นครตักศิลา-ตำนานพญานาค/งูใหญ่ อาศรมความรู้และกำเนิดพระพุทธรูป( ตอนที่2)

ทันทีที่อเล็กซานเดอร์ออกไปจากแผ่นดินชมพูทวีป จันทรคุปต์ เมารยะ (Chandragupta Maurya) ได้ร่วมมือกับพราหมณ์เกาฏิลยะ (Kautilya) ซึ่งขณะนั้นเปิดสำนักสอนศิลปศาสตร์อยู่ในตักศิลา โค่นล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าอัมภีและขับไล่กองทหารกรีกให้พ้นจากคันธาระ จากนั้นก็ปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์แห่งตักศิลาแทน พระเจ้าจันทรคุปต์ฯ ได้โค่นล้มราชวงศ์นันทะซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่แคว้นมคธ และสถาปนาราชวงศ์โมริยะหรือเมารยะขึ้นมาเมื่อ 321 ปีก่อนคริสต์ศักราช ครั้นตั้งราชวงศ์แล้ว พระองค์ก็ยกทัพไปทำศึกกับพระเจ้าเซลิวคุส นิกาเตอร์ (Seleucus Nicator) กษัตริย์กรีกแห่งจักรวรรดิเซลิวซิดส์ (Seleucid Empire) จากเอเชียตะวันตก ซึ่งยกทัพมาอินเดียเพื่อกู้ดินแดนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เคยยึดไว้ โดยในที่สุด พระองค์สามารถชนะศึกและได้ดินแดนส่วนที่อยู่ในปากีสถานและอัฟกานิสถานตะวัน ออกและทางเหนือได้…....ราชวงค์โมริยะ ยาวนานมาถึงพระเจ้าอโศกมหาราชที่สามารถครอบครองอินเดียได้เกื่อบหมดและส่งบุตร-หลาน ออกทำการเผยแพร่พุทธศาสนาออกไปทุกทิศ

ราชวงศ์โมริยะล่มสลายลงเมื่อ 187 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตักศิลาก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกกรีกจากแคว้นบัคเตรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้ามิลินท์ โดยชาวกรีกได้ต่อเติมเมืองนี้ด้วยการสร้างเขตซีร์กัป (Sirkap) ขึ้นมา พุทธศาสนาได้มีความรุ่งเรืองมากในสมัยนี้ และได้เริ่มแผ่ขยายออกไปในอาณาจักรแถบเอเชียกลางมากขึ้น ในขณะเดียวกับก็เริ่มมีการแลกเปลี่ยนทางด้านศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมระหว่าง พุทธศาสนากับอารยธรรมกรีก ดังจะเห็นจากศิลปพุทธศาสนาในยุคนี้ที่เริ่มรับรูปแบบและโครงสร้างแบบกรีกมา ใช้ นอกจากนี้ ชาวกรีกยังนำวิธีการทำเหรียญแบบที่มีหน้ากษัตริย์มาเผยแพร่ในเมืองนี้เป็น ครั้งแรกอีกด้วย

ในช่วงหลังจากคริสต์ศักราช 60 จนถึงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 2 พวกกุษาณะ (Kushana) ซึ่งอพยพมาจากมณฑลซินเจียง ได้ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกแถบมณฑลซินเจียง เอเชียกลาง ลุ่มแม่น้ำสินธุ และลุ่มแม่น้ำคงคา อาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลทำให้พวกกุษาณะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าบน เส้นทางสายไหม โดยทำหน้าที่เชื่อมโลกตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการระหว่างโลกตะวันตกและ ตะวันออกอย่างขนานใหญ่

ด้วยเหตุที่ในอาณาเขตของพระองค์ประกอบด้วยชนอันหลากหลาย จึงทำให้กษัตริย์กุษาณะต้องดำเนินตามหลักขันติธรรมทางศาสนา ดังจะเห็นจากการที่ในเหรียญของกษัตริย์กุษาณะมักจะมีรูปเทพเจ้าของศาสนา ต่างๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นพระศิวะ พระพุทธเจ้า เทพเจ้าของศาสนาโซโรอัสเตอร์ และแม้แต่เทพเจ้ากรีก แต่อย่างไรก็ตาม กษัตริย์กุษาณะองค์หลังๆ เช่น พระเจ้ากนิษกะมหาราช ได้แสดงความสนพระทัยในพุทธศาสนาและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ส่งผลให้พุทธศาสนามีการพัฒนารุ่งเรือง และแผ่ขยายไปยังเอเชียกลางด้านตะวันตก เอเชียตะวันตกและยุโรปด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ตักศิลาได้รับอานิสงส์จากอิทธิพลของพวกกุษาณะเป็นอย่างมากด้วย โดยทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง ดังจะเห็นจากที่ได้มีการสร้างเขตซีร์ซุค (Sirsukh) ขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีการสร้างสรรค์ศิลปขนานใหญ่และวิจิตรงดงาม โดยเฉพาะในด้านศิลปกรรมทางพุทธศาสนาที่มีการใช้ศิลปแบบคันธาระ ซึ่งเกิดจากการผสมกันระหว่างแนวคิดมนุษย์นิยมแบบกรีก ซึ่งเน้นการแสดงลักษณะของมนุษย์อย่างชัดเจนผสมผสานกับความคิดทางพุทธศาสนา และทำให้เกิดพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก


การศึกษาในตักศิลาและแหล่งการศึกษาอื่นๆ ในอินเดียสมัยโบราณนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีโครงสร้างเป็น ระเบียบชัดเจนเช่นทุกวันนี้ หากแต่เป็นการฝากตัวเข้าไปอยู่กับสำนักอาจารย์ต่างๆ จนกว่าจะจบหลักสูตร ซึ่งผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะเป็นลูกหลานของครอบครัววรรณะสูงที่ร่ำรวย นอกจากนี้ วิชาที่เปิดสอนก็จะไม่ใช่วิชาระดับพื้นฐาน ซึ่งสามารถเรียนได้ที่บ้าน หากแต่เป็นวิชาระดับสูง ซึ่งได้แก่พระเวททั้งสี่และศิลปะ 18 ประการ อันได้แก่ อักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ (ว่าด้วยกำเนิดและวิวัฒนาการของคำ) ฉันทศาสตร์ (ว่าด้วยการประพันธ์) รัฐศาสตร์ ยุทธศาสตร์ ศาสนศาสตร์ โหราศาสตร์ ชโยติศาสตร์หรือดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ คันธัพพศาสตร์ (ว่าด้วยดนตรีและนาฏศิลป์) เหตุศาสตร์ (ว่าด้วยหลักการใช้เหตุผล) เวชศาสตร์ (ว่าด้วยเรื่องยาและการแพทย์) สัตวศาสตร์ (ว่าด้วยเรื่องการศึกษาลักษณะของสัตว์) วาณิชยศาสตร์ (ว่าด้วยหลักการค้า) ภูมิศาสตร์ โยคศาสตร์ (ว่าด้วยกลศาสตร์) และมายาศาสตร์ (กลอุบายการรบ) สำหรับจำนวนนักศึกษาของแต่ละสำนักจะขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของอาจารย์ เจ้าสำนักนั้นๆ

ขอขอบคุณ
//sameaf.mfa.go.th/th/important_place/detail.php?ID=2976






Create Date : 18 เมษายน 2556
Last Update : 18 เมษายน 2556 20:13:01 น.
Counter : 2371 Pageviews.

1 comments
  
ดูยังกะใกล้ ๆ นะคะ กรีก อินเดีย
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 เมษายน 2556 เวลา:16:18:44 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog