จารึกปราสาทเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ (ตอนที่2)

          ดินแดนทั้งหลายนั้นตั้งอยู่อย่างอิสสระเสรี แต่ชนเผ่าอันหลากหลายวัฒนะธรรมต่างผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองและสูญหายไปตามกาลเวลาแลหน้าประวัติศาสตร์    ดังพุทธพจน์ที่กล่าวถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ของสรรพสิ่ง .........เมืองขนาดเล็กในปัจจุบันอาจเคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในอดีต และเมืองที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบันนั้นในอดีตอาจจะเป็นเมืองเล็กๆ ...............สถาปัตย์กรรมใน สุวรรณภูมิ  คริสต์ศตวรรษ ที่ 9-13   ที่เป็นสัญญลักษณ์ความเชื่อของที่สิงสถิตเทพเจ้า คือ เขาพระสุเมรุ แผนผังการสร้างปราสาทหินในยุคนั้นมีแบบหลักๆ 2 แบบ คือ

 

1.แบบที่มีอาคารหลังเดียว เช่น ปราสาทปาปวน ปราสาทหินพิมาย ปราสาทบันทายสำเหร่ และ ปราสาทนครวัด

 

2.แบบที่เป็นแกนยาว เช่น ปราสาทวัดภู ปราสาทพนมจิซอร์ ปราสาทพนมรุ้ง และ ปราสาทเขาพระวิหาร

 

......ปราสาทหินที่มีแผนผังของปราสาทยื่นยาวไปตามแกนหรือตามสภาพลักษณะภูมิประเทศ สิ่งที่เน้นอยู่ที่จำนวนชั้นที่สร้างขึ้นไปเป็นปรางค์ มีจำนวนโคปุระเป็นแนวยาวเพื่อประกอบพิธีกรรมของผู้แสวงบุญหรือผู้มาเยือน

 

......แต่สำหรับปราสาทหินแบบที่มีอาคารเดียว ซึ่งมีกำแพงล้อมรอบบังคับให้ต้องเดินทักษิณาวัฏ

 

                  สำหรับปราสาทเขาพระวิหารนั้น มีลักษณะธรรมชาติของภูเขาศักดิ์สิทธิ์  มีหมอกปกคลุมยอดเขาอันทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับสรวงสวรรค์ เหมือนดังกับวิหารสวรรค์ที่สร้างขึ้นและเรียกว่า... ภวาลัย   ช่วงเวลาการก่อสร้างอาจจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของโอรสชัยวรมันที่ 2 ค.ศ. 889-910 อาจจะเป็นผู้เริ่มสร้างปราสาทนี้โดยลำเลียงหินมาจากภูเขาลึงคปารวัตที่ปราสาทวัดภู  กษัตริย์ต่อๆมา จนถึง ยโศวรมันที่ 1  และสิ้นสุดในราวรัชกาล สุริยะวรมันที่ 2 ค.ศ. 113-1145 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 300 ปี   องค์ปราสาทนั้นสร้างอุทิศให้กับพระศิวะ ซึ่งเรียกกันว่า ศิขเรศวร(เทพเจ้าสูงสุด ) และได้มีการประดิษฐานภัทเรศวรลึงค์ภายในองค์ปรางค์ประธาน...เขาพระวิหารคือปลายทางการจาริกแสวงบูญ มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลายหลักกล่าวว่า กษัตริย์หลายพระองค์ส่งเครื่องบูชาไปในการแสวงบุญยังสถานที่ศักด์สิทธิ์  อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าประหลาดว่า กษัตริย์จะไม่ได้เป็นผู้ถวายเครื่องบูชาด้วยพระองค์เอง  แต่จะผ่านทาง ทิวากรบัณฑิต ผู้เป็นราชปุโรหิต...การถวายเครื่องบูชาเหล่านี้ จะทำให้กัตริย์มีบุญบารมีมากขึ้นและประสบโชค...รอบๆปรางค์ประธานจะเป็นอาศรมหรือที่พักของนักบวช มีสิ่งก่อสร้างจำนวนมากบนยอดเขา ที่ โคปุระ 1 และ 2 และความสมฐูรณ์ของแหล่งน้ำ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่ที่นั่นเพื่อคอยรับใช้ นักบวช พระ และ ฤาษี ...เมื่อขึ้นถึงโคปุระแต่ละชั้น นักแสวงบุญจะใช้น้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์ชำระร่างกายให้บริสุทธิ์และจะเริ่มเดินขึ้นสู่ปราสาทประธาน...การปีนบันไดขึ้นไปนมัสการพระศิวะในดินแดนสรวงสวรรค์อาณาจักรของเทพเจ้า นั้นค่อนข้างลำบาก เปรียบเสมือนการสร้างความมานะอดทนในการดำเนินชีวิตที่จะต้องไปให้ถึงโลกอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า....เขาพระวิหารเป็นสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 ที่ สุริยะวรมันที่ 1 เลือกสร้างในปี ค.ศ. 1080 เพื่อประดิษฐานศิวะลึงค์ที่มีชื่อว่า สุริยวรเมศวร (เทพแห่งสุริยวรมัน ศิขเรศวรลึงค์ที่ปราสาทเขาพระวิหารมีความศักดิ์สิทธ์เที่ยบเท่ากับ ภัทเรศวรลึงค์ ที่ปราสาทวัดภู...  สิ่งทีศาสนสถาน ปราสาทวัดภู  ปราสาทเขาพระวิหาร และ ปราสาทพนมรุ้ง มีเหมือนกันคือ พิธีกรรมการใช้น้ำ  ทีจุดสูงสุดของลานบนยอดเขาพระวิหารมีน้ำพุไหลลงสระแอ่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ผ่านศิวลึงค์เช่นเดียวกันกับปราสาทวัดภู ที่มีลำธารจากเขาลึงคปารวัตไหลเหนือภัทเรศวรลึงค์ซึ่งประดิษฐานอยู่บนฐานโยนี โดยมีโสมสูตรเป็นทางสำหรับให้น้ำไหลเหนือศิวะลึงคืในช่วงพิธีชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ ส่วนที่ปราสาทเขาพนมรุ้งมีโสมสูตรที่สวยที่สุด...ปราสาทเขาพระวิหารเป็นศาสนสถานในนิกายไศวเวท เรื่องราวของเทพนิยายที่แกะสลักไว้ส่วนใหญ่จะเล่าผ่านการผจญภัยแบบเหนือมนุษย์ของพระกฤษณะจากเรื่องมหาภารตะ หริวงศ์ และ ปูรณะ ไม่มีการแกะสลักหน้าบันที่อุทิศให้กับเรื่องรามายณะโดยตรง  ลักษณะเฉพาะอีกประการของเขาพระวิหารคือ หน้าบันส่วนใหญ่จะสลักภาพตัวเอกอยู่ใต้ต้นไม้ขนาดใหญ่ ยึดครองพื้นที่จำนวนมาก ผิดกับการออกแบบแถบเขมรต่ำ ต้นไม้ใหญ่น่าจะหมายถึงต้นปาริชาติ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดมาจากการกวนเกษียรสมุทธ อันเป็นสัญญลักษณ์ของสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวรรค์ของพระอินทร์และชัยชนะของพระกฤษณะที่มีต่อพระอินทร์ในการต่อสู้เพื่อเป็นเจ้าของต้นไม้ดังกล่าว และน่าจะเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในแถบนี้โดยเฉพาะ (ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ปราสาทเขาพระวิหาร โดย วิตโตริโอ โรวิดา)

 




Create Date : 25 มีนาคม 2556
Last Update : 25 มีนาคม 2556 16:52:31 น.
Counter : 1635 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 26 มีนาคม 2556 เวลา:4:44:50 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog