จารึกปราสาทเขาพระวิหาร ในพุทธศตวรรษที่14-16

ดร. ธิดา สาระยา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ ดัง นี้นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าส่วนที่เขียนเป็นภาษาสันสกฤตเป็นจารึกสมัยพระเจ้ายโศวรรมัน และส่วนที่เป็นภาษาเขมรนั้นตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรรมันที่1 สรุปแล้วคือประมาณ พ.1436-1590 สมัยกษัตริย์ยโสวรรมันนี้เองที่มีการสถาปนาศิวลึงค์ ศรีศิขรีศวร ณ เทวสถานที่เขาพระวิหารแห่งนี้ จารึกหลักเดียวกันยังอ้างถึงเหตุการณ์สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สถาปนาเทวะราชาพื้นฐานทางความคิดของระบบกษัตริย์ขอม พระองค์คือผู้ที่รวบรวมอาณาจักรขอมแล้วสถาปนาเมื่องหลวงที่อมเรนทรปุระ อยู่ไม่ไกลจากทะเลสาบใหญ่ของเขมรในปัจจุบัน ทีมาของพระองค์ยังคงมืดมนต์ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อตามเซเดย์ว่าพระองค์มาจากชวาและสถาปนาลัทธิเทวะราชาในวาระขึ้นครองราชย์ของพระองค์คือการประกาศอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ไม่รับรู้กับอำนาจของชวาอีกต่อไป สิ่งน่าสนใจในจารึกหลักนี้เกี่ยวกับเรื่องเขาพระวิหารคือมีข้อความกล่าวถึงประวัติของพระองค์ตอนหนึ่งว่าเกียรติยศของพระองค์แผ่ไปในฐานะผู้มีชัย พระองค์ได้แต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งชือ ปราณ Pran เป็นเชื้อสายตระกูลคนพื้นเมือง ภายหลังเธอได้นามว่ากัมพูชาลักษมีหรือกัมโพชลักษมี เชษฐาของเธอคือ วิษณุวาล พระเจ้าชัยวรมันที่2ได้กำหนดพื้นทีหลายแห่งบริเวณเขาพระวิหารและใกล้เคียงเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์เรียกชื่อต่างๆกันไตรโลกนาถ บ้าง ภวาลัยบ้าง และทรงโปรดให้สถาปนาสิวลึงค์ ภวาลัยแห่งเขาพระวิหารนั้นเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพื้นเมืองตระกูลของพระนางกัมพูชาลักษมีมาแต่เดิม ให้ชื่อพระเชษฐาของพระนางคือวิษณุวาล เป็น ลักษมินทรา ดูแลคลังส่วนพระองค์และพระราชทานพื้นที่แห่งหนึ่งชื่อว่า ภวาลัยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ถือได้ว่าการสร้างศาสนสถานที่เขาพระวิหารเริ่มต้น ตรงนี้และนักปราชญ์พื้นเมืองจารจารึกหลักนี้ไว้ ณ ปรางค์ประธาน

หลักที่k 380ศิลาจารึกหลักนี้สลักด้วยภาษาสันสกฤตและเขมรน่าจะอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1038-1049เป็นหลักที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเขาพระวิหาร บรรยายโดยสุกรมันผู้ซึ่งมีหน้าที่จดบันทึกในศาสนสถานและเป็นผู้เก็บรักษาเอกสารสำคัญของราชอาณาจักรและยังกล่าวถึงพระราชกำหนดให้ประชาชนกล่าวคำสาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อศิขเรศวรซึ่งเป็นเทพรูปหนึ่งของพระองค์ภัทเรศวรแห่งลึงคปุระ(ปราสาทวัดภู) และกล่าวขอบคุณอำนาจของลัทธิถือสันโดษของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1ศิลาจารึกหลักนี้พบที่กรอบประตูทางด้านใต้ของโคปุระที่ 4 ด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน

หลักที่ k 381 สลักเป็นภาษาสันสกฤตและเขมรในปี ค.ศ.1024 มีข้อความทั้งหมด 30บรรทัดเล่าถึงพระวรกมรเตงอัญที่ชื่อ ตปัสวีนทราบัณฑิตผู้ดูแลที่พักของนักบวชที่ชื่อ ตริปัสวินทะอาศรมเขาเป็นผู้ดำเนินการถวายของในนามของศิขเรศวร เทพแห่งศาสนสถานแห่งนี้ศิลาจารึกชิ้นนี้สลักอยู่ที่กรอบประตูด้านใต้ของมณเฑียรขวางหลังตะวันออกโคปุระชั้นที่3

หลักที่k 382 สลักในปีค.ศ.1047 กล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และศิวศักติซึ่งเป็นผู้สั่งให้สลักศิลาจารึกนี้ ไม่ได้มีข้อความสำคัญที่กล่าวถึงเขาพระวิหารศิลาจารึกหลักนี้สลักบนเสาที่พบในสภาพชำรุดอยู่ตรงห้องโถงกลางและต่อมาย้ายไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานที่แห่งชาติกรุงเทพฯ

หลักที่ k 383 เป็นที่รู้จักกันในนาม “ศิลาจารึกเขาพระวิหาร” หรือ “จารึกของทิวากร” เป็นศิลาจารึกหลักเดียวกับศิลาจารึกพนมสันดัก (k 194) จารึกเป็นภาษาสันสกฤตและเขมรน่าจะสลักขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1119-1121 กล่าวตามคำตอบของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2ถึงเรื่องราวของทิวากรบัณทิตและการเป็นข้ารับใช้ของกษัตริย์มาถึง 5 รัชกาลคือพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3พระเจ้าชัยวรมันที่ 6พระเจ้าธรรินทรวรมันที่ 1 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้ซึ่งได้ให้รางวัลเขามากมายทั้งที่ให้ตัวเขาเองและให้เพื่อนนำไปถวายในพระนามของพระมหากษัตริย์อีกด้วย

ระหว่างยี่สิบปีแรกในศตวรรษที่ 12พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้สั่งให้ทิวากรบัณฑิตไปแสวงบุญตามศาสนสถานต่างๆเพื่อไปถวายของหรือเป็นประธานในพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญๆซึ่งเขาสามารถทำได้ดีและก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและปรับปรุงงานเดิมที่เขาพระวิหารเขาได้ถวายของมีค่าแด่องค์ศรีศิขเรศวร ซึ่งรวมถึงรูปพระศิวนาฏราชที่น่าจะทำด้วยทองคำ สร้างปะรำเป็นทองคำฝังหินมีค่าปูพื้นภายในปราสาทด้วยแผ่นสัมฤทธิ์ รวมทั้งตกแต่งผนังด้วยแผ่นโลหะมีค่าเขาสั่งการให้มีการตกแต่งตังองค์ปรางค์ ลานชั้นในและทางเข้าด้านในใหม่ทุกปีเขายังเสนอเงินค่าตอบแทนให้กับบุคคลที่ทำงานในวัดและกั้นเขตรอบๆ หมู่บ้านศิลาจารึกหลักนี้สลักบนเสาพบภายในมณฑป -ข้อมูลจาก หนังสือปราสาทเขาพระวิหาร โดย วิตโตริโอ โรวิดา




Create Date : 23 มีนาคม 2556
Last Update : 25 มีนาคม 2556 11:20:47 น.
Counter : 4011 Pageviews.

2 comments
  
เข้ามาอ่านตามแล้วค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 มีนาคม 2556 เวลา:15:43:05 น.
  
ฝาก blog ด้วยนะครับ
เพิ่งสร้าง แนะนำ ติชมกานได้
อยากให้ช่วยเข้าไปแสดงความเหงทางประวัติศาสร์ วัฒนธรรม และคติชนโบราณ
โดย: siamart วันที่: 16 เมษายน 2556 เวลา:19:26:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog