบบนี้ที่ถูกต้องต้องดำเนินไปให้ครบ 2 ขั้นตอน คือ

ก. ขั้นที่หนึ่ง รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา เช่น เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนาขึ้น ตั้งขึ้น สำนึกขึ้นในเวลานั้นว่า เราจะมองตามความเป็นจริง ไม่มองด้วยตามความอยากของเราที่อยากให้เป็นหรืออยากไม่ให้เป็น รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นตามเหตุปัจจัยของมันเปลื้องตัวอิสระได้ ไม่เอาตัวไปให้ถูกกดถูกบีบ

ข. ขั้นที่สอง แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ขึ้นต่อความอยากคามปรารถนาของเราหรือใครๆ เมื่อเราต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ก็ต้องทำที่เหตุปัจจัยให้ได้เป็นอย่างนั้น แล้วแก้ไขหรือจัดทำการที่ตัวเหตุปัจจัยนั้นๆ เมื่อทำเหตุปัจจัยได้พร้อมบริบูรณ์ที่จะให้เป็นอย่างนั้น มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะให้เป็น มันก็ไม่เป็น แล้วก็รู้และแก้ไขกันที่เหตุปัจจัยนั้นแหละ ไม่ใช่แก้ด้วยความอยาก เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ดำรงตนอยู่เป็นอิสระ อยู่อย่างอิสระ ทำการได้ดีที่สุด พร้อมทั้งไม่มีความทุกข์


4. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีคิดแบบอริยสัจสี่ เป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องจากวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ( แบบที่ 3 ) นั่นเอง คือ เมื่อเข้าใจคติธรรมดาของสิ่งทั้งหลายวางใจได้และตกลงใจว่าจะแก้ปัญหาที่ตัวเหตุตัวปัจจัย จากนั้นก็ดำเนินความคิดต่อไปตามวิธีคิดแบบอริยสัจสี่นี้ วิธีคิดแบบนี้มีหลักการสำคัญคือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือทุกข์โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจปัญหาหรือความทุกข์ให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ปัญหา พร้อมกันนั้นก็กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ จะเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหาดดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่ได้กำหนดไว้นั้น ทั้งนี้อาจจัดวางเป็นขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดรู้ คือ แจกแจงแถลงปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา สภาพและขอบเขตของปัญหาให้เข้าใจชัดเจนว่าเป็นอะไร คืออะไร เป็นที่ตรงไหนเหมือนแพทย์ตรวจดูอาการของโรค ดูความผิดปกติของร่างกาย วินิจฉัยให้รู้ว่าเป็นอะไร ที่ตรงไหน รู้เข้าใจโรคและร่างกายเฉพาะอย่างยิ่งส่วนซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคให้ชัดเจน ( ทุกข์ )

ขั้นที่ 2 สืบสวนเหตุแห่งทุกข์ที่จะพึงละ คือ วิเคราะห์ค้นหามูลเหตุหรือต้นตอของปัญหาซึ่งจะองแก้ไขกำจัดหรือทำให้หมดสิ้นไป ตามปกติขั้นนี้ตรงกับวิธีคิดแบบที่ 1 คือ วิธีคิดแบบปัจจัยการนั่นเอง เหมือนแพทย์ค้นหาสมมุติฐานของโรค หาสาเหตุของโรค ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องตรงจุด มิใช่รักษาแต่เพียงอาการ ( สมุทัย )

ขั้นที่ 3 เล็งหมายขัดซึ่งการดับทุกข์ที่จะทำให้สำเร็จ คือ เล็งเห็นชัดเจนถึงภาวะปราศจากปัญาซึ่งมุ่งหมายว่าคืออะไร เป็นไปได้จริงหรือไม่ อย่างไร มีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและหลักการทั่วไป หรือตัวกระบวนการของการแก้ปัญหาก่อนที่จะวางรายละเอียดและกลวิธีปลีกย่อยในขั้นดำเนินการ เหมือนแพทย์รู้ว่าโรคนั้นๆรักษาได้ มองเห็นกระบวนการของโรคชัดเจนว่าจะหายไปได้อย่างไร ( นิโรธ )

ขั้นที่ 4 จัดวางวิธีการดับทุกข์ที่จะต้องปฏิบัติ คือ เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและหลักการทั่วไปแล้ว ก็กำหนดวางวิธีการ แผนการและรายการที่จะต้องทำในการที่จะแก้ไขกำจัดสาเหตุของปัญหาให้สำเร็จ โดยสอดคล้องกับเป้าหมายและหลักการทั่วไปนั้นเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาต่อไป ( มรรค )

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นวิธีคิดในระดับปฏิบัติการหรือลงมือทำ คือ การที่จะกระทำการต่างๆโดยรู้และเข้าใจถึงหลักการและความุ่งหมายของเรื่องนั้นๆ จะดำเนินไปเพื่อจุดหมายอะไร เพื่อให้เป็นการปฏิบัติที่ได้ผลตามความมุ่งหมายนั้น ไม่กลายเป็นการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยงมงาย เช่น เมื่อจะลงมือทำงานอะไรนั้น ก็ตรวจสอบตนเองให้ชัดเจนว่าเข้าใจหลักการและความมุ่งหมายของงานนั้นดีแล้วหรือไม่ โดยอาจคอยตั้งคำถามว่า อันนี้เพื่ออะไรๆ เป็นต้น

6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ มองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไขหาทางออกให้หลุดรอดปลอดพ้นจากข้อบกพร่องต่างๆ เป็นวิธีมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง เน้นการศึกษาและยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้นๆเป็นอยู่ทุกแง่ทุกมุมเพื่อให้รู้และเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง ศัพท์ทางธรรมดาเรียกว่า วิธีคิดโดยรู้อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ วิธีคิดแบบนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก เพราะคนทั้งหลายมักจะตื่นตามกันและเอนเอียงง่ายพอจับได้อะไรดี ก็มองเห็นแต่ดีไปหมด พอจับได้ว่าอะไรไม่ดี ก็เห็นแต่เสียไปหมด ทำให้พลาดทั้งความรู้จริงและการปฏิบัติที่ถูกต้อง อันที่จริงนั้นปกติของสิ่งทั้งหลายย่อมมีทั้งส่วนดี ส่วนเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง เป้นต้น อาจดีมาก หากอยู่ในกรณีแวดล้อมอย่างหนึ่ง หรืออาจจะดีน้อย หากได้อยู่ในกรณีแวดล้อมหรือเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่ง เมื่อได้ตระหนักและยอบรับถึงข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็งแล้ว เราก็จะได้ระมัดระวัง ปิดกั้นทางเสียหรือหาสิ่งชดเชยทดแทนให้ประโยชน์ที่ได้สมบูรณ์ต่อไป

7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา ตัดทางไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อไป วิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจำวัน เพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ทางเทคโนโลยี มีหลักการโดยย่อว่า คนเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆเพราะเรามีความต้องการ สิ่งใดที่สามารถสนองความต้องการของเราได้ สิ่งนั้นก็มีประโยชน์ มีคุณค่าแก่เรา คุณค่านี้จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ตามชนิดของความต้องการ คือ

ก. คุณค่าแท้ หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง มนุษย์นำมาใช้ในการแก้ปัญหาของตน เพื่อประโยชน์สุขทั้งของตนเองและผู้อื่น คุณค่านี้อาศัยปัญญาป็นเครื่องตีค่า จะเรียกว่าคุณค่าที่สนองปัญญาก็ได้ เช่น อาหาร มีคุณค่าเป็นประโยชน์สำหรับหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ มีสุขภาพดี มีกำลังเกื้อกูลแก่การปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น ( คุณค่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยธรรมฉันทะ )

ข. คุณค่าเทียม หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งที่มนุษย์พกให้แก่สิ่งนั้นเพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา เพื่อเสริมความมั่งคั่งยิ่งใหญ่ของตัวตนที่ยึดถือไว้ คุณค่านี้อาศัยตัณหาป็นเครื่องตีค่า จะเรียกว่าคุณค่าที่สนองตัณหาก็ได้ เช่น อาหาร มีคุณค่าอยู่ที่ความเอร็ดอร่อย เสริมความสนุกสนาน หรือความโก้หรูหราของรถยนต์ มีราคา ความสวยงามเป็นเครื่องแสดงหรือวัดฐานะ เป็นต้น

วิธีคิดแบบนี้ มุ่งให้เข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตอย่างแท้จริงเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น คุณค่าแท้นี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริงแล้ว ยังเกื้อกูลต่อความเจริญงอกงามของกุศลธรรม เช่น ความมีสติ ทำให้พ้นจากความเป็นทาสของวัตถุ เป็นต้น


8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม เรียกง่ายๆว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทาและขัดเกลาตัณหา ส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกียะ

หลักการทั่วไปของวิธีคิดนี้มีอยู่ว่า ประสบการณ์คือสิ่งที่ได้ประสบหรือได้รับรู้อย่างดียวกับบุคคลที่ประสบหรือรับรู้ต่างกัน อาจมองเห็นและคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง สุดแต่โครงสร้าง แนวทางความเคยชินที่เป็นเครื่องปรุงของจิต คือ สังขาร ที่ผู้นั้นได้สั่งสมไว้หรือก็คือ สุดแต่การทำใจในขณะนั้นๆ คนหนึ่งมองแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางดีงาม แต่อีกคนหนึ่งมองแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นโทษเป็นอกุศล รวมถึงเรื่องของเวลา คราวหนึ่งคิดดี คราวหนึ่งคิดร้าย การทำใจที่ช่วยตั้งต้นและชักนำความคิดให้เดนไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ เรียกว่า วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม วิธีคิดในแบบนี้มีความสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดความคิดและการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ในขณะนั้นๆ และช่วยแก้ไขนิสัยความเคยชินร้ายๆของจิตที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิม พร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น การคิดถึงความตาย เมื่อคิดถึงแล้วก็จะเกิดความสลดหดหู่ ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ตลอดจนเกิดความดีใจเมื่อนึกถึงความตายของคนที่เราเกลียดชัง แต่ถ้าในขณะที่เราคิดนั้น เรามีโยนิโสมนสิการอยู่ด้วย เราก็จะเกิดความรู้สึกตื่นตัว เร้าใจไม่ประมาทเร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้เท่าทันความจริงที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการคิดถึความตายที่ถูกวิธี

นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ควรย้ำถึงองค์ประกอบสำคัญที่คอยพยุงความคิดให้อยู่ในโยนิโสมนสิการ อันได้แก่ สติ ซึ่งช่วยยับยั้งความคิดที่หลงลอยไปเป็นอโยนิโสมนสิการ

อนึ่ง โยนิโสมนสิการแบบต่างๆ สรุปได้เป็น 2 คือ โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ ซึ่งมีลักษณะที่แน่นอนเป็นอย่างเดียว และโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม ซึ่งมีลักษณะแผกผันไปได้หลากหลายนั้น มีจุดแยกอยู่ที่ขณะตั้งต้นความคิด และสติอาจมีบทบาทสำคัญในการเลือกทางแยกที่จุดตั้งระหว่างโยนิโสมนสิการแบบต่างๆนี้ เช่นเดียวกับที่สติสามารถเลือกระหว่างโยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการ

9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน คือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมดาเป็นอารมณ์ความจริง วิธีคิดแบบที่ 9 นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีคิดแบบที่ 8 ที่แยกแสดงออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากนั้นเป็นเพราะมีแง่ที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ และเป็นวิธีคิดที่มีความสำคัญโดยลำพังตัวของมัยเอง

ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษนั้นคือ การที่ผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเข้าใจไปว่า พุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้ากำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับอดีต หรืออนาคต ตลอดจนไม่คิดเตรียมการวางแผนเพื่อกาลภายหน้า

ลักษณะความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดที่อยู่ในแนวทางของความรู้หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา เป็นการคิดที่สามารถรวมเอาเรื่องที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่ล่วงผ่านมาแล้ว และเรื่องของกาลภายหน้าเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ถือเป็นการคิดที่นำมาใช้เป็นบทเรียน ก่อให้เกิดความไม่ประมาทระมัดระวังป้องกันภัยในอนาคต เป็นต้น

คำว่าปัจจุบันในทางธรรม มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่ตามความหมายของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรืออนาคต ก็อาจกลายเป็นปัจจุบัน ตามความหมายของนามธรรมได้ สรุปง่ายๆว่า ความเป็นปัจจุบัน กำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้อง ต้องรู้ ต้องทำเป็นสำคัญ สิ่งที่เป็นปัจจุบันคลุมถึงเรื่องราวทั้งหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมา

วิธีคิดแบบนี้มุ่งที่จะช่วยแบ่งแยกความคิดถึงอดีตและอนาคตตามแนวทางของตัณหาที่เพ้อฝันเลื่อนลอย ผลาญเวลาและคุณภาพของจิตใจให้สูญเปล่า การคิดที่ถูกวิธีจะช่วยให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติในทางปัจจุบันให้ถูกต้องได้ผลดียิ่งขึ้น เป็นการสนับสนุนให้มีการตระเตรียมและวางเเผนในกิจการล่วงหน้า


10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่าวิภัชชวาทแปลว่า การพูดแยกแยะจำเเนกเเจกเเจง แถลงความแบบวิเคราะห์ เป็นการมองและแสดงความจริง โดยเเยกเเยะออกให้เห็นเเต่ละเเง่เเต่ละด้านให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาบางเเง่ขึ้นมาวินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด ความจริงวิภัชชวาทเป็นชื่อเรียกระบบความคิดของพระพุทธศาสนาทั้งหมด มีความหมายครอบคลุมวิธีคิดที่ได้กล่าวมาเเล้วข้างต้นหลายๆอย่าง

วิธีคิดแบบนี้ทำให้ความคิดและการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ ชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เท่าความจริง พอดีกับความจริง เพื่อให้เข้าใจความหมายของวิภัชชวาทชัดเจนยิ่งขึ้น ขอจำเเนกวิธีคิดเเบบวิภัชชวาทออกไปในลักษณะต่างๆดังนี้

ก. จำเเนกโดยเเง่ด้านของความจริง เเบ่งได้ 2 อย่างเป็น
- จำเเนกตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้นๆ คือ ของความจริงให้ตรงตามที่เป็นอยู่ในเเง่นั้นด้านนั้น ไม่ใช่จับเอาความจริงเพียงเเง่หนึ่งมาตีคลุมเป็นอย่างนั้นไปหมด
- จำเเนกโดยมองความจริงของสิ่งนั้นๆ ให้ครบทุกเเง่ทุกด้าน คือ ไม่มองเเคบๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียวเเง่เดียวของสิ่งนั้น เเต่มองให้หลายเเง่หลายด้าน เช่น คนๆหนึ่งอาจจะดีในเเง่นั้น เเต่ไม่ดีในเเง่นี้ การคิดจำเเนกในเเง่นี้ เป็นส่วนเสริมกันกับข้อแรกให้ได้ผลสมบูรณ์ และมีผลรวมไปถึงการเข้าใจในภาวะที่องค็ประกอบต่างๆมารวมกันโดยครบถ้วน จึงเกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้น ๆ เป็นการเห็นที่กว้างไปถึงลักษณะด้านต่างๆและองค์ประกอบต่างๆของมัน

ข. จำเเนกโดยส่วนประกอบ คือ วิเคราะห์แยกเเยะให้รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจากองค์ประกอบย่อย ๆ ต่าง ๆ มาชุมนุมกันเข้า ไม่ติดอยู่ภายนอกหรือถูกลวงโดยภาพรวมของสิ่งนั้น ๆ เช่น การเเยกเเยะคนออกเป็นนามและรูปเป็นขันธ์ 5 เเบ่งซอยออกจนเห็นภาวะที่ไม่เป็นอัตตา

ค. จำแนกโดยลำดับขณะ คือ แยกแยะวิเคราะห์ปรากฎการณ์ตามลำดับแห่งเหตุปัจจัย ให้มองเห็นตัวเหตุปัจจัยที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ เป็นวิธีที่ใช้มากในฝ่ายอภิธรรม ตัวอย่างเช่น โจรปล้นบ้านและฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย หากคิดจำแนกโดยลำดับขณะแล้ว จะเห็นว่า โจรโลภอยากได้ทรัพย์ แต่เจ้าทรัพย์เป็นอุปสรรคต่อการใช้ทรัพย์นั้น ความโลภทรัพย์จึงเป็นเหตุให้โจรมีโทสะต่อเจ้าทรัพย์ โจรจึงฆ่าเจ้าทรัพย์ ตัวเหตุที่แท้ของการฆ่าคือโทสะ หาใช่โลภะไม่ โลภะเป็นเพียงเหตุให้ลักทรัพย์ และเป็นปัจจัยให้โทสะเกิดเท่านั้น ในภาษาสามัญจะพูดว่า โจรฆ่าคนเพราะความโลภ แต่ถ้าพิจารณาตามขบวนธรรมที่เป็นไปตามลำดับขณะ ความโลภเป็นเพียงตัวการเริ่มต้นในเรื่องนั้นเท่านั้น

ง. จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอย ๆ แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุแห่งปัจจัย การคิดจำแนกในแง่นี้ตรงกับวิธีคิดแบบที่ 2 คือ วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย

ตามแนวคิดนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชเณนธรรมเทศนา หรือ วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรม

การจำแนกโดยสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย นอกจากช่วยไม่ให้เผลอ มองสิ่งต่าง ๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย แล้วยังครอบคลุมไปถึงการที่จะให้รู้จักกับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน ความขัดสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป 3 อย่าง คือ

1. การนำเอาเรื่องราวอื่น ๆ นอกกรณีมาปะปะสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้แยกเอาเรื่องราวหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากเหตุปัจจัยที่แท้จริง รวมถึงการจับผลให้ตรงกับเหตุด้วย

2. ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฎการณ์หรือผลที่คล้ายกัน ซึ่งอาจเกิดจากเหตุปัจจัยที่ต่างกัน หรืออย่างเดียวกัน เช่น การได้ทรัพย์มาอาจเกิดจากขยันทำการงาน จากการทำให้ผู้ให้ทรัพย์พอใจ หรือจากการลักขโมยก็ได้ เป็นต้น

3. การไม่ตระหนักถึงเหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจากเหตุปัจจัยที่เหมือนกัน คือ คนมักมองเฉพาะแต่เหตุปัจจัย บางอย่างที่ตนมั่นหมายว่า จะให้เกิดผลอย่างนั้น ๆ ครั้นต่างบุคคลทำเหตุปัจจัยอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้รับผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นว่าเหตุปัจจัยนั้นไม่ได้ผลจริง

จ. จำแนกโดยเงื่อนไข คือ มองโดยพิจารณาเงื่อนไขประกอบด้วย เช่น ถ้าถามว่าบุคคลนี้ควรคบหรือไม่ ถ้าพระภิกษุเป็นผู้ตอบก็อาจกล่าวว่าถ้าคบแล้วอกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรคบ แต่ถ้าคบแล้วอกุศลเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ก็ควรคบ

การตอบวิภัชชวาท จะวินิจฉัยโดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ คือ

1. ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ซึ่งเด็กได้สั่งสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดูและอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็นต้น เท่าที่อยู่ในขณะนั้น (พูดด้วยภาษาทางธรรมว่า สังขารที่เป็นกุศลและอกุศล คือ แนวความคิดปรุงแต่งที่ได้สะสมจนกลายเป็นความเคยชินเอาไว้) อาจเรียกง่าย ๆ ว่า พื้นของเด็กที่จะแล่นไป

2. โยนิโสมนสิการ คือ เด็กรู้จักใช้โยนิโสมนสิการโดยปกติหรือไม่ และแค่ไหน เพียงไร

3. กัลยาณมิตร คือ บุคคลหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็น หรือที่จะชักนำให้เด็กเกิดโยนิโสมนสิการ อย่างได้ผลหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกัลยาณมิตรในครอบครัว ในสื่อมวลชนนั้น ๆ หรือทั่ว ๆ ไป ในสังคมก็ตาม

4. ประสบการณ์ คือ สิ่งที่ปล่อยให้แพร่หรือให้เด็กพบเห็นนั้น มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เร้าหรือยั่วยุ เป็นต้น รุนแรงมากน้อยถึงระดับใด

ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ 4. ขึ้นตั้งเป็นตัวยืนคำตอบจะเป็นไปได้โดยสัดส่วนซึ่งตอบได้เอง เช่น ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริง ๆ กำกับอยู่ หรือพื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศลซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบครัวหรือวัฒนธรรมมีมาก และเข้มแข็งจริง ๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่หรือปล่อยให้เด็กพบเห็นจะล่อเร้ายั่วมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และผลดีต่าง ๆ ก็เป็นอันหวังได้ แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศลก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้โยนิโสมนสิการก็ไม่เคยฝึกกันไว้ แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วยการปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากันเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนปัญหาและเป็นการตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง

ฉ. วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง วิภัชชวาทปรากฎอยู่บ่อย ๆ ในรูปของการตอบปัญหาและท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิธีตอบปัญหา 4 อย่าง มีชื่อเฉพาะเรียกว่า วิภัชชวาทพยากรณ์ ซึ่งก็คือ การนำเอาวิภัชชวาทไปใช้ในการตอบปัญหา หรือ ตอบปัญหาตามแบบวิภัชชวาทนั่นเอง

เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ ถึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) 4 อย่าง คือ
1. เอกังสพยากรณ์ การตอบอย่างเดียวเด็ดขาด
2. วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ
3. ปฏิปจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม
4. ฐปนะ การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ
วิธีตอบ 4 อย่างนี้ แบ่งตามลักษณะของปัญหา ดังนั้น ปัญหาจึงแบ่งได้เป็น 4ประเภท ตรงกับวิธีตอบ
เหล่านั้น จะยกตัวอย่างปัญหาตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาแสดงประกอบความเข้าใจดังนี้

1. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกแยะหรือจำแนกตอบ เช่น ถามว่าสิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่ จักษุใช่ไหม พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่าใช่

2. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกแยะหรือจำแนกตอบ เช่น ถามว่าสิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่ จักษุใช่ไหม พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไม่เที่ยง

3. ปฏปจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ไม่ควรตอบโดยย้อนถาม เช่น ถามว่าจักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถามใด หมายถึง แง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยงก็ใช่

4. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระ คือ สิ่งเดียวกันใช่ไหม พึงยับยั้งเสียไม่ต้องตอบ

นี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น เมื่อว่าโดยใจความปัญหาแบบที่ 1 ได้แก่ ปัญหาซึ่งไม่มีแง่ที่จะต้องชี้แจงหรือไม่มีเงื่อนงำ จึงตอบแน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทันที เช่น อีกตัวอย่างหนึ่งว่าคนทุกคนต้องตายใช่ไหม ก็ตอบได้ทันทีว่าใช่ ปัญหาแบบที่ 2 ได้แก่ แง่ซึ่งจะต้องมีเรื่องที่จะต้องชี้แจง โดยใช้วิธีภัชชวาทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาแบบที่ 3 พึงย้อนถามความเข้าใจกันก่อนจึงจะตอบ หรือตอบด้วยอาการย้อนถาม หรือสอบถามไปตอบไป อาจใช้ประกอบไปกับการตอบ แบบที่ 2 คือ ควบกับวิภัชชพยากรณ์ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีย้อนถามบ่อย ๆ และด้วยการทรงย้อนถามนั้น ผู้ถามจะค่อย ๆ เข้าใจสิ่งที่เขาถามไปเอง หรือช่วยให้เขาตอบปัญหาของเขาเอง โดยพระองค์เพียงทรงชี้แนะแง่คิดต่อให้ ไม่ต้องทรงตอบ ส่วนปัญหาแบบที่ 4 ซึ่งควรยับยั้งไม่ตอบ ได้แก่ คำถามเหลวไหลไร้สาระจำพวกหนวดเต่าเขากระต่ายบ้าง ปัญหาที่เขายังไม่พร้อมที่จะเข้าใจ จึงยับยั้งไว้ก่อน หันไปทำความเข้าใจเรื่องอื่นที่เป็นการเตรียมพื้นของเขาก่อน แล้วจึงค่อยมาพูดกันใหม่หรือให้เข้าใจได้เองบ้างปัญหาที่ตั้งมาไม่ถูก โดยคิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามสภาวะหรือไม่มีตัวสภาวะอย่างนั้นจริง เช่น ตัวอย่างในบาลี มีผู้ถามว่า ใคร เป็นต้น ซึ่งไม่อาจตอบตามที่เขาอยากฟังได้ จึงต้องยับยั้งหรือพับเสีย อาจชี้แจงเหตุผลในการไม่ตอบ หรือให้เขาตั้งคำถามใหม่ให้ถูกต้องตามสภาวะ

เรื่องโยนิโสมนสิการ ขอกล่าวไว้โดยย่อ เพียงเท่านี้ก่อน และขอสรุปโดยทวนหลักการทั่วไป เมื่อมีโยนิโสมนสิการสัมมาทิฎฐิก็เกิดขึ้นได้ เมื่อสัมมาทิฎฐิเกิดขึ้นองค์ประกอบมูลฐานของมรรควิธีแห่งการแก้ปัญหา หรือมรรคาแห่งความดับทุกข์ จากนั้นกระบวนการแห่งการศึกษาก็ดำเนินต่อไป

-=-=-=-=-=-=-=-
ลอกมาจาก "mylesson.swu.ac.th/syllabus/doc_120040517025829.doc"
จากหนังสือพุทธธรรม ฉบับขยายความ ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) - (มีเพื่อนแจ้งมาด้านล่าง)




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2548
134 comments
Last Update : 5 ธันวาคม 2551 16:27:23 น.
Counter : 9030 Pageviews.

 

แวะมาอ่านค่ะ

 

โดย: เชอเบทส้ม 8 กรกฎาคม 2548 14:04:16 น.  

 

สวัสดีค่า วันนี้มาแนวธรรมะนะ ^^




...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 8 กรกฎาคม 2548 17:18:20 น.  

 




เพลิดเพลิน แล้วก๊ยังมีคำสอนด้วย ดีจังเลยค่ะ

 

โดย: หนี่หนีหนี้ 28 กรกฎาคม 2548 17:29:52 น.  

 

มีสาระ ได้ความรู้

 

โดย: หวานหว่านว่าน IP: 210.86.147.77 3 กรกฎาคม 2549 18:51:10 น.  

 

เข้ามาหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ ขอยคุณสำหรับความรู้นะคะ

 

โดย: ปาปา IP: 61.19.155.43 15 สิงหาคม 2549 15:01:12 น.  

 

มาเพื่อหาข้อมูลทำวิจัยเช่นกัน ผู้มีประสบการณ์เรื่องโยนิโส...มีอะไรแนะนำไหมคะ หรือแหล่งข้อมูลเจ๋งๆ ขอบคุณล่วงหน้า

 

โดย: นี่นา IP: 203.113.51.104 24 ตุลาคม 2549 20:20:18 น.  

 

ผมชอบคับ

 

โดย: cafu IP: 203.154.51.35 22 พฤศจิกายน 2549 18:27:27 น.  

 

 

โดย: ประกอบ ป้องชายชม IP: 222.123.12.208 10 ธันวาคม 2549 10:06:36 น.  

 

หุหุหุ

 

โดย: o_o IP: 124.120.137.7 16 ธันวาคม 2549 13:19:46 น.  

 

ขอบคุณค่ะ จะเอาไปทำรายงานพอดีเลย

 

โดย: -*- IP: 124.157.153.185 17 ธันวาคม 2549 10:05:10 น.  

 

 

โดย: คนน่ารัก ดา เองค่ะ IP: 203.118.123.179 19 ธันวาคม 2549 16:47:47 น.  

 

ขอบคุณคะที่ให้ใช้ข้อมูล

 

โดย: กาญจนาภรณ์ IP: 203.113.34.12 19 ธันวาคม 2549 17:28:28 น.  

 

ขอขอบคุน ที่หั้ยข้อมูลค่ะ

 

โดย: ................... IP: 203.118.114.66 19 ธันวาคม 2549 18:06:10 น.  

 

 

โดย: เฟริส ครับ IP: 203.118.114.66 19 ธันวาคม 2549 18:07:53 น.  

 

ขอบคุงคับ กำลังหาอยู่พอดี

 

โดย: >>Z.C<< IP: 203.113.32.12 26 ธันวาคม 2549 18:24:33 น.  

 











 

โดย: นัท IP: 203.113.51.73 27 ธันวาคม 2549 17:12:44 น.  

 

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
กำลังหาทำรายงานอยู่เลยค่ะ

 

โดย: มายด์ IP: 125.25.131.224 2 มกราคม 2550 23:23:31 น.  

 

ผู้เก่งกาด

 

โดย: ทวิทิศ IP: 203.172.199.254 5 มกราคม 2550 9:30:39 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

 

โดย: อายา IP: 124.120.202.24 8 มกราคม 2550 20:33:45 น.  

 

ธรรมมะเป็นสิ่งที่ดีนะคะ แต่ก็อย่างว่าแหละค่ะถ้ารู้แต่ไม่นำไปใช้ เเล้วจะเกิดประโยชน์ได้อย่างไร จริงมั้ยคะ

 

โดย: หุหุ IP: 125.25.58.232 24 มกราคม 2550 13:00:46 น.  

 

เอาไปทามรายงานคร้าบบบบบบๆๆๆๆ

 

โดย: thon555 IP: 61.7.241.30 27 มกราคม 2550 13:23:22 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ

 

โดย: พลอย IP: 125.24.131.180 4 กุมภาพันธ์ 2550 8:45:27 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเนื้อหามากๆค่ะ ได้ประโยชน์สุดๆ

 

โดย: เฟิร์น IP: 124.120.242.138 4 กุมภาพันธ์ 2550 10:17:03 น.  

 

thank you ที่ให้ข้อมูลทำmymap

 

โดย: ใบบัว IP: 61.7.241.30 4 กุมภาพันธ์ 2550 10:22:53 น.  

 

ชอบธรรมะมาก ๆรู้ซึ้งธรรมะยิ่งขึ้น และจะเอาไปทำรายงานส่งอาจารย์ด้วย

 

โดย: กมลวรรณ IP: 125.24.152.63 4 กุมภาพันธ์ 2550 16:25:52 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเนื้อหามากค่ะ จะเอาไปทำรายงานส่งอาจารย์

 

โดย: นู๋น้อย IP: 61.19.65.222 5 กุมภาพันธ์ 2550 15:38:13 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: ต้า IP: 203.151.42.153 6 กุมภาพันธ์ 2550 11:10:14 น.  

 

ขอบคุณมากนะครับเปงประโยชน์ในการสอบสุดๆๆ

 

โดย: ภาณุชิต IP: 124.157.173.218 8 กุมภาพันธ์ 2550 21:19:10 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ จะเอาไปทำงานส่งครู ^^

 

โดย: himawari IP: 203.155.94.129 10 กุมภาพันธ์ 2550 15:48:46 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: 22 IP: 203.114.109.146 17 กุมภาพันธ์ 2550 15:49:39 น.  

 

ขอบคุณพระอาจารย์มาก
เป็นข้อมูลที่ดีที่สุด ในการทำรายงานของกระผม

 

โดย: น้อยนิด IP: 58.147.68.102 18 กุมภาพันธ์ 2550 15:00:09 น.  

 

ขอให้ผู้อ่านพีงศึกษาและนำมาใช้ให้ได้กับชีวิตทุกคนนะ
รู้เท่าทันจิต ชีวิตสดใส

 

โดย: หอยทาก IP: 125.24.128.121 21 กุมภาพันธ์ 2550 6:31:06 น.  

 

 

โดย: max IP: 125.25.16.48 27 กุมภาพันธ์ 2550 22:00:15 น.  

 

กำลังหางานวิจัยเกี่ยวกับโยนิโสครับ
ขอบคุณที่หาเจอ

 

โดย: ผู้หาทางออก IP: 203.113.15.246 17 มีนาคม 2550 12:45:18 น.  

 

เชิญทุกท่านที่สนใจการพัฒนาตนเองเข้ามาอ่านที่
www.wongnamcha.com
ชุมขนคนเชียงรายค่ะ

 

โดย: ไพลิน ธรรมสอน IP: 58.181.233.248 27 มีนาคม 2550 11:06:40 น.  

 

ขอบคุณค่ะ กำลังทำรายงานอยู่พอดีค่ะ

 

โดย: เปรมฤดี IP: 203.118.120.2 18 เมษายน 2550 21:48:14 น.  

 

ดีใจจังค่ะ มีข้อมูลทำรายงานแล้ว ขอบคุณมากนะคะ แล้วจะแวะมาหาอีกค่ะ

 

โดย: เด็กดี IP: 161.200.255.162 23 เมษายน 2550 21:41:54 น.  

 

ดีคะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นเยอะเลยค่ะ

 

โดย: som-o IP: 124.157.144.101 12 พฤษภาคม 2550 12:33:44 น.  

 

ขอบคุณมากครับ ทำให้ผมสอบได้

 

โดย: Master_zax IP: 125.25.51.63 22 พฤษภาคม 2550 7:05:47 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้พระอาจารย์ส่งมาพอดี5555ยิ้มดีใจมากเลยยยยยยยย

 

โดย: มุก5/4ช.น.พ. IP: 203.113.45.228 22 พฤษภาคม 2550 20:39:24 น.  

 

]ละเอียดดีครับ

 

โดย: nameonics IP: 61.7.139.73 29 พฤษภาคม 2550 17:55:17 น.  

 

ทำผังด้วยสิคะ

 

โดย: อิงอิง IP: 61.19.194.2 30 พฤษภาคม 2550 11:11:54 น.  

 

ดีมากๆ เลยค่ะ ถ้าเราสามารถคิดได้แบบนี้
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ พอดีอาจารย์ให้ช่วยทำสื่อเรื่องนี้พอดีเลย

 

โดย: สิบสาม IP: 58.136.202.131 3 มิถุนายน 2550 21:31:50 น.  

 

ขอบคุณมากๆคับได้ข้อมูลทำรายงานพอดีเลย อิอิ

 

โดย: จอมมารปีโป้ IP: 125.26.38.227 11 มิถุนายน 2550 18:41:36 น.  

 

เอาไปทำรายงานส่งอาจารย์ขะ

 

โดย: kong IP: 61.19.153.59 12 มิถุนายน 2550 16:45:04 น.  

 

ครูให้หาคะ

 

โดย: B IP: 125.24.193.101 21 มิถุนายน 2550 15:56:27 น.  

 

ซาบซึ้งในพระธรรม

 

โดย: ไหมจ้า IP: 202.183.233.12 10 กรกฎาคม 2550 15:31:52 น.  

 

ขออนุโมทนามากๆๆนะ ที่นี่มีสาระจิงๆๆ ทั้งความรู้ที่สมัยใหม่ และธรรม ดีมากๆๆๆ ออกแบบเวปกีมาก เนื้อหาสาระ ถูกใจ ดีมาก ให้ 100 เต็ม

 

โดย: jk IP: 67.15.100.210 23 กันยายน 2550 11:04:19 น.  

 

เย้ๆ ทำรายงาน ทำรายงานขอบคุณมากค้าบ

 

โดย: ท่านที่ 50 IP: 203.209.96.241 8 พฤศจิกายน 2550 18:01:20 น.  

 

ทำรายงานเรื่องนี้ พอดี ขอบคุงมากนะคร้าบ ข้อมูลเป็นประโยชน์มากๆเลย

 

โดย: แฮงท์ IP: 203.113.115.133 10 พฤศจิกายน 2550 14:21:47 น.  

 

 

โดย: แนน IP: 203.113.41.40 20 พฤศจิกายน 2550 12:58:08 น.  

 

ขอบคุนมากเลย ถ้าไม่มีนะเราต้องโดนครูด่าแน่เลย

 

โดย: ข้าวฟ่างจ้า IP: 203.113.71.169 25 พฤศจิกายน 2550 18:32:10 น.  

 

ดีนะที่มีอ่ะ..ไม่งั้นโดนตีหลาว2474

 

โดย: เอ๋ IP: 61.7.240.22 27 พฤศจิกายน 2550 12:23:03 น.  

 

ดีจ้าเราเด็กใหม่นะค่ะ

 

โดย: นานา IP: 203.113.51.5 4 ธันวาคม 2550 13:00:19 น.  

 

หลักคำสอนที่เราควรอ่านอยู่ที่นี้หมดแล้วเราควรอ่านไว้

 

โดย: มิว IP: 58.8.89.131 7 ธันวาคม 2550 15:32:01 น.  

 

.............

 

โดย: มา IP: 58.8.17.173 10 ธันวาคม 2550 17:02:56 น.  

 

เรารักในหลวง และ รัก พ่อ แม่ ที่ มี พระ คุณ ต่อ เรา มาก จาก ด.ช. พงศักดิ์ มงคลสืบสกุล

 

โดย: ศักดิ์ IP: 203.172.166.39 12 ธันวาคม 2550 10:37:47 น.  

 

ขอขอขพระคุณท่านผู้ให้ข้อมูลเป็นอย่างสูงค่ะ
ดิฉันได้คัดลอกบทความนี้เพื่อส่งคุณครูเป็นที่เรียบร้อยค่ะขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
เนื้อหาดีมีสาระอ่านแล้ได้ข้อคิดค่ะ

 

โดย: ข้าวปุ้น IP: 203.155.224.132 12 ธันวาคม 2550 21:19:46 น.  

 

ผู้ที่ได้อ่านโยนิโสมนสิการของพุทธเจ้าแล้วนำไปปฏิบัติตามในชีวิตเชื่อว่าคนคนนั้นจะต้องมีความสุขเป็นอย่างมาก ถ้าใครที่ยังไม่เคยนำหลักสอนนี้ไปปฏิบัติก็ขอให้ลองดู แล้วคุณจะเป็นคนคนหนึ่งที่มีความสุขบนโลกแห่งนี้

 

โดย: สอง IP: 203.113.67.166 17 ธันวาคม 2550 17:39:34 น.  

 

ขอบคุรมั่กมากค่ะเพราะต้องอ่านสอบ
เป็นพระคุณอย่างยิ่ง

 

โดย: จินิจัง IP: 124.157.228.95 26 ธันวาคม 2550 14:57:21 น.  

 

ขอบตุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่ได้จะขึ้นสอบวิทยานิพนธ์แล้ว

 

โดย: ปิยมาศ IP: 61.19.198.186 5 มกราคม 2551 12:17:06 น.  

 

ขอบตุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่ได้จะขึ้นสอบวิทยานิพนธ์แล้ว

 

โดย: ปิยมาศ IP: 61.19.198.186 5 มกราคม 2551 12:17:50 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเนื้อหามากค่ะ จะเอาไปทำรายงานส่งอาจารย์

 

โดย: อี๊ฟ IP: 202.29.83.66 10 มกราคม 2551 10:27:48 น.  

 

ขอบตุนที่ช่วยไห้สอบผ่านค่ะ

 

โดย: ต่อ IP: 203.148.137.226 10 มกราคม 2551 21:42:38 น.  

 

ขอบคุณมากครับ

 

โดย: อาร์ม IP: 125.25.22.16 11 มกราคม 2551 22:05:51 น.  

 

ขออนุญาตเอาไปทำรายงานครับ ขอบคุณมากครับ

 

โดย: snan IP: 222.123.6.209 13 มกราคม 2551 19:43:23 น.  

 

ขอบคุณมากๆ นะค่ะ

วันนี้มาหาข้อมูลทำใบงานได้ความรู้ไปเยอะเลยค่ะ

แล้วจะแบ่งคะแนนให้เอามั้ยค่ะ

อิอิอิอิ

 

โดย: freedom IP: 124.120.79.71 20 มกราคม 2551 18:14:00 น.  

 

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลนะคะ
จะไม่ลืมพระคุณอย่างแรง!!
ขอบคุณมากๆค่ะ

 

โดย: +MicKeY+ IP: 203.172.109.190 21 มกราคม 2551 22:27:00 น.  

 

ก็ดีนะครับ

 

โดย: เจ้น IP: 117.47.94.80 22 มกราคม 2551 21:32:36 น.  

 

ขอบคุณเว็บนี้มากๆเลยค่ะเพราะให้ข้อคิดดีๆกับหนู และยัง่วยให้รายงานหนูเสร็จอีกด้วยค่ะ ขอบคุรมากนะค่ะ

 

โดย: นักธรรม IP: 118.172.159.222 26 มกราคม 2551 11:37:48 น.  

 

อย่าเคร่งเด๋วเครียด!

 

โดย: เบียร์ IP: 119.42.64.196 30 มกราคม 2551 16:17:32 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ! >ตรงกับที่ครูให้ทำรายงายเลย

 

โดย: แพรว IP: 202.149.25.225 10 กุมภาพันธ์ 2551 22:21:28 น.  

 

อยากขอตัวอย่างปัญหาเงินไม่พอใช้และวิธีการแก้ไขโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการข้อ 9 คือวิธีคิดแบบปัจจุบัน

 

โดย: สา IP: 202.29.21.51 22 กุมภาพันธ์ 2551 15:38:42 น.  

 

อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากๆค่ะ

ใช้สอบได้ดีเลยทีเดียว!!!!!

 

โดย: Pw-z IP: 124.157.172.180 26 กุมภาพันธ์ 2551 13:32:27 น.  

 

src=https://www.bloggang.com/emo/emo17.gif>ขอบคุณหลักธรรมกำลังต้องการไปทำงานส่งอาจารย์พอดี๊....พอดีเลยจ้า

 

โดย: mam..korat IP: 118.175.138.212 5 มีนาคม 2551 18:52:36 น.  

 

สนใจเรื่องนี้จึงแวะมาอ่าน ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่ดี ๆที่ได้เอื้อเฟื้อ

 

โดย: clear IP: 61.7.139.248 3 เมษายน 2551 11:03:02 น.  

 

ขอบคุณคะสำหรับความรู้

 

โดย: บี IP: 58.8.125.241 5 เมษายน 2551 11:59:53 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ได้นำไปประกอบการสอน

 

โดย: ลัดดา IP: 125.24.12.232 10 พฤษภาคม 2551 11:04:10 น.  

 

บทความดีจังครับ

 

โดย: มด IP: 203.147.10.245 12 พฤษภาคม 2551 10:49:18 น.  

 

ดีค่ะพอดีทำรายงาน

 

โดย: i IP: 125.27.122.93 25 มิถุนายน 2551 16:39:01 น.  

 

ขอบคุนสำหรับข้อมูลนี้มั่กๆๆค่ะ

กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่พอดีเรย ^^

 

โดย: dekbo IP: 125.26.46.235 29 มิถุนายน 2551 0:17:22 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเนื้อหา
สาธุ สาธุ สาธุ

 

โดย: ก้อย IP: 125.27.21.162 28 กรกฎาคม 2551 20:15:49 น.  

 


สาระDDD
มีในที่ดีๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ในยามที่ครูสั่งเท่านั้นมันอยู่ที่ตัวเราต่างหาก ดีกว่าไปในที่ไร้สาระและยังเป็นปัญหาให้กับสังคม.....อนุโมทนาบุญ......ผู้มาเยี่ยมชม

 

โดย: รสธรรมะ IP: 203.154.86.170 31 กรกฎาคม 2551 13:38:45 น.  

 

ว่ะ

มา

หา

ความ

รู้

จ้า........

 

โดย: piimze(0-0) IP: 202.5.84.70 14 กันยายน 2551 18:05:19 น.  

 

อนุโมธนาบุญด้วนนะครับ
สาธุ

 

โดย: กอล์ฟ IP: 124.121.197.229 25 ตุลาคม 2551 11:10:05 น.  

 




เอาไปคัดใส่สมุดอีกที (อาจารย์สั่งมา + ให้หาเองอีกอ่ะ)


เลยแวะมาเจอ ซึ้ง ซึ้งๆ ซึ้งๆๆ ซึ้งๆๆๆๆ มากเลย


 

โดย: (TTTwTTT)อ้วนจ๋า IP: 202.57.174.65 6 พฤศจิกายน 2551 18:40:28 น.  

 

ขอบคุณมาก ๆค่ะ

 

โดย: คนน่ารัก IP: 203.118.123.181 29 พฤศจิกายน 2551 9:46:41 น.  

 

ขอบคุณนะคะ ขออนุโมทนาด้วยที่ได้แบ่งปันธรรมทานความรู้เหล่านี้ให้กับคนไทยได้ศึกษาและขยายผลต่อการเรียนรู้ต่อไปด้วยค่ะ

 

โดย: ครูไทย IP: 124.121.159.35 4 ธันวาคม 2551 8:19:00 น.  

 

ด้วยความเคารพนะครับ

น่าจะใส่referenceเพิ่มนิดนึงครับ ว่ามาจากหนังสือพุทธธรรม ฉบับขยายความ ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)

 

โดย: Ref IP: 202.28.182.12 4 ธันวาคม 2551 10:33:52 น.  

 

ขอโทษด้วยนะครับพี่ไม่ได้ใส่ เพราะว่า ตอนนั้นจำไม่ได้จริงๆว่าเอามาจากไหนนะครับ ขอบคุณนะครับ

 

โดย: wbj 5 ธันวาคม 2551 16:25:38 น.  

 

ดีจังกะลังหาข้อมูลเขียนการบ้านอยู่พอดีเรย

 

โดย: Chocolate_gift_gift IP: 125.24.119.114 11 ธันวาคม 2551 8:54:39 น.  

 

ขอบคุณคะ กำลังทำการบ้านอยู่คะเนื้อหาดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

 

โดย: มะยม IP: 125.24.184.19 15 ธันวาคม 2551 18:24:11 น.  

 

ขอบคุณครับ..

 

โดย: ปั๋ง IP: 118.174.123.123 24 ธันวาคม 2551 22:35:27 น.  

 

ดีมากเลยนะ สาธุ

 

โดย: kanda IP: 202.149.25.225 25 ธันวาคม 2551 21:21:27 น.  

 

ขอบคุณคร๊าบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: partuang IP: 117.47.134.64 4 มกราคม 2552 16:27:22 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

 

โดย: บีม IP: 119.42.83.73 11 มกราคม 2552 13:18:11 น.  

 

ขอบคุณคะ กำลังสงสัยเลยเข้ามาหาข้อมูล เตรียมตัวสอบธรรมะ คะ ขอบตุณจริงๆ

 

โดย: ptt IP: 58.136.74.71 13 มกราคม 2552 10:36:59 น.  

 

กำลังหา ส่งอ..พอดี เลย ขอบคุณ มาก ๆๆนะค่ะ

 

โดย: napa IP: 125.26.128.219 13 มกราคม 2552 16:06:18 น.  

 

Thank you for the Buddhist law for tought me often..I will always remember these """buddhism''
Aroon Ubon

 

โดย: aroon phouykhamdaeng IP: 115.67.67.0 15 มกราคม 2552 18:22:06 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

โดย: เด็กสามัคคี IP: 125.25.11.201 18 มกราคม 2552 12:23:48 น.  

 

ดีมากครับ
แต่ยาวมากๆๆๆ ผมนั่งจดส่งอาจารย์
จดมือจะระบมแล้วครับ
ตั่ง10ข้อ แต่ขอบคุณมาครับ
ที่นำมาเผยเเพร่

 

โดย: เน็ต วงfear vertex IP: 124.122.144.95 18 มกราคม 2552 15:34:06 น.  

 

ขอบคุณมากเลยค่ะ...เนื้อหาเป็นประโยชน์มากๆเลย...
พอดีกำลังทำรายงานอยู่พอดีเลยค่ะ...

ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะค่ะ

 

โดย: s.maii IP: 118.173.207.61 21 มกราคม 2552 19:50:03 น.  

 

ขอบคุณมากครับ

 

โดย: ธนาศักดิ์ IP: 118.172.158.59 25 มกราคม 2552 11:01:54 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: สมชาย IP: 125.24.123.211 29 มกราคม 2552 22:19:58 น.  

 

ขอบคุณมากที่นำปัญญามาให้

 

โดย: ระพีพัฒน์ IP: 117.47.76.194 19 กุมภาพันธ์ 2552 20:51:28 น.  

 

กำลังหาอ่านทำข้อสอบพอดีเลย ขอบคุณนะคร๊าบ

 

โดย: a IP: 222.123.110.230 18 มีนาคม 2552 10:28:39 น.  

 

น้องให้หาให้พบพอดี
ขอบพระคุณมากๆ




โดย ตาพระยา สระแก้ว

 

โดย: สถานีอนามัยหนองผักแว่น IP: 119.31.48.150 22 มีนาคม 2552 23:09:12 น.  

 

ฮ่าๆๆๆๆๆๆ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
พระศาสนานี้ เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเหลือสามัญชนจะเข้าใจจริงๆ
แม้ดูว่าง่าย แต่เนื้อหาแท้ที่ขาดหายไปที่จำเป็นต้องเข้าใจก่อนมาอ่านนั้น
เยอะมหาศาลมาก ผมร้สึกทั้งดีใจและเสียใจในเวลาเดียวกัน
ดีใจที่ว่า อย่างน้อย ก็มีผู้เข้าใจสิ่งที่เข้าใจได้ยากที่ธรรมชาติปกปิดไว้
อย่างมิดชิดได้ เช่นเดียวกับที่ผมเข้าใจ และเอามาอธิบายได้ แต่เสียใจแทนคนธรรมดาที่ว่า อ่านไป คงไม่เข้าใจความนัยและหลักการเบื้องหลัง ที่ท่านอธิบายไว้เป็นแน่แท้ อันเนื่องมาจากมันมีความนัยอันซับซ้อนอยู่เป็นเบื้องหลังของเรื่องๆนี้อยู่มาก
ผมรู้สึกเสียใจจริงๆ แทนมหาชนทั้งหลาย เพราะฟังไป ด้วยฤิทธ์แห่งความโง่เขลาที่และเกียจคร้านที่กิเลสมาบังตนเอง ฟังเสร็จ เดี๋ยวก็ปล่อยให้ความปัญญาอ่อนและหยิ่งยโสของตนเองมาบดบังสิ่งที่เพิ่ง
เรียนมา ทำให้ลืมหมด ไม่งั้นถ้าไม่ลืม ก็หยิ่งบัดซบปัญญาอ่อนไม่ยอมทำ
แล้วก็ทำตัวโง่เขลาไปวันๆ ไม่ยอมลืมตามาดูโลกนอกกะลาตัวเองซะบ้าง
ว่าแท้จริงแล้วตัวเองโง่แค่ใหน

ใครอ่านบทความนี้แล้ว ได้ตื่นจากความฝัน ที่หลอกตัวเองมานับกัปกัลป์แล้ว
ก็ขออนุโมทนาในความพัฒนาของท่านด้วย แต่ใครอ่านแล้วยังดักดานไม่ยอมเปลี่ยน ก็ช่างหัว จะหมกเม่าเน่าเหม็นเป็นบัวเน่าเหล่าที่ 4 อีกนานต่อไปก็ช่างตัวของท่านเอง
เพราะตายไป ผมไม่ได้ไปเวียนว่ายตายเกิด รับเวทนาแผดกล้าสาหัสจากความโง่ของตัวคุณโดยตัวคุณเองเป็นเพื่อนด้วย



อ่านแล้วคิดมั่งนะ

 

โดย: art IP: 115.129.10.245 13 พฤษภาคม 2552 15:19:12 น.  

 

ดีมากเลยคับ

 

โดย: โจโจ้ IP: 125.25.133.61 3 มิถุนายน 2552 23:20:59 น.  

 

ทราบซึ้งถึงธรรมมาก

 

โดย: ดอลลี่ IP: 118.175.30.2 4 มิถุนายน 2552 12:33:25 น.  

 

ผมขอบคุณเรื่องโยโสมนัสิการ เพราะเป็นการนำความรู้หรือเป็นกระบวนการคล้ายวิธีการทางวิทยาศาสตร์

 

โดย: ครุสุพรรณ IP: 125.26.54.203 12 มิถุนายน 2552 12:06:40 น.  

 

เกือบตาย

 

โดย: 111 IP: 61.19.65.100 28 มิถุนายน 2552 20:46:04 น.  

 

ก็ดีนะ

 

โดย: วราภรณ์ บุญทะวงศ์ IP: 118.173.39.209 9 กรกฎาคม 2552 18:51:03 น.  

 

ขอบคุณมากคะ กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ^^Y

 

โดย: AkuniiiZ* IP: 118.173.158.238 29 กรกฎาคม 2552 18:46:04 น.  

 

555+ understand แล้ว

 

โดย: stupid cupid IP: 202.12.97.100 31 กรกฎาคม 2552 17:56:20 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

 

โดย: เด็กซบโต๊ะ 001 IP: 192.168.212.193, 202.143.156.18 13 สิงหาคม 2552 14:20:55 น.  

 

กราบนมัสการ ขอบพระคุณ พระคุณเจ้า ที่ให้ความรู้

ขอบพระคุณ ท่านผู้นำสาระของพระคุณท่านมาเผยแผ่

 

โดย: วิรัช ภิญวัย IP: 125.26.45.239 7 กันยายน 2552 11:05:40 น.  

 

ขอบคุนสำหรับเนื้อหาค่ะ
กำลังทำ ข้อสอบเรื่องนี้ยุเรยย์

 

โดย: หมิว IP: 202.28.62.245 30 กันยายน 2552 14:49:29 น.  

 

ขอบคุณค่ะ กำลังหาข้อมูลทำรายงานอยู่พอดี

 

โดย: Ya IP: 125.24.154.189 14 ตุลาคม 2552 12:44:27 น.  

 

thank you.

 

โดย: teu IP: 87.123.119.86 15 ตุลาคม 2552 18:48:48 น.  

 

ดีมากๆดีแบบว่าประมานไม่ได้

 

โดย: 1232111123 IP: 118.172.94.175 21 พฤศจิกายน 2552 21:37:56 น.  

 

อยากรู้ความความของคำว่า โยนิโสมนสิการ.....แต่ที่ได้มากกว่าความหมาย....
ขอบพระคุณมากค่ะ....ขออนุโมธนาบุญ....
อ่านแล้วจะนำมาโยนิโสมนการ....เข้าหาตน

 

โดย: ผู้กำลังเพียรอยู่..เพื่อคนวามหลุดพ้ IP: 114.128.181.111 4 ธันวาคม 2552 12:04:34 น.  

 

ขอบคุณจริงๆรอดตายแล้วเรา

 

โดย: สุดสวย IP: 125.27.135.141 5 ธันวาคม 2552 12:13:26 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: วสส.ขอนแก่น IP: 114.128.21.23 8 ธันวาคม 2552 21:42:11 น.  

 

ยอดเยี่ยมจริงๆ

 

โดย: peterpanda IP: 124.121.171.82 20 ธันวาคม 2552 10:42:20 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ,

 

โดย: TEEDA IP: 112.142.144.171 20 ธันวาคม 2552 18:48:16 น.  

 

ขอบคุณครับ เคยเขียนไว้แล้ว หาไม่พบ พึ่งมาพบที่นี่
ใช้ประกอบการเขียนบทความได้พอดี ความจริงเคยนำเรื่องนี้ไปเสนอในที่ประชุมสัมมนาเรื่องการอ่านที่ประเทศอาร์เจนตินา อเมริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๔ (๑๐ กว่าปีมาแล้ว)ชาวตะวันตกทึ่งมาก เพราะเป็นวิธีคิดที่แยบคาย ผู้สนใจอ่านบทความเรื่องนี้ ติดตามอ่านได้ที่ //www. Engtest.net เรื่อง ท่องต่างแดน โดย อุทัย ภิรมย์รื่น email:upiromruen@gmail.com

 

โดย: อุทัย IP: 125.25.229.77 21 มกราคม 2553 12:24:58 น.  

 

ชอบจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆคับผม ผมชอบโยนิโสมนสิการคับผม

 

โดย: du9hk IP: 180.183.87.91 23 มกราคม 2553 9:07:53 น.  

 

ผมไม่ชอบโยนิโสมนสิการคับเป็นเพราะอะไรไม่รู้คับผมถึงไม่ชอบก็ไม่รู้คับเเต่เพราะว่าคุณครูของผมให้ผมทำงานเกี่ยวกับเรื่องโยนิโสมนสิการก็เลยต้องก้มหน้าก้มตาทำให้มันเสร็จๆไปเเต่ผมมาลองอ่านอีกทีผมก็ได้บรรลุธรรมผมก็เลยเข้าใจเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการอย่างเเท้จริง

 

โดย: กีโยนิโส IP: 180.183.87.91 23 มกราคม 2553 9:15:23 น.  

 

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: เด็กตกพระพุทธ IP: 125.27.15.75 24 มกราคม 2553 14:16:02 น.  

 

สาธุ

 

โดย: สาธุ IP: 183.89.111.81 6 พฤษภาคม 2553 21:32:38 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลที่ดีครับ
จริงๆ แล้วไทยเรามีวิธีคิดที่เป็นตรรกะการแก้ปัญหา
ไม่แพ้ชาติไหนเลย เพียงแต่เราแพ้เพราะไม่สามารถ
ทำให้เขาศึกษาวิธีคิดแบบมีตรรกะได้

 

โดย: Andy IP: 223.24.240.182 8 มีนาคม 2554 11:30:03 น.  

 

เยอะ เอาอันไหนดี ขอบคุณครับ

 

โดย: Fff IP: 124.121.116.200 25 กรกฎาคม 2554 21:20:22 น.  

 

ทำการบ้านส่งคุณครูครับผม

 

โดย: วีรภัทธ์ IP: 61.19.68.30 22 ธันวาคม 2554 12:57:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.