กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
11 มกราคม 2565
space
space
space

เนื้อความในทำวัตรเช้า-เย็น (๒)




    คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าถูกหินที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขา ถูกหน้าแข้งเลือดไหลซิบๆ ขนาดแมลงวันกินอิ่ม พระองค์ไม่ตรัสอะไรดอก พอเห็นว่ามีเลือกไหลเยิ้มๆ หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เอายาไปโปะให้ ในตอนกลางคืน กลับมาแล้วมานอนอยู่ที่บ้านเป็นทุกข์ตลอดคืน มีความวิตกเพราะยานี่มันร้อนคล้ายๆทิงเจอร์ เอาไปทาแผลมันร้อน คิดในใจว่า เราพอกยาชนิดร้อนให้พระองค์ท่าน ท่านคงจะนอนไม่หลับ เจ็บปวด รีบตื่นแต่เช้ามืดไปเฝ้าแต่เช้าตรู่ พอไปถึงก็ทูลถามว่า พระทรงทรงบรรทมหลับดีหรือพระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นคนหนึ่งในคนที่นอนหลับทั้งหลาย เพราะว่าจะนอนให้หลับก็หลับเลย จะตื่นก็ตื่นเลย ไม่ใช่หลับๆตื่นๆ อย่างนั้นหามิได้ หลับก็หลับ ตื่นก็ตื่น

หมอชีวกฯ ทูลว่า ข้าพระองค์พอกยาไว้ที่พระชงฆ์ของพระองค์ กลับบ้านนอนเป็นทุกข์ เพราะว่ายามันร้อน

พระองค์บอกว่า ความร้อนภายนอกและความร้อนภายในของเราไม่มี ความร้อนทั้งหลายเราดับมันเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันตรัสรู้ เมื่อเราตรัสรู้สัจธรรมแล้ว เหตุของความร้อน เหตุของความทุกข์ไม่มี ส่วนความเจ็บเป็นเรื่องของร่างกาย


   ที่เขาพูดกันว่า   พระอรหันต์ไม่เจ็บ ไม่แก่ ไม่ตาย ซึ่งบางคนฟังไม่รู้  มักจะถามว่า พระพุทธเจ้าทำไมแก่  ทำไมจึงตายได้ล่ะ  นั่นมันไม่ใช่ “พุทธะ” นั่น เป็นเรื่องของร่างกาย ร่างกายของพระอรหันต์ก็ต้องแก่เป็นธรรมดา  เมื่อถูกหนาวถูกร้อนก็ต้องเจ็บต้องไข้เป็นธรรมดา  แล้วก็ต้องตายเป็นธรรมดา  แต่ว่าเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นกับสังขาร  ไม่มีทุกข์ในใจของพระอรหันต์ เพราะท่านไม่เป็นทุกข์ต่อความเจ็บไข้ และท่านไม่เป็นทุกข์ต่อเรื่องความตาย  ตายก็ตายไปตามเรื่องของกาย ท่านคิดเห็นได้ด้วยอำนาจปัญญา และไม่มีความทุกข์  สิ่งเหล่านี้มันเปลี่ยนแปลงไป


    เราปุถุชนมันอย่างนี้ เรามันเป็นทุกข์ สักนิดหนึ่งก็เป็นทุกข์ อะไรหายไปสักนิดหนึ่งก็เป็นทุกข์ละ เพราะอะไร ? เพราะเรายึดถือ เรียกว่า เรายังมีอุปาทาน หมายถึงว่า ยังยึดมั่นในสิ่งนั้นว่าเป็นของตัว ว่าเป็นของเรา

ส่วนพระอรหันต์ท่านดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิง และไม่มีความทุกข์ ท่านเป็นผู้มีจิตไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ยินดียินร้าย  พระอรหันต์  ท่านไม่ยินดียินร้ายอะไรทั้งนั้น เฉยๆ ของสวย ไม่สวย สำหรับพระอรหันต์เท่ากัน เพราะท่านมองเห็นได้ว่า มันไม่เที่ยง จึงมองเห็นได้ว่ามันไม่แตกต่างกัน

คนเรามองเห็นได้ว่าแตกต่างกัน เห็นว่านั่น เห็นว่านี่ สวย ไม่สวย เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ของเรามีการเปรียบเทียบกัน มองเห็นของสองสิ่ง คือ อันหนึ่งสวย อันหนึ่งไม่สวย อันหนึ่งดำ อันหนึ่งไม่ดำ อันหนึ่งต่ำ อันหนึ่งสูง อันหนึ่งยาว อันหนึ่งสั้น อันหนึ่งอ้วน อันหนึ่งผอม การเปรียบเทียบ ย่อมทำให้มองเห็นถึงความแตกต่างในสิ่งเหล่านั้น

   ถ้าไม่มีการเปรียบเทียบ ความแตกต่างก็ไม่มี จิตของอรหันต์ไม่มีการเปรียบเทียบ ท่านว่าอันหนึ่ง เราเห็นว่าเป็นสอง จิตปุถุชนยังเป็นสอง รู้เห็นว่า สูง ต่ำ ดำ ขาว อ้วน ผอม เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ จึงเป็นสอง

ส่วนจิตของพระอรหันต์เป็นสิ่งเดียว ไม่มีการเปรียบเทียบ จึงเหมือนกัน ต้นไม้ ต้นไทรกับคนมันก็เท่ากัน คือเห็นอะไรๆ มันก็เท่ากันหมด จึงเป็นเรื่องของความจริง

แต่เรานั้นมันมองไม่เห็นตามสภาพความเป็นจริง จึงเห็นแตกต่างกัน สภาพจิตที่แตกต่างกันอย่างนี้ จึงมีสุขมีทุกข์ไม่เหมือนกัน เราจึงต้องมีสุขมีทุกข์อยู่

แต่พระอรหันต์ท่านไม่มีสภาพจิตเช่นเรา สภาพจิตของท่านคงที่ แต่สภาพจิตของเราไม่คงที่ ชั่วโมงนี้คิดอย่างหนึ่ง ประเดี๋ยวเป็นอย่างนั้น ประเดี๋ยวเป็นอย่างนี้ สภาพจิตใจอย่างนี้ เป็นของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส  แต่ของพระอรหันต์ท่านไม่เป็นเช่นนี้
 




 

Create Date : 11 มกราคม 2565
0 comments
Last Update : 11 มกราคม 2565 8:18:30 น.
Counter : 419 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space