กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
19 มีนาคม 2565
space
space
space

...ธรรมคุณ(ต่อ)สันทิฏฐิโก



พระธรรมคุณบทต่อไป คือ

   สันทิฏฐิโก   "เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง"  ประจักษ์ด้วยตนเอง รู้เห็นเอง. อย่างเกลือมีรสเค็ม ถ้าเราไม่ได้ชิมจะรู้ได้อย่างไร น้ำตาลหวานถ้าเราไม่กิน จะรู้ไหมว่าหวานอย่างไร บอระเพ็ดขม ถ้าเราไม่ได้กินมันจะรู้ได้หรือว่าขมอย่างไร ซึ่งเรียกว่า สันทิฏฐิโก เช่น นาย ก. ชิมน้ำตาล ว่ามีรสหวาน   นาย ข. จะรู้ได้อย่างไรว่าหวานอย่างไร  รสอื่นก็เช่นกัน  ใครสัมผัสลิ้มรสก็เป็นความรู้สึกของคนนั้น มันเป็นเรื่องเฉพาะตัว  ผู้ไม่ได้ชิมนั้น  ย่อมรู้ไม่ได้ ไม่เข้าใจในเรื่องนั้นเด็ดขาด  ทีนี้   ธรรมะก็เหมือนกัน   ผู้ใดศึกษา   ผู้ใดปฏิบัติ   ย่อมเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ใครมาบอกเล่าดอกว่าเป็นอย่างไร   เช่น   เรารักษาศีล  เราก็รู้ด้วยตัวเองว่า ศีล มันคุ้มครองอะไรเราบ้าง รักษาอะไรเราบ้าง ผู้ปฏิบัติคือเราจะรู้ได้เอง

   แต่ว่าบางที   อาจไม่รู้เหมือนกัน   ไม่รู้เพราะอะไร   เพราะไม่รู้ว่ามันให้ประโยชน์อะไรแก่เรา เพราะไม่ได้สังเกตตัวเองในชีวิตประจำวันของตัวว่า เมื่อก่อน กับ เดี๋ยวนี้ มันต่างกันอย่างไร ก่อนนี้เราไม่ได้ถือศีล เราทำอะไรตามเรื่องตามราว แล้วเดี๋ยวนี้ เรามาถือศีล ไม่ได้เอามาเปรียบเทียบกัน ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร   เมื่อไม่ได้เอามาเปรียบเทียบ  เมื่อก่อน กับ เดี๋ยวนี้ เราก็ไม่รู้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร  แล้วก็ไม่รู้ว่า  มันจะมีผลอะไรบ้าง
ผู้ที่เข้ามาไหว้พระในวัดวาอาราม   ปฏิบัติกิจทางศาสนา  ขาดส่วนนี้อยู่เป็นส่วนมาก คือขาดการเปรียบเทียบ หรือพูดสมัยใหม่ว่าขาดการวัดผลของการปฏิบัติ   ไม่มีการวัดผลของตัวเอง ว่าเริ่มเข้าวัดนี่เป็นอย่างไร   จิตใจเมื่อก่อนเข้าวัด กับ มาวัดแล้วเป็นอย่างไร  ความโกรธ ความเกลียด ความริษยาพยาบาท   ความหุนหันพลันแล่นใจเร็วที่เคยมีมันลดลงไปบ้าง หรือมันเบาจางหายไปจากจิตใจของเราหรือเปล่า  เราไม่ได้วัดผลว่าทำไมมันเป็นอย่างนั้น  เพราะมีความเชื่อฝังหัวเพียงประการเดียวว่า   รักษาศีลได้บุญ   ฟังเทศน์ได้บุญ   เจริญภาวนาได้บุญ  เอาอาหารไปใส่บาตรพระได้บุญ   บุญซะเรื่อยเลย  แต่ไม่รู้ว่าบุญนั้นคืออะไร กุศลนั้นคืออะไร  ไม่รู้ไม่เข้าใจ  ทำตามเขาว่า เขาให้ทำก็ทำไปอย่างนั้นแหละ   แล้วยังไปเที่ยวถามใครๆอีกว่า  ทำอย่างไรจะได้บุญมาก ถ้าเขาว่าทำอย่างนั้นดีก็วิ่งไปทำ   เที่ยวไปไหว้พระ   ไหว้ทั่วไปทุกหนแห่ง

   เมื่อคราวก่อน มีคนมาบวชที่นี่ บอกว่า คุณแม่ไปจมน้ำตาย ถามว่า ทำไมจึงไปจมน้ำตาย ก็เพราะเรื่องไหว้พระอย่างเดียว ขยันไหว้ ไหว้พระบาท ไหว้พระฉาย ไหว้พระพุทธชินราช พระพุทธโสธร พระมงคลบพิตร  อยู่ที่ไหนๆ  คุณแม่ไปไหว้ทุกแห่ง   ยังไม่ได้ไหว้แต่พระบนเกาะกลางทะเล  เลยยกพวกเป็นขบวนใหญ่  ไปไหว้พระในกลางทะเล  เรือล่มจมน้ำตาย  ลูกชายบอกว่าคุณแม่ผมตายเพราะไปไหว้พระแท้ๆ  ที่แท้  เรื่องมันไม่เข้าถึงพระ  จึงได้ตายอย่างนั้น
ถ้ารู้เสียหน่อยว่า   พระมีอยู่ในตัวเราเอง  ทำจิตใจให้สงบ ทำจิตใจให้สะอาด สว่าง เรียกว่า มีพระ แต่ไม่เข้าใจ เลยไปเที่ยวไหว้ แล้วที่ไปไหว้น่ะ ไม่มีอะไร ไปขอทั้งนั้น ขอให้ถูกหวย ขอให้ร่ำรวย ขอให้ขายของดี   ความเชื่ออย่างนี้ฝังหัวเลย  ไม่ได้วัดตัวเราว่าที่เราไปไหว้พระได้อะไร การเดินทางไกลๆ ไปเหน็ดเหนื่อย   เพื่อไปทำบุญ   ถามว่าได้อะไรบ้าง   เขาก็ตอบว่าไม่รู้เหมือนกัน ว่าได้อะไรบ้าง   นี่คือความเข้าใจผิด   ไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรมนั้น   ผลมันอยู่ตรงไหน  เราจึงต้องเข้าใจการปฏิบัติธรรมนั้น ว่าผลอยู่ที่ความสะอาดของจิต  ความสงบของจิต  ความสว่างของจิต ซึ่งสว่างขึ้น สะอาดขึ้น สงบขึ้น ละอะไรได้มากขึ้น

   เมื่อก่อน กับ เดี่ยวนี้  มันแตกต่างกันอย่างไร  เราต้องพิจาณา เช่น เหมือนว่า เรามาบวชได้เกือบเดือนแล้ว เคยมองไปข้างหลังหรือเปล่า หรือว่า เคยมองปัจจุบันหรือเปล่า ว่าเรามีอะไรอยู่ในใจบ้าง มีความคิดมีอะไรบ้าง เคยอยากอะไร เคยกินอะไร สมมติว่าเราเคยติดเหล้างอมแงม เวลามาบวชนี่ เย็นๆ มันมากระซิบบ้างหรือเปล่า มาเยี่ยมเยือนบ้างหรือเปล่า หรือตอนเช้ากำลังฉันอาหาร มันมาบ้างหรือเปล่า
มันมาอย่างไร ?   ก็มาว่า   แหม   ขาดไปสิ่งหนึ่ง   ถ้าได้สักก๊งท่ามันจะดี  มีกับมีไก่เยอะแยะแบบนี้ ถ้าได้สักก๊งท่ามันจะดี   นั่นแหละมันมาเยี่ยมเรา  ในฐานะที่เรานุ่งห่มผ้ากาสายะอยู่ในตัวอย่างนั่นแหละ   เราจึงไปไม่ได้กับมัน เพราะสิ่งนี้ผูกมัดไว้   แต่ว่าตอนออกไปแล้ว ให้ระวังว่ามันจะมาเยี่ยม ตอนนั้นแหละ   พอสึกออกจากวัดไปมันก็มาถามเลย   สึกมาแล้วเรอะ   แหม ๓ เดือน  ไมได้แตะเลย   ต้องไปดูหน่อยว่ารสเป็นอย่างไร   นั่นแหละ   ถ้ามันมาเยี่ยมแล้ว  เราก็ไปตามมันก๊งมันตามเรื่อง  ก็แสดงว่า   ยังไม่ได้ผล    การบวชยังไม่ได้ผล   ธรรมะยังไม่ได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจ อยู่เพียงผิวเผิน ไม่เข้าถึงใจ
 


   
   ถ้าธรรมะเข้าถึงใจจริงๆ   มันมาเยือนอย่างนั้นก็ต้องว่า   กูไม่ใช่คนก่อนแล้ว  กูเกิดใหม่แล้ว ไอ้คนนั้นมันตายไป ๓ เดือนแล้ว   กูเกิดในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าได้รักษาศีล เจริญภาวนา ฝึกหัดบังคับตัวเองมา ๓ เดือนแล้ว   อย่ามาเรียกเลย   ข้าไม่ยอมแพ้เอ็ง  ข้าจะสู้กับเอ็งอย่างสุดฝีมือทีเดียว  อย่างนี้  พอใช้ได้  เรียกว่า ชนะ
แต่ต้องระวัง มันยังจะแอบมาบ่อยๆ บางทีมันก็ปลอมมาในรูปของเพื่อนฝูงมิตรสหาย มาถึงก็ว่าไปบวชอยู่ไม่ได้พบกันนาน สึกแล้วเรอะ นั่นแหละ มันปลอมมา เขาเรียกว่า ผีปลอมมาในรูปของเพื่อน อาศัยร่างเพื่อนมา แบบนี้ เรียกว่า เข้าทรง ละ มาถึงก็พูดจาชักชวน ถ้าเรามีกำลังธรรมะไม่พอ เราก็ไปกับเพื่อนไปดื่มฉลองกันใหญ่
ถ้าเรามีกำลังธรรมะพอ เราก็บอกเพื่อนว่า ฉันมันไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว บวชแล้วนา ได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาพอแล้วว่า ไอ้ชีวิตที่ผ่านมามันยังไมได้เรื่องอะไร ไม่ได้ประโยชน์ เพื่อนอย่ามาชวนเลย แล้วฉันจะชวนเพื่อนให้เลิกเสียด้วยนา อย่างนี้ แปลว่า ธรรมะชนะ นับว่าใช้ได้ แต่ถ้าอธรรมชนะนับว่ายังไม่ไหว

   เพราะฉะนั้น ต้องคิดว่าเรามันเป็นอย่างไร ได้อะไรไปบ้าง สังเกตดูผลจากการปฏิบัติของเราทุกแง่ทุกมุม   เช่น   เมื่อก่อนเราเป็นคนขี้โกรธ   ใจร้อนใจเร็ว   มาบวชแล้วรู้สึกอย่างไร  อารมณ์อะไรมากระทบพอจะยับยั้งได้ไหม   เย็นลงไหม   หรือยังร้อนเหมือนเดิม   ถ้าไม่มีอะไรมากระทบมันวัดไม่ได้ มันต้องลองด้วยเครื่องกระทบ เช่นว่า ใครๆ มาว่าเราด้วยถ้อยคำแสลงหู ไม่น่าฟัง ถ้าเรา เฉยๆ ควบคุมตัวเอง  มีสติยับยั้งอารมณ์ขณะนั้นไว้ได้  แปลว่า ดีขึ้น  แต่ถ้ายับยั้งไว้ไม่ได้ ระเบิดปึงปังขึ้นมาเหมือนเดิม   ก็แสดงว่ายังไม่พอ   ธรรมะยังไม่เข้าถึง ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นวัดผลตรวจสอบตัวเรา

เราอยู่ด้วยกัน  จะทดสอบกันบ้างก็ได้   แต่ต้องระวังให้ดี   ทดสอบเดี๋ยวเตะปึงขึ้นมาก็เสียหาย  เหมือนอาจารย์ภาวนา  แกสอนลูกศิษย์  นั่งสอน  เวลาเดินจิตอยู่ที่ไหน  บางคนตอบว่า อยู่ที่ส้นตีน  110  เขาไม่พูดเช่นนั้นดอก   ต้องพูดว่า   อยู่ที่เท้า   มันก็ว่าส้นตีน  แล้วก็ฟาดเปรี้ยงเข้าให้   อาจารย์เลยโดนไอ้นั่นเตะเท้าขวา  เท้าซ้าย   อาจารย์ก็ไม่ได้หันแก้มขวาไปให้เตะอีกดอก สลบไปเลย   อย่างนี้มันก็ไม่ไหว   เรียกว่า   ทดสอบอารมณ์ลูกศิษย์  ลูกศิษย์ก็แสดงว่ากูยังไม่ดีขึ้นเลย   ตั้งแต่มาเจริญภาวนา   เลยเปรี้ยงอาจารย์เข้าให้  อย่างนี้ไม่ไหว  อาจารย์เสียท่า   เราเองก็เหมือนกัน อย่าไปสอบอารมณ์เพื่อนแรงๆ เกิดเปรี้ยงปร้างขึ้นมาละก็เสียชื่อ ต้องค่อยๆ เย้าดูนิดๆหน่อยๆ เราเองก็ต้องควบคุมไว้ เช่น กับ อาจารย์เซ็น ที่ไปตีลูกศิษย์น่ะ เคาะเบาๆ ฉันตีแกละนะ แกต้องทำใจให้ดีๆ อย่านึกว่าถูกตี ซึ่งก็ต้องทำใจให้ได้ในขณะนั้น พอฟาดเปรี้ยงเข้าให้ก็เฉยเลย อดทนอย่างนั้นก็รู้ได้เฉพาะตนเหมือนกัน สันทิฏฐิโก เป็นอย่างนั้น  สุข ทุกข์ ดี ชั่ว รู้ได้เฉพาะคนทั้งนั้น    แม้แต่ปฏิบัติภาวนา   สงบหรือไม่สงบรู้ได้เฉพาะตัว


172 170 172

ตัวอย่างผู้ปฏิบัติ  450  ซึ่งเขาทดสอบตัวเขาเองแล้วก็สันทิฏฐิโก

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-04-2021&group=5&gblog=2


 


Create Date : 19 มีนาคม 2565
Last Update : 14 เมษายน 2565 8:21:31 น. 0 comments
Counter : 597 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space