พระเจ้าสุริยวรมันที่1...สร้างปราสาทหินเขาพระวิหารอุทิศแด่บรรพบุรุษของพระองค์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่


ศิลาจารึกศรีสุกรรม กัมสเตง ระบุว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หรือพระเจ้าอาทิตยราชทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ไศเลนทร ตั้งแต่สมัยพระเจ้าโกณฑัญญะที่ 2 และพระเจ้าโกณฑัญญะชัยวรมันแห่งอาณาจักรฟูนัน ครั้นบุรพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 พระองค์สวรรคตแล้ว ได้รับยกย่องขึ้นเป็นเทพเจ้าหรือพระอินทรแห่งเขาพระวิหารที่เรียกว่า“ศรีวฤทเธศวร” ตั้งอยู่ที่ปราสาทบ้านสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ เทวสถานสำคัญ 2 แห่งนี้ จารึกเขาพระวิหารสลักขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1580 ยืนยันว่า ศรีราชปติวรมะแห่งอาวาธยปุระได้มอบหมายให้ศรีสุกรรม กัมสเตง เป็นผู้รักษาซ่อมแซมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นอย่างดีตลอดมา หลักฐานดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรฟูนันมีความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติกับอาณาจักรสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ เพราะตระกูลของศรีสุกรรม กัมสเตงเป็นผู้จดพงศาวดารของพระมหากษัตริย์โบราณทั้งฝ่ายไศเลนทรวงศ์และฝ่ายจันทรวงศ์ และเก็บรักษาคัมภีร์ไว้ จึงทราบถึงการสืบเชื้อสายของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทั้งฝ่ายพระราชบิดาและฝ่ายพระราชมารดา

…… ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ ดี.จี.อี ฮอลล์ จึงกล่าวว่า พระเจ้าอาทิตยราช มิได้ยุติบทบาทของพระองค์เพียงแค่เสด็จไปอัญเชิญพระแก้วมรกต กวาดต้อนผู้คนกลับมาแล้วเฉลิมฉลองสมโภชพระแก้วมรกต 1 เดือนเท่านั้น แต่ปรากฏหลักฐานว่า กษัตริย์นักรบพระองค์นี้ได้ฉวยโอกาสในขณะที่อาณาจักรกัมพูชาเกดจลาจลระส่ำระสาย ฆ่าฟันแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวายอยู่นั้น เสด็จนำกองทัพเรือไปยกพลขึ้นบกทางฝั่งตะวันออก เมื่อ พ.ศ. 1544 ต่อจากนั้นเริ่มต้นทำสงครามกลางเมืองอย่างยาวนาน ต่อจากนั้นหันปรามขับไล่ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ” ลงจากราชบัลลังก์ ต่อจากนั้นหันไปกำจัด “พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1” กษัตริย์หุ่นเชิดของพวกนับถือศาสนาพราหมณ์ แล้วบุกเข้าโจมตี“พระเจ้าชัยวีระวรมัน” จนหายสาบสูญ ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่พระองค์ทรงพิชิตพระราชาเขมรลงไปได้อย่างเด็ดขาด แม้ฝ่ายศัตรูต่างพากันประนาณว่า “พระองค์เสด็จขึ้นนั่งบนราชบัลลังก์ด้วยอาคมดาบ” แต่พระองค์ทรงอ้างถึงสิทธิอันชอบธรรมว่าพระราชมารดาของพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ยโสวรมัน เจ้าฟ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ที่แท้จริงในราชวงศ์ขอม พระองค์จึงเป็นผู้มีสิทธิเหนือราชบัลลังก์แต่เพียงผู้เดียว

…… นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างยอมรับกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 อาจมีเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์กรุงตามพรลิงค์ นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระองค์ทรงนำลัทธิคัมภีร์แบบใหม่ ศิลปวิทยาการ ตลอดจนบรรดาคณาจารย์ เข้าไปเผยแพร่ปลูกฝังในอาณาจักรกัมพูชาเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 15 แต่ก็มิได้รังเกียจศาสนาพราหมณ์ เพราะปรากฏว่า“ศรีศังกรบัณฑิต” ทำหน้าที่ปุโรหิตประจำราชสำนัก พระองค์ทรงเริ่มต้นบูรณาการปราสาทหินเขาพระวิหารอย่างขนานใหญ่ โดยนำแบบแปลนแผนผังระบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม เครื่องประดับลวดลายต่างๆ เนรมิตปราสาทหินขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง 675 เมตร ประกอบด้วย โคปุระมหามณเฑียร มหหาปราสาท ภวาลัย อันงดงามอลังการเหมือนดังวิหารสวรรค์วิมาน สถานสถิตของพระเจ้า ศูนย์รวมแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความจงรักภักดีต่อพระบูรพกษัตริย์ทั้งฝ่าย “สุริยวงศ์” และ “ฝ่ายจันทรวงศ์” แหล่งที่มนุษย์สามารถขึ้นไปเฝ้าเทพเจ้าในแดนสวรรค์
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ มีความเห็นว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หรือพระบรมนิวาณบท ได้สร้างปราสาทเขาพระวิหารขึ้น โดยได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าคือ องค์ศรีลิขเรศวร พระองค์จึงทุ่มเทใช้เวลาก่อสร้างอยู่นานถึง 11 ปี แม้จะยังไม่สำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ แต่สามารถสร้างกุย พวกคะแมร์ พวกข่า พวกไต พวกลาว พวกจาม พวกเวียต บังเกิดความจงรักภักดีความสมานฉันท์โดยผ่านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเกรงกลัวพระองค์ในฐานะกษัตริย์ผู้มีความสามารถในวิชาไสยศาสตร์ ดังปรากฏข้อความในจารึกเขาพระวิหาร เค. 380 เสาตะวันออก ระบุว่า
…… “ด้วยความสามารถในทางจิตศาสตร์ ศรีศูรยวรมะเทวะ ได้อัญเชิญดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของภัทเรศวรแห่งลิงคปุระ(พราหมณ์กัมพู ต้นราชวงศ์จันทรา ที่วัดภู ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) ให้มาสิงสถิตอยู่ที่เขาพระวิหาร แล้วปรากฏพระองค์ให้คนทั้งปวงเห็นเด่นชัด ศูรยวรมะเทวะทรงรับสั่งให้คนทั้งปวงปฏิญาณว่า จะจงรักภักดีต่อศรีลิขเรศวรและศรีภัทเรศวร จักช่วยกันบำรุงรักษาสถานที่แห่งนี้ไว้ มิให้ผู้ใดมาทำลายได้”

…… หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ของราชวงศ์ไศเรนทรแห่งสุวรรณภูมิกับราชวงศ์กัมพูหรือราชวงศ์จันทราแห่งกัมพูชา ซึ่งพัฒนาการเคียงคู่กันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าโกณฑัญญะที่ 1 อภิเษกสมรสกับพระนางนาคีโสมา สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 5 ครั้นอาณาจักรฟูนันเจริญเติบโตมีกำลังกล้าแข็งขึ้น เชื้อพระวงศ์คะแมร์พื้นเมืองส่วนใหญ่มักเป็นพระญาติฝ่ายสตรีมีอิทธิพลขึ้นในราชสำนัก รวมกำลังชาวพื้นเมืองก่อกบฏแย่งชิงอำนาจของฝ่ายไศเลนทรวงศ์ จึงเกิดการแข่งขันชิงอำนาจทางการเมืองอย่างรุนแรงในรูปสงครามล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีข้ออ้างความแตกต่างทางศาสนา เชื้อชาติ หรือสิทธิอันชอบธรรมตลอดมา
……นักประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อใดอำนาจทางการเมือง การทหาร หรือเกิดปัญหายุ่งยากขึ้นในอาณาจักรสุวรรณภูมิหรืออาณาจักรตามพรลิงค์ หรืออาณาจักรศรีวิชัย พวกราชวงศ์จันทรามักแย่งชิงอำนาจไปจากฝ่ายราชวงศ์ไศเลนทรได้สำเร็จทุกครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพราชวงศ์ไศเลนทรของอาณาจักรสยาม-ลพบุรีบุกเข้าไปปราบปรามจนสงบราบคาบ แล้วแต่งตั้งเจ้าชายขอมคือลูกผสมระหว่างชาวสยาม-ลพบุรี กับชาวคะแมร์พื้นเมืองขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครอง ดังปรากฏเรื่องราวชัดเจนในประวัติศาสตร์สัมพันธ์ เป็นต้นว่ารัชกาลพระเจ้าโกณฑัญญะที่ 2 แห่งอาณาจักรฟูนัน , พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งอาณาจักรกัมพูชา , พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 สมัยพระนครวัดอันมีลักษณะคล้ายกับเอกชนฟ้องร้องแย่งชิงทรัพย์มรดกในระหว่างวงศาคณาญาติกันตลอดจนมาถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 15

…… พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ตามพระราชประวัติเป็นที่ยอมรับกันว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ชาตินักรบผู้มีชื่อเสียงเกรียงไกรที่สุด และทรงเป็นนักก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามหาราชขอมพระองค์ใด หลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันพอสันนิษฐานได้ว่า พระองค์ทรงเป็นชนชาติผสมอย่างน้อย 3 ราชวงศ์คือ ราชวงศ์ไศเลนทร –สยาม-กรุงตามพรลิงค์-ทวารวดี –กรุงละโว้และราชวงศ์ไศเลนทร-ขอม-กรุงกัมพูชา ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีสิทธิอันชอบธรรมาเหนือราชบัลลังก์อาณาจักรศรีวิชัยได้อีกด้วย

ขอขอบคุณ //www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=14&t=71&start=10




Create Date : 16 เมษายน 2556
Last Update : 16 เมษายน 2556 21:19:23 น.
Counter : 12505 Pageviews.

2 comments
  
ผู้สร้างปราสาทพระวิการก็มีเชื้อไทย อย่าปล่อยให้มันอ้างฝ่ายเดียว
โดย: 007 IP: 183.89.73.112 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:10:43:41 น.
  
มั่วได้โล่ จับฉ่ายไปมา อีสานใต้กลุ่มเจนละ คือราชวงศ์จากฝั่งปัลลวะ
โดย: J IP: 27.33.230.27 วันที่: 16 กรกฎาคม 2566 เวลา:16:47:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog