วิวัฒนาการพุทธศิลป์จากพุทธศตวรรษที่ 3-12
ภาพสลักพระพุทธบาทคู่ ในความหมายของการประสูติ ที่สถูปสาญจี สร้างขึ้นในยุคสุงคะ – อานธระ อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 3 -4 และ ภาพสลักพระพุทธบาทคู่ ดอกบัวและเครื่องหมายมงคล “ตรีรัตนะ” ในความหมายของการประสูติ จากแคว้นคันธาระ ศิลปะแบบกุษาณะ ราวพุทธศตวรรษที่ 7 จัดแสดงอยู่ในห้องจัดแสดงทางศิลปะ มหาวิทยาลัยเยล (Yale University Art Gallery) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับภาพที่3คือ ภาพสลักหินศิลาแลง รูปพระพุทธบาทคู่ แทนความหมายของสังเวชนียสถานแห่งการประสูติ ที่โบราณสถานสระมรกต เมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 11 (ข้อมูลจาก อาจารย์ วรณัย พงศาชลากร)
ภาพด้านล่าง ภาพสลักหินชีสต์ แสดงตอนพระพุทธเจ้าในปางแสดงธรรม – มหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ล้อมรอบด้วยเหล่าพระโพธิสัตว์ประทับนั่งห้อยพระบาทบนบังลังก์ (แบบเก้าอี้) ในท่าอิริยาบถต่าง ๆ มีแท่นและดอกบัวรองพระบาท ศิลปะคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 7 - 8 จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองลาฮอร์ (Museum of Lahore) ประเทศปากีสถาน
ภาพด้านล่าง รูปสลักของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย น่าจะเป็นรูปสลักบนผนังถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่แสดงภาพของพระพุทธเจ้าประทับนั่งแบบ “ปรลัมภาปทาสนะ” (ห้อยพระบาทแบบกรีก) บนบัลลังก์ภัทรอาสน์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะของการจีบนิ้วจับชายจีวรที่ตกลงมาเป็นเส้นโค้งเส้นเดียวและพาดผ่านพระเพลาทางด้านซ้าย ลักษณะของภาพเป็นการแสดงธรรมขั้นสูง ที่มีละเอียดอ่อนและเคร่งเครียด ต่อเหล่าเทพเจ้าของฮินดู (พระศิวะและพระวิษณุ) คล้ายแบบแผนของคติมหายาน (มหาสังฆิกะ) ในตอนเทศนา “พระสัทธรรมปุณฑริกสูตรบนยอดเขาคิชกูฎ” อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 12 (ข้อมูลจาก อาจารย์ วรณัย พงศาชลากร)
ภาพล่างคือพระพุทธรุปเก่าสุดในดินแดนไทย รูปประติมากรรมพระนาคปรกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค น่าจะเป็นรูปพระนาคปรกที่พบที่เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี (รูปที่1) กับพระพุทธรูปนาคปรกที่พบจากบ้านเมืองฝ้าย (รูปที่2กลาง) จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธรูปปางนาคปรกที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูปที่3 )ที่มีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12

พระพุทธรูปนาคปรกนี้อาจแปลความหมายเป็นสองนัยยะคือนาคคือคนพื้นเมืองในยุคนั้นที่ถวายอาหารและปัจจัยยังชีพแก่พระธุดงค์ในชนบทและป่าเขาลำเนาไพร ในเรื่องพระป่าทีถือธุดงควัตรสายพระอาจารย์มั้นเล่าว่าในป่าลึกนั้นนั้นถ้าไม่มีชาวกะเหรียงและชาวเขานำอาหารมาถวายก็คงไม่มีกำลังในการบำเพ็ญเพียรสมาธิขับไล่กิเลสมารออกไปได้ หรือ อีกนัยยหนึ่งนาคห้าเศียรปกพระพุทธรูปคือตัวแทนของขันธ์5 และ พระนาคปรก 7 เศียร คือ มหาสติโภชฌงค์ 7 ในการพำเพ็ญเพียรภาวนาของพระ คนโบราณนั้นชอบเอาความรู้และปรัชญามาทำเป็นศิลป์ถ่ายทอดสู่ลุกหลานในเชิงอภินิหารเสมอเพื่อให้เร้าใจและจำง่ายครับ






Create Date : 26 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2557 11:33:20 น.
Counter : 1663 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
7
9
10
11
16
17
21
22
23
25
28
30
 
 
All Blog