กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
15 มกราคม 2565
space
space
space

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (๖)




    “สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ”  -  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์ทั่วไป หมายถึง สมมติสงฆ์ เวลาทำสังฆกรรม คือ สงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง เช่น บวช นาคนี้อย่างน้อยต้อง ๕ รูป สวดเสีย ๑ องค์ เหลือ ๔ องค์   ส่วนอย่างอื่น ๔ ก็ได้ ๕ ก็ได้ ๑๐ ก็ได้ ๒๐ ก็ได้ สุดแล้วแต่สังฆกรรมนั้นๆ ขอให้ครบองค์ ถ้าไม่ครบองค์ก็ไม่เป็นสังฆกรรม เช่น สังฆกรรมอะไรท่านวางไว้ ๕ ก็ต้อง ๕ สังฆกรรมอะไรวางไว้ ๑๐ ก็ต้อง ๑๐ ๒๐ ก็ต้อง ๒๐ ถ้าไม่ครบ เรียกว่า ไม่เป็นสังฆกรรมตามพระธรรมวินัย

ส่วนสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า   เราหมายถึง   พระอริยสงฆ์ คือ สงฆ์ที่เป็นตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เริ่มต้นเป็นพระโสดา ฯ เรียกสั้นๆ จากพระโสดาบัน ก็พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ซึ่งได้ลดกิเลสลงไปตามลำดับชั้น จนถึงพระอรหันต์อันเป็นชั้นสูงสุด
พระเหล่านี้ เป็นชั้นอริยบุคคล เพราะว่าว่าเป็นผู้ดำเนินชีวิตชอบ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นไปเพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เรียกว่าเป็นอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วย สืบต่อมาจนถึงพวกเราทุกวันนี้

     อริยสงฆ์นั้น ประกอบด้วยคุณค่า ๔ ประการ คือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ เรียกว่าเป็น พระอริยสงฆ์ คือยึดมั่นปฏิบัติที่ดี ๔ ประการ  การที่เรานึกถึงพระอริยสงฆ์ เรานึกถึงคุณธรรมของท่าน นึกถึงการปฏิบัติดีของท่าน นึกถึงการปฏิบัติตรง นึกถึงการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ นึกถึงการปฏิบัติตามสมควรของท่าน   เมื่อเราจะทำอะไรก็ควรทำอย่างนี้ เราต้องเป็นคนปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติตามสมควร เราต้องใช้การปฏิบัติอย่างนั้น จึงสมกับได้ชื่อว่า ถึงพระผู้เป็นสงฆ์ด้วย เดินตามพระสงฆ์ด้วย  เมื่อระลึกถึงแล้วต้องปฏิบัติตามด้วย การปฏิบัติเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ   เพียงการกราบพระนี้ไม่สำคัญ ต้องกราบด้วยใจระลึกถึงพระคุณธรรมของท่านเท่าที่ทำได้ ทำให้ดีตามฐานะ เช่น เราอยู่บ้านก็ทำให้ดีตามแบบชาวบ้าน คือดีตามแบบอุบาสก อุบาสิกา   ถ้าเราบวชก็ต้องทำให้ดีตามแบบพระ อย่าอยู่โดยไม่มีการก้าวหน้าในทางธรรม ชีวิตแก่ไป จิตใจต้องแก่ขึ้นด้วย แก่ขึ้นด้วยคุณธรรมความดี อย่าเอาแบบพวกแก่แดด แก่ลม แก่แก้ว แก่กระดาษ อย่างนั้น ใช้ไม่ได้ ไม่ได้เรื่อง แก่แดด ก็หนังเหี่ยว แก่ลม ก็หนังแห้ง แก่แก้ว เช้าดื่มเย็นดื่ม แก่กระดาษ เล่นไพ่ อย่างนั้น แก่ไม่เข้าท่า

    ฉะนั้น เราต้องแก่ศีล แก่ธรรม แก่คุณธรรม จึงจะได้ชื่อว่ารู้จักคุณธรรมของชีวิต ปฏิบัติในทางที่ถูกที่ชอบ   ถ้าเรานึกถึงพระสงฆ์ เราต้องนึกอย่างนั้นทันที อย่าเผลอไผลประมาทอยู่ ทำอะไรไม่ถูกไม่ควรอยู่ ก็ควรกลับใจเสีย คือเห็นพระ กลับใจทันที นึกขึ้นได้ว่ากูเผลอไปแล้ว คิดได้ กลับตัวเสียใหม่ เดินตามทางของพระต่อไป อย่างนี้ จึงจะมีความหมาย ในแง่ที่ไหว้พระได้ถูกต้อง คือไหว้ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ไม่ใช่ไหว้เฉยๆ




 

Create Date : 15 มกราคม 2565
0 comments
Last Update : 15 มกราคม 2565 16:34:58 น.
Counter : 516 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space