บันทึกเศรษฐกิจและการค้ารุ่งเรืองของสหพันธรัฐศรีวิชัย

บันทึกการค้าโบราณระหว่างศรีลังกาและรัฐในสุวรรณภูมิเล่าว่า....ศาสตราจารย์ ส. ประนะวิธาน นักประวัติศาสตร์ศรีลังกาพยายามศึกษาศิลาจารึกตำนานเก่าแก่และหลักฐานประวัติศาสตร์ศรีลังกาซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับดินแดนคาบสมุทรสยามมาตั้งแต่สมัย“กรุงสุวรรณปุระ จนถึง“สมัยกรุงตามพรลิงค์”พบหลักฐานหลายประการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันในแบบบ้านพี่เมืองน้องของระบบเครือญาติพอสรุปได้ว่า ความบาดหมายกันระหว่างอาณาจักรตามพรลิงค์กับอาณาจักรสิงหลเกิดขึ้นในรัชกาล“พระเจ้ากัสสปะที่ 2” เมื่อราวพ.ศ. 1184พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายทำลายคู่แข่งทางการค้าเพื่อบ่อนทำลายอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ ด้วยวิธีการประกาศเปิดเมืองท่าเสรีตลาดการค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีพระองค์ได้กำหนดเหรียญทองทำใหม่ขึ้นเป็นสื่อกลางในการชำระราคาสินค้าของตลาด เสรีพ่อค้า นักเดินเรือ จึงพากันหลั่งไหลไปติดต่อค้าขายอย่างคับคั่ง เกาะ ลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญแทนที่กรุงตามพรลิงค์ตลาดการค้าคาบสมุทรซบเซาร่วงโรยและฝืดเคืองพระเจ้ากรุงตามพรลิงค์ทรงดำเนินนโยบายตอบโต้ด้วยการสนับสนุนราชโอรสของ“พระเจ้าธาตุเสนา” ซึ่งถูกพระเจ้ากัสสปะที่ 2แย่งชิงราชสมบัติลี้ภัยการเมืองมาประทับอยู่ที่กรุงตามพรลิงค์ ทรงพระนามว่า“เจ้าชายโมคัลลนะ” ให้แย่งราชบัลลังก์กลับคืนกองทัพเรือกรุงตามพรลิงค์ได้ยกไปโจมตีประเทศศรีลังกา สถาปนาเจ้าชายขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมื่อ พ.ศ.1193 ทรงพระนามว่า “เจ้าชายโมคัลลนะ” พระองค์ทรงยกเลิกระบบการใช้เหรียญกษาปณ์ทองคำตลาดการค้าเสรีและเมืองท่าปลอดภาษี ตามความประสงค์ของกษัตริย์กรุงตามพรลิงค์

บันทึกเศรษฐกิจการค้าอันรุ่งเรืองในสมัยการแผ่ขยายจักรวรรดิศรีวิชัยตรงกับยุคทองของประเทศ จีนสมัยราชวงศ์ถัง พ่อค้าชาวอาหรับผู้หนึ่งจดบันทึกเล่าเรื่องราวของประเทศจีนว่า เป็น สมัยแห่งการเร่งผลิตและขยายตัวทางการค้าต่างประเทศรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ชาวจีนพยายามคิดค้นเทคโนโลยีชั้นสูงเพิ่มผลผลิตสินค้าประเภทหรูหรา ฟุ่มเฟือย ขึ้นเป็นพิเศษสำหรับเป็นสินค้าขาออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาจีนสามารถทำได้ดีอย่างไม่เคยมีมาก่อนพัฒนาการไปในระดับสุดยอด ชาวอาหรับผู้นั้นกล่าวว่า “จีนทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างวิเศษ ทำจานกันจนบางเหมือนกับแก้วอาจมองผ่านเข้าไปเห็นน้ำภายในจานนั้น แม้ว่าจะทำขึ้นด้วยดินก็ตาม”

ปัญญาชนชาวจีนชื่อ “หลู-ก๊วย-เมิ่ง” บรรยายถึงความสามารถอันมหัศตจรรย์ยิ่งของช่างจีน ที่พยายามพัฒนาเทคนิคการผลิตโดยอาศัยความสามารถทางเคมีและศิลปะผสมผสานกันจนนำสีเคลือบเครื่องปั้นดินเผาให้งดงามอลังการอย่างไม่น่าเชื่อเป็นผลสำเร็จอันน่าพิศวง สมัยปลายราชวงศ์ถัง เขาได้จดบันทึกไว้ว่า “เครื่องปั้นดินเผาสกุลเย่(เมืองส้าวชิง มณฑลจื้อเจียง) ผสมผสานสีสันต่าง ๆตั้งพันสีเข้าด้วยกัน ใน

ลวดลายอันสวยงาม...” ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจีน อันถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทหรูหรา ฟุ่มเฟือย และราคาแพงบังเกิดขึ้นอย่างดาษดื่นในแถบเมืองกวางตุ้ง เมืองฉวนโจว เมืองหยวงโจวซึ่งเกิดขึ้นตามกระบวนการเร่งผลิต ลดดุลการค้ากับต่างประเทศ กล่าวกันว่าพวกพ่อค้าขนไปกองกันจนเต็มไปหมดตามถนนหลวง นักโบราณคดีได้สำรวจขุดค้นพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องในดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ถัง สินค้าขาออกสำคัญยิ่งของประเทศจีนได้ส่งออกไปขายทั่วโลกในยุคนั้นพบตามแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยเฉพาะแถบเมืองท่าชายฝั่งทะเล ทั้งทางภาคใต้และภาคกลางส่วนใหญ่พบในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ราชบุรีนครปฐม ปราจีนบุรี ชลบุรี ไม่พบในภูมิภาคอื่นเลยแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในแถบชายฝั่งทะเลซึ่งไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่าง ประเทศได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 12แม้ว่ามีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาจีนในแถบชายฝั่งทะเล เกาะบอร์เนียว ชวา สุมาตราซึ่งแสดงให้เห็นว่าเคยติดต่อค้าขายกับจีนในสมัยราชวงศ์ถังแต่จดหมายเหตุจีนสมัยนั้นบอกว่า ประเทศโต-โล-โม (ชวา) ประเทศโม-โล-ยูได้ขาดการติดต่อทางการทูตกับประเทศจีนมาตั้งแต่ พ.ศ. 1212ยังคงมีอยู่เพียงจักรวรรดิศรีวิชัยเท่านั้นที่แสดงตัวให้เห็นว่าเป็นชาติผู้นำพวกคุน-หลุน ดังปรากฏหลักฐานการมีอำนาจรัฐความเป็นองค์สยามินทร์ในยุคนั้นวไว้ว่า “เมื่อ พ.ศ. 1245พระเจ้าโป- ชุน พระเจ้าแผ่นดินประเทศ ชิ-ลิ-โฟ-ชิ ส่งคณะทูตเดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการแก่พระจักรพรรดิราชทูตได้กราบทูลฟ้องร้องว่า ถูกพวกขุนนางและนายด่านจีนดูหมิ่น”

ขอขอบคุณ //blog.eduzones.com/tambralinga/5512





Create Date : 24 เมษายน 2556
Last Update : 24 เมษายน 2556 22:48:02 น.
Counter : 2441 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog