ปฏิจจสมุปบาท12 และมารทั้ง5 เรียนรู้ธรรมะจากธิเบต
 

ปริศนาธรรมจาก ทิเบต ที่ จอห์น โบลเฟลด์ นำมาให้อาจารย์พุทธทาส คัดลอกไว้ เรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับพุทธบริษัท เกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท

โปรดสังเกตส่วนยอดของภาพคือ”5พระญามาร” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่มารบกวนขัดขวางมิให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีงามหรือพระนิพพาน มี ๕ ประการ ได้แก่
(๑) กิเลสมาร มารคือกิเลสที่เกิดกับใจ
(๒) ขันธมาร มารคือขันธ์ ๕ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งองค์ประกอบทั้งห้านี้ มีความแปรปรวนและเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ
(๓) อภิสังขารมาร มารคือความนึกคิดปรุงแต่งที่คิดไปในทางลบ
(๔) เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร ซึ่งอาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจร คอยขัดขวางการทำความดีของผู้อื่น (ความคิดปรุงแต่งในทางบวก)และ
(๕) มัจจุมาร มารคือความตาย ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางโอกาสที่จะได้พบกับสิ่งที่ดีงาม

ชีวิตมนุษย์เราทุกวันนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ เพราะใจของมนุษย์เต็มไปด้วยความอยาก ซึ่งอยู่ในโลกของความหลง คือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ที่วิ่งพล่านไปตามความพอใจ และไม่พอใจ ดังนั้นมนุษย์จึงเร่าร้อนดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ความอยากของตนเต็ม แต่ก็หามีใครทำให้ ความอยากเต็มได้ไม่ยิ่งแสวงหาความเร่าร้อนจากการแสวงหาก็จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ความทุกข์ก็ เกิดตามขึ้นมาตลอด ไร้ความพอ หาความเต็มมิได้ เพราะจิตของมนุษย์ถูก อวิชชาครอบงำ ความ พร่องจึงมีอยู่ในจิตของมนุษย์ตลอดเวลาอยู่เป็นนิตย์

 

อ่านเพิ่มเติม

//wwwlbo.moph.go.th/ethics/?p=453

 การบรรลุธรรมหรือความหลุดพ้นดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในวิมุตตายตนสูตรว่า การบรรลุธรรมมีได้ 5 ประการ อันเป็นเหตุให้หลุดพ้น ( วิมุตตายตนะ )ได้แก่ 1. การฟังธรรม 2. การแสดงธรรม 3. การสาธยายธรรม 4. การพิจารณาธรรม 5. การภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน (ที่มา : พระปัญญานันทมุนี )
การรู้จักปลูกหว่านพระธรรมบนเนื้อนาแห่งพุทธเกษตร เป็นเหตุให้ได้เก็บเกี่ยว มรรค ผล นิพพาน อันเกษมจากโยคะนั้น มีธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบดังตัวอย่างบางส่วนดังนี้
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จมาแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี เพราะความผ่องใสแห่งใจนั้น ความสุขก็ย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตนไป ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ไกลจากกิเลส ปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา ผู้ปราศแลัวจากโมหะ ผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี ผู้ข้ามไปใด้แล้วซึ่งวัฏฏะสงสาร ผู้มีเหยื่อโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว ผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องตัดกิเลสอันคมกล้าดังความคมของใบหญ้าคา เป็นผู้กระทำซึ่งความสว่างแก่สัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีเวทคือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ เป็นผู้มีการนอนอันสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส ผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเเสริฐ เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลงด้วยอำนาจแห่งกิเลส เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจกิเลส เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งกิเลส เป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิอาศัยไม่ใด้แล้ว เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและปัญญา เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหาเครื่องดักสัตว์ เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีปัญญาอันหนาแน่น-อันใหญ่หลวง เป็นผู้บรรลุถึง ซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา-คือความเป็นอย่างนั้น อวิตถตา-คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น อนัญญถตา-คือความไม่เป็นโดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฎิจจสมุปบาท ( คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น )
เมื่อใดธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีสติเพ่งเพียรอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามาร( อวิชชา-ตัณหา ) ดำรงอยู่ได้ดุจพระอาทิตย์กำจัดความมืด (มีปัญญาหรือวิชชา 3 เปรียบดังแสงสว่างกำจัดความมืดหรืออวิชชา) ส่องสว่างอยู่ ฉะนั้น (มารย่อมรังควานคนทีตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการบริโภค เกียจคร้านแล้ว มีความเพียรอันเลวน้ันแล )

พุทธเกษตร-ศรัทธาคือพืช ตบะคือความเพียรเครื่องเผากิเลสเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เรามีกายอันคุ้มครองแล้ว มีวาจาอันคุ้มครองแล้ว สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้าด้วยคำสัตย์ ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องทำให้เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระให้สมหวัง นำไปให้ถึงพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวงได้
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ-แสดงถึงกฏอันยิ่งใหญ่ของพระธรรมที่เป็น ผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลาย ตามหลักที่ว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
ธัมมนิยามสุตตปาฐะ-แสดงถึงความเป็นกฏตายตัวของพระธรรมว่าสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
โยคฐานาริยสัจจธัมมปาถะ-แสดงอริยสัจ 4 อันประกอบอยู่ในฐานะอันตายตัวว่า ความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ข้อปฎิบัติอันทำให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ขอขอบคุณ, คู่มือพุทธบริษัท เล่ม 2 ฉบับวัดปัญญานันทาราม 2552





Create Date : 01 ธันวาคม 2556
Last Update : 10 ธันวาคม 2556 8:26:28 น.
Counter : 4081 Pageviews.

3 comments
  
ตอนเด็ก ๆ เคยได้ยินเทปท่านพระพุทธทาสพูดถึงบ่อย ๆ ไม่ได้สนใจเลยค่ะ

ตอนนี้รู้จัก 5 กระโหลกแล้ว

ขอบคุณค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 ธันวาคม 2556 เวลา:14:10:14 น.
  
gfhh
โดย: defd IP: 27.145.144.35 วันที่: 1 มีนาคม 2557 เวลา:10:13:18 น.
  
ขออนุญาตแชร์เก็บไว้ค่ะ สาธุ สาธุ
โดย: อรอร IP: 27.55.203.28 วันที่: 6 มีนาคม 2558 เวลา:10:50:01 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2556

2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
All Blog